บทสวด ปาราชิก ๔

บทสวดพระปาฏิโมกข์
บทสวดปาราชิก ๔

ตัต๎ริเม จัตตาโร ปาราชิกา ธัมมา อุทเทสัง อาคัจฉันติ.

๑. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันโน สิกขัง อัปปัจจักขายะ ทุพพัล๎ยัง อะนาวิกัต๎วา
เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสเวยยะ อันตะมะโส ติรัจฉานะคะตายะปิ , ปาราชิโก โหติ อะสังวาโส.

๒. โย ปะนะ ภิกขุ คามา วา อะรัญญา วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิเยยยะ , ยะถารูเป อะทินนาทาเน ราชาโน โจรัง
คะเหต๎วา หะเนยยุง วา พันเธยยุง วา ปัพพาเชยยุง วา ” โจโรสิ พาโลสิ มุฬ๎โหสิ เถโนสีติ,” ตะถารูปัง ภิกขุ
อะทินนัง อาทิยะมาโน , อะยัมปิ ปาราชิโก โหติ อะสังวาโส.

๓. โย ปะนะ ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปยยะ , สัตถะหาระกัง วาสสะ ปะริเยเสยยะ , มะระณะ วัณณัง
วา สังวัณเณยยะ , มะระณายะ วา สะมาทะเปยยะ “ ” อัมโภ ปุริสะ กิง ตุยหิมินา ปาปะเกนะ ทุชชีวิเตนะ , มะตันเต
ชีวิตา เสยโยติ , ” อิติ จิตตะมะโน จิตตะสังกัปโป อะเนกะปะริยาเยนะ มะระณะวัณณัง วา สังวัณเณยยะ , มะระณายะ วา
สะมาทะเปยยะ , อะยัมปิ ปาราชิโก โหติ อะสังวาโส.

๔. โย ปะนะ ภิกขุ อะนะภิชานัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อัตตูปะนายิกัง อะละมะริยะญาณะทัสสะนัง สะมุทาจะเรยยะ ”
อิติ ชานามิ , อิติ ปัสสามีติ , ตะโต อะปะเรนะ สะมะเยนะ สะมะนุคคาหิยะมาโน วา อะสะมะนุคคาหิยะมาโน วา อาปันโน
วิสุทธาเปกโข เอวัง วะเทยยะ อะชานะเมวัง อาวุโส อะวะจัง ชานามิ” อะปัสสัง “ปัสสามิ ” ตุจฉัง มุสา วิละปินติ ,
อัญญัต๎ระ อะธิมานา , อะยัมปิ ปาราชิโก โหติ อะสังวาโส.

อุททิฏฐา โข อายัส๎มันโต จัตตาโร ปาราชิกา ธัมมา , เยสัง ภิกขุ อัญญะตะรัง วา อัญญะตะรัง วา อาปัชชิต๎วา
นะ ละภะติ ภิกขูหิ สัทธิง สังวาสัง , ยะถา ปุเร , ตะถา ปัจฉา , ปาราชิโก โหติ อะสังวาโส.

ตัตถายัส๎มันเต ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ทุติยัมปิ ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ตะติยัมปิ ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา ?
ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต , ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยามิ.

ปาราชิกุทเทโส นิฏฐิโต.

คำแปล พระภิกขุปาฏิโมกข์
( ปาราชิก ๔)

อาบัติทั้งหลายชื่อว่าปาราชิก ๔ เหล่านี้ ย่อมมาสู่อุทเทสในปาฏิโมกข์นั้น.

๑. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมด้วยสิกขาธรรมเนียมเลี้ยงชีพร่วมกัน
ของภิกษุทั้งหลายยังไม่กล่าวคืนสิกขา ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ถอย
กำลัง (คือความท้อแท้ ) พึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในดิรัจฉานตัวเมีย
ภิกษุนี้เป็นปาราชิก ไม่มีสังวาส (คือธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกับภิกษุอื่น)

๒. อนึ่ง ภิกษุใดถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ เป็นส่วนโจรกรรม
จากบ้านก็ดีจากป่าก็ดีพระราชาจับโจรได้แล้ว ฆ่าเสียบ้าง จำขังไว้บ้าง
เนรเทศเสียบ้าง ด้วยปรับโทษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง
เจ้าเป็นคนขโมย ดังนี้ เพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด
ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น
แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.

๓. อนึ่ง ภิกษุใดแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิตหรือแสวงหาศัสตรา
อันจะนำ (ชีวิต) เสียให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย
หรือชักชวนเพื่อความตายด้วยคำว่า “แน่ะ นายผู้เป็นชาย
มีประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยชีวิตอันชั่วนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่”
ดังนี้เธอมีจิตใจ มีจิตดำริอย่างนี้ พรรณนาคุณแห่งความตายก็ดี
ชักชวนเพื่อความตายก็ดี โดยหลายนัย
แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.

๔. อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะ (คือไม่รู้จริง) กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์
อันเป็น ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า
ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่น แต่นั้น อันผู้ใด ผู้หนึ่ง
เชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม ก็เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด
(คือพ้นโทษ) จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้ ได้กล่าวว่า รู้
ไม่เห็นได้กล่าวว่าเห็นได้พูดพล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ”
เว้นไว้แต่ว่าสำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.

ท่านทั้งหลาย อาบัติปาราชิก ๔ อันข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล.
ภิกษุต้องอาบัติเหล่าไรเล่า อันใดอันหนึ่งแล้วย่อมไม่ได้สังวาส
กับด้วยภิกษุทั้งหลายเหมือนอย่างแต่ก่อน เป็นปาราชิก
ไม่มีสังวาสข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลาย
ในข้อเหล่านั้นท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ?
ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่ ๒ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ?
ข้าพเจ้าถาม แม้ครั้งที่ ๓ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ?
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ในข้อเหล่านี้แล้วเหตุนั้น จึงนิ่ง.
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

ปาราชิกุทเทส จบ.