มีข้อมูลที่ใกล้เคียงคือ

ศัพท์บาลี --->>อทฺธา-->> คำแปล --->>๑ นิ. แน่แท้ เป็นนิบาตมีเนื้อความต่างๆ เช่น อยฺยา ... อทฺธา เสฺว คมิสฺสนฺติ = อ. พระผู้เป็นเจ้า ท. จักไป ในวันพรุ่ง แน่แท้ [ธ. ๒: อารทฺธวิปสฺสก- หน้า ๑๔๑]

ศัพท์บาลี --->>อทฺธา-->> คำแปล --->>๒ น.,ปุ. กาลยืดยาว,ทางยืดยาว มีใช้ เฉพาะเอกวจนะ ๖ วิภัตติเท่านั้น คือ ป. อทฺธา ทุ. อทฺธานํ สู่ทางไกล, สิ้นกาลนาน (แปลง อํ เป็น นํ) ต. อทฺธุนา โดยหนทางไกล (รัสสะ อา เป็น อ แปลง อ เป็น อุ) จ.,ฉ. อทฺธุโน (รัสสะ อา เป็น อ แปลง อ เป็น อุ แปลง ส เป็น โน) ส. อทฺธาเน ใน กาลยืดยาว, ในหนทางไกล (แปลง สฺมึ เป็น เน)

ศัพท์บาลี --->>อทฺธาน-->> คำแปล --->>น.,ปุ. กาลนาน, หนทางไกล เป็นเอกวจนะ เห็นมีใช้อยู่ ๓ วิภัตติ คือ ทุ. อทฺธานํ ต. อทฺธาเนน ส. อทฺธาเน

ศัพท์บาลี --->>อทฺธานกิลนฺต-->> คำแปล --->>ว. ผู้ลำบากแล้วในหนทางไกล เป็นสัตตมีตัปปุริสสมาส มาจาก อทฺธาน บทหน้า + กิลม ธาตุ ในความลำบาก + ต ปัจจัย แปลง ต เป็น นฺต ลบ ม ที่สุดธาตุ ได้รูปเป็น อทฺธานกิลนฺต ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. อทฺธานกิลนฺโต (เถโร) อ. พระเถระ ผู้ลำบากแล้วในหนทางไกล วิ.ว่า อทฺธาเน กิลมนฺโต = อทฺธานกิลมนฺโต (เถโร) อิต. ลง อา เครื่องหมายอิตถีลิงค์ แจก เหมือน กญฺญา เช่น ป.เอก. อทฺธานกิลนฺตา (เถรี)

ศัพท์บาลี --->>อทฺธานคมน-->> คำแปล --->>น.,นปุ. การไปสู่หนทางไกล แจก เหมือน กุล เช่น ทุ.เอก. อทฺธานคมนํ ซึ่งการ ไปสู่หนทางไกล เป็นทุติยาตัปปุริสสมาส วิ.ว่า อทฺธานํ คมนํ = อทฺธานคมนํ มาจาก อทฺธาน + คม ธาตุ ในความไป + ยุ ปัจจัย แปลง ยุ เป็น อน ได้รูปเป็น อทฺธานคมน แปลว่า การไปสู่หนทาง ไกล เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ วิ.ว่า อทฺธานคมนํ = อทฺธานคมนํ


คำศัทพ์