บทสวด สังฆาทิเสส ๑๓

บทสวดพระปาฏิโมกข์
บทสวด สังฆาทิเสส ๑๓

อิเม โข ปะนายัส๎มันโต เตระสะสังฆาทิเสสา ธัมมา อุทเทสัง อาคัจฉันติ.

๑. สัญเจตะนิกา สุกกะวิสัฏฐิ , อัญญัต๎ระ สุปินันตา สังฆาทิเสโส.

๒. โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคาเมนะ สัทธิง กายะสังสัคคัง สะมาปัชเชยยะ , หัตถะคาหัง วา
เวณิคาหัง วา อัญญะตะรัสสะ วา อัญญะตะรัสสะ วา อังคัสสะ ปะรามะสะนัง , สังฆาทิเสโส.

๓. โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคามัง ทุฏฐุลลาหิ วาจาหิ โอภาเสยยะ , ยะถาตัง ยุวา
ยุวะติงเมถุนูปะสัญหิตาหิ , สังฆาทิเสโส.

๔. โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคามัสสะ สันติเก อัตตะกามะปาริจะริยายะ วัณณัง ภาเสยยะ ”
เอตะทัคคัง ภะคินิ ปาริจะริยานัง , ยา มาทิสัง สีละวันตัง กัล๎ยาณะธัมมัง พ๎รัห๎มะจาริง เอเตนะ ธัมเมนะ
ปะริจะเรยยาติเมถุนูปะสัญหิเตนะ , สังฆาทิเสโส.

๕. โย ปะนะ ภิกขุ สัญจะริตตัง สะมาปัชเชยยะ อิตถิยา วา ปุริสะมะติง ปุริสัสสะ วา อิตถีมะติง ชายัตตะเน วา ชารัตตะเน วา
อันตะมะโส ตังขะณิกายะปิ , สังฆาทิเสโส.

๖. สัญญาจิกายะ ปะนะ ภิกขุนา กุฏิง การะยะมาเนนะ อัสสามิกัง อัตตุทเทสัง ปะมาณิกา กาเรตัพพา , ตัต๎ริทัง
ปะมาณัง.ทีฆะโส ทะวาทะสะ วิทัตถิโย สุคะตะวิทัตถิยา , ติริยัง สัตตันตะรา.ภิกขู อะภิเนตัพพา วัตถุเทสะนายะ , เตหิ
ภิกขูหิ วัตถุง เทเสตัพพัง อะนารัมภัง สะปะริกกะมะนัง. สารัมเภ เจ ภิกขุ วัตถุส๎มิง อะปะริกกะมะเน สัญญาจิกายะ
กุฏิง กาเรยยะ , ภิกขู วา อะนะภิเนยยะ วัตถุเทสะนายะ , ปะมาณัง วา อะติกกาเมยยะ , สังฆาทิเสโส.

๗. มะหัลละกัมปะนะ ภิกขุนา วิหารัง การะยะมาเนนะ สัสสามิกัง อัตตุทเทสัง ภิกขู อะภิเนตัพพา วัตถุเทสะนายะ , เตหิ
ภิกขูหิ วัตถุง เทเสตัพพัง อะนารัมภัง สะปะริกกะมะนัง. สารัมเภ เจ ภิกขุ วัตถุส๎มิง อะปะริกกะมะเม มะหัลละกัง
วิหารัง กาเรยยะ , ภิกขู วา อะนะภิเนยยะ วัตถุเทสะนายะ , สังฆาทิเสโส.

๘. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง ทุฏโฐ โทโส อัปปะตีโต อะมูละเกนะ ปาราชิเกนะ ธัมเมนะ อะนุทธังเสยยะ “อัปเปวะ นามะ นัง อิมัมหา
พ๎รัห๎มะจะริยา จาเวยยันติ. ตะโต อะปะเรนะ สะมะเยนะ สะมะนุคคาหิยะมาโน วา , อะสะมะนุคคาหิยะมาโน วา , อะมูละกัญเจวะ ตัง
อะธิกะระณัง โหติ , ภิกขุ จะ โทสัง ปะติฏฐาติ , สังฆาทิเสโส.

