คุณนาม หมายถึง นามที่แสดงลักษณะของนามนาม (และปุริสสัพพนาม) เช่น สูง ต่ำ ดำ ขาว เป็นต้น แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ
คุณนาม ต้องประกอบ “ลิงค์ วิภัตติ วจนะ” ให้ตรงกับนามนาม (หรือ ปุริสสัพพนาม) ที่มันไปขยาย และเรียงไว้หน้าศัพท์นั้น
ส่วนการันต์ไม่จำเป็นต้องตรงกัน ยกเว้นนามนามเป็นอิตถีลิงค์ ให้ประกอบคุณนามดังนี้
การันต์ของคุณนาม และนามนาม ไม่จำเป็นต้องตรงกัน
นว สปฺปิ | นวํ สปฺปิ | เนยใส ใหม่ |
พหุ ชน | พหู ชนา | ชน ท. มาก |
นวก ภิกฺขุ | นวโก ภิกฺขุ | ภิกษุ ใหม่ |
อาตาปี ภิกฺขุ | อาตาปี ภิกฺขุ | ภิกษุ ผู้มีความเพียร |
ในอิตถีลิงค์
ทำคุณนาม จาก อ การันต์ เป็น อาการันต์
ทีฆ รชฺชุ | ทีฆา รชฺชุ | เชือก ยาว |
วิสาล สาลา | วิสาลา สาลา | ศาลา กว้าง |
ทำ มหนฺต เป็น มหนฺตี มหตี
มหนฺต รุกฺข | มหนฺโต รุกฺโข | ต้นไม้ ใหญ่ |
มหนฺต ชมฺพุ | มหนฺตี/มหตี ชมฺพุ | ต้นหว้า ใหญ่ |
มหนฺต สาลา | มหนฺตี/มหตี สาลา | ศาลา ใหญ่ |
มหนฺต ฉตฺต | มหนฺตํ ฉตฺตํ | ร่ม ใหญ่ |
กิริยากิตก์ อนฺต ปัจจัย ให้ทำเป็น อีการันต์ (อนฺตี)
เถร ปสฺสนฺต | เถโร ปสฺสนฺโต ... | พระเถระ เห็นอยู่ ... |
เถรี ปสฺสนฺต | เถรี ปสฺสนฺตี ... | พระเถรี เห็นอยู่ ... |
อุปาสิกา ปสฺสนฺต | อุปาสิกา ปสฺสนฺตี ... | อุบาสิกา เห็นอยู่ ... |
คุณนาม ลง วนฺตุ มนฺตุ ปัจจัย ตัทธิต ได้รูปเป็น -วนฺตี -วตี, -มนฺตี -มตี
คุณวนฺตุ อุปาสิกา | คุณวนฺตี/คุณวตี อุปาสิกา | อุบาสิกา ผู้มีคุณ |
ปุญฺญวนฺตุ อิตฺถี | ปุญฺญวนฺตี/ปุญฺญวตี อิตฺถี | หญิง ผู้มีบุญ |
สติมนฺตุ เถรี | สติมนฺตี/สติมตี เถรี | พระเถรี ผู้มีสติ |
คุณนาม แปลไม่ต้องออกสำเนียงอายตนิบาต (เพราะคุณนามเป็นเพียงคำขยาย ไม่ใช่คำหลัก การลงวิภัตติท้ายคุณนาม ก็เพื่อให้ตรงกัน/เข้าคู่กัน กับคำที่ถูกขยายเท่านั้น)
คุณนาม แปลมีสำเนียงวิเสสนะว่า “ผู้...”, “มี...”, “อัน...”, บ้าง ไม่มีบ้าง
การประกอบรูปคุณนามขั้นกว่า (วิเสสคุณนาม) และขั้นสุด (อติวิเสสคุณนาม)
อติ อติวิย | ตร ตม | อิย อิฏฺฐ | ||||
ปกติ | มหนฺต | ใหญ่ | big | |||
วิเสส - กว่า | อติมหนฺต | มหนฺตตร | มหนฺติย | ใหญ่กว่า | bigger | |
อติวิเสส - ที่สุด | อติวิย มหนฺต | มหนฺตตม | มหนฺติฏฺฐ มหนฺติยิสฺสก | ใหญ่ที่สุด | biggest | |
ปกติ | ขุทฺทก | เล็ก | small | |||
วิเสส - กว่า | อติขุทฺทก | ขุทฺทกตร | ขุทฺทกิย | เล็กกว่า | smaller | |
อติวิเสส - ที่สุด | อติวิย ขุทฺทก | ขุทฺทกตม | ขุทฺทกิฏฺฐ ขุทฺทกิยิสฺสก | เล็กที่สุด | smallest | |
