ศัพท์บาลี --->>นคร-->> คำแปล --->>น.,นปุ. พระนคร แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. นครํ อ. พระนคร เฉพาะปัญจมีวิภัตติ ฝ่ายเอกวจนะ ลง โต ปัจจัย เป็น นครโต บ้าง

ศัพท์บาลี --->>นครทฺวาร-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ประตูแห่งพระนคร แจก เหมือน กุล เช่น ทุ.เอก. นครทฺวารํ ซึ่งประตูแห่ง พระนคร เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า นครสฺส ทฺวารํ = นครทฺวารํ

ศัพท์บาลี --->>นครทฺวารนฺตร-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ระหว่างแห่งประตูแห่ง พระนคร แจกเหมือน กุล เช่น ส.เอก. นคร- ทฺวารนฺตเร ที่ระหว่างแห่งประตูแห่งพระนคร เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส มีฉัฏฐีตัปปุริสสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ ฉ.ตัป.วิ. นครสฺส ทฺวารํ = นครทฺวารํ ฉ.ตัป.วิ. นครทฺวารสฺส อนฺตรํ = นครทฺวารนฺตรํ

ศัพท์บาลี --->>นครทฺวารปาลก-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. ผู้รักษาซึ่งประตูแห่ง พระนคร แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. นคร- ทฺวารปาลโก (ปุคฺคโล) อ. บุคคล ผู้รักษาซึ่ง ประตูแห่งพระนคร เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส มีฉัฏฐีตัปปุริสสมาส เป็นภายใน มีวิเคราะห์ ตามลำดับ ดังนี้ ฉ.ตัป.วิ. นครสฺส ทฺวารํ = นครทฺวารํ ฉ.ตัป.วิ. นครทฺวารสฺส ปาลโก = นครทฺวารปาลโก (ปุคฺคโล) คำว่า ปาลก ในคำว่า นครทฺวารปาลก มาจาก ปาล ธาตุ ในความรักษา + ณฺวุ ปัจจัย แปลง ณฺวุ เป็น อก ได้รูปเป็น ปาลก แปลว่า ผู้รักษา เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ วิ.ว่า ปาเลตีติ ปาลโก (ปุคฺคโล) บุคคลใด ย่อมรักษา เหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า ปาลโกๆ ผู้รักษา

ศัพท์บาลี --->>นครปทกฺขิณ-->> คำแปล --->>น.,นปุ. การปทักษิณซึ่งพระนคร แจกเหมือน กุล เช่น ทุ.เอก. นครปทกฺขิณํ ซึ่ง การปทักษิณซึ่งพระนคร เป็นทุติยาตัปปุริสสมาส วิ.ว่า นครํ ปทกฺขิณํ = นครปทกฺขิณํ

ศัพท์บาลี --->>นครปริคฺคาหิกา-->> คำแปล --->>ว.,อิต. (เทวตา) อ. เทวดา ท. ผู้ถือเอารอบซึ่งพระนคร เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า นครสฺส ปริคฺคาหิกา = นครปริคฺคาหิกา (เทวตา) คำว่า ปริคฺคาหิกา ในคำว่า นครปริคฺ- คาหิกา มาจาก ปริ + คห ธาตุ ในความถือเอา + ณฺวุ ปัจจัย ด้วยอำนาจ ณฺวุ ปัจจัย ทีฆะ อ ต้นธาตุ เป็น อา ซ้อน คฺ หน้าธาตุ แปลง ณฺวุ เป็น อก ลง อิ อาคม และ อา เครื่องหมายอิตถีลิงค์ ได้รูปเป็น ปริคฺคาหิกา แปลว่า ผู้ถือเอารอบ (ผู้รักษา) เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ วิ.ว่า ปริคฺคณฺหนฺตีติ ปริคฺคาหิกา (เทวตา) แจกเหมือน กญฺญา

