ศัพท์บาลี --->>อิติ-->> คำแปล --->>นิ. ว่า…ดังนี้, คือ, เพราะเหตุนั้น, ด้วยประการ ฉะนี้, ดังนี้แล เป็นนิบาตมีเนื้อความต่างๆ แปลว่า “ว่า…ดังนี้” เช่น อยํ ธมฺมเทสนา กตฺถ ภาสิตาติ (ปุจฺฉา) = อ. การถามว่า อ. พระธรรมเทศนานี้ อันพระศาสดา ตรัสแล้ว ในที่ไหน ดังนี้ [ธ.๑: จกฺขุปาล- หน้า ๓], แปลว่า “คือ” เช่น สารีปุตฺตตฺ เถโร มหาโมคฺคลฺลานตฺเถโรติ เทฺว อคฺคสาวกา = อ. พระอัครสาวก ท. สอง คือ อ. พระเถระชื่อว่า สารีบุตร อ. พระเถระชื่อว่ามหาโมคคัลลานะ [ธ.๑: วิฑูฑภวตฺถุ หน้า ๗], แปลว่า “เพราะเหตุนั้น” เช่น อิติ โส (เถโร) ตํทิวสํ มหาลตาปสาธนํ ทิสฺวา สตฺถุ อาโรเจสิ = เพราะเหตุนั้น ในวันนั้น อ. พระเถระนั้น เห็นแล้ว ซึ่งเครื่องประดับชื่อว่า มหาลดา กราบทูลแจ้งแล้ว แด่พระศาสดา [ธ.๓: วิสาขวตฺถุ หน้า ๖๘], แปลว่า “ด้วยประการฉะนี้” เช่น อิติ โส (โกตุหลิโก) … สตฺต วาเร ฉฑฺฑิโต = อ. นายโกตุหลิกนั้น อันบุคคล ทิ้งแล้ว สิ้นวาระ ท. เจ็ด ด้วยประการฉะนี้ [ธ.๒: สามาวตีวตฺถุ หน้า ๙], แปลว่า “ดังนี้แล” ส่วนใหญ่อยู่ตอนจบเรื่อง เช่น สมฺปตฺตปริสายปิ เทสนา สาตฺถิกา สผลา อโหสีติ = อ. เทศนา เป็นเทศนาเป็นไปกับด้วยประโยชน์ เป็นเทศนาเป็นไปกับด้วยผล ได้มีแล้ว แม้แก่ บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว ดังนี้แล [ธ. ๑: จกฺขุปาล- หน้า ๒๒]

ศัพท์บาลี --->>อิติปิ-->> คำแปล --->>นิ. แม้เพราะเหตุนี้ เช่น อิติปิ โส ภควา = แม้เพราะเหตุนี้ อ. พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ นั้น [ธ. ๔: มหากปฺปินตฺเถรวตฺถุ หน้า ๑๕]


คำศัทพ์