ศัพท์บาลี --->>ยถา-->> คำแปล --->>นิ. ฉันใด, โดยประการใด, ราวกะ, อย่างไร แปลว่า “ฉันใด” เช่น ยถา หิ ทุคฺคตมนุสฺสา …นิกฺขมนฺติ = เหมือนอย่างว่า อ. มนุษย์ผู้ถึงแล้วซึ่ง ยาก ท. … ย่อมออกไป ฉันใด [ธ. ๑ : สญฺชยวตฺถุ หน้า ๘๗] แปลว่า “โดยประการใด” เช่น ยถา เม ธนจฺเฉโท น โหติ = อ. ความขาดไปแห่งทรัพย์ ของเรา ย่อมไม่มี โดยประการใด [ธ. ๑: มฏฺ กุณฺฑลิวตฺถุ หน้า ๒๓] แปลว่า “ราวกะ” เช่น มณิ โชติรโส ยถา = ราวกะ อ. แก้วมณี ชื่อว่าโชติรส [ธ. ๒ : สามาวตีวตฺถุ หน้า ๓๗] แปลว่า “อย่างไร” เช่น ยถาห = อ. พระธรรมสังคห กาจารย์ กล่าวแล้ว อย่างไร [ธ.๑: โกสมฺพิกวตฺถุ หน้า ๕๓] หรือเป็นศัพท์สมาส เช่น ยถาโต (ปุคฺคโล) อ. บุคคล ผู้ยืนอยู่แล้วอย่างไร

ศัพท์บาลี --->>ยถาจินฺติต-->> คำแปล --->>ว. อัน…คิดแล้วอย่างไร ยถา + จินฺต ธาตุ + ต ปัจจัย ลง อิ อาคม ได้รูปเป็น ยถาจินฺติต ดู อกต

ศัพท์บาลี --->>ยถาชฺฌาสย-->> คำแปล --->>ว. ผู้มีอัธยาศัยอย่างไร ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ต.เอก. ยถาชฺฌาสเยน (ปุคฺคเลน) อันบุคคล ผู้มีอัธยาศัยอย่างไร เป็นฉัฏฐีตุลยา ธิกรณพหุพพิหิสมาส วิ.ว่า ยถา อชฺฌาสโย ยสฺส โส ยถาชฺฌาสโย (ปุคฺคโล) อัธยาศัย ของ บุคคลใด อย่างไร บุคคลนั้น ชื่อว่าผู้มีอัธยาศัยอย่างไร

ศัพท์บาลี --->>ยถาชฺฌาสยํ-->> คำแปล --->>น. ตามอัธยาศัย, ตามอัธยาศัยอย่างไร ถ้าแปลว่า ตามอัธยาศัย เป็นนปุ. แจกเหมือน กุล เป็นนิปาตปุพพกะ อัพยยีภาวสมาส วิ.ว่า อชฺฌาสยสฺส ปฏิปาฏิ = ยถาชฺฌาสยํ ลำดับ แห่งอัธยาศัย ชื่อว่าตามอัธยาศัย [เหมือน ยถาวุฑฺฒํ วิ. วุฑฺฒานํ ปฏิปาฏิ = ยถาวุฑฺฒํ ลำดับ แห่งคนเจริญแล้ว ท. ชื่อว่าตามคนเจริญแล้ว) ถ้าแปลว่า ตามอัธยาศัยอย่างไร เป็นปุ. เป็น วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ยถา อชฺฌาสโย = ยถาชฺฌาสโย แจกเหมือน ปุริส เช่น ต.เอก. ยถาชฺฌาสเยน ตามอัธยาศัยอย่างไร

ศัพท์บาลี --->>ยถาฏฺาน-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ที่อย่างไร แจกเหมือน กุล เช่น ส.เอก. ยถาฏฺาเน ในที่อย่างไร เป็นวิเสสน บุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ยถา าเน = ยถาฏฺานํ [ซ้อน ฏฺ หน้า ]

ศัพท์บาลี --->>ยถาตํ-->> คำแปล --->>นิ. ฉันใดแล เช่น ยถาตํ อปฺปทุฏฺสฺส ปทุฏฺมโน (อนปฺปกํ โทมนสฺสํ ปฏิเวเทสิ) = อ. บุคคล ผู้มีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว ต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายแล้ว เสวยเฉพาะแล้ว ซึ่งความโทมนัส อันมิใช่น้อย ฉันใดแล [ธ. ๒: สามาวตี วตฺถุ หน้า ๑๘]

ศัพท์บาลี --->>ยถานิสินฺน-->> คำแปล --->>ว. ผู้นั่งแล้วอย่างไร ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. ยถานิสินฺโน (ภิกฺขุ) อ. ภิกษุ ผู้นั่งแล้วอย่างไร

