ศัพท์บาลี --->>โส-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. นั้น ศัพท์เดิมเป็น ต อ การันต์ ในปุงลิงค์ ลง สิ ปฐมาวิภัตติ ฝ่ายเอกวจนะ แปลง ต เป็น ส แปลง อ กับ สิ เป็น โอ สำเร็จรูปเป็น โส, โส ชโน = อ. ชน นั้น

ศัพท์บาลี --->>โสก-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ความโศก, ความเศร้าโศก แจก เหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. โสโก อ. ความโศก, อ. ความเศร้าโศก คำว่า โสก มาจาก สุจ ธาตุ ในความเศร้าโศก + ณ ปัจจัย พฤทธิ อุ เป็น โอ แปลง จ ที่สุดธาตุเป็น ก ได้รูปเป็น โสก แปลว่า ความโศก, ความเศร้าโศก เป็นภาวรูป ภาว สาธนะ วิ.ว่า สุจนํ = โสโก ความเศร้าโศก ชื่อว่า โสโกๆ ความเศร้าโศก

ศัพท์บาลี --->>โสกปเรต-->> คำแปล --->>ว. ผู้มีความโศกไปแล้วในเบื้องหน้า ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ฉ.เอก. โสกปเรตสฺส (พฺราหฺมณสฺส) ของพราหมณ์ ผู้มีความโศกไปแล้วในเบื้องหน้า เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิสมาส วิ.ว่า โสโก ปเรโต ยสฺส โส โสกปเรโต (พฺราหฺมโณ)

ศัพท์บาลี --->>โสกวูปสมนตฺถํ-->> คำแปล --->>น.,นปุ. เพื่ออันเข้าไประงับวิเศษซึ่งความโศก ศัพท์เดิมเป็น โสกวูปสมน อ การันต์ ในนปุงสกลิงค์ ลง ส จตุตถีวิภัตติ ฝ่ายเอกวจนะ แปลง อ กับ ส เป็น ตฺถํ สำเร็จรูปเป็น โสกวูปสมนตฺถํ แจกเหมือน กุล เป็นฉัฏฐีตัป ปุริสสมาส วิ.ว่า โสกสฺส วูปสมนํ = โสกวูปสมนํ

ศัพท์บาลี --->>โสกาตุร-->> คำแปล --->>ว. ผู้กระสับกระส่ายเพราะความโศก ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ฉ.เอก. โสกาตุรสฺส (พฺราหฺมณสฺส) ของพราหมณ์ ผู้กระสับกระส่ายเพราะความโศก เป็นตติยาตัปปุริสสมาส วิ.ว่า โสเกน อาตุโร = โสกาตุโร (พฺราหฺมโณ)

ศัพท์บาลี --->>โสกินี-->> คำแปล --->>ว.,อิต. ผู้มีความเศร้าโศก มาจาก โสก ศัพท์ ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต อิต. แปลง อี เป็น อินี ได้รูปเป็น โสกินี แจกเหมือน นารี เช่น ป.เอก. โสกินี (ปชา) อ. หมู่สัตว์ ผู้มีความเศร้าโศก วิ.ว่า โสโก อสฺสา อตฺถีติ โสกินี (ปชา)

ศัพท์บาลี --->>โสจติ-->> คำแปล --->>ก. (เช่น พฺราหฺมโณ อ. พราหมณ์) ย่อมเศร้าโศก สุจ ธาตุ ในความเศร้าโศก + อ ปัจจัย ในกัตตุวาจก + ติ วัตตมานาวิภัตติ พฤทธิ อุ ที่ สุจ ธาตุเป็น โอ สำเร็จรูป โสจติ

ศัพท์บาลี --->>โสจนฏฺาน-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ที่เป็นที่เศร้าโศก แจกเหมือน กุล เช่น ส.เอก. โสจนฏฺาเน ในที่เป็นที่เศร้าโศก เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส มี ยุ ปัจจัย กัตตุรูป อธิกรณสาธนะ เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ ยุ.กัต.อธิ.วิ. โสจติ เอตฺถาติ โสจนํ (านํ) เขา ย่อมเศร้าโศก ในที่นั่น เหตุนั้น ที่นั่น ชื่อว่าเป็นที่เศร้าโศก วิ.บุพ.กัม.วิ. โสจนํ านํ = โสจนฏฺานํ [บทสมาส ซ้อน ฏฺ หน้า ]

ศัพท์บาลี --->>โสจนฺติ-->> คำแปล --->>ก. (เช่น ชนา อ. ชน ท.) ย่อมเศร้าโศก สุจ ธาตุ ในความเศร้าโศก + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + อนฺติ วัตตมานาวิภัตติ พฤทธิ อุ ที่ สุจ ธาตุเป็น โอ สำเร็จรูป โสจนฺติ