ปกติ | อปฺป | น้อย | little | |||
วิเสส - กว่า | อติอปฺป | อปฺปตร | กนิย * | น้อยกว่า | less | |
อติวิเสส - ที่สุด | อติวิย อปฺป | อปฺปตม | กนิฏฺฐ * อปฺปิยิสฺสก | น้อยที่สุด | least | |
* แปลง อปฺป เป็น กน | ||||||
ปกติ | วุฑฺฒ | เจริญ | old | |||
วิเสส - กว่า | อติวุฑฺฒ | วุฑฺฒตร | เชยฺย * | เจริญกว่า | elder | |
อติวิเสส - ที่สุด | อติวิย วุฑฺฒ | วุฑฺฒตม | เชฏฺฐ ** วุฑฺฒิยิสฺสก | เจริญที่สุด | eldest | |
* แปลง วุฑฺฒ เป็น ช, แปลง อิ เป็น เอ, ซ้อน ยฺ **แปลง วุฑฺฒ เป็น ช, แปลง อิ เป็น เอ |
||||||
ปกติ | ปสตฺถ1 | ดี, ประเสริฐ | good, excellent | |||
วิเสส - กว่า | อติปสตฺถ | ปสตฺถตร | เสยฺย * | ดีกว่า, ประเสริฐกว่า | better, more excellent | |
อติวิเสส - ที่สุด | อติวิย ปสตฺถ | ปสตฺถตม | เสฏฺฐ ** ปสตฺถิยิสฺสก | ดีที่สุด, ประเสริฐที่สุด | best, most excellent | |
1 อันบัณฑิตสรรเสริญแล้ว * แปลง ปสตฺถ เป็น ส, แปลง อิ เป็น เอ, ซ้อน ยฺ ** แปลง ปสตฺถ เป็น ส, แปลง อิ เป็น เอ |
ดู แบบสังขยา
(สังขยา คือ การนับจำนวน จัดเป็นคุณนาม เพราะบอกปริมาณหรือลำดับ ของสิ่งต่างๆ)
สังขยา แปลว่า การนับ หรือ ศัพท์ที่เป็นเครื่องนับ แบ่งเป็น 2 คือ
สังขยากับวจนะต่างกัน
สังขยานับให้รู้ว่ามีจำนวนเท่าใด อย่างชัดเจน เช่น ปญฺจ ปุริสา บุรุษ 5 คน เป็นต้น
วจนะ เช่นพหุวจนะนั้น บอกเพียงจำนวนว่ามากกว่า 1 แต่ไม่อาจบอกจำนวนให้ละเอียดลงไปได้ว่ามีเท่าไร
(บางครั้งของหลายสิ่ง ก็ยังประกอบวิภัตตินามเป็นเอกวจนะได้ เช่น ปตฺตจีวรํ บาตรและจีวร)
ที่เป็นสังขยา แปลว่า หนึ่ง (1) เช่น เอโก ปุริโส. บุรุษ 1 คน เป็นเอกวจนะอย่างเดียว เป็นได้ 3 ลิงค์ แจกเฉพาะตน
ที่ใช้ในความหมายอื่นๆ เช่น
ที่เป็นสัพพนาม แปลว่า บาง (some, certain) บางคน บางสิ่ง, บางเหล่า บางพวก, เหล่าหนึ่ง พวกหนึ่ง เช่น
เอเก (อาจริยา) อาจารย์ ท. บางพวก เป็นได้ 2 วจนะ เป็นได้ 3 ลิงค์
แจกแบบ ย ศัพท์ ยกเว้น ในอิตถีลิงค์ เอกวจนะ จ. ฉ. เอกิสฺสา, ส. เอกิสฺสํ เท่านั้น
เอกก ศัพท์
เอก ศัพท์ ลง ก ปัจจัย สกัตถะ เป็น เอกก แปลว่า คนเดียว, สิ่งเดียว เป็นคุณนาม เป็น 3 ลิงค์
(ปุ. เอกโก, อิต. เอกกา-เอกิกา, นปุ. เอกกํ)
เอเกก มาจาก เอก ศัพท์ ที่ว่าซ้ำสองครั้ง เป็น เอกเอก แล้วสนธิเป็น เอเกก
แปลว่า คนหนึ่งๆ สิ่งหนึ่งๆ เมื่อกล่าวถึงจำนวนมากกว่าหนึ่ง เช่น
อุตฺตราสงฺคสเตสุ เอเกโก อุตฺตราสงฺโค ปญฺจสตานิ อคฺฆติ.
