ศัพท์บาลี --->>หิ-->> คำแปล --->>นิ. ก็, จริงอยู่, เพราะว่า, ด้วยว่า, ความพิสดารว่า, ความย่อว่า, เหมือนอย่างว่า เป็นนิบาตสำหรับผูกศัพท์และประโยคมีอัตถะเป็นอเนก แปลว่า “ก็” เป็นการแปลลอยๆ ไม่เน้นความ เช่น ตาต หิ อตฺตโน หตฺถปาทาปิ = ดูก่อนพ่อ ก็ แม้ อ. มือและเท้า ท. ของตน [ธ. ๑: จกฺขุปาล- หน้า ๖] แปลว่า “จริงอยู่” เป็นการเน้นความ เช่น ตถาคโต หิ ... วสิ = จริงอยู่ อ. พระตถาคต ประทับ อยู่แล้ว [ธ. ๑: จกฺขุปาล- หน้า ๔] แปลว่า “เพราะว่า, ด้วยว่า” เป็นเหตุ เช่น อหํ หิ ... (ปารมิโย) ปูเรสึ = เพราะว่า อ. เรา ยังบารมี ท. ให้เต็มแล้ว [ธ. ๑: จกฺขุปาล- หน้า ๕] แปลว่า “ความพิสดารว่า หรือ ดังจะกล่าวโดยพิสดาร” สำหรับเรื่องยาว เช่น โกสมฺพิยํ หิ ... ภิกฺขู วิหรึสุ = ความพิสดารว่า อ. ภิกษุ ท. อยู่แล้ว ... ในพระนครชื่อว่าโกสัมพี [ธ. ๑: โกสมฺพิกวตฺถุ หน้า ๔๙] แปลว่า “ความย่อว่า หรือ ดังจะกล่าวโดยย่อ” สำหรับเรื่องสั้น เช่น เอกทิวสํ หิ เถโร ... โอโลเกนฺโต นิสีทิ = ความย่อว่า ในวันหนึ่ง อ. พระเถระ ... นั่งแลดูอยู่แล้ว [ธ. ๒: มหากสฺสป-หน้า ๙๑] แปลว่า “เหมือนอย่างว่า” เป็นการเปรียบเทียบ ต้องอยู่ใกล้ ยถา (ยถา อยู่หน้า หิ) และมี ตถา หรือ เอวํ รับ โดยมากอยู่ในแก้อรรถ แต่ที่อยู่ใน ท้องนิทานก็มี เช่น ยถา หิ ทุคฺคตมนุสฺสา ... ขิปฺปเมว นิกฺขมนฺติ = เหมือนอย่างว่า อ. มนุษย์ ผู้ถึงแล้วซึ่งยาก ท. ... ย่อมออกไป พลันนั่นเทียว ฉันใด [ธ. ๑: สญฺชยวตฺถุ หน้า ๘๗]

ศัพท์บาลี --->>หิต-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ประโยชน์เกื้อกูล, ความเกื้อกูล แจกเหมือน กุล เช่น จ.เอก. หิตาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูล

ศัพท์บาลี --->>หิตกร-->> คำแปล --->>วิ. ผู้ทำการเกื้อกูล, ผู้ทำประโยชน์เกื้อกูล, ผู้ทำการอุดหนุน.

ศัพท์บาลี --->>หิตกาม-->> คำแปล --->>ว. ผู้ใคร่ซึ่งความเกื้อกูล ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. หิตกาโม (ปิตา) อ. บิดา ผู้ใคร่ซึ่งความเกื้อกูล เป็นทุติยาตัปปุริสสมาส วิ.ว่า หิตํ กาโม = หิตกาโม (ปิตา)

ศัพท์บาลี --->>หิตกฺกร-->> คำแปล --->>วิ. ผู้ทำการเกื้อกูล, ผู้ทำประโยชน์เกื้อกูล, ผู้ทำการอุดหนุน.

ศัพท์บาลี --->>หิตตกฺกโร-->> คำแปล --->>วิ. ผู้ทำประโยชน์เกื้อกูล หิตกฺกร+สิ วิ. หิตํ กโรตีติ หิตกฺกโร (ผู้ทำประโยชน์เกื้อกูล ชื่อว่า หิตกฺกร) มาจาก หิต+กร+อ (หิตสัททูปปท+กร ธาตุ+อ ปัจจัย) เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ หรือเป็นทุติยาตัปปุริสสมาส ก็ได้, ลง อ ปัจจัยด้วยสูตรว่า สพฺพโตณฺวุตฺวาวี วา (รู ๕๖๘)

ศัพท์บาลี --->>หิตฺวา-->> คำแปล --->>ก. ละแล้ว หา ธาตุ ในความละ + ตฺวา ปัจจัย แปลง อา ที่ หา เป็น อิ สำเร็จรูปเป็น หิตฺวา