ศัพท์บาลี --->>โสจยิตฺถ-->> คำแปล --->>ก. (ตุมฺเห อ. ท่าน ท.) เศร้าโศกแล้ว สุจ ธาตุ ในความเศร้าโศก + ณย ปัจจัยในกัตตุ วาจก + ตฺถ อัชชัตตนีวิภัตติ พฤทธิ อุ ที่ สุจ ธาตุเป็น โอ ลบ ณ เหลือไว้แต่ ย ลง อิ อาคม สำเร็จรูป โสจยิตฺถ

ศัพท์บาลี --->>โสจสิ-->> คำแปล --->>ก. (ตฺวํ อ. ท่าน) ย่อมเศร้าโศก สุจ ธาตุ ใน ความเศร้าโศก + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + สิ วัตต มานาวิภัตติ พฤทธิ อุ ที่ สุจ ธาตุเป็น โอ สำเร็จรูป โสจสิ

ศัพท์บาลี --->>โสจามิ-->> คำแปล --->>ก. (อหํ อ. เรา) ย่อมเศร้าโศก สุจ ธาตุ ในความเศร้าโศก + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + มิ วัตตมานาวิภัตติ พฤทธิ อุ ที่ สุจ ธาตุเป็น โอ มิ อยู่หลัง ทีฆะ อ ที่สุดธาตุเป็น อา สำเร็จรูป โสจามิ

ศัพท์บาลี --->>โสจิ-->> คำแปล --->>ก. (เช่น พฺราหฺมโณ อ. พราหมณ์) เศร้าโศกแล้ว สุจ ธาตุ ในความเศร้าโศก + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + อี อัชชัตตนีวิภัตติ พฤทธิ อุ ที่ สุจ ธาตุเป็น โอ รัสสะ อี เป็น อิ สำเร็จรูป โสจิ

ศัพท์บาลี --->>โสจิตฺวา-->> คำแปล --->>ก. เศร้าโศกแล้ว สุจ ธาตุ ในความเศร้าโศก + ตฺวา ปัจจัย พฤทธิ อุ ที่ สุจ ธาตุเป็น โอ ลง อิ อาคม สำเร็จรูป โสจิตฺวา

ศัพท์บาลี --->>โสจโต-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. (ปุคฺคลสฺส) ของบุคคล ผู้เศร้าโศกอยู่ ศัพท์เดิมเป็น โสจนฺต อ การันต์ ในปุงลิงค์ ลง ส ฉัฏฐีวิภัตติ ฝ่ายเอกวจนะ แปลง นฺต กับ ส เป็น โต สำเร็จรูปเป็น โสจโต แจกเหมือน ภวนฺต

ศัพท์บาลี --->>โสณฺฑา-->> คำแปล --->>น.,อิต. งวง แจกเหมือน กญฺญา เช่น ต.เอก. โสณฺฑาย ด้วยงวง

ศัพท์บาลี --->>โสณฺฑิ-->> คำแปล --->>น.,อิต. กระพัง, ตะพัง แจกเหมือน รตฺติ เช่น ป.เอก. โสณฺฑิ อ. กระพัง

ศัพท์บาลี --->>โสณฺฑิตีร-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ที่ฝั่งแห่งตระพังนํ้า แจก เหมือน กุล เช่น ส.เอก. โสณฺฑิตีเร ที่ฝั่งแห่งตระพังนํ้า เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า โสณฺฑิยา ตีรํ = โสณฺฑิตีรํ

ศัพท์บาลี --->>โสต-->> คำแปล --->>น.,นปุ. หู แจกเหมือน กุล เช่น ป.พหุ. โสตานิ อ. หู ท.

ศัพท์บาลี --->>โสตธาตุ-->> คำแปล --->>น.,อิต. โสตธาตุ แจกเหมือน รชฺชุ เช่น ต.เอก. โสตธาตุยา ด้วยโสตธาตุ

ศัพท์บาลี --->>โสตาปตฺติผล-->> คำแปล --->>น.,นปุ. โสดาปัตติผล แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. โสตาปตฺติผลํ อ. โสดาปัตติผล

ศัพท์บาลี --->>โสตาปตฺติผลปฏิเวธ-->> คำแปล --->>น.,ปุ. การแทงตลอดซึ่ง โสดาปัตติผล แจกเหมือน ปุริส เช่น ปญฺ.เอก.โสตาปตฺติผลปฏิเวธา แต่การแทงตลอดซึ่งโสดาปัตติผล เป็นทุติยาตัปปุริสสมาส วิ.ว่า โสตาปตฺติผลํ ปฏิเวโธ = โสตาปตฺติผลปฏิเวโธ คำว่า ปฏิเวธ ในคำว่า โสตาปตฺติผลปฏิเวธา มาจาก ปฏิ บทหน้า + วิธ ธาตุ ในความแทง มี ปฏิ อยู่หน้า แปลว่า แทงตลอด + ณ ปัจจัย ด้วยอำนาจ ณ ปัจจัย วิการ อิ ที่ วิธ ธาตุเป็น เอ ลบ ณ ได้รูปเป็น ปฏิเวธ แปลว่า การแทง ตลอด เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ วิ.ว่า ปฏิวิชฺฌนํ = ปฏิเวโธ