ในบรรดาผ้าอุตตราสงค์ 100 ผืน ผ้าอุตตราสงค์ผืนหนึ่งๆ มีค่า 500.
หมายถึง คนแต่ละคน (=ทุกคน), สิ่งแต่ละสิ่ง (=ทุกสิ่ง) เป็นเอกวจนะเท่านั้น
ปุ. เอเกโก, อิต. เอเกกา-เอกิกา, นปุ. เอเกกํ แจกอย่าง เอก สัพพนาม
เปรียบเทียบ
เอกโก ปุคฺคโล บุคคล คนเดียว
เอเกโก ปุคฺคโล บุคคล แต่ละคน (=ทุกคน) เทียบ โย โกจิ คนใดคนหนึ่ง (=ทุกคน)
ทฺวิ ศัพท์ นี้ แจกเป็นแบบเดียวกันทั้ง 3 ลิงค์
ใช้นับนามนามอย่างเดียว ไม่ใช้ต่อกับสังขยา เช่น
อุภย ศัพท์ แปลว่า ทั้งสอง เหมือน อุภ แต่แจกอย่าง ย ศัพท์ เว้น ป. พหุ. เป็น อุภโย อุภเย
เมื่อเป็นเศษของสังขยาอื่น แปลงเป็น จุ เช่น จุทฺทส
นอกนั้นคงไว้ตามเดิม เช่น จตุปาริสุทฺธิสีลํ เป็นต้น
1) มิสส(ก)สังขยา สังขยาที่นับโดยการบวก (หรือลบ) กัน (สังขยาคุณนาม+สังขยาคุณนาม) | |
ใช้ จ อธิก (+), อูน (-) ศัพท์ เช่น | |
เอกาทส (เอก+ทส 1+10 = 11) | จ ศัพท์: เอกํ จ ทส จ เอกาทส |
อธิก ศัพท์: เอเกน อธิกา ทส เอกาทส (ลบ อธิก) | |
เตตฺตึส (ติ+ตึส 3+30 = 33) | จ ศัพท์: ตโย จ ตึส จ เตตฺตึส |
อธิก ศัพท์: ตีหิ อธิกา ตึส เตตฺตึส (ลบ อธิก) | |
เอกูนวีสติ (วีสติ-เอก 20-1 =19) | เอเกน อูนา วีสติ เอกูนวีสติ |
เอกูนปญฺจสตา โจรา (500-1 =499) | |
2) คุณ/คุณิตสังขยา สังขยาที่นับโดยการคูณกัน (สังขยาคุณนามxสังขยานามนาม) เช่น | |
ทฺวิสตานิ ทฺวิสตํ (ทฺวิxสต 2x100 = 200) | เทฺว สตานิ ทฺวิสตานิ ทฺวิสตํ |
จตุราสีติสหสฺสานิ (จตุราสีติxสหสฺส 84x1,000) | จตุราสีติ สหสฺสานิ จตุราสีติสหสฺสานิ |
ทสสตสหสฺสํ (ทสxสตสหสฺส 10x100,000 = 1,000,000) | ทส สตสหสฺสานิ ทสสตสหสฺสํ |
3) สัมพันธสังขยา สังขยาที่นับโดยการสัมพันธ์กับบทอื่นๆ | |
อฏฺฐสฏฺฐิสตสหสฺสโก (68xพัน +100xพัน = 168,000) |
อฏฺฐสฏฺฐิสหสฺสกํ จ สตสฺส สหสฺสกํ จ อฏฺฐสฏฺฐิสตสหสฺสกํ สหสฺส สัมพันธ์เข้ากับบทที่อยู่ข้างหน้าทุกบท |
สตฺต มนุสฺสโกฏิโย |
โกฏิแห่งมนุษย์ ท. 7 สตฺต สัมพันธ์เข้ากับ -โกฏิโย |
4) สังเกตสังขยา สังขยาที่นับโดยการใช้สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีจำนวนแน่นอนตายตัว มักใช้ในฉันท์ เช่น จำนวน 1 แทนด้วย จนฺท พระจันทร์, สุริย พระอาทิตย์, ภู แผ่นดิน |
|
5) อเนกสังขยา สังขยาที่นับโดยการประมาณเอา เพราะมีจำนวนมาก ไม่ต้องการนับให้ละเอียดลงไป เช่น สหสฺสเตโช มีเดชนับพัน, สหสฺสรํสิ มีรัศมีนับพัน |