ศัพท์บาลี --->>ยถานุสิฏฺ-->> คำแปล --->>ว. อัน…พรํ่าสอนแล้วอย่างไร มาจาก ยถา + อนุ + สาส ธาตุ ในความสั่งสอน + ต ปัจจัย แปลง อา ที่ สาส ธาตุ เป็น อิ ธาตุมี ส เป็นที่สุด แปลง ต เป็น ฏฺ ลบ ส ที่สุดธาตุ ได้รูปเป็น ยถานุสิฏฺ ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ทุ.เอก. ยถานุสิฏฺ (โอวาทํ) ซึ่งโอวาท อัน…พรํ่าสอน แล้วอย่างไร

ศัพท์บาลี --->>ยถาปตฺถิต-->> คำแปล --->>ว. อัน…ปรารถนาแล้วอย่างไร มาจาก ยถา + ปตฺถ ธาตุ ในความปรารถนา + ต ปัจจัย ลง อิ อาคม ได้รูปเป็น ยถาปตฺถิต อิต. แจกเหมือน กญฺญา เช่น ป.เอก. ยถาปตฺถิตา (ปตฺถนา) อ. ความปรารถนา อันตนปรารถนาแล้ว อย่างไร

ศัพท์บาลี --->>ยถาปุรํ-->> คำแปล --->>นิ. ตามนัยก่อน เช่น ยถาปุรํ อจริตฺวา = ไม่เที่ยวไปแล้ว ตามนัยก่อน [ธ. ๒ : สามาวตี วตฺถุ หน้า ๒๕]

ศัพท์บาลี --->>ยถาปูร-->> คำแปล --->>ว. อันเต็มอย่างไร มาจาก ยถา + ปูร ธาตุ ในความเต็ม + อ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ นปุ. แจกเหมือน กุล เช่น ป.พหุ. ยถาปูรานิ (วตฺถูนิ) อ. วัตถุ ท. อันเต็มอย่างไร วิ.ว่า ยถา ปูเรนฺตีติ ยถาปูรานิ (วตฺถูนิ) วัตถุ ท. เหล่าใด ย่อมเต็ม อย่างไร เหตุนั้น วัตถุ ท. เหล่านั้น ชื่อว่าอันเต็มอย่างไร แจกเหมือน กุล

ศัพท์บาลี --->>ยถาผาสุกฏฺาน-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ที่อันมีความสำราญอย่างไร แจกเหมือน กุล เช่น ทุ.เอก. ยถา- ผาสุกฏฺานํ สู่ที่อันมีความสำราญอย่างไร เป็น วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส มีฉัฏฐีตุลยา ธิกรณพหุพพิหิสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ ตามลำดับ ดังนี้ ฉ.ตุล.วิ. ยถา ผาสุกํ ยสฺส ตํ ยถาผาสุกํ (านํ) วิ.บุพ.กัม.วิ. ยถาผาสุกํ านํ = ยถาผาสุกฏฺานํ [ซ้อน ฏฺ]

ศัพท์บาลี --->>ยถาพลํ-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ตามกำลัง เป็นนิปาตปุพพกะ อัพยยีภาวสมาส วิ.ว่า พลสฺส ปฏิปาฏิ = ยถาพลํ ลำดับ แห่งกำลัง ชื่อว่าตามกำลัง

ศัพท์บาลี --->>ยถาภิรนฺตํ-->> คำแปล --->>ว.,นปุ. ตามความพอพระทัย เป็น นิปาตปุพพกะ อัพยยีภาวสมาส วิ.ว่า อภิรนฺตสฺส ปฏิปาฏิ = ยถาภิรนฺตํ ลำดับ แห่งความพอพระทัย ชื่อว่าตามความพอพระทัย คำว่า อภิรนฺต ในคำว่า ยถาภิรนฺตํ มาจาก อภิ บทหน้า + รม ธาตุ ในความยินดี + ต ปัจจัยในนามกิตก์ (นอกแบบ) แปลง ม ที่สุดธาตุเป็น นฺ ได้รูปเป็น อภิรนฺต แปลว่า ความยินดียิ่ง, ความพอพระทัย เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ วิ.ว่า อภิรมนํ = อภิรนฺตํ ความยินดียิ่ง ชื่อว่า อภิรนฺตํๆ ความยินดียิ่ง (ความพอพระทัย)

ศัพท์บาลี --->>ยถามน-->> คำแปล --->>น. ใจอย่างไร ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ต.เอก. ยถามเนน ด้วยใจอย่างไร เป็นวิเสสน บุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ยถา มโน = ยถามโน