ศัพท์บาลี --->>โสตาปตฺติผลาทีนิ-->> คำแปล --->>ว.,นปุ. (อริยผลานิ) ซึ่ง อริยผล ท. มีโสดาปัตติผลเป็นต้น เป็นฉัฏฐี ตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส วิ.ว่า โสตาปตฺติผลํ อาทิ เยสํ ตานิ โสตาปตฺติผลาทีนิ (อริยผลานิ) แจกเหมือน อกฺขิ

ศัพท์บาลี --->>โสตาปตฺติมคฺค-->> คำแปล --->>น.,นปุ. โสดาปัตติมรรค แจกเหมือน กุล เช่น ส.เอก. โสตาปตฺติมคฺเค ในโสดาปัตติมรรค

ศัพท์บาลี --->>โสตาปนฺน-->> คำแปล --->>น.,ปุ. พระโสดาบัน แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. โสตาปนฺโน อ. พระโสดาบัน

ศัพท์บาลี --->>โสตาปนฺนกาเล-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ในกาลแห่ง…เป็น โสดาบัน เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า โสตาปนฺนสฺส กาโล = โสตาปนฺนกาโล แจก เหมือน ปุริส

ศัพท์บาลี --->>โสตาปนฺนาทโย-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. (อริยปุคฺคลา) อ. พระอริย บุคคล ท. มีพระโสดาบันเป็นต้น เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส วิ.ว่า โสตาปนฺโน อาทิ เยสํ เต โสตาปนฺนาทโย (อริยปุคฺคลา) แจกเหมือน มุนิ

ศัพท์บาลี --->>โสตุกาม-->> คำแปล --->>ว. ผู้ใคร่เพื่ออันฟัง เป็นจตุตถีตัปปุริสสมาส ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. โสตุกาโม (อุปาสโก) อ. อุบาสก ผู้ใคร่เพื่ออันฟัง วิ.ว่า โสตุ กาโม = โสตุกาโม (อุปาสโก) อิต. ลง อา เครื่องหมายอิต. แจกเหมือน กญฺญา เช่น ป.เอก. โสตุกามา (อุปาสิกา) อ. อุบาสิกา ผู้ใคร่เพื่ออันฟัง วิ.ว่า โสตุ กามา = โสตุกามา (อุปาสิกา)

ศัพท์บาลี --->>โสตุกามตา-->> คำแปล --->>น.,อิต. ความที่แห่ง...เป็นผู้ใคร่เพื่ออันฟัง ลง ตา ปัจจัย ในภาวตัทธิต มีจตุตถี ตัปปุริสสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ จตุ.ตัป.วิ. โสตุ กาโม = โสตุกาโม (อุปาสโก) ตา.ภาว.วิ. โสตุกามสฺส (อุปาสกสฺส) ภาโว = โสตุกามตา แจกเหมือน กญฺญา

ศัพท์บาลี --->>โสตุ-->> คำแปล --->>น. อ.อันฟัง, เพื่ออันฟัง สุ ธาตุ ในความฟัง + ตุ ปัจจัย พฤทธิ อุ ที่ สุ ธาตุเป็น โอ สำเร็จรูปเป็น โสตุ ดู อาคนฺตุ

ศัพท์บาลี --->>โสตฺถิ-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ความสวัสดี แจกเหมือน อกฺขิ เช่น ต.เอก. โสตฺถินา โดยความสวัสดี

ศัพท์บาลี --->>โสตฺถิภาว-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ความเป็นแห่งความสวัสดี แจกเหมือน ปุริส เช่น ทุ.เอก. โสตฺถิภาวํ ซึ่ง ความเป็นแห่งความสวัสดี เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า โสตฺถิสฺส ภาโว = โสตฺถิภาโว

ศัพท์บาลี --->>โสตฺถิย-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. โสตถิยะ (ชื่อของพราหมณ์) แจก เหมือน ปุริส เช่น ต.เอก. โสตฺถิเยน (พฺราหฺมเณน) อันพราหมณ์ ชื่อว่าโสตถิยะ

ศัพท์บาลี --->>โสธาเปตฺวา-->> คำแปล --->>ก. ยัง…ให้ชำระแล้ว สุธ ธาตุ ในความ หมดจด, บริสุทธิ์, สะอาด, ชำระ + ณาเป ปัจจัย ในเหตุกัตตุวาจก + ตฺวา ปัจจัย พฤทธิ อุ ต้นธาตุ เป็น โอ ลบ ณ เหลือไว้แต่ อาเป สำเร็จรูปเป็น โสธาเปตฺวา [สุธ ธาตุ นี้ ถ้าทำเอง แปลว่า หมดจด, บริสุทธิ์, ชำระ เป็นกัตตุวาจก ก็มี เช่น จิตฺตํ วิสุชฺฌติ = อ. จิต ย่อมหมดจด, ย่อมบริสุทธิ์ เป็นเหตุกัตตุวาจก ก็มี เช่น ตุมฺเห โทสํ โสธาเปถ = อ. ท่าน ท. ยังโทษ จงให้หมดจด เป็นเหตุกัมมวาจก ก็มี เช่น (ตุมฺเหหิ) โทโส โสเธตพฺโพ = อ. โทษ อันท่าน ท. พึงให้หมดจด แต่ถ้าใช้ให้คนอื่นทำ แปลว่า ชำระ เท่านั้น เช่น (ปุคฺคลํ) เหฏฺาภาคํ โสธาเปตฺวา = ยังบุคคล ให้ชำระแล้ว ซึ่งส่วนภายใต้ หรือเช่น โสธาเปสิ = ยังบุคคล ให้ชำระแล้ว]