๙. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง ทุฏโฐ โทโส อัปปะตีโต อัญญะภาคิยัสสะ อะธิกะระณัสสะ กิญจิ เทสัง เลสะมัตตัง อุปาทายะ
ปาราชิเกนะ ธัมเมนะ อะนุทธังเสยยะ “อัปเปวะ นามะ นัง อิมัมหา พ๎รัห๎มะจะริยา จาเวยยันติ. ตะโต อะปะเรนะ สะมะเยนะ
สะมะนุคคาหิยะมาโน วา , อะสะมะนุคคาหิยะมาโน วา , อัญญะ ภาคิยัญเจวะ ตัง อะธิกะระณัง โหติ , โกจิ เทโส เลสะมัตโต
อุปาทินโน ภิกขุ จะ โทสัง ปะติฏฐาติ , สังฆาทิเสโส.

๑๐. โย ปะนะ ภิกขุ สะมัคคัสสะ สังฆัสสะ เภทายะ ปะรักกะเมยยะ เภทะนะสังวัตตะนิกัง วา อะธิกะระณัง สะมาทายะปัคคัยหะ
ติฏเฐยยะ. โส ภิกขุ ภิกขูหิ เอวะมัสสะ วะจะนีโย “มา อายัส๎มา สะมัคคัสสะ สังฆัสสะ เภทายะ ปะรักกะมิ , เภทะ
นะสังวัตตะนิกัง วา อะธิกะระณัง สะมาทายะ ปัคคัยหะ อัฏฐาสิ , สะเมตายัส๎มา สังเฆนะ , สะมัคโค หิ สังโฆ สัมโมทะมาโน
อะวิวะทะมาโน เอกุทเทโส ผาสุ วิหะระตีติ. เอวัญจะ โส ภิกขุ ภิกขูหิ วุจจะมาโน ตะเถวะ ปัคคัณเหยยะ , โส ภิกขุ ภิกขูหิ
ยาวะตะติยัง สะมะนุภาสิตัพโพ ตัสสะ ปะฏินิสสัคคายะ , ยาวะ ตะติยัญเจ สะมะนุภาสิยะมาโน ตัง ปะฏินิสสัชเชยยะ ,
อิจเจตัง กุสะลัง , โน เจ ปะฏินิสสัชเชยยะ , สังฆาทิเสโส.

๑๑. ตัสเสวะ โข ปะนะ ภิกขุสสะ ภิกขู โหนติ อะนุ วัตตะกา วัคคะวาทะกา , เอโก วา เท๎ว วา ตะโย วา , เต เอวัง วะเทยยุง , ” มา
อายัส๎มันโต เอตัง ภิกขุง กิญจิ อะวะจุตถะ ธัมมะวาที เจโส ภิกขุ , วินะยะวาที เจโส ภิกขุ , อัมหากัญเจโส ภิกขุ ,
ฉันทัญจะ รุจิญจะ อาทายะ โวหะระติ , ชานาติ โน ภาสะติ , อัมหากัมเปตัง ขะมะตีติ. เต ภิกขู ภิกขูหิ เอวะมัสสุ วะจะนียา
” มา อายัส๎มันโต เอวัง อะวะจุตถะ , นะ เจโส ภิกขุ ธัมมะวาที , นะ เจโส ภิกขุ วินะยะวาที , มา อายัส๎มันตานัมปิ สังฆะเภโท
รุจิตถะ , สะเมตายัส๎มันตานัง สังเฆนะ , สะมัคโค หิ สังโฆ สัมโมทะมาโน อะวิวะทะมาโน เอกุทเทโส ผาสุ วิหะระตีติ. เอวัญจะ
เต ภิกขู ภิกขูหิ วุจจะมานา ตะเถวะ ปัคคัณเหยยุง , เต ภิกขู ภิกขูหิ ยาวะตะติยัง สะมะนุภาสิตัพพา ตัสสะ ปะฏินิส
สัคคายะ , ยาวะตะติยัญเจ สะมะนุภาสิยะมานา ตัง ปะฏินิสสัช เชยยุง , อิจเจตัง กุสะลัง , โน เจ ปะฏินิสสัชเชยยุง ,
สังฆาทิเสโส