ศัพท์บาลี --->>หิมวนฺต-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ป่าหิมพานต์ แจกเหมือน กุล เช่น ทุ.เอก. หิมวนฺตํ สู่ป่าหิมพานต์ เฉพาะปัญจมีวิภัตติ ฝ่ายเอก. ลง โต ปัจจัย เป็น หิมวนฺตโต จากป่าหิมพานต์ บ้าง

ศัพท์บาลี --->>หิมวนฺตปฺปเทส-->> คำแปล --->>๑ น.,ปุ. หิมวันตประเทศ แจกเหมือน ปุริส เช่น ส.เอก. หิมวนฺตปฺปเทเส ในหิมวันตประเทศ

ศัพท์บาลี --->>หิมวนฺตปฺปเทส-->> คำแปล --->>๒ น.,ปุ. ประเทศชื่อว่าหิมพานต์ แจกเหมือน ปุริส เช่น ส.เอก. หิมวนฺตปฺปเทเส ในประเทศชื่อว่าหิมพานต์ เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า หิมวนฺโต ปเทโส = หิมวนฺตปฺปเทโส [บทสมาส ซ้อน ปฺ หน้า ป]

ศัพท์บาลี --->>หิมวนฺตปฺปเทส-->> คำแปล --->>๓ น.,ปุ. ประเทศแห่งป่าหิมพานต์ แจกเหมือน ปุริส เช่น ส.เอก. หิมวนฺตปฺปเทเส ในประเทศแห่งป่าหิมพานต์ เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า หิมวนฺตสฺส ปเทโส = หิมวนฺตปฺ- ปเทโส [บทสมาส ซ้อน ปฺ หน้า ป]

ศัพท์บาลี --->>หิยฺโย-->> คำแปล --->>นิ. ในวันวาน เป็นนิบาตบอกกาล เช่น หิยฺโย ตยา ทาเน ทินฺเน = ครั้นเมื่อทาน อันพระองค์ ทรงถวายแล้ว ในวันวาน [ธ. ๑: สญฺชยวตฺถุ หน้า ๙๔]

ศัพท์บาลี --->>หิรญฺญสุวณฺณํ-->> คำแปล --->>น.,นปุ. อ. เงินและทอง เป็น สมาหารทวันทวสมาส วิ.ว่า หิรญฺญญฺจ สุวณฺณญฺจ = หิรญฺญสุวณฺณํ แจกเหมือน กุล

ศัพท์บาลี --->>หิรญฺญาทีหิ-->> คำแปล --->>ว.,นปุ. (วตฺถูหิ) ด้วยวัตถุ ท. มีเงิน เป็นต้น เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส วิ.ว่า หิรญฺญ อาทิ เยสํ ตานิ หิรญฺญาทีนิ (วตฺถูนิ) แจกเหมือน อกฺขิ

ศัพท์บาลี --->>หิริ-->> คำแปล --->>น.,นปุ. อ.ทรัพย์คือหิริ เป็นอวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า หิริ เอว ธนํ = หิริ [บทสมาส ลบ ธน]

ศัพท์บาลี --->>หิโรตฺตปฺปวิรหิตา-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. (ชนา) อ. ชน ท. ผู้เว้น แล้วจากหิริและโอตตัปปะ เป็นปัญจมีตัปปุริส สมาส มีสมาหารทวันทวสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ ส.ทวัน.วิ. หิริ จ โอตฺตปฺปญฺจ = หิโรตฺตปฺปํ ปัญจ.ตัป.วิ. หิโรตฺตปฺปสฺมา วิรหิตา = หิโรตฺตปฺปวิรหิตา (ชนา)

ศัพท์บาลี --->>หิโรตฺตปฺปสมฺปนฺนา-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. (ชนา) อ. ชน ท. ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยหิริและโอตตัปปะ เป็น ตติยาตัปปุริสสมาส มีสมาหารทวันทวสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ ส.ทวัน.วิ. หิริ จ โอตฺตปฺปญฺจ = หิโรตฺตปฺปํ ต.ตัป.วิ. หิโรตฺตปฺเปน สมฺปนฺนา = หิโรตฺตปฺปสมฺปนฺนา (ชนา)

ศัพท์บาลี --->>หิโรตฺตปฺปํ-->> คำแปล --->>น.,นปุ. อ. หิริและโอตตัปปะ เป็น สมาหารทวันทวสมาส วิ.ว่า หิริ จ โอตฺตปฺปญฺจ = หิโรตฺตปฺปํ แจกเหมือน กุล เฉพาะฝ่ายเอก.


คำศัทพ์