ศัพท์บาลี --->>โสธาเปถ-->> คำแปล --->>ก. (ตุมฺเห อ. ท่าน ท.) ยัง...จงให้หมดจด สุธ ธาตุ ในความหมดจด + ณาเป ปัจจัย ในเหตุกัตตุวาจก + ถ ปัญจมีวิภัตติ พฤทธิ อุ ต้นธาตุเป็น โอ ลบ ณ เหลือไว้แต่ อาเป สำเร็จรูปเป็น โสธาเปถ

ศัพท์บาลี --->>โสธาเปสิ-->> คำแปล --->>ก. (เช่น ปุตฺโต อ. พระโอรส) ยัง... ให้ชำระแล้ว สุธ ธาตุ ในความหมดจด, บริสุทธิ์, สะอาด, ชำระ + ณาเป ปัจจัย ในเหตุกัตตุวาจก + อี อัชชัตตนีวิภัตติ พฤทธิ อุ ต้นธาตุเป็น โอ ลบ ณ เหลือไว้แต่ อาเป ลง ส อาคม รัสสะ อี เป็น อิ สำเร็จรูปเป็น โสธาเปสิ ดู โสธาเปตฺวา

ศัพท์บาลี --->>โสธิตโสธิตฏฺานโต-->> คำแปล --->>น.,นปุ. จากที่อัน…ทั้งให้ หมดจดแล้วทั้งให้หมดจดแล้ว มาจาก โสธิต- โสธิตฏฺาน ลง โต ปัจจัย สำเร็จรูปเป็น โสธิต- โสธิตฏฺานโต เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส มีวิเสสโนภยบท กัมมธารยสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ วิ.โนภย.กัม.วิ. โสธิตญฺจ โสธิตญฺจ = โสธิตโสธิตํ (านํ) วิ.บุพ.กัม.วิ. โสธิตโสธิตํ านํ = โสธิตโสธิตฏฺานํ แจกเหมือน กุล เฉพาะปัญจมีวิภัตติ ฝ่ายเอก. ลง โต ปัจจัย บ้าง

ศัพท์บาลี --->>โสธิยมาน-->> คำแปล --->>ว. อัน…ให้หมดจดอยู่ สุธ ธาตุ ในความหมดจด + เณ ปัจจัย ในเหตุกัตตุวาจก + อิ อาคม ย ปัจจัยในกัมมวาจก + มาน ปัจจัย พฤทธิ อุ ต้นธาตุเป็น โอ ลบ ณ เหลือไว้แต่ เอ เป็น โสเธ + อิ + ย + มาน ลบสระหน้า คือ เอ ที่ เธ ได้รูปเป็น โสธิยมาน ดู อชานมาน

ศัพท์บาลี --->>โสปาณ-->> คำแปล --->>น.,ปุ.,นปุ. บันได ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. โสปาโณ อ. บันได นปุ. แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. โสปาณํ อ. บันได

ศัพท์บาลี --->>โสปาณปริโยสาน-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ที่สุดลงรอบแห่งบันได แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. โสปาณปริโยสานํ อ. ที่สุดลงรอบแห่งบันได เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า โสปาณสฺส ปริโยสานํ = โสปาณปริโยสานํ

ศัพท์บาลี --->>โสปาณปสฺส-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ข้างแห่งบันได แจกเหมือน กุล เช่น ส.เอก. โสปาณปสฺเส ที่ข้างแห่งบันได เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า โสปาณสฺส ปสฺสํ = โสปาณปสฺสํ

ศัพท์บาลี --->>โสปาณปาทมูล-->> คำแปล --->>น.,นปุ. โคนแห่งเชิงแห่งบันได, ที่ใกล้แห่งเชิงแห่งบันได แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. โสปาณปาทมูลํ อ. โคนแห่งเชิงแห่งบันได, อ. ที่ใกล้แห่งเชิงแห่งบันได เป็นฉัฏฐี ตัปปุริสสมาส มีฉัฏฐีตัปปุริสสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ ฉ.ตัป.วิ โสปาณสฺส ปาโท = โสปาณปาโท ฉ.ตัป.วิ. โสปาณปาทสฺส มูลํ = โสปาณปาทมูลํ