๑๒. ภิกขุ ปะเนวะ ทุพพะจะชาติโก โหติ , อุทเทสะปะริ ยาปันเนสุ สิกขาปะเทสุ ภิกขูหิ สะหะธัมมิกัง วุจจะมาโน
อัตตานัง อะวะจะนียัง กะโรติ “มา มัง อายัส๎มันโต กิญจิ อะวะจุตถะ กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา , อะหัมปายัส๎มันเต นะ
กิญจิ วักขามิ กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา , วิระมะถายัส๎มันโต มะมะ วะจะนายาติ , โส ภิกขุ ภิกขูหิ เอวะมัสสะ วะจะนีโย
“มา อายัส๎มาอัตตานัง อะวะจะนียัง อะกาสิ , วะจะนียะเมวะ อายัส๎มา อัตตานัง กะโรตุ , อายัส๎มาปิ ภิกขู วะเทตุ
สะหะธัมเมนะ , ภิกขูปิ อายัส๎มันตัง วักขันติ สะหะธัมเมนะ , เอวัง สังวัฑฒา หิ ตัสสะ ภะคะวะโต ปะริสา , ยะทิทัง
อัญญะมัญญะวะจะเนนะ อัญญะ มัญญะวุฏฐาปะเนนาติ. เอวัญจะ โส ภิกขุ ภิกขูหิ วุจจะมาโน ตะเถวะ ปัคคัณเหยยะ , โส
ภิกขุ ภิกขูหิ ยาวะตะติยัง สะมะนุ ภาสิตัพโพ ตัสสะ ปะฏินิสสัคคายะ , ยาวะตะติยัญเจ สะมะนุภา สิยะมาโน ตัง
ปะฏินิสสัชเชยยะ , อิจเจตัง , กุสะลัง , โน เจ ปะฏินิสสัชเชยยะ , สังฆาทิเสโส.

๑๓. ภิกขุ ปะเนวะ อัญญะตะรัง คามัง วา นิคะมัง วา อุปะนิสสายะ วิหะระติ กุละทูสะโก ปาปะสะมาจาโร , ตัสสะ โข ปาปะกา
สะมาจารา ทิสสันติ เจวะ สุยยันติ จะ , กุลานิ จะ เตนะ ทุฏฐานิ ทิสสันติ เจวะ สุยยันติ จะ. โส ภิกขุ ภิกขูหิ เอวะมัสสะ
วะจะนีโย “อายัส๎มา โข กุละทูสะโก ปาปะสะมาจาโร , อายัส๎มะโต โข ปาปะกา สะมาจารา ทิสสันติ เจวะ สุยยันติ จะ. กุลานิ
จายัส๎มะตา ทุฏฐานิ ทิสสันติ เจวะ สุยยันติ จะ , ปักกะมะตายัส๎มา อิมัมหา อาวาสา , อะลันเต อิธะ วาเสนาติ. เอวัญจะ โส
ภิกขุ ภิกขูหิ วุจจะมาโน เต ภิกขู เอวัง วะเทยยะ ” ฉันทะคามิโน จะ ภิกขู , โทสะคามิโน จะ ภิกขู , โมหะคามิโน จะ ภิกขู ,
ภะยะคามิโน จะ ภิกขู , ตาทิสิกายะ อาปัตติยา เอกัจจัง ปัพพาเชนติ , เอกัจจัง นะ ปัพพาเชนตีติ. โส ภิกขุ ภิกขูหิ
เอวะ มัสสะ วะจะนีโย “มา อายัส๎มา เอวัง อะวะจะ , นะ จะ ภิกขู ฉันทะคามิโน , นะ จะ ภิกขู โทสะคามิโน , นะ จะ ภิกขู โมหะ
คามิโน , นะ จะ ภิกขู ภะยะคามิโน , อายัส๎มา โข กุละทูสะโก ปาปะสะมาจาโร , อายัส๎มะโต โข ปาปะกาสะมาจารา ทิสสันติ เจวะ
สุยยันติ จะ , กุลานิ จายัส๎มะตา ทุฏฐานิ ทิสสันติ เจวะ สุยยันติ จะ , ปักกะมะตา ยัส๎มา อิมัมหา อาวาสา , อะลันเต
อิธะ วาเสนาติ , เอวัญจะ โส ภิกขุ ภิกขูหิ วุจจะมาโน ตะเถวะ ปัคคัณเหยยะ , โส ภิกขุ ภิกขูหิ ยาวะตะติยัง
สะมานุภาสิตัพโพ ตัสสะ ปะฏินิสสัคคายะ , ยาวะตะติยัญเจ สะมะนุภาสิยะมาโน ตัง ปะฏินิสสัชเชยยะ , อิจเจตัง กุสะลัง ,
โน เจ ปะฏินิสสัชเชยยะ , สังฆาทิเสโส.

