ศัพท์บาลี --->>อสฺส-->> คำแปล --->>๑ ก. (เช่น สมฺปตฺติ อ. สมบัติ) พึงมี, พึงเป็น อส ธาตุ ในความมี,ความเป็น + อ ปัจจัยใน กัตตุวาจก + เอยฺย สัตตมีวิภัตติ แปลง อส ธาตุ อ ปัจจัย เอยฺย วิภัตติ เป็น อสฺส สำเร็จรูปเป็น อสฺส

ศัพท์บาลี --->>อสฺส-->> คำแปล --->>๒ น.,ปุ. ม้า, เหลี่ยม แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.พหุ. อสฺสา อ. ม้า ท., จตุรสฺสา อ. เหลี่ยมสี่ ท. คำว่า จตุรสฺสา ตัดบทเป็น จตุ - อสฺสา สระอยู่หลัง ลง ร อาคม ต่อเป็น จตุรสฺสา

ศัพท์บาลี --->>อสฺส-->> คำแปล --->>๓ ว.,ปุ.,นปุ. นั้น ศัพท์เดิมเป็น ต และ อิม อ การันต์ ในปุ. และ นปุ. ลง ส จตุตถีวิภัตติ และ ฉัฏฐีวิภัตติ ฝ่ายเอกวจนะ แปลง ต และ อิม เป็น อ แปลง ส เป็น สฺส สำเร็จรูปเป็น อสฺส

ศัพท์บาลี --->>อสฺสชิตฺเถร-->> คำแปล --->>น.,ปุ. พระเถระชื่อว่าอัสสชิ แจก เหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. อสฺสชิตฺเถโร อ. พระเถระ ชื่อว่าอัสสชิ เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า อสฺสชิ เถโร = อสฺสชิตฺเถโร [ซ้อน ตฺ หน้า ถ]

ศัพท์บาลี --->>อสฺสชิปุนพฺพสุกวตฺถุ-->> คำแปล --->>น.,นปุ. อ. เรื่องแห่งภิกษุ ชื่อว่าอัสสชิและภิกษุชื่อว่าปุนัพพสุกะ เป็น ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส มีอสมาหารทวันทวสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ อ.ทวัน.วิ. อสฺสชิ จ ปุนพฺพสุโก จ = อสฺสชิปุนพฺพสุกา ฉ.ตัป.วิ. อสฺสชิปุนพฺพสุกานํ วตฺถุ = อสฺสชิปุนพฺพสุกวตฺถุ

ศัพท์บาลี --->>อสฺสชิปุนพฺพสุเก-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ซึ่งพระอัสสชิและพระ ปุนัพพสุกะ ท. เป็นอสมาหารทวันทวสมาส วิ.ว่า อสฺสชิ จ ปุนพฺพสุโก จ = อสฺสชิปุนพฺพสุกา แจกเหมือน ปุริส เฉพาะฝ่ายพหุ.

ศัพท์บาลี --->>อสฺสตร-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ม้าอัสดร แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.พหุ. อสฺสตรา อ. ม้าอัสดร ท.

ศัพท์บาลี --->>อสฺสทฺธ-->> คำแปล --->>๑ ว. ผู้ไม่เชื่อ น + สํ + ธา ธาตุ ในความทรงไว้ ด้วยอำนาจอุปสัค แปลว่า เชื่อ + ณ ปัจจัย แปลง น เป็น อ เพราะพยัญชนะอยู่หลัง ซ้อน สฺ หน้า ส แปลงนิคคหิตเป็น ทฺ เพราะ ธ อยู่หลัง ลบ อา ที่ ธา ธาตุ ได้รูปเป็น อสฺสทฺธ แปลว่า ผู้ไม่เชื่อ เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. อสฺสทฺโธ (นโร) อ. นระ ผู้ไม่เชื่อ [ธ. ๔: สารีปุตฺตตฺเถร หน้า ๗๓] วิ.ว่า น สทฺทหตีติ อสฺสทฺโธ (นโร) นระใด ย่อมไม่เชื่อ เหตุนั้น นระนั้น ชื่อว่า อสฺสทฺโธๆ ผู้ไม่เชื่อ