ศัพท์บาลี --->>โสปาณมตฺถก-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ที่สุดแห่งบันได แจกเหมือน ปุริส เช่น ส.เอก. โสปาณมตฺถเก ในที่สุดแห่งบันได เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า โสปาณสฺส มตฺถโก = โสปาณมตฺถโก

ศัพท์บาลี --->>โสปาณสีส-->> คำแปล --->>น.,นปุ. หัวแห่งบันได แจกเหมือน กุล ดู โสปาณปริโยสานํ

ศัพท์บาลี --->>โสภณ-->> คำแปล --->>ว. งาม มาจาก สุภ ธาตุ ในความงาม + ยุ ปัจจัย พฤทธิ อุ ต้นธาตุเป็น โอ แปลง ยุ เป็น อณ ได้รูปเป็น โสภณ แปลว่า ผู้งาม, อันงาม เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. โสภโณ สงฺโฆ = อ. พระสงฆ์ ผู้งาม วิ.ว่า โสภตีติ โสภโณ (สงฺโฆ) อิต. ลง อา เครื่องหมาย อิต. แจกเหมือน กญฺญา เช่น ป.เอก. โสภณา นารี = อ. นารี ผู้งาม วิ.ว่า โสภตีติ โสภณา (นารี) นปุ. แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. โสภณํ วจนํ = อ. คำ อันงาม วิ.ว่า โสภตีติ โสภณํ (วจนํ)

ศัพท์บาลี --->>โสภติ-->> คำแปล --->>ก. (เช่น เถโร อ. พระเถระ) ย่อมงาม สุภ ธาตุ ในความงาม + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + ติ วัตตมานาวิภัตติ พฤทธิ อุ ต้นธาตุเป็น โอ สำเร็จรูปเป็น โสภติ

ศัพท์บาลี --->>โสภน-->> คำแปล --->>ว. งาม สุภ + ยุ ปัจจัย พฤทธิ อุ ต้นธาตุเป็น โอ แปลง ยุ เป็น อน ได้รูปเป็น โสภน ดู โสภณ

ศัพท์บาลี --->>โสภนฺติ-->> คำแปล --->>ก. (เช่น ภิกฺขู อ. ภิกษุ ท.) ย่อมงาม สุภ ธาตุ ในความงาม + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + อนฺติ วัตตมานาวิภัตติ พฤทธิ อุ ต้นธาตุเป็น โอ สำเร็จรูปเป็น โสภนฺติ

ศัพท์บาลี --->>โสภิต-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. โสภิตะ (พระนามของพระพุทธเจ้า) แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. โสภิโต (พุทฺโธ) อ. พระพุทธเจ้า พระนามว่าโสภิตะ

ศัพท์บาลี --->>โสมนสฺส-->> คำแปล --->>น.,นปุ. โสมนัส แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. โสมนสฺสํ อ. โสมนัส

ศัพท์บาลี --->>โสมนสฺสชาต-->> คำแปล --->>ว. ผู้มีความโสมนัสเกิดแล้ว ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. โสมนสฺสชาโต (พฺราหฺมโณ) อ. พราหมณ์ ผู้มีความโสมนัสเกิด แล้ว เป็นจตุตถีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส วิ. ว่า โสมนสฺสํ ชาตํ ยสฺส โส โสมนสฺสชาโต (พฺราหฺมโณ)

ศัพท์บาลี --->>โสมนสฺสปฺปตฺต-->> คำแปล --->>ว. ผู้ถึงแล้วซึ่งความโสมนัส ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. โสมนสฺสปฺปตฺโต (ราชา) อ. พระราชา ผู้ทรงถึงแล้วซึ่งความโสมนัส เป็นทุติยาตัปปุริสสมาส วิ.ว่า โสมนสฺสํ ปตฺโต = โสมนสฺสปฺปตฺโต (ราชา) [ซ้อน ปฺ]

ศัพท์บาลี --->>โสรต-->> คำแปล --->>ว. ผู้สงบเสงี่ยมแล้ว ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.พหุ. โสรตา (ตุมฺเห) อ. เธอ ท. ผู้สงบเสงี่ยม แล้ว คำว่า โสรต มาจาก โส = โสภณ บทหน้า + รม ธาตุในความยินดี + ต ปัจจัย ลบ ม ที่สุด ธาตุ ได้รูปเป็น โสรต แปลว่า ผู้ยินดีแล้วในกรรม อันงดงาม (แปลเอาความว่า ผู้สงบเสงี่ยม) เป็น สัตตมีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า โสภเณ (กมฺเม) รตา = โสรตา (ตุมฺเห)

ศัพท์บาลี --->>โสวณฺณมย-->> คำแปล --->>ว. อันสำเร็จแล้วด้วยทอง มาจาก สุวณฺณ ศัพท์ + มย ปัจจัย ในปกติตัทธิต ใช้แทน สิทฺธ แปลว่า สำเร็จแล้ว พฤทธิ อุ ที่ สุ เป็น โอ ได้รูปเป็น โสวณฺณมย แปลว่า อันสำเร็จแล้ว ด้วยทอง ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. โสวณฺณมโย (รโถ) อ. รถ อันสำเร็จแล้วด้วยทอง วิ.ว่า สุวณฺเณน สิทฺโธ = โสวณฺณมโย (รโถ) อิต. ลง อา เครื่องหมายอิต. แจกเหมือน กญฺญา เช่น ป.เอก. สุวณฺเณน สิทฺธา = โสวณฺณมยา (ปาติ) นปุ. แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. สุวณฺเณน สิทฺธํ = โสวณฺณมยํ (ภาชนํ)