อุททิฏฐา โข อายัส๎มันโต เตระสะ สังฆาทิเสสา ธัมมา. นะวะ ปะฐะมาปัตติกา , จัตตาโร ยาวะตะติยะกา , เยสัง ภิกขุ
อัญญะตะรัง วา อัญญะตะรัง วา อาปัชชิต๎วา ยาวะติหัง ชานัง ปะฏิจฉาเทติ , ตาวะติหัง เตนะ ภิกขุนา อะกามา
ปะริวัตถัพพัง , ปะริวุตถะปะริวาเสนะ ภิกขุนา อุตตะริง ฉารัตตัง ภิกขุมานัตตายะปะฏิปัชชิตัพพัง ,
จิณณะมานัตโต ภิกขุ , ยัตถะ สิยา วีสะติคะโณ ภิกขุสังโฆ , ตัตถะ โส ภิกขุ อัพเภตัพโพ , เอเกนะปิ เจ อูโน
วีสะติคะโณ ภิกขุสังโฆ ตัง ภิกขุง อัพเภยยะ , โส จะ ภิกขุ อะนัพภิโต , เต จะ ภิกขู คารัย๎หา. อะยัง ตัตถะ สามีจิ.

ตัตถายัส๎มันเต ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ทุติยัมปิ ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ตะติยัมปิ ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต , ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยามิ.

สังฆาทิเสสุทเทโส นิฏฐิโต.

 

คำแปล พระภิกขุปาฏิโมกข์

สังฆาทิเสสุทเทส
( สังฆาทิเสส ๑๓)

ท่านทั้งหลาย อาบัติชื่อสังฆาทิเสส ๑๓ เหล่านี้แล ย่อมมาสู่ อุทเทส.

๑. ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน เป็นสังฆาทิเสส.

๒. อนึ่ง ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว
ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคามจับมือก็ตาม จับช้องผมก็ตาม
ลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส.

๓. อนึ่ง ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว พูดเกี้ยวมาตุ
คามด้วยวาจาชั่วหยาบเหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว
ด้วยวาจาพาดพิงเมถุน เป็นสังฆาทิเสส.

๔. อนึ่ง ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว
กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคาม
ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุนว่า “น้องหญิงหญิงใดบำเรอผู้ประพฤติพรหมจรรย์
มีศีลมีกัลยาณธรรมเช่นเราด้วยธรรมนั่น
นั่นเป็นยอดแห่งความบำเรอทั้งหลาย เป็นสังฆาทิเสส.

๕. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงความเป็นผู้เที่ยวสื่อ(บอก)
ความประสงค์ของชายแก่หญิงก็ดี(บอก) ความประสงค์ของหญิงแก่ชายก็ดี
ในความเป็นเมียก็ตาม ในความเป็นชู้ก็ตามโดยที่สุด(บอก)
แม้แก่หญิงแพศยา อันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ เป็นสังฆาทิเสส.

๖. อนึ่ง ภิกษุจะให้ทำกุฎี อันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง
ด้วยอาการขอเอาเองพึงทำให้ได้ประมาณ ; นี้ประมาณในอันทำกุฎีนั้น
โดยยาว ๑๒ คืบ โดยกว้าง ๗ คืบด้วยคืบสุคต ( วัด ) ในร่วมใน.
พึงนำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อแสดงที่ ภิกษุเหล่านั้น
พึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้อันมีชานรอบ. หากภิกษุให้ทำกุฎีด้วยการขอเอาเอง
ในที่อันมีผู้จองไว้ อันหาชานรอบมิได้หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไป
เพื่อแสดงที่หรือทำให้ล่วงประมาณ เป็นสังฆาทิเสส.