ศัพท์บาลี --->>อสฺสทฺธ-->> คำแปล --->>๒ ว. มีศรัทธาหามิได้ เป็นนบุพพบท พหุพพิหิสมาส ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. อสฺสทฺโธ (อุปาสโก) [ธ. ๓: ปาฏิกาชีวก- หน้า ๔๐] วิ.ว่า นตฺถิ ตสฺส สทฺธาติ อสฺสทฺโธ (อุปาสโก) ศรัทธา ของอุบาสกนั้น ไม่มี เหตุนั้น อุบาสกนั้น ชื่อว่าผู้มีศรัทธาหามิได้ อิต. แจกเหมือน กญฺญา เช่น ป.เอก. อสฺสทฺธา (อุปาสิกา) [ธ. ๓: ปาฏิกาชีวก หน้า ๔๐] วิ.ว่า นตฺถิ ตสฺสา สทฺธาติ อสฺสทฺธา (อุปาสิกา) ศรัทธา ของอุบาสิกานั้น ไม่มี เหตุนั้น อุบาสิกานั้น ชื่อว่าผู้มีศรัทธาหามิได้ [สทฺธา = ศรัทธา, ความศรัทธา, ความเชื่อ มาจาก สํ + ธา ธาตุ ในความทรงไว้ ด้วยอำนาจอุปสัค แปลว่า เชื่อ + ณ ปัจจัย ซ้อน สฺ หน้า ส แปลงนิคคหิตเป็น ทฺ เพราะ ธ อยู่หลัง ลบ ณ อิต. ได้รูปเป็น สทฺธา แปลว่า ความเชื่อ เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ วิ.ว่า สทฺทหนํ = สทฺธา ความเชื่อ ชื่อว่า สทฺธาๆ ความเชื่อ]

ศัพท์บาลี --->>อสฺสปิฏฺิ-->> คำแปล --->>น.,อิต. หลังแห่งม้า แจกเหมือน รตฺติ เช่น ส.เอก. อสฺสปิฏฺิยํ บนหลังแห่งม้า เฉพาะปัญจมีวิภัตติ ฝ่ายเอกวจนะ ลง โต ปัจจัย เป็น อสฺสปิฏฺิโต จากหลังแห่งม้า บ้าง เป็นฉัฏฐีตัปปุริส สมาส วิ.ว่า อสฺสสฺส ปิฏฺิ = อสฺสปิฏฺิ [คำว่า หลัง มี ๒ ศัพท์ คือ ปิฏฺิ = หลัง อิต. ปิฏฺ = หลัง นปุ. และคำว่า ปิฏฺ ยังแปลว่า แป้ง ด้วย]

ศัพท์บาลี --->>อสฺสพนฺธาทโย-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. (ชนา) อ. ชน ท. มีชนผู้ผูก ซึ่งม้าเป็นต้น เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส มีทุติยาตัปปุริสสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตาม ลำดับ ดังนี้ ทุ.ตัป.วิ. อสฺสํ พนฺโธ = อสฺสพนฺโธ (ชโน) ฉ.ตุล.วิ. อสฺสพนฺโธ อาทิ เยสํ เต อสฺสพนฺธาทโย (ชนา) ชนผู้ผูกซึ่งม้า เป็นต้น ของชน ท. เหล่าใด ชน ท. เหล่านั้น ชื่อว่ามีชน ผู้ผูกซึ่งม้าเป็นต้น แจกเหมือน มุนิ

ศัพท์บาลี --->>อสฺสม-->> คำแปล --->>น.,ปุ. อาศรม แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. อสฺสโม อ. อาศรม

ศัพท์บาลี --->>อสฺสมปท-->> คำแปล --->>น.,นปุ. อาศรมบท แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. อสฺสมปทํ อ. อาศรมบท