ศัพท์บาลี --->>โสสานิก-->> คำแปล --->>ว. ผู้มีการอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ มาจาก สุสาน ศัพท์ + ณิก ปัจจัย ในตรตฺยาทิตัทธิต ใช้แทน วสิตุ สีลํ แปลว่า การอยู่...เป็นปกติ พฤทธิ อุ ต้นศัพท์เป็น โอ ลบ ณ เหลือไว้แต่ อิก ได้รูป เป็น โสสานิก แปลว่า ผู้มีการอยู่ในป่าช้าเป็น ปกติ ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น จ.พหุ. โสสานิกานํ (ภิกฺขูนํ) แก่ภิกษุ ท. ผู้มีการอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ วิ.ว่า สุสาเน วสิตุ สีลเมเตสนฺติ โสสานิกา (ภิกฺขู) การอยู่ ในป่าช้า เป็นปกติ ของภิกษุ ท. เหล่านั้น เหตุนั้น ภิกษุ ท. เหล่านั่น ชื่อว่า ผู้มี การอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ แต่ถ้าแปลว่า ผู้มี การอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร วิ.ว่า สุสาเน วสิตุ วตฺตเมเตสนฺติ โสสานิกา (ภิกฺขู) หรือแปลว่า ผู้อยู่ในป่าช้า วิ.ว่า สุสาเน วสนฺตีติ โสสานิกา (ภิกฺขู)

ศัพท์บาลี --->>โสสานิกธุตงฺค-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ธุดงค์แห่งภิกษุผู้อยู่ในป่าช้า แจกเหมือน กุล เช่น ทุ.เอก. โสสานิกธุตงฺคํ ซึ่งธุดงค์แห่งภิกษุผู้อยู่ในป่าช้า เป็นฉัฏฐีตัปปุริส สมาส วิ.ว่า โสสานิกสฺส (ภิกฺขุสฺส) ธุตงฺคํ = โสสานิกธุตงฺคํ

ศัพท์บาลี --->>โสสฺสาม-->> คำแปล --->>ก. (มยํ อ. เรา ท.) จักฟัง สุ ธาตุ ในความฟัง + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + สฺสาม ภวิสสันติวิภัตติ พฤทธิ อ ที่ สุ ธาตุเป็น โอ สำเร็จรูปเป็น โสสฺสาม

ศัพท์บาลี --->>โสสฺสามิ-->> คำแปล --->>ก. (อหํ อ. เรา) จักฟัง สุ ธาตุ ในความฟัง + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + สฺสามิ ภวิสสันติวิภัตติ พฤทธิ อ ที่ สุ ธาตุเป็น โอ สำเร็จรูปเป็น โสสฺสามิ

ศัพท์บาลี --->>โสฬส-->> คำแปล --->>ว. สิบหก แจกเหมือน ปญฺจ เป็นวิเสสนะ ของนามที่เป็นพหุ. ได้ทั้ง ๓ ลิงค์ ปุ. เช่น ป.พหุ. โสฬส ปุริสา = อ. บุรุษ ท. สิบหก อิต. เช่น ป.พหุ. โสฬส อิตฺถิโย = อ. หญิง ท. สิบหก นปุ. เช่น ป.พหุ. โสฬส กุลานิ = อ. ตระกูล ท. สิบหก

ศัพท์บาลี --->>โสฬสกฺขตฺตุ-->> คำแปล --->>นิ. สิ้นสิบหกครั้ง เป็นนิบาตมีเนื้อความต่างๆ เช่น สา (มลฺลิกา) โสฬสกฺขตฺตุ ... ปุตฺเต วิชายิ = อ. นางมัลลิกานั้น คลอดแล้ว ซึ่ง บุตร ท. ...สิ้นสิบหกครั้ง [ธ.๓: วิฑูฑภ-หน้า ๑๗]

ศัพท์บาลี --->>โสฬสงฺคุลิกณฺฏกํ-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. (ปโตทํ) ซึ่งปฎัก อันมีหนามอันบัณฑิตพึงกำหนดด้วยนิ้วมือสิบหก เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิสมาส มีอสมาหาร ทิคุสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ อ.ทิคุ.วิ. โสฬส องฺคุลิโย = โสฬสงฺคุลิโย ต.ตัป.วิ. โสฬสงฺคุลีหิ สลฺลกฺขิตพฺโพ = โสฬสงฺคุลิสลฺลกฺขิตพฺโพ (กณฺฏโก) ฉ.ตุล.วิ. โสฬสงฺคุลิสลฺลกฺขิตพฺโพ กณฺฏโก ยสฺส โส โสฬสงฺคุลิกณฺฏโก (ปโตโท) [บทสมาส ลบ สลฺลกฺขิตพฺพ ในท่ามกลาง]

