มีข้อมูลที่ใกล้เคียงคือ

ศัพท์บาลี --->>ตุจฺฉ-->> คำแปล --->>ว. ว่าง, เปล่า ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. ตุจฺโฉ (วิหาโร) อ. วิหาร อันเปล่า อิต. แจกเหมือน กญฺญา เช่น ป.เอก. ตุจฺฉา (ปาติ) อ. ถาด อันเปล่า นปุ. แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. ตุจฺฉํ (ภาชนํ) อ. ภาชนะ อันเปล่า

ศัพท์บาลี --->>ตุจฺฉปจฺฉิ-->> คำแปล --->>น.,อิต. กระเช้าอันเปล่า แจกเหมือน รตฺติ เช่น ทุ.เอก. ตุจฺฉปจฺฉึ ซึ่งกระเช้าอันเปล่า เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ตุจฺฉา ปจฺฉิ = ตุจฺฉปุจฺฉิ

ศัพท์บาลี --->>ตุจฺฉปาติ-->> คำแปล --->>น.,อิต. ถาดอันเปล่า แจกเหมือน รตฺติ เช่น ทุ.เอก. ตุจฺฉปาตึ ซึ่งถาดอันเปล่า เป็น วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ตุจฺฉา ปาติ = ตุจฺฉปาติ

ศัพท์บาลี --->>ตุจฺฉภาชน-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ภาชนะอันเปล่า แจกเหมือน กุล เช่น ทุ.เอก. ตุจฺฉภาชนํ ซึ่งภาชนะอันเปล่า เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ตุจฺฉํ ภาชนํ = ตุจฺฉภาชนํ

ศัพท์บาลี --->>ตุจฺฉภาว-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ความที่แห่งภาชนะเป็นของเปล่า แจกเหมือน ปุริส เช่น ทุ.เอก. ตุจฺฉภาวํ ซึ่งความ ที่แห่งภาชนะเป็นของเปล่า เป็นฉัฏฐีตัปปุริส สมาส วิ.ว่า ตุจฺฉสฺส ภาโว = ตุจฺฉภาโว

ศัพท์บาลี --->>ตุจฺฉวิหาร-->> คำแปล --->>น.,ปุ. พระวิหารอันเปล่า,-อันว่าง แจกเหมือน ปุริส เช่น ทุ.เอก. ตุจฺฉวิหารํ สู่ พระวิหารอันเปล่า เป็นวิเสสนบุพพบท กัมม ธารยสมาส วิ.ว่า ตุจฺโฉ วิหาโร = ตุจฺฉวิหาโร

ศัพท์บาลี --->>ตุจฺฉสกฏ-->> คำแปล --->>น.,นปุ. เกวียนอันเปล่า แจกเหมือน กุล เช่น ต.พหุ. ตุจฺฉสกเฏหิ ด้วยเกวียนอันเปล่า ท. เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ตุจฺฉานิ สกฏานิ = ตุจฺฉสกฏานิ

ศัพท์บาลี --->>ตุจฺฉหตฺถ-->> คำแปล --->>ว. ผู้มีมือเปล่า ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.พหุ. ตุจฺฉหตฺถา (ชนา) อ. ชน ท. ผู้มี มือเปล่า เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส วิ.ว่า ตุจฺฉา หตฺถา เยสํ เต ตุจฺฉหตฺถา (ชนา) มือ ท. ของชน ท. เหล่าใด เปล่า ชน ท. เหล่านั้น ชื่อว่าผู้มีมือเปล่า

ศัพท์บาลี --->>ตุฏฺ-->> คำแปล --->>ก. ยินดีแล้ว ตุส ธาตุ ในความยินดี + ต ปัจจัย แปลง ต เป็น ฏฺ ลบ ส ที่สุดธาตุ ได้รูปเป็น ตุฏฺ ดู อกิลนฺต

ศัพท์บาลี --->>ตุฏฺจิตฺต-->> คำแปล --->>ว. ผู้มีจิตยินดีแล้ว ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. ตุฏฺจิตฺโต (อุปาสโก) อ. อุบาสก ผู้มีจิตยินดีแล้ว เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิ สมาส วิ.ว่า ตุฏฺ จิตฺตํ ยสฺส โส ตุฏฺจิตฺโต (อุปาสโก) จิต ของอุบาสกใด ยินดีแล้ว อุบาสก นั้น ชื่อว่าผู้มีจิตยินดีแล้ว

ศัพท์บาลี --->>ตุฏฺภาว-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ความที่แห่ง…เป็นผู้ยินดีแล้ว แจกเหมือน ปุริส เช่น ทุ.เอก. ตุฏฺภาวํ ซึ่งความ ที่แห่ง…เป็นผู้ยินดีแล้ว เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า ตุฏฺสฺส ภาโว = ตุฏฺภาโว