๗. อนึ่ง ภิกษุจะให้ทำวิหารใหญ่อันมีเจ้าของ เฉพาะตนเอง
พึงนำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อแสดงที่ ภิกษุเหล่านั้น พึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้
อันมีชานรอบหากภิกษุให้ทำวิหารใหญ่ในที่ มีผู้จองไว้ หาชานรอบมิได้
หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อแสดงที่เป็นสังฆาทิเสส.

๘. อนึ่ง ภิกษุใดขัดใจ มีโทสะไม่แช่มชื่น ตามกำจัด( คือโจท )
ภิกษุด้วยอาบัติมีโทษถึงปาราชิก อันหามูลมิได้ ด้วยหมายใจว่า
“แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ ” ครั้นสมัยอื่น
แต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม (คือเชื่อไม่เชื่อก็ตาม )
แต่อธิกรณ์นั้น เป็นเรื่องหามูลมิได้และภิกษุย่อมยันอิงโทสะเป็นสังฆาทิเสส.

๙. อนึ่ง ภิกษุใดขัดใจ มีโทสะไม่แช่มชื่น ถือเอาเอกเทศบางแห่ง
แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลิศ ตามกำจัดภิกษุด้วย
ธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก ด้วยหมายใจว่า
“แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ “ครั้นสมัยอื่น แต่นั้น
อันผู้ใดผู้อื่นถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม (คือเชื่อก็ตามไม่เชื่อก็ตาม)
แต่อธิกรณ์นั้นเป็นเรื่องอื่นเอกเทศบางแห่ง เธอถือเอาพอเป็นเลศ
และภิกษุย่อมยืนยันอิงโทสะ ๓ เป็นสังฆาทิเสส.

๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง
หรือถือเอาอธิกรณ์(คือเรื่อง) อันเป็นเหตุแตกกันยืนกรานอยู่
ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ ว่า “ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกาย
เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน
ยืนกรานอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน
ปรองดองกันไม่วิวาทกัน มีอุทเทสเดียวกัน (คือฟังพระปาฏิโมกข์ร่วมกัน)
ย่อมอยู่ผาสุก” และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้
ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส
(คือประกาศห้าม) กว่าจะครบ ๓ จบเพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย
หากเธอถูกสวดสมนุภาส กว่าจะครบ ๓ จบอยู่
สละกรรมนั้นเสียสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี เป็นสังฆาทิเสส.

๑๑. อนึ่ง มีภิกษุผู้ประพฤติตามผู้พูดเข้ากันของภิกษุนั้นแล ๑ รูปบ้าง
๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๓ เธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า
“ขอท่าน ทั้งหลายอย่าได้กล่าวคำอะไรๆ ต่อภิกษุนั้นภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมด้วย
ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยด้วยภิกษุนั้นถือเอาความพอใจ
และความชอบใจของพวกข้าพเจ้ากล่าวด้วย เธอรู้ (ใจ) ของพวกข้าพเจ้าจึงกล่าว
คำที่เธอกล่าวนี้ ย่อมควร (คือถูกใจ) แม้แก่พวกข้าพเจ้า”.
ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าว อย่างนี้ว่า
“ท่านทั้งหลาย อย่าได้กล่าวอย่างนั้นภิกษุนั้น หาใช่ผู้กล่าวถูกธรรมไม่ด้วย
ภิกษุนั่น หาใช่ผู้กล่าวถูกวินัยไม่ด้วย ความทำลายสงฆ์อย่าได้ชอบ
แม้แก่พวกท่านขอ (ใจ) ของพวกท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์เพราะว่า
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก”
และภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว
ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุ ทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบ
เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอทั้งหลายถูกสวดสมนุภาส กว่าจะครบ ๓ จบอยู่
สละกรรมนั้นเสียสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดีหากเธอทั้งหลายไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.