ศัพท์บาลี --->>อสฺสรกฺขนาทีนิ-->> คำแปล --->>ว.,นปุ. (กิจฺจานิ) ซึ่งกิจ ท. มีการ รักษาซึ่งม้าเป็นต้น เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพ พิหิสมาส มีฉัฏฐีตัปปุริสสมาส เป็นภายใน มี วิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ ฉ.ตัป.วิ. อสฺสสฺส รกฺขณํ = อสฺสรกฺขณํ ฉ.ตุล.วิ. อสฺสรกฺขณํ อาทิ เยสํ ตานิ อสฺสรกฺขนาทีนิ (กิจฺจานิ) การักษาซึ่งม้า เป็นต้น ของกิจ ท. เหล่าใด กิจ ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีการรักษาซึ่งม้าเป็นต้น แจกเหมือน อกฺขิ

ศัพท์บาลี --->>อสฺสรูปก-->> คำแปล --->>น.,นปุ. รูปแห่งม้า แจกเหมือน กุล เช่น ทุ.เอก. อสฺสรูปกํ ซึ่งรูปแห่งม้า

ศัพท์บาลี --->>อสฺสวาณิชก-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. ผู้ค้าซึ่งม้า แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.พหุ. อสฺสวาณิชกา (ชนา) อ. ชน ท. ผู้ค้าซึ่งม้า เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า อสฺสานํ วาณิชกา = อสฺสวาณิชกา (ชนา) คำว่า วาณิชกา มาจาก วณิช ธาตุ ในความค้าขาย + ณฺวุ ปัจจัย ด้วยอำนาจ ณฺวุ ปัจจัย ทีฆะ อ ต้นธาตุ เป็น อา แปลง ณฺวุ เป็น อก ได้รูปเป็น วาณิชก แปลว่า ผู้ค้า เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ วิ.ว่า วณิชนฺตีติ วาณิชกา (ชนา) ชน ท. เหล่าใด ย่อมค้าขาย เหตุนั้น ชน ท. เหล่านั้น ชื่อว่า วาณิชกาๆ ผู้ค้าขาย

ศัพท์บาลี --->>อสฺสวาหน-->> คำแปล --->>น.,นปุ. พาหนะคือม้า แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. อสฺสวาหนํ อ. พาหนะคือม้า เป็น อวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า อสฺโส เอว วาหนํ = อสฺสวาหนํ

ศัพท์บาลี --->>อสฺสสต-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ร้อยแห่งม้า ดู อตฺตภาวสต

ศัพท์บาลี --->>อสฺสสนฺต-->> คำแปล --->>ก. หายใจเข้าอยู่ อา บทหน้า + สส ธาตุ ในความหายใจ + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + อนฺต ปัจจัย รัสสะ อา บทหน้า เป็น อ ซ้อน สฺ หน้า ส ได้รูปเป็น อสฺสสนฺต ดู อกิลมนฺต

ศัพท์บาลี --->>อสฺสสหสฺส-->> คำแปล --->>น.,นปุ. พันแห่งม้า ดู อตฺตภาวสหสฺส

ศัพท์บาลี --->>อสฺสา-->> คำแปล --->>ว.,อิต. นั้น ศัพท์เดิมเป็น ต และ อิม แปลง อ เป็น อา, อา การันต์ ในอิต. ลง ส จตุตถีวิภัตติ และฉัฏฐีวิภัตติ ฝ่ายเอกวจนะ รัสสะ อา เป็น อ แปลง ต และ อิม เป็น อ แปลง ส เป็น สฺสา สำเร็จรูปเป็น อสฺสา

ศัพท์บาลี --->>อสฺสาท-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ความเบาใจ แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. อสฺสาโท อ. ความเบาใจ มาจาก อา บทหน้า + สท ธาตุ ในความยินดี + ณ ปัจจัย รัสสะ อา บทหน้า เป็น อ ซ้อน สฺ หน้า ส ด้วยอำนาจ ณ ปัจจัย ทีฆะ อ ต้นธาตุ เป็น อา ลบ ณ ได้รูปเป็น อสฺสาท แปลว่า ความเบาใจ เป็นภาวรูป ภาว สาธนะ วิ.ว่า อสฺสสนํ = อสฺสาโท ความหายใจทั่ว ชื่อว่า อสฺสาโทๆ ความหายใจทั่ว (ความเบาใจ)