ศัพท์บาลี --->>ตุฏฺมนุสฺส-->> คำแปล --->>น.,ปุ. มนุษย์ผู้ยินดีแล้ว แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.พหุ. ตุฏฺมนุสฺสา อ. มนุษย์ผู้ยินดี แล้ว ท. เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ตุฏฺา มนุสฺสา = ตุฏฺมนุสฺสา

ศัพท์บาลี --->>ตุฏฺมานส-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ผู้มีใจยินดีแล้ว แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. ตุฏฺมานโส (อุปาสโก) อ. อุบาสก ผู้มีใจยินดีแล้ว เป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณ พหุพพิหิสมาส วิ.ว่า ตุฏฺโ มานโส ยสฺส โส ตุฏฺมานโส (อุปาสโก) ใจ ของอุบาสกใด ยินดี แล้ว อุบาสกนั้น ชื่อว่าผู้มีใจยินดีแล้ว

ศัพท์บาลี --->>ตุฏฺหฏฺ-->> คำแปล --->>ว. ผู้ทั้งยินดีแล้วทั้งร่าเริงแล้ว ปุ. แจก เหมือน ปุริส เช่น ป.พหุ. ตุฏฺหฏฺา (มนุสฺสา) อ. มนุษย์ ท. ผู้ทั้งยินดีแล้วทั้งร่าเริงแล้ว เป็น วิเสสโนภยบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ตุฏฺา จ หฏฺา จ = ตุฏฺหฏฺา (มนุสฺสา) มนุษย์ ท. ยินดี แล้วด้วย ร่าเริงแล้วด้วย ชื่อว่าผู้ทั้งยินดีแล้วทั้ง ร่าเริงแล้ว

ศัพท์บาลี --->>ตุฏฺิ-->> คำแปล --->>น.,อิต. ความยินดี แจกเหมือน รตฺติ เช่น ทุ.เอก. ตุฏฺึ ซึ่งความยินดี คำว่า ตุฏฺิ มาจาก ตุส ธาตุ ในความยินดี + ติ ปัจจัย แปลง ติ เป็น ฏฺ ลบ ส ที่สุดธาตุ ได้รูปเป็น ตุฏฺิ แปลว่า ความยินดี เป็นภาวรูป ภาวสาธนะ วิ.ว่า ตุสนํ = ตุฏฺิ

ศัพท์บาลี --->>ตุฏฺิทาย-->> คำแปล --->>น.,ปุ. รางวัลแห่งความยินดี แจก เหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. ตุฏฺิทาโย อ. รางวัล แห่งความยินดี เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า ตุฏฺิยา ทาโย = ตุฏฺิทาโย

ศัพท์บาลี --->>ตุณฺฑ-->> คำแปล --->>น.,นปุ. จะงอยปาก แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. ตุณฺฑํ อ. จะงอยปาก

ศัพท์บาลี --->>ตุณฺฑิลชาตก-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ตุณฑิลชาดก แจกเหมือน กุล เช่น ส.เอก. ตุณฺฑิลชาตเก ในตุณฑิลชาดก

ศัพท์บาลี --->>ตุณฺฑิโลวาท-->> คำแปล --->>น.,ปุ. โอวาทของสุกรผู้เป็นบัณฑิต ชื่อว่าตุณฑิละ แจกเหมือน ปุริส เช่น ทุ.เอก. ตุณฺฑิโลวาทํ ซึ่งโอวาทของสุกรผู้เป็นบัณฑิต ชื่อว่าตุณฑิละ เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า ตุณฺฑิลสฺส (ปณฺฑิตสูกรสฺส) โอวาโท = ตุณฺฑิโลวาโท

ศัพท์บาลี --->>ตุณฺหี-->> คำแปล --->>ว. นิ่ง ปุ. แจกเหมือน เสฏฺ เช่น ป.เอก. ตุณฺหี (ปุคฺคโล) อ. บุคคล ผู้นิ่ง

ศัพท์บาลี --->>ตุณฺหีภาว-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้นิ่ง แจก เหมือน ปุริส เช่น ทุ.เอก. ตุณฺหีภาวํ ซึ่งความ เป็นแห่งบุคคลผู้นิ่ง เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า ตุณฺหิสฺส (ปุคฺคลสฺส) ภาโว = ตุณฺหีภาโว

ศัพท์บาลี --->>ตุณฺหีภูต-->> คำแปล --->>ว. ผู้เป็นผู้นิ่งเป็น ดู กลาพุราชภูต

ศัพท์บาลี --->>ตุมฺห-->> คำแปล --->>น. (สัพพนาม) ท่าน ฝ่ายเอกวจนะ แปลว่า ท่าน ฝ่ายพหุวจนะ แปลว่า ท่าน ท. เป็น ๒ ลิงค์ คือ ปุ. และ อิต. แจกเหมือนกัน เช่น ป.เอก. ตฺวํ อ. ท่าน พหุ. ตุมฺเห อ. ท่าน ท.