ศัพท์บาลี --->>นครวาสี-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. (ชน) ผู้อยู่ในพระนครโดยปกติ มาจาก นคร + วส ธาตุ ในความอยู่ + ณี ปัจจัย ด้วยอำนาจ ณี ปัจจัย ทีฆะ อ ต้นธาตุ เป็น อา ลบ ณ เหลือไว้แต่ อี ได้รูปเป็น นครวาสี แปลว่า ผู้อยู่ในพระนครโดยปกติ เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ วิ.ว่า นคเร วสติ สีเลนาติ นครวาสี (ชโน) ชนใด ย่อมอยู่ ในพระนคร โดยปกติ เหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า นครวาสีๆ ผู้อยู่ในพระนครโดยปกติ แจกเหมือน เสฏฺ

ศัพท์บาลี --->>นครวีถิ-->> คำแปล --->>น.,อิต. ถนนในพระนคร แจกเหมือน รตฺติ เช่น ส.เอก. นครวีถิยํ ในถนนในพระนคร เป็นสัตตมีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า นคเร วีถิ = นครวีถิ

ศัพท์บาลี --->>นคราภิมุขี-->> คำแปล --->>ว.,อิต. (ยกฺขินี) อ.นางยักษิณี ผู้มีหน้า เฉพาะต่อพระนคร เป็นฉัฏฐีภินนาธิกรณพหุพ พิหิสมาส วิ.ว่า นครสฺส อภิมุขํ ยสฺสา สา นคราภิมุขี (ยกฺขินี) หน้าเฉพาะ ต่อพระนคร ของนางยักษิณีใด (มีอยู่) นางยักษิณีนั้น ชื่อว่า นคราภิมุขีๆ ผู้มีหน้าเฉพาะต่อพระนคร [บท สมาสลง อี เครื่องหมายอิตถีลิงค์] แจกเหมือน นารี

ศัพท์บาลี --->>นคราภิมุโข-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. (เถโร) อ. พระเถระ ผู้มีหน้า เฉพาะต่อพระนคร เป็นฉัฏฐีภินนาธิกรณพหุพ พิหิสมาส วิ.ว่า นครสฺส อภิมุขํ ยสฺส โส นคราภิมุโข (เถโร) หน้าเฉพาะ ต่อพระนคร ของพระเถระใด (มีอยู่) พระเถระนั้น ชื่อว่า นคราภิมุโขๆ ผู้มีหน้าเฉพาะต่อพระนคร แจก เหมือน ปุริส

ศัพท์บาลี --->>นครูปม-->> คำแปล --->>ว.,นปุ. (จิต) มีนครเป็นเครื่องเปรียบ แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. นครูปมํ (จิตฺตํ) อ. จิต มีนครเป็นเครื่องเปรียบ เป็นฉัฏฐีตุลยา ธิกรณพหุพพิหิสมาส วิ.ว่า นครํ อุปมา ยสฺส ตํ นครูปมํ (จิตฺตํ) นคร เป็นเครื่องเปรียบ ของจิตใด จิตนั้น ชื่อว่ามีนครเป็นเครื่องเปรียบ

ศัพท์บาลี --->>นครโสภินี-->> คำแปล --->>ว.,อิต. (อิตฺถี) อ. หญิง ผู้ยังพระนคร ให้งาม มาจาก นคร + สุภ ธาตุ ในความงาม + ณี ปัจจัย ด้วยอำนาจ ณี ปัจจัย พฤทธิ อุ ต้นธาตุ เป็น โอ ลบ ณ เหลือไว้แต่ อี อิต. แปลง อี เป็น อินี ได้รูปเป็น นครโสภินี แปลว่า ผู้ยังพระนคร ให้งาม เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ วิ.ว่า นครํ โสภาเปตีติ นครโสภินี (อิตฺถี) หญิงใด ยัง พระนคร ย่อมให้งาม เหตุนั้น หญิงนั้น ชื่อว่า นครโสภินีๆ ผู้ยังพระนครให้งาม


คำศัทพ์