ศัพท์บาลี --->>ยถารุจิ-->> คำแปล --->>น.,อิต. ความชอบใจอย่างไร แจกเหมือน รตฺติ เช่น ต.เอก. ยถารุจิยา ตามความชอบใจ อย่างไร เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ยถา รุจิ = ยถารุจิ

ศัพท์บาลี --->>ยถารุจิตฏฺาน-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ที่อันตนชอบใจแล้วอย่างไร แจกเหมือน กุล เช่น ส.เอก. ยถา- รุจิตฏฺาเน ในที่อันตนชอบใจแล้วอย่างไร เป็น วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ยถารุจิตํ านํ = ยถารุจิตฏฺานํ [ซ้อน ฏฺ]

ศัพท์บาลี --->>ยถารูป-->> คำแปล --->>ว. มีอย่างใดเป็นรูป,มีรูปอย่างไร ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ส.เอก. ยถารูเป (สมเณ) ในสมณะ ผู้มีอย่างใดเป็นรูป,ผู้มีรูปอย่างไร เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส วิ.ว่า ยถา รูปํ ยสฺส โส ยถารูโป (สมโณ)

ศัพท์บาลี --->>ยถาลทฺธ-->> คำแปล --->>ว. อัน…ได้แล้วอย่างไร มาจาก ยถา บทหน้า + ลภ ธาตุ ในความได้ + ต ปัจจัย แปลง ต เป็น ทฺธ ลบ ภ ที่สุดธาตุ ได้รูปเป็น ยถาลทฺธ ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ต.เอก. ยถาลทฺเธน (อาหาเรน) ด้วยอาหาร อัน…ได้แล้วอย่างไร ดู อกต

ศัพท์บาลี --->>ยถาสก-->> คำแปล --->>ว. อันเป็นของตนอย่างไร แจกได้ใน ๓ ลิงค์ นปุ. แจกเหมือน กุล เช่น ทุ.พหุ. ยถาสกานิ (กุลานิ) สู่ตระกูล ท. อันเป็นของตนอย่างไร [ธ. ๓: วิฑูฑภวตฺถุ หน้า ๑๙]

ศัพท์บาลี --->>ยถาสตฺติ-->> คำแปล --->>๑ น.,อิต. ความสามารถอย่างไร แจกเหมือน รตฺติ เช่น ต.เอก. ยถาสตฺติยา ตามความ สามารถอย่างไร เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารย สมาส วิ.ว่า ยถา สตฺติ = ยถาสตฺติ ความ สามารถอย่างไร

ศัพท์บาลี --->>ยถาสตฺติ-->> คำแปล --->>๒ น.,นปุ. ตามความสามารถ เป็นนิปาต ปุพพกะ อัพยยีภาวสมาส วิ.ว่า สตฺติยา ปฏิปาฏิ = ยถาสตฺติ ลำดับ แห่งความสามารถ ชื่อว่าตามความสามารถ แจกเหมือน อกฺขิ

ศัพท์บาลี --->>ยถาสภาว-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ความเป็นจริงอย่างไร แจกเหมือน ปุริส เช่น ต.เอก. ยถาสภาเวน ตามความเป็นจริงอย่างไร เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ยถา สภาโว = ยถาสภาโว ลง โต ปัจจัย เป็น ยถาสภาวโต ตามความเป็นจริงอย่างไร ก็มี

ศัพท์บาลี --->>ยถาสุขํ-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ตามความสบาย, ตามสบาย แจกเหมือน กุล เฉพาะฝ่ายเอก. เป็นนิปาต ปุพพกะ อัพยยีภาวสมาส วิ.ว่า สุขสฺส ปฏิปาฏิ = ยถาสุขํ ลำดับ แห่งความสุข (ความสบาย) ชื่อ ว่าตามความสุข, ตามความสบาย, ตามสบาย

ศัพท์บาลี --->>ยถาโธต-->> คำแปล --->>ว. อัน…ล้างแล้วอย่างไร มาจาก ยถา + โธวุ ธาตุ ในความล้าง + ต ปัจจัย ลบ วุ ที่สุดธาตุ ได้รูปเป็น ยถาโธต ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ต.เอก. ยถาโธเตน (ปตฺเตน) ด้วยทั้งบาตร อัน…ล้างแล้วอย่างไร

ศัพท์บาลี --->>ยถาิต-->> คำแปล --->>ว. ผู้ยืนอยู่แล้วอย่างไร มาจาก ยถา + า ธาตุ ในความยืนอยู่ + ต ปัจจัย แปลง อา ที่ า เป็น อิ ได้รูปเป็น ยถาิต ดู นิพฺพินฺน


คำศัทพ์