๑๒. อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายากอันภิกษุทั้งหลาย
ว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรมในสิกขาบททั้งหลายอันเนี่องในอุทเทส (คือพระปาฏิโมกข์)
ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆว่ากล่าวไม่ได้ ด้วยกล่าวโต้ว่า “พวกท่านอย่าได้กล่าวอะไรๆ
ต่อเราเป็นคำดีก็ตาม เป็นคำชั่วก็ตาม แม้เราก็จะไม่กล่าวอะไรๆ
ต่อพวกท่านเหมือนกัน เป็นคำดีก็ตาม เป็น คำชั่วก็ตามขอพวกท่าน
จงเว้นจากการว่ากล่าวเราเสีย” ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า
“ท่านอย่าได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่าไม่ได้ขอท่านจงทำตนให้เขาว่าได้แล
แม้ท่านก็จงว่ากล่าวภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรมแม้ภิกษุทั้งหลาย
ก็จักว่ากล่าวท่านโดยชอบธรรมเพราะว่า บริษัทของ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยว่ากล่าวซึ่งกันและกัน
ด้วยเตือนกันและกันให้ออกจากอาบัติ” และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้
ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบ
เพื่อให้สละกรรมนั้นเสียหากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบ๓จบอยู่
สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดีหากเธอไม่สละเสียเป็นสังฆาทิเสส.

๑๓. อนึ่ง ภิกษุเข้าไปอาศัยบ้านก็ดีนิคมก็ดี แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่
เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของเธอ
เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันเธอประทุษร้ายแล้ว
เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
“ท่านเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของท่าน
เขาได้เห็น อยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วยและสกุลทั้งหลาย
อันท่านประทุษร้ายแล้วเขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย
ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ (อีก)”
และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
“พวกภิกษุถึงความพอใจด้วย ถึงความขัดเคืองด้วย ถึงความหลงด้วย
ถึงความกลัวด้วย ย่อมขับภิกษุบางรูป ย่อมไม่ขับภิกษุบางรูปเพราะอาบัติเช่นเดียวกัน
“ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า” ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น
ภิกษุทั้งหลายหาได้ถึงความพอใจไม่ หาได้ถึงความขัดเคืองไม่
หาได้ถึงความหลงไม่ หาได้ถึงความกลัวไม่ ท่านเองแลเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล
มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของท่าน
เขาได้เห็นอยู่ด้วยเขาได้ยินอยู่ด้วยและสกุลทั้งหลาย
อันท่านประทุษร้ายแล้วเขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วยท่านจงหลีกไปเสีย
จากอาวาสนี้ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ (อีก)” และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้
ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบ
เพื่อให้สละกรรมนั้นเสียหากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบอยู่
สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้นั่นเป็นการดีหากเธอไม่สละเสียเป็นสังฆาทิเสส.

ท่านทั้งหลาย ธรรมชื่อสังฆาทิเสส ๑๓ เป็นปฐมาปัตติกะ
(ให้ต้องอาบัติแต่แรกทำ) เป็นยาวตติยกะ (ให้ต้องอาบัติต่อ
เมื่อสงฆ์สวดประกาศห้ามครง ๓ ครั้ง) ภิกษุต้องธรรมเหล่าไรเล่า
อันใดอันหนึ่งแล้วรู้อยู่ ปกปิดไว้สิ้นวันเพียงเท่าใด ภิกษุนั้น
ถึงจะไม่ปรารถนา ก็พึง ต้องอยู่ ปริวาส สิ้นวันเท่าที่ปกปิดนั้น
ภิกษุอยู่ปริวาสครบตามวันที่ปิดแล้ว พึงปฏิบัติ เพื่อภิกษุมานัตต์เกินขึ้นไป ๖ ราตรี
หมู่ภิกษุได้ประพฤติมานัตต์ ๖ ราตรีแล้วหมู่ภิกษูคณะ ๒๐ จะพึงมี
ณ สีมาใด ภิกษุนั้น สงฆ์พึงอัพภานเธอ ณ สีมานั้นถ้าภิกษุสงฆ์คณะ ๒๐
หย่อนด้วยภิกษุแม้ แต่องค์หนึ่งไม่ครบ๒๐ หากอัพภานภิกษุนั้นไซร้ภิกษุนั้น
ก็เป็นอันมิได้อัพภาน ภิกษุทั้งหลายที่เป็นการกสงฆ์ ก็เป็นอัน
พระพุทธเจ้าจะพึงติเตียนนี้ เป็นสามีจิกรรม (คือประพฤติชอบ) ในเรื่องนั้น

ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๓
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว
ในเรื่องนั้น เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

สังฆาทิเสสุทเทส จบ.