ศัพท์บาลี --->>โสฬสวสฺสกาเล-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ในกาลแห่ง…มีกาลฝน สิบหก เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส มีฉัฏฐีตุลยา ธิกรณพหุพพิหิสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ ฉ.ตุล.วิ. โสฬส วสฺสานิ ยสฺส โส โสฬสวสฺโส (กุมาโร) ฉ.ตัป.วิ. โสฬส- วสฺสสฺส (กุมารสฺส) กาโล = โสฬสวสฺสกาโล แจกเหมือน ปุริส

ศัพท์บาลี --->>โสฬสวสฺสุทฺเทสิกกาเล-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ในกาลแห่ง…มี กาลฝนสิบหกอันบุคคลพึงแสดงขึ้น เป็น ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส มีสมาหารทิคุสมาส วิเสสนุตตรบท กัมมธารยสมาส และ อิก ปัจจัย ในตัสสัตถิตัทธิต เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ ส.ทิคุ.วิ. โสฬส วสฺสานิ = โสฬส วสฺสํ วิ.นุต.กัม.วิ. โสฬสวสฺสํ อุทฺเทสํ = โสฬสวสฺสุทฺเทสํ อิก.ตทัส.วิ. โสฬสวสฺสุทฺเทสํ อสฺส อตฺถีถิ โสฬสวสฺสุทฺเทสิโก (กุมาโร) ฉ.ตัป.วิ. โสฬสวสฺสุทฺเทสิกสฺส (กุมารสฺส) กาโล = โสฬสวสฺสุทฺเทสิกกาโล แจกเหมือน ปุริส

ศัพท์บาลี --->>โสฬสวสฺสุทฺเทสิกา-->> คำแปล --->>ว.,อิต. (อิตฺถี) อ. หญิง ผู้มี กาลฝนสิบหกอันบุคคลพึงแสดงขึ้น ลง อิก ปัจจัยในตทัสสัตกิตัทธิต มีสมาหารทิคุสมาส และวิเสสนุตตรบท กัมมธารยสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ ส.ทิคุ.วิ. โสฬส วสฺสานิ = โสฬสวสฺสํ วิ.นุต.กัม.วิ โสฬสวสฺสํ อุทฺเทสํ = โสฬส วสฺสุทฺเทสํ อิก.ตทัส.วิ. โสฬสวสฺสุทฺเทสํ อสฺสา อตฺถีติ โสฬสวสฺสุทฺเทสิกา (อิตฺถี)

ศัพท์บาลี --->>โสฬสี-->> คำแปล --->>ว. ที่สิบหก มาจาก โสฬส + อี ปัจจัย ใน ปูรณตัทธิต เป็นอิตถีลิงค์ เอกวจนะ แจกเหมือน นารี เช่น ทุ.เอก. โสฬสึ (กลํ) ซึ่งเสี้ยว ที่สิบหก วิ.ว่า โสฬสนฺนํ กลานํ ปูรณี = โสฬสี (กลา) เสี้ยว เป็นที่เต็ม แห่งเสี้ยว ท. สิบหก ชื่อว่า โสฬสีๆ ที่สิบหก

ศัพท์บาลี --->>โสฬสโยชนฏฺาน-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ที่มีโยชน์สิบหก แจกเหมือน กุล เช่น ทุ.เอก.โสฬสโยชนฏฺานํ สู่ที่มีโยชน์สิบหก เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส มีฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ ฉ.ตุล.วิ. โสฬส โยชนานิ ยสฺส ตํ โสฬสโยชนํ (านํ) วิ.บุพ. กัม.วิ. โสฬสโยชนํ านํ = โสฬสโยชนฏฺานํ [บทสมาส ซ้อน ฏฺ หน้า ]

ศัพท์บาลี --->>โสเธตพฺพ-->> คำแปล --->>ก. อัน…พึงให้หมดจด สุธ ธาตุ ในความหมดจด + เณ ปัจจัย ในเหตุกัตตุวาจก + ตพฺพ ปัจจัย พฤทธิ อุ ต้นธาตุเป็น โอ ลบ ณ เหลือไว้แต่ เอ ได้รูปเป็น โสเธตพฺพ ดู อชานิตพฺพ

ศัพท์บาลี --->>โสเธตุ-->> คำแปล --->>น. อ. อันอัน…ให้หมดจด, เพื่ออันให้หมดจด สุธ ธาตุ ในความหมดจด + เณ ปัจจัย ในเหตุกัตตุวาจก + ตุ ปัจจัย พฤทธิ อุ ต้นธาตุเป็น โอ ลบ ณ เหลือไว้แต่ เอ สำเร็จรูปเป็น โสเธตุ ดู อาคนฺตุ