ศัพท์บาลี --->>ตุมฺหาทิส-->> คำแปล --->>ว.,ปุ. ผู้เช่นกับด้วยเธอ แจกเหมือน ปุริส เช่น ฉ.พหุ. ตุมฺหาทิสานํ (ชนานํ) แห่ง ชน ท. ผู้เช่นกับด้วยเธอ เป็นตติยาตัปปุริสสมาส วิ.ว่า ตยา อาทิสา = ตุมฺหาทิสา (ชนา)

ศัพท์บาลี --->>ตุมฺหาทิสี-->> คำแปล --->>ว.,อิต. ผู้เช่นกับด้วยเธอ แจกเหมือน นารี เช่น ป.พหุ. ตุมฺหาทิสิโย (อิตฺถิโย) อ. หญิง ท. ผู้เช่นกับด้วยเธอ เป็นตติยาตัป ปุริสสมาส วิ.ว่า ตยา อาทิสิโย = ตุมฺหาทิสิโย (อิตฺถิโย)

ศัพท์บาลี --->>ตุวฏํ-->> คำแปล --->>นิ. ด่วน เช่น ตุวฏํ โข อาคจฺเฉยฺยาสิ = อ. ท่าน พึงมา ด่วน แล [ธ.๑: นนฺทตฺเถร- หน้า ๑๐๙]

ศัพท์บาลี --->>ตุสติ-->> คำแปล --->>ก. (เช่น เสฏฺ อ. เศรษฐี) ย่อมยินดี ตุส ธาตุ ในความยินดี + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + ติ วัตต มานาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น ตุสติ

ศัพท์บาลี --->>ตุสิตปุร-->> คำแปล --->>น.,นปุ. บุรีชื่อว่าดุสิต แจกเหมือน กุล เช่น ส.เอก. ตุสิตปุเร ในบุรีชื่อว่าดุสิต เป็น วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ตุสิตํ ปุรํ = ตุสิตปุรํ

ศัพท์บาลี --->>ตุสิตภวน-->> คำแปล --->>น.,นปุ. ภพชื่อว่าดุสิต แจกเหมือน กุล เช่น ป.เอก. ตุสิตภวนํ อ. ภพชื่อว่าดุสิต เป็น วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ตุสิตํ ภวนํ = ตุสิตภวนํ

ศัพท์บาลี --->>ตุสิตวิมาน-->> คำแปล --->>น.,นปุ. วิมานชื่อว่าดุสิต แจกเหมือน กุล เช่น ส.เอก. ตุสิตวิมาเน ในวิมานชื่อว่าดุสิต เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ.ว่า ตุสิตํ วิมานํ = ตุสิตวิมานํ

ศัพท์บาลี --->>ตุสิตฺวา-->> คำแปล --->>ก. ยินดีแล้ว ตุส ธาตุ ในความยินดี + ตฺวา ปัจจัย ลง อิ อาคม สำเร็จรูปเป็น ตุสิตฺวา

ศัพท์บาลี --->>ตุสฺสติ-->> คำแปล --->>ก. (เช่น มหาชโน อ. มหาชน) ย่อมยินดี ตุส ธาตุ ในความยินดี + ย ปัจจัยในกัตตุวาจก + ติ วัตตมานาวิภัตติ แปลง ย กับ ส เป็น สฺส สำเร็จรูปเป็น ตุสฺสติ

ศัพท์บาลี --->>ตุสฺสิ-->> คำแปล --->>ก. (เช่น มหาชโน อ. มหาชน) ยินดีแล้ว ตุส ธาตุ ในความยินดี + ย ปัจจัยในกัตตุวาจก + อี อัชชัตตนีวิภัตติ แปลง ย กับ ส เป็น สฺส รัสสะ อี เป็น อิ สำเร็จรูปเป็น ตุสฺสิ

ศัพท์บาลี --->>ตุสฺสิสฺสติ-->> คำแปล --->>ก. (เช่น เทวตา อ. เทวดา) จักยินดี ตุส ธาตุ ในความยินดี + ย ปัจจัยในกัตตุวาจก + สฺสติ ภวิสสันติวิภัตติ แปลง ย กับ ส เป็น สฺส ลง อิ อาคม สำเร็จรูปเป็น ตุสฺสิสฺสติ

ศัพท์บาลี --->>ตุสฺสึสุ-->> คำแปล --->>ก. (เช่น มนุสฺสา อ. มนุษย์ ท.) ยินดีแล้ว ตุส ธาตุ ในความยินดี + ย ปัจจัยในกัตตุวาจก + อุ อัชชัตตนีวิภัตติ แปลง ย กับ ส เป็น สฺส แปลง อุ เป็น อึสุ สำเร็จรูปเป็น ตุสฺสึสุ


คำศัทพ์