เอก ทฺวิ ติ จตุ ปญฺจ ฉ สตฺต อฏฺฐ นว ทส |
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 |
เอกาทส* ทฺวาทส, พารส เตรส จตุทฺทส, จุทฺทส ปญฺจทส, ปณฺณรส โสฬส สตฺตรส อฏฺฐารส* เอกูนวีสติ, อูนวีส วีส, วีสติ |
11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 |
เอกวีสติ ทฺวาวีสติ, พาวีสติ เตวีสติ จตุวีสติ ปญฺจวีสติ ฉพฺพีสติ สตฺตวีสติ อฏฺฐวีสติ เอกูนตฺตึส, อูนตฺตึส ตึส, ตึสติ |
21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 |
เอกตฺตึส ทฺวตฺตึส, พตฺตึส เตตฺตึส จตุตฺตึส ปญฺจตฺตึส ฉตฺตึส สตฺตตฺตึส อฏฺฐตฺตึส เอกูนจตฺตาฬีส, อูนจตฺตาฬีส จตฺตาฬีส, ตาฬีส |
31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 |
เอกจตฺตาฬีส เทฺวจตฺตาฬีส เตจตฺตาฬีส จตุจตฺตาฬีส ปญฺจจตฺตาฬีส ฉจตฺตาฬีส สตฺตจตฺตาฬีส อฏฺฐจตฺตาฬีส เอกูนปญฺญาส, อูนปญฺญาส ปญฺญาส, ปณฺณาส |
41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 |
* ทีฆะเฉพาะศัพท์: เอกาทส, อฏฺฐารส
ทส วีส(ติ) ตึส(ติ) (จตฺ)ตาฬีส (จตฺตาลีส) ปญฺญาส (ปณฺณาส) สฏฺฐี (สฏฺฐิ) สตฺตติ (สตฺตริ) อสีติ นวุติ สตํ สหสฺสํ ทสสหสฺสํ, นหุตํ สตสหสฺสํ, ลกฺขํ ทสสตสหสฺสํ โกฏิ |
10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 1,000 10,000 100,000 1,000,000 10,000,000 |
101 102 103 104 105 106 107 |
ทส วีส(ติ) ตึส(ติ) จตฺตาฬีส ปญฺญาส สฏฺฐี สตฺตติ อสีติ นวุติ |
10 20 30 40 50 60 70 80 90 |
สตํ ทฺวิสตานิ ติสตานิ จตุสตานิ ปญฺจสตานิ ฉสตานิ สตฺตสตานิ อฏฺฐสตานิ นวสตานิ |
100 200 300 400 500 600 700 800 900 |
สหสฺสํ ทฺวิสหสฺสานิ ติสหสฺสานิ จตุสหสฺสานิ ปญฺจสหสฺสานิ ฉสหสฺสานิ สตฺตสหสฺสานิ อฏฺฐสหสฺสานิ นวสหสฺสานิ ทสสหสฺสํ |
1,000 2,000 3,000 4,000 5,000 6,000 7,000 8,000 9,000 10,000 |
• สตํ 100, เอกสตํ 101 (ลบ อุตฺตร) (เอกสตํ แปลว่า 100 บ้าง)
เอก (1) สังขยา (คุณนาม) เอกวจนะ
ปุ. | อิต. | นปุ. | |
ป. ทุ. ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. |
เอโก เอกํ เอเกน เอกสฺส เอกสฺมา เอกมฺหา เอกสฺส เอกสฺมึ เอกมฺหิ |
เอกา เอกํ เอกาย เอกาย* เอกาย เอกาย* เอกาย* |
เอกํ เอกํ เอเกน เอกสฺส เอกสฺมา เอกมฺหา เอกสฺส เอกสฺมึ เอกมฺหิ |
เอก (1) สัพพนาม 2 วจนะ