ศัพท์บาลี --->>โสเธตฺวา-->> คำแปล --->>ก. ชำระแล้ว สุธ ธาตุ ในความหมดจด + เณ ปัจจัย ในกัตตุวาจก + ตฺวา ปัจจัย พฤทธิ อุ ต้นธาตุเป็น โอ ลบ ณ เหลือไว้แต่ เอ สำเร็จรูปเป็น โสเธตฺวา

ศัพท์บาลี --->>โสเธนฺต-->> คำแปล --->>ก. ยัง…ให้หมดจดอยู่ สุธ ธาตุ ในความ หมดจด + เณ ปัจจัย ในเหตุกัตตุวาจก + อนฺต ปัจจัย พฤทธิ อุ ต้นธาตุเป็น โอ ลบ ณ เหลือไว้ แต่ เอ ได้รูปเป็น โสเธนฺต ดู อกิลมนฺต

ศัพท์บาลี --->>โสเธยฺยาถ-->> คำแปล --->>ก. (ตุมฺเห อ. ท่าน ท.) ยัง…พึงให้หมดจด สุธ ธาตุ ในความหมดจด + เณ ปัจจัย ในเหตุกัตตุวาจก + เอยฺยาถ สัตตมีวิภัตติ พฤทธิ อุ ต้นธาตุเป็น โอ ลบ ณ เหลือไว้แต่ เอ เป็น โสเธ + เอยฺยาถ ลบสระหน้า คือ เอ ที่ เธ สำเร็จรูปเป็น โสเธยฺยาถ

ศัพท์บาลี --->>โสเภถ-->> คำแปล --->>ก. (เช่น ขมโสรตตฺตํ อ. ความที่แห่ง... เป็น ผู้ทั้งอดทนทั้งสงบเสงี่ยมแล้ว) พึงงาม สุภ ธาตุ ในความงาม + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + เอถ สัตตมีวิภัตติ พฤทธิ อุ ต้นธาตุเป็น โอ สำเร็จรูป เป็น โสเภถ

ศัพท์บาลี --->>โสเรยฺยตฺเถร-->> คำแปล --->>น.,ปุ. พระเถระชื่อว่าโสไรยะ แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. โสเรยฺยตฺเถโร อ. พระเถระชื่อว่าโสไรยะ เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า โสเรยฺโย เถโร = โสเรยฺยตฺเถโร [บทสมาส ซ้อน ตฺ หน้า ถ]

ศัพท์บาลี --->>โสเรยฺยตฺเถรวตฺถุ-->> คำแปล --->>น.,นปุ. อ. เรื่องแห่งพระเถระชื่อว่าโสไรยะ เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส มีวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ วิ.บุพ.กัม.วิ. โสเรยฺโย เถโร = โสเรยฺยตฺเถโร [บทสมาส ซ้อน ตฺ หน้า ถ] ฉ.ตัป.วิ. โสเรยฺยตฺเถรสฺส วตฺถุ = โสเรยฺยตฺเถรวตฺถุ

ศัพท์บาลี --->>โสเรยฺยนคร-->> คำแปล --->>น.,นปุ. พระนครชื่อว่าโสไรยะ แจก เหมือน กุล เช่น ทุ.เอก. โสเรยฺยนครํ สู่พระนครชื่อว่าโสไรยะ เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า โสเรยฺยํ นครํ = โสเรยฺยนครํ เฉพาะ ปัญจมีวิภัตติ ฝ่ายเอก. ลง โต ปัจจัย เป็น โสเรยฺยนครโต จากพระนครชื่อว่าโสไรยะ บ้าง

ศัพท์บาลี --->>โสเรยฺยนครวาสิโน-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. (ชนา) อ. ชน ท. ผู้อยู่ ในพระนครชื่อว่าโสไรยะโดยปกติ มาจาก โสเรยฺยนคร บทหน้า + วส ธาตุ ในความอยู่ + ณี ปัจจัย ด้วยอำนาจ ณี ปัจจัย ทีฆะ อ ต้นธาตุเป็น อา ลบ ณ เหลือไว้แต่ อี ได้รูปเป็น โสเรยฺยนครวาสี แปลว่า ผู้อยู่ในพระนครชื่อว่าโสไรยะ โดยปกติ เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่ง ตัสสีละ วิ.ว่า โสเรยฺยนคเร วสนฺติ สีเลนาติ โสเรยฺยนครวาสิโน (ชนา) แจกเหมือน เสฏฺี

ศัพท์บาลี --->>โสเรยฺยเสฏฺิปุตฺโต-->> คำแปล --->>น.,ปุ. อ. บุตรของเศรษฐีชื่อว่าโสไรยะ เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส มีวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ วิ.บุพ.กัม.วิ. โสเรยฺโย เสฏฺี = โสเรยฺยเสฏฺี ฉ.ตัป.วิ. โสเรยฺยเสฏฺิสฺส ปุตฺโต = โสเรยฺยเสฏฺิปุตฺโต แจกเหมือน ปุริส


คำศัทพ์