ศัพท์บาลี --->>อสฺสามิกภาว-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ความที่แห่ง…เป็นหญิงมีสามี หามิได้ แจกเหมือน ปุริส เช่น ทุ.เอก. อสฺสามิก ภาวํ ซึ่งความที่แห่ง…เป็นหญิงมีสามีหามิได้ เป็น ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส มีนบุพพบทพหุพพิหิสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ นบุพ. พหุพ.วิ. นตฺถิ ตสฺสา สามิโกติ อสฺสามิกา (อิตฺถี) ฉ.ตัป.วิ. อสฺสามิกาย (อิตฺถิยา) ภาโว = อสฺสามิกภาโว

ศัพท์บาลี --->>อสฺสาสิยมาน-->> คำแปล --->>ก. อัน…ให้เบาใจอยู่, อัน...ให้หายใจ ทั่วอยู่ อา บทหน้า + สส ธาตุ ในความหายใจ + เณ ปัจจัยในเหตุกัตตุวาจก + อิ อาคม หน้า ย ปัจจัย + มาน ปัจจัย เป็นเหตุกัมมวาจก รัสสะ อา บทหน้า เป็น อ ซ้อน สฺ หน้า ส ด้วยอำนาจ เณ ปัจจัย ทีฆะ อ ต้นธาตุ เป็น อา ลบ ณ เหลือไว้แต่ เอ เป็น อสฺสาเส + อิ อาคม หน้า ย ลบสระหน้า คือ เอ ที่ เส ได้รูปเป็น อสฺสาสิยมาน ดู อชานมาน

ศัพท์บาลี --->>อสฺสาเสตฺวา-->> คำแปล --->>ก. ยัง...ให้เบาใจแล้ว อา บทหน้า + สส ธาตุ ในความหายใจ + เณ ปัจจัยในเหตุ กัตตุวาจก + ตฺวา ปัจจัย รัสสะ อา บทหน้า เป็น อ ซ้อน สฺ หน้า ส ด้วยอำนาจ เณ ปัจจัย ทีฆะ อ ต้นธาตุ เป็น อา ลบ ณ เหลือไว้แต่ เอ สำเร็จรูป เป็น อสฺสาเสตฺวา

ศัพท์บาลี --->>อสฺสาเสสิ-->> คำแปล --->>ก. (เช่น สามเณโร อ. สามเณร) ยัง… ให้เบาใจแล้ว อา บทหน้า + สส ธาตุ ในความ หายใจ + เณ ปัจจัยในเหตุกัตตุวาจก + อี อัชชัตตนีวิภัตติ รัสสะ อา บทหน้า เป็น อ ซ้อน สฺ หน้า ส ด้วยอำนาจ เณ ปัจจัย ทีฆะ อ ต้นธาตุ เป็น อา ลบ ณ เหลือไว้แต่ เอ ลง ส อาคม รัสสะ อี เป็น อิ สำเร็จรูปเป็น อสฺสาเสสิ

ศัพท์บาลี --->>อสฺสาโรหน-->> คำแปล --->>ว. ผู้ขึ้นสู่ม้า ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น จ.พหุ. อสฺสาโรหนานํ (ชนานํ) แก่ชน ท. ผู้ขึ้นสู่ม้า เป็นทุติยาตัปปุริสสมาส วิ.ว่า อสฺสํ อาโรหนา = อสฺสาโรหนา (ชนา) คำว่า อาโรหน ในคำว่า อสฺสาโรหน มาจาก อา + รุห ธาตุ ในความขึ้น + ยุ ปัจจัย แปลง ยุ เป็น อน ได้รูปเป็น อาโรหน แปลว่า ผู้ขึ้น เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ วิ.ว่า อาโรหนฺตีติ อาโรหนา (ชนา) ชน ท. เหล่าใด ย่อมขึ้น เหตุนั้น ชน ท. เหล่านั้น ชื่อว่า อาโรหนาๆ ผู้ขึ้น

ศัพท์บาลี --->>อสฺสุ-->> คำแปล --->>๑ น.,นปุ. นํ้าตา แจกเหมือน วตฺถุ เช่น ทุ.พหุ. อสฺสูนิ ซึ่งนํ้าตา ท.

