ศัพท์บาลี --->>ตถา-->> คำแปล --->>นิ. ฉันนั้น, อ. เหมือนอย่างนั้น คือว่า, เหมือนอย่างนั้น, โดยประการนั้น เป็นนิบาต บอกประการ แปลว่า ฉันนั้น (รับ ยถา = ฉันใด) เช่น ... ตถา โสปิ เต ปาเณ น ปสฺสติ = อ. จักขุบาล แม้นั้น ย่อมไม่เห็น ซึ่งสัตว์ตัวมีปราณะ ท. เหล่านั้น ฉันนั้น [ธ. ๑: จกฺขุปาล- หน้า ๑๙], แปลว่า อ. เหมือนอย่างนั้น คือว่า เช่น ตถา วิสาขาย มหา อุปาสิกาย (เคเห เทฺว ภิกฺขุสหสฺสานิ ภุญฺชนฺติ) = อ. เหมือนอย่างนั้น คือว่า อ. พันแห่งภิกษุ ท. สอง ย่อมฉัน ในเรือน ของมหาอุบาสิกา ชื่อว่า วิสาขา [ธ. ๑: สุมนาเทวีวตฺถุ หน้า ๑๔๑], แปลว่า เหมือนอย่างนั้น เช่น ราชา ตถา กาเรสิ = อ. พระราชา ทรงยังราชบุรุษ ท. ให้กระทำแล้ว เหมือนอย่างนั้น [ธ. ๑: ติสฺสตฺเถรวตฺถุ หน้า ๔๐], แปลว่า โดยประการนั้น เช่น อหํ ปุพฺเพ ยถา ตถา ชีวิตํ กปฺเปนฺตีปิ ...= อ. หม่อมฉัน แม้สำเร็จ อยู่ ซึ่งชีวิต โดยประการใด โดยประการนั้น ใน กาลก่อน ... [ธ. ๑: กาลียกฺขินิยา…หน้า ๔๗]

ศัพท์บาลี --->>ตถาคต-->> คำแปล --->>น.,ปุ. พระตถาคต (พระนามของ พระพุทธเจ้าอีกพระนามหนึ่ง) แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. ตถาคโต อ. พระตถาคต ; [พระนามของพระพุทธเจ้า ที่ปรากฏมาก มี ดังนี้ ๑. พุทฺธ = พระพุทธเจ้า ๒. สมฺมาสมฺพุทฺธ = พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓. สตฺถุ = พระศาสดา ๔. ภควนฺตุ = พระผู้มีพระภาคเจ้า ๕. ทสพล = พระทศพล ๖. ตถาคต = พระตถาคต ๗. โคตม = พระโคดม ๘. มุนิ = พระมุนี ๙. โลกนาถ = พระโลกนาถ ๑๐. สุคต = พระสุคต ๑๑. นรสีห = พระนรสีห์ ๑๒. ธมฺมราช = พระธรรมราชา ๑๓. มหามุนิ = พระมหามุนี ๑๔. สพฺพญฺญู = พระสัพพัญญู ๑๕. สยมฺภู = พระสยัมภู ๑๖. มุนินฺท = พระมุนินทร์ ๑๗. ชิน = พระชินเจ้า ๑๘. องฺคีรส = พระอังคีรส ๑๙. สกฺยมุนิ = พระศากยมุนี

ศัพท์บาลี --->>ตถาคตคารว-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ความเคารพในพระตถาคต แจกเหมือน ปุริส เช่น ต.เอก. ตถาคตคารเวน ด้วยความเคารพในพระตถาคต เป็นสัตตมีตัปปุริส สมาส วิ.ว่า ตถาคเต คารโว = ตถาคตคารโว

ศัพท์บาลี --->>ตถาคตสาวก-->> คำแปล --->>น.,ปุ. สาวกของพระตถาคต แจกเหมือน ปุริส เช่น จ.เอก. ตถาคตสาวกสฺส แก่สาวกของพระตถาคต เป็นจตุตถีตัปปุริสสมาส วิ.ว่า ตถาคตสฺส สาวโก = ตถาคตสาวโก

ศัพท์บาลี --->>ตถาคตสฺส-->> คำแปล --->>น.,ปุ. ดู ตถาคต พระตถาคต ลง ส จ., ฉ., เอก. สำเร็จเป็น ตถาคตสฺส เช่น ตถาคตสฺส ทสฺสนตฺถาย เพื่อประโยชน์แก่ การเฝ้า ซึ่งพระตถาคต (ธรรมบทภาค 1 เรื่อง พระเถระชื่อว่าติสสะ หน้า 35)

ศัพท์บาลี --->>ตถานิปนฺน-->> คำแปล --->>ว. ผู้นอนแล้วเหมือนอย่างนั้น ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ทุ.เอก. ตถานิปนฺนํ (ทารกํ) ซึ่งทารก ผู้นอนแล้วเหมือนอย่างนั้น

ศัพท์บาลี --->>ตถารูป-->> คำแปล --->>ว. มีอย่างนั้นเป็นรูป ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.เอก. ตถารูโป (ปุริโส) อ. บุรุษ ผู้มีอย่างนั้น เป็นรูป วิ.ว่า ตถา รูปํ ยสฺส โส ตถารูโป (ปุริโส) อย่างนั้น เป็นรูป ของบุรุษใด บุรุษนั้น ชื่อว่าผู้มี อย่างนั้นเป็นรูป อิต. ลง อา หรือ อี เครื่องหมาย อิตถีลิงค์ เป็น ตถารูปา แจกเหมือน กญฺญา เช่น ป.เอก. ตถารูปา (กุมารี) อ. กุมารี ผู้มีอย่างนั้น เป็นรูป และเป็น ตถารูปี แจกเหมือน นารี เช่น ป.เอก. ตถารูปี (คทฺรภี) อ. นางลา ตัวมีอย่างนั้น เป็นรูป นปุ. แจกตาม กุล เช่น ป.เอก. ตถารูปํ (วจนํ) อ. คำ อันมีอย่างนั้นเป็นรูป


คำศัทพ์