แจกเหมือน ย ศัพท์ ยกเว้น อิตฺ. เอก. จ. ฉ. เป็น เอกิสฺสา ส. เป็น เอกิสฺสํ *
ทฺวิ (2) ไตรลิงค์ | อุภ (ทั้ง 2) ไตรลิงค์ | |
ป. ทุ. ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. |
เทฺว * เทฺว * ทฺวีหิ ทฺวินฺนํ ** ทฺวีหิ ทฺวินฺนํ ** ทฺวีสุ |
อุโภ อุโภ อุโภหิ อุภินฺนํ อุโภหิ อุภินฺนํ อุโภสุ |
* เป็น ทุเว บ้าง ใช้ในคาถา
** เป็น ทุวินฺนํ บ้าง ใช้ในคาถา พบ 1 แห่ง
ติ (3)
ปุ. | อิต. | นปุ. | |
ป. ทุ. ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. |
ตโย ตโย ตีหิ ติณฺณํ ติณฺณนฺนํ ตีหิ ติณฺณํ ติณฺณนฺนํ ตีสุ |
ติสฺโส ติสฺโส ตีหิ ติสฺสนฺนํ ตีหิ ติสฺสนฺนํ ตีสุ |
ตีณิ ตีณิ ตีหิ ติณฺณํ ติณฺณนฺนํ ตีหิ ติณฺณํ ติณฺณนฺนํ ตีสุ |
จตุ (4)
ปุ. | อิต. | นปุ. | |
ป. ทุ. ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. |
จตฺตาโร จตุโร จตฺตาโร จตุโร จตูหิ * จตุนฺนํ จตูหิ * จตุนฺนํ จตูสุ |
จตสฺโส จตสฺโส จตูหิ จตสฺสนฺนํ จตูหิ จตสฺสนฺนํ จตูสุ |
จตฺตาริ จตฺตาริ จตูหิ * จตุนฺนํ จตูหิ * จตุนฺนํ จตูสุ |
* เป็น จตุพฺภิ บ้าง ใช้ในคาถา
ปญฺจ (5) ไตรลิงค์
ป. ทุ. ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. |
ปญฺจ ปญฺจ ปญฺจหิ ปญฺจนฺนํ ปญฺจหิ ปญฺจนฺนํ ปญฺจสุ |
ตั้งแต่ ปญฺจ (5) ถึง อฏฺฐารส (15) แจกอย่างนี้
เอกูนวีส (19) อิตถีลิงค์
เอก. | |
ป. ทุ. ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. |
เอกูนวีส เอกูนวีสํ (ลงนิคคหิตอาคมได้) เอกูนวีสํ เอกูนวีสาย เอกูนวีสาย เอกูนวีสาย เอกูนวีสาย เอกูนวีสาย |
ตั้งแต่ เอกูนวีส (19) ถึง อฏฺฐนวุติ (98)
ถ้าเป็น อ การันต์ แจกอย่าง เอกูนวีส (19)
ถ้าเป็น อิ การันต์ แจกอย่าง รตฺติ
ถ้าเป็น อี การันต์ แจกอย่าง นารี
เอกูนสตํ (99) ถึง อสงฺเขยฺยํ (10140) แจกอย่าง กุล
โกฏิ (107) ปโกฏิ (1014) โกฏิปฺปโกฏิ (1021) แจกอย่าง รตฺติ
อกฺโขภินี-ณี (1042) แจกอย่าง นารี
จัดปกติสังขยาตาม นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ และการแจกวิภัตติ
นาม | ลิงค์ | วจนะ | การแจกวิภัตติ | ||
---|---|---|---|---|---|
1-18 | คุณนาม | 3 ลิงค์ |
1 เอกวจนะ 2-18 พหุวจนะ |
1-4 แจกเฉพาะตน 5-18 แจกอย่าง ปญฺจ |
|
19-98 | อิตถีลิงค์ | เอกวจนะ* |
อ การันต์ แจกอย่าง เอกูนวีส อิ การันต์ แจกอย่าง รตฺติ อี การันต์ แจกอย่าง นารี |