ศัพท์บาลี --->>อสฺสุ-->> คำแปล --->>๒ ก. (เช่น วตฺถูนิ อ. เรื่อง ท. ) พึงมี, พึง เป็น อส ธาตุ ในความมี, ความเป็น + อ ปัจจัยใน กัตตุวาจก + เอยฺยุ สัตตมีวิภัตติ แปลง อส ธาตุ อ ปัจจัย เอยฺยุ วิภัตติ เป็น อสฺสุ สำเร็จรูปเป็น อสฺสุ

ศัพท์บาลี --->>อสฺสุชล-->> คำแปล --->>น.,นปุ. นํ้าคือนํ้าตา แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. อสฺสุชลํ อ. นํ้าคือนํ้าตา เป็นอวธารณ บุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า อสฺสุ เอว ชลํ = อสฺสุชลํ

ศัพท์บาลี --->>อสฺสุณนฺต-->> คำแปล --->>ก. ไม่ฟังอยู่ น + สุ ธาตุ ในความฟัง + ณา ปัจจัยในกัตตุวาจก + อนฺต ปัจจัย แปลง น เป็น อ เพราะพยัญชนะอยู่หลัง ซ้อน สฺ หน้า สุ ธาตุ ลบ อา ที่ ณา ปัจจัย ได้รูปเป็น อสฺสุณนฺต ดู อกิลมนฺต

ศัพท์บาลี --->>อสฺสุต-->> คำแปล --->>ก. อัน…ไม่ฟังแล้ว น + สุ ธาตุ ในความฟัง + ต ปัจจัย แปลง น เป็น อ เพราะพยัญชนะอยู่หลัง ซ้อน สฺ หน้า สุ ธาตุ ได้รูปเป็น อสฺสุต ดู อกต

ศัพท์บาลี --->>อสฺสุตปุพฺพ-->> คำแปล --->>ว. อัน…ไม่ฟังแล้วในก่อน (ไม่เคยฟัง แล้ว) เป็นสัตตมีตัปปุริสสมาส ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. อสฺสุตปุพฺโพ (ธมฺโม) อ. ธรรม อัน…ไม่ฟังแล้วในก่อน (ไม่เคยฟังแล้ว) วิ.ว่า ปุพฺเพ อสฺสุโต = อสฺสุตปุพฺโพ (ธมฺโม) นปุ. แจกเหมือน กุล เช่น อสฺสุตปุพฺพํ (วจนํ) อ. คำ อัน… ไม่ฟังแล้วในก่อน (ไม่เคยฟังแล้ว) วิ.ว่า ปุพฺเพ อสฺสุตํ = อสฺสุตปุพฺพํ (วจนํ) ดู อลทฺธปุพฺพ

ศัพท์บาลี --->>อสฺสุตปุพฺพตฺต-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ความที่แห่งคำเป็นคำอัน ตนไม่ฟังแล้วในก่อน (…ไม่เคยฟังแล้ว) ลง ตฺต ปัจจัย ใน ภาวตัทธิต มีสัตตมีตัปปุริสสมาส เป็น ภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ ส.ตัป.วิ. ปุพฺเพ อสฺสุตํ = อสฺสุตปุพฺพํ (วจนํ) ตฺต.ภาว.วิ. อสฺสุตปุพฺพสฺส (วจนสฺส) ภาโว = อสฺสุตปุพฺพตฺตํ แจกเหมือน กุล เฉพาะฝ่ายเอก.

ศัพท์บาลี --->>อสฺสุตฺวา-->> คำแปล --->>ก. ไม่ฟังแล้ว น + สุ ธาตุ ในความฟัง + ตฺวา ปัจจัย แปลง น เป็น อ เพราะพยัญชนะอยู่ หลัง ซ้อน สฺ หน้า สุ ธาตุ สำเร็จรูปเป็น อสฺสุตฺวา

