ศัพท์บาลี --->>ปน-->> คำแปล --->>นิ. ก็, แต่ว่า, ส่วนว่า, ถึงอย่างนั้น เป็น นิบาตสำหรับผูกศัพท์และประโยคมีอัตถะเป็น อเนก แปลว่า “ก็” เช่น กตมํ ปน ภนฺเต คนฺถธุรํ = ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ อ. คันถธุระ เป็นไฉน ย่อมเป็น [ธ. ๑: จกฺขุปาล- หน้า ๗], แปลว่า “แต่ว่า” เช่น วิปสฺสนาธุรํ ปน ปูเรสฺสามิ = แต่ว่า อ. ข้าพระองค์ ยังวิปัสสนาธุระ จักให้เต็ม [ธ. ๑: จกฺขุปาล- หน้า ๗], แปลว่า “ส่วนว่า” เช่น โส ปน เทวโล ... ส่วนว่า อ. ดาบสชื่อว่าเทวละนั้น... [ธ. ๑: ติสฺส- หน้า ๓๘], แปลว่า “ถึงอย่างนั้น” (แปลรับ กิญฺจาปิ = แม้ก็จริง) เช่น ปญฺญา ปน เต มนฺทา = ถึงอย่างนั้น อ. ปัญญา ของพระองค์ เป็นธรรมชาติน้อย ย่อมเป็น [ธ. ๓: อญฺญตร- หน้า ๑๐๕]

ศัพท์บาลี --->>ปนสกทลิผลาทีนิ-->> คำแปล --->>ว.,นปุ. (นานาผลานิ) ซึ่งผลไม้ ต่างๆ ท. มีผลแห่งขนุนและกล้วยเป็นต้น [ธ. ๑: โกสมฺพิกวตฺถุ หน้า ๕๘] เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณ พหุพพิหิสมาส มีอสมาหารทวันทวสมาส และฉัฏฐีตัปปุริสสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ ตามลำดับ ดังนี้ อ.ทวัน.วิ. ปนโส จ กทลิ จ = ปนสกทลิโย [ปนส = ขนุน,ต้นขนุน ปุ., กทลิ = กล้วย,ต้นกล้วย อิต.] ฉ.ตัป.วิ. ปนสกทลีนํ ผลํ = ปนสกทลิผลํ ฉ.ตุล.วิ. ปนสกทลิผลํ อาทิ เยสํ ตานิ ปนสกทลิผลาทีนิ (นานาผลานิ) ผลแห่งขนุนและกล้วย ท. เป็นต้น ของผลไม้ต่างๆ ท. เหล่าใด ผลไม้ต่างๆ ท. เหล่านั้น ชื่อว่ามีผล แห่งขนุนและกล้วยเป็นต้น แจกเหมือน อกฺขิ

ศัพท์บาลี --->>ปนฺตเสนาสนาภิรต-->> คำแปล --->>ว. ผู้ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะ อันสงัดแล้ว ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ฉ.เอก. ปนฺตเสนาสนาภิรตสฺส (ภิกฺขุสฺส) แห่งภิกษุ ผู้ ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะอันสงัดแล้ว เป็นสัตตมี ตัปปุริสสมาส มีวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ วิ.บุพ. กัม.วิ. ปนฺตํ เสนาสนํ = ปนฺตเสนาสนํ ส.ตัป.วิ. ปนฺตเสนาสเน อภิรโต = ปนฺต- เสนาสนาภิรโต (ภิกฺขุ)

ศัพท์บาลี --->>ปนฺถ-->> คำแปล --->>น.,ปุ. หนทางเปลี่ยว แจกเหมือน ปุริส เช่น ส.เอก. ปนฺเถ ในหนทางเปลี่ยว

ศัพท์บาลี --->>ปนฺถก-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ปันถก แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. ปนฺถโก อ. ปันถก


คำศัทพ์