||
99 - ∞ | นามนาม | นปุงสกลิงค์ | สองวจนะ | แจกอย่าง กุล | |
โกฏิ | อิตถีลิงค์ | แจกอย่าง รตฺติ |
• 1-4 ท่านว่าเป็นสัพพนามด้วย (ตามนัยในคัมภีร์ศัพทศาสตร์) และ
1 เอกศัพท์ สัพพนาม เป็นได้สองวจนะ แจกอย่าง ย เว้นบางวิภัตติ
* เป็นเอกวจนะเฉพาะสังขยา ส่วนนามนามที่ถูกนับ เป็นพหุวจนะตามปกติ
1. จัดปกติสังขยาลงใน นามศัพท์ | ||
เอก ถึง อฏฺฐนวุติ | (1-98) | เป็นคุณนาม |
เอกูนสตํ ขึ้นไป | (99...) | เป็นนามนาม |
* 1-4 ท่านว่าเป็นสัพพนามด้วย (ตามนัยในคัมภีร์ศัพทศาสตร์) | ||
2. จัดปกติสังขยาลงใน ลิงค์ | ||
เอก ถึง อฏฺฐารส | (1-18) | เป็นได้ 3 ลิงค์ |
เอกูนวีสติ ถึง อฏฺฐนวุติ | (19-98) | เป็นอิตถีลิงค์ |
เอกูนสตํ ขึ้นไป | (99...) | เป็นนปุงสกลิงค์ |
เฉพาะ โกฏิ | (10,000,000) | เป็นอิตถีลิงค์ |
3. จัดปกติสังขยาลงใน วจนะ | ||
เอกสังขยา | (1) | เป็นเอกวจนะ |
ทฺวิ ถึง อฏฺฐารส | (2-18) | เป็นพหุวจนะ |
เอกูนวีสติ ถึง อฏฺฐนวุติ | (19-98) | เป็นเอกวจนะ |
เอกูนสตํ ขึ้นไป | (99...) | เป็นได้ 2 วจนะ |
* 1 เอกศัพท์ สัพพนาม เป็นได้สองวจนะ | ||
4. จัดปกติสังขยา ตามการ แจกวิภัตติ | ||
เอก-จตุ | (1-4) | แจกเฉพาะตัว |
ปญฺจ-อฏฺฐารส | (5-18) | แจกอย่าง ปญฺจ |
เอกูนวีสติ-อฏฺฐนวุติ | (19-98) |
อ การันต์ แจกอย่าง เอกูนวีส อิ การันต์ แจกอย่าง รตฺติ อี การันต์ แจกอย่าง นารี |
เอกูนสตํ... | (99...) | แจกอย่าง กุล |
โกฏิ | (10,000,000) | แจกอย่าง รตฺติ |
* เอกสัพพนาม แจกอย่าง ย เว้นบางวิภัตติ |
1) สังขยาคุณนาม (1-98) นับนามนาม หลักการทำ เหมือนคุณนามทั่วไป คือ
ปุ. | อิต. | นปุ. | ||||
1 | เอโก | ปุริโส | เอกา | นารี | เอกํ | นครํ |
2 | เทฺว | ปุริสา | เทฺว | นาริโย | เทฺว | นครานิ |
3 | ตโย | ปุริสา | ติสฺโส | นาริโย | ตีณิ | นครานิ |
4 | จตฺตาโร | ปุริสา | จตสฺโส | นาริโย | จตฺตาริ | นครานิ |
5 | ปญฺจ | ปุริสา | ปญฺจ | นาริโย | ปญฺจ | นครานิ |
5 | ปญฺจหิ | ปุริเสหิ | ปญฺจหิ | นารีหิ | ปญฺจหิ | นคเรหิ |
14 | จตุทฺทสนฺนํ | ปุริสานํ | จตุทฺทสนฺนํ | นารีนํ | จตุทฺทสนฺนํ | นครานํ |
(เฉพาะ ทฺวิ และ ปญฺจ ถึง อฏฺฐารส แต่ละศัพท์ แจกเหมือนกันทั้ง 3 ลิงค์)