ศัพท์บาลี --->>อสฺสุปุณฺณ-->> คำแปล --->>ว. อันเต็มแล้วด้วยนํ้าตา นปุ. แจก เหมือน กุล เช่น ต.พหุ. อสฺสุปุณฺเณหิ (เนตฺเตหิ) มีนัยน์ตา ท. อันเต็มแล้วด้วยนํ้าตา เป็นฉัฏฐีตัป ปุริสสมาส วิ.ว่า อสฺสูนํ ปุณฺณานิ = อสฺสุปุณฺณานิ (เนตฺตานิ) นัยน์ตา ท. อันเต็มแล้วด้วยนํ้าตา [ศัพท์ ที่แปลว่า ด้วย อยู่หน้า ปูร ธาตุ เวลาตั้งวิเคราะห์ ให้ประกอบเป็นฉัฏฐีวิภัตติ แล้วเรียกชื่อสมาสตาม วิภัตติที่ปรากฏในรูปวิเคราะห์]

ศัพท์บาลี --->>อสฺสุปุณฺณเนตฺต-->> คำแปล --->>ว. มีตาอันเต็มแล้วด้วยนํ้าตา เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส มีตติยาตัป ปุริสสมาส เป็นภายใน ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.พหุ. อสฺสุปุณฺณเนตฺตา (ภิกฺขู) อ. ภิกษุ ท. ผู้มีตา อันเต็มแล้วด้วยนํ้าตา [ธ. ๑: จกฺขุปาล- หน้า ๑๑] มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ ต.ตัป.วิ. อสฺสูนํ ปุณฺณานิ = อสฺสุปุณฺณานิ (เนตฺตานิ) ฉ.ตุล.วิ. อสฺสุปุณฺณานิ เนตฺตานิ เยสํ เต อสฺสุ- ปุณฺณเนตฺตา (ภิกฺขู) ตา ท. ของภิกษุ ท. เหล่าใด เต็มแล้วด้วยนํ้าตา ภิกษุ ท. เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้มีตาอันเต็มแล้วด้วยนํ้าตา อิต. แจกเหมือน กญฺญา เช่น ป.เอก. อสฺสุปุณฺณเนตฺตา (เถรี) อ. พระเถรี ผู้มีตาอันเต็มแล้วด้วยนํ้าตา

ศัพท์บาลี --->>อสฺสุมุข-->> คำแปล --->>ว. มีหน้าอันชุ่มแล้วด้วยนํ้าตา เป็นฉัฏฐี ตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส มีตติยาตัปปุริสสมาส เป็นภายใน ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. อสฺสุมุโข (ติสฺโส) อ. พระติสสะ ผู้มีหน้าอันชุ่ม แล้วด้วยนํ้าตา มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ ต.ตัป.วิ. อสฺสูหิ ตินฺตํ = อสฺสุตินฺตํ (มุขํ) ฉ.ตุล.วิ. อสฺสุตินฺตํ มุขํ ยสฺส โส อสฺสุมุโข (ติสฺโส) [ลบ ตินฺต] หน้า ของพระติสสะใด อันชุ่มแล้วด้วยนํ้าตา พระติสสะนั้น ชื่อว่าผู้มีหน้าอันชุ่มแล้วด้วยนํ้าตา อิต. ลง อี เครื่องหมายอิตถีลิงค์ แจกเหมือน นารี เช่น ป.เอก. อสฺสุมุขี (เถรี) อ. พระเถรี ผู้มีหน้า อันชุ่มแล้วด้วยนํ้าตา ต.ตัป.วิ. อสฺสูหิ ตินฺตํ = อสฺสุตินฺตํ (มุขํ) ฉ.ตุล.วิ. อสฺสุตินฺตํ มุขํ ยสฺสา สา อสฺสุมุขี (เถรี) [มัชเฌโลป คือ ลบ ตินฺต] หน้าของพระเถรีใด อันชุ่มแล้วด้วยนํ้าตา พระเถรีนั้น ชื่อว่าผู้มีหน้าอันชุ่มแล้วด้วยนํ้าตา

ศัพท์บาลี --->>อสฺสํ-->> คำแปล --->>ก. (อหํ อ. เรา) พึงมี, พึงเป็น อส ธาตุ ใน ความมี, ความเป็น + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + เอยฺยามิ สัตตมีวิภัตติ แปลง อส ธาตุ อ ปัจจัย เอยฺยามิ วิภัตติ เป็น อสฺสํ สำเร็จรูปเป็น อสฺสํ


คำศัทพ์