ยกเว้นจำนวน เอกูนวีสติ ถึง อฏฺฐนวุติ (19-98) ให้ประกอบสังขยาเป็น เอกวจนะ อิตถีลิงค์อย่างเดียว แล้วเปลี่ยนเฉพาะวิภัตติไปตามนามนามนั้น เช่น
ปุ. | อิต. | นปุ. | ||
30 | ตึส | ปุริสา | นาริโย | นครานิ |
25 | ปญฺจวีสติาย/ปญฺจวีสติยา | ปุริเสหิ | นารีหิ | นคเรหิ |
2) สังขยานามนาม (99 ขึ้นไป) นับนามนาม
บุรุษ 100 | ปุริสานํ สตํ | = ปุริสสตํ |
หญิง 1,000 | อิตฺถีนํ สหสฺสํ | = อิตฺถีสหสฺสํ |
ด้วยช้าง 100 | หตฺถีนํ สเตน | = หตฺถิสเตน |
สังขยานามนามจำนวนหนึ่งร้อย, หนึ่งพัน, หนึ่งหมื่น ... เป็นเอกวจนะ โดยทั่วไป ไม่ต้องเขียน เอก ศัพท์ ด้วย เช่น สตํ หนึ่งร้อย, สหสฺสํ หนึ่งพัน
สังขยานามนามจำนวนสองร้อย, สามร้อย, สองพัน ฯลฯ เป็นพหุวจนะ ใช้สังขยาคุณนามร่วมด้วย เช่น
ภิกษุ 200 รูป | ภิกฺขูนํ เทฺว สตานิ |
อุบาสิกา 3,000 คน | อุปาสิกานํ ตีณิ สหสฺสานิ |
แบบที่นิยมใช้ คือ เอานามนามที่ถูกนับไว้ตรงกลาง และสมาสกับบทหลัง
บุรุษ 500 คน | ปญฺจ ปุริสสตานิ |
พระพุทธเจ้าหลายร้อยพระองค์ | อเนกานิ พุทฺธสตานิ |
ด้วยเกวียน 500 เล่ม | ปญฺจหิ สกฏสเตหิ |
สังขยานามนามนี้ ทำให้อยู่ในรูปคุณนามได้ โดยต่อ (สมาส - พหุพพิหิสมาส) กับศัพท์บางศัพท์ที่แปลว่า ‘ประมาณ’ เช่น มตฺต ปมาณ ใช้เหมือนคุณนามทั่วไป แปลว่า ‘มี....เป็นประมาณ’ เช่น
บุรุษ 100 | สตมตฺตา ปุริสา | บุรุษ ท. มีร้อยเป็นประมาณ |
สตปฺปมาณา ปุริสา | ||
บุรุษ 500 | ปญฺจสตมตฺตา ปุริสา | บุรุษ ท. มีร้อย 5 เป็นประมาณ |
ปญฺจสตปฺปมาณา ปุริสา | ||
บุรุษ 1,000 | สหสฺสมตฺตา ปุริสา | บุรุษ ท. มีพันเป็นประมาณ |
สหสฺสปฺปมาณา ปุริสา | ||
ของบุรุษ 100 | สตมตฺตานํ ปุริสานํ | ของบุรุษ ท. มีร้อยเป็นประมาณ |
ในตระกูล 1,000 | สหสฺสมตฺเตสุ กุเลสุ | ในตระกูล ท. มีพันเป็นประมาณ |
ด้วยช้าง 700 | สตฺตสตมตฺเตหิ หตฺถีหิ | ด้วยช้าง ท. มีร้อย 7 เป็นประมาณ |
เทียบกับแบบใช้สังขยานามนามเป็นประธาน
บุรุษ 100 คน | สตมตฺตา ปุริสา | บุรุษ ท. มีร้อยเป็นประมาณ |
(บุรุษ 100 คน | ปุริสานํ สตํ | ร้อย แห่งบุรุษ ท.) |
บุรุษ 500 คน | ปญฺจสตมตฺตา ปุริสา | บุรุษ ท. มีร้อย 5 เป็นประมาณ |
(บุรุษ 500 คน | ปญฺจ ปุริสสตานิ | ร้อยแห่งบุรุษ ท. 5) |
เมื่อเข้าสมาสแล้ว ลบ มตฺต/ปมาณ ศัพท์ได้อีก และนิยมใช้แบบที่ลบ มากกว่าแบบที่ไม่ลบ
บุรุษ 500 คน | ||
ปญฺจสตมตฺตา ปุริสา | บุรุษ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ | |
ปญฺจสตา ปุริสา | บุรุษ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ ลบ มตฺต ศัพท์ | |
(ปญฺจ ปุริสสตานิ | ร้อยแห่งบุรุษ ท. 5) |
สรุป
ภิกษุ 100 รูป | ภิกฺขูนํ สตํ | ร้อย แห่งภิกษุ ท. |
ภิกฺขุสตํ | ร้อยแห่งภิกษุ | |
ภิกษุ 500 รูป | ||
เรียงนามนามที่ถูกนับ ไว้หน้า | ||
ภิกฺขูนํ ปญฺจ สตานิ | ร้อย ท. 5 แห่งภิกษุ ท. | |
ภิกฺขูนํ ปญฺจสตานิ | ร้อย 5 ท. แห่งภิกษุ ท. | |
ภิกฺขุปญฺจสตานิ | ร้อย 5 แห่งภิกษุ ท. | |
เรียงนามนามที่ถูกนับไว้กลาง | ||
ปญฺจ ภิกฺขูนํ สตานิ | ร้อย ท. แห่งภิกษุ ท. 5 | |
ปญฺจ ภิกฺขุสตานิ*1 | ร้อยแห่งภิกษุ ท. 5 | |
ปญฺจภิกฺขุสตานิ | ร้อยแห่งภิกษุ 5 ท. | |
เรียงนามนามที่ถูกนับไว้หลัง | ||
ปญฺจสตมตฺตา ภิกฺขู | ภิกษุ ท. มีร้อย 5 เป็นประมาณ | |
ปญฺจสตา ภิกฺขู* | ภิกษุ ท. มีร้อย 5 เป็นประมาณ (ลบ มตฺต) |
* แบบที่นิยมใช้
1 เขียนเป็น ปญฺจมตฺตานิ ภิกฺขุสตานิ ก็มี
การต่อสังขยามีเศษ
สังขยาจำนวนเต็ม เช่น 1-10, 20, 100, 500, 1000 (สังเกตจาก ตัวเลขถัดจากตัวแรกไป จะเป็นเลข 0 ทั้งหมด)
สังขยามีเศษ คือ สังขยาที่เหลือจากจำนวนเต็ม เช่น 21, 110, 5618
21 (20+1) | 20 เป็นจำนวนเต็ม | 1 เป็นเศษของ 20 |
110 (100+10) | 100 เป็นจำนวนเต็ม | 10 เป็นเศษของ 100 |
5,618 (5,000+618) | 5000 เป็นจำนวนเต็ม | 618 เป็นเศษของ 5000 |
การต่อสังขยาด้วย อุตฺตร และ อธิก
การสนธิด้วย อุตฺตร
อ อา อยู่หน้า | ลบเสีย | เช่น วีส + อุตฺตร = วีสุตฺตร |
อิ อี อยู่หน้า | แปลง อิ อี เป็น อย | เช่น ติ + อุตฺตร = ตยุตฺตร, ทฺวิ + อุตฺตร = ทฺวยุตฺตร |
อุ อู อยู่หน้า | ลบเสีย | เช่น จตุ + อุตฺตร = จตุตฺตร |
130 | = 30 + 100 |
= ตึสาย อุตฺตรํ สตํ | |
= ตึสุตฺตรํ สตํ | |
= ตึสุตฺตรสตํ | |
189 | = -1+90+100 = เอกูนนวุตยุตฺตรสตํ |
263 | = 63+200 = ติสฏฺฐยุตฺตรทฺวิสตานิ |
1,700 | = 700+1000 = สตฺตสตาธิกสหสฺสํ |
1,299 | = -1+100+200 = เอกูนสตาธิกทฺวิสตสหสฺสํ |
6,054 | = 54+6000 = จตุปญฺญาสุตฺตรฉสหสฺสานิ |
84,000 |
= 4000+80000 = จตุสหสฺสาธิกอฏฺฐทสสหสฺสานิ = 84x1000 = จตุราสีติสหสฺสานิ (ลง รฺ อาคม) |
999,999 | = -1+1000000 = เอกูนทสสตสหสฺสํ |
1,200,000 | = 12x100000 = ทฺวาทสสตสหสฺสานิ |
12,345 | = 45 + 100 + 2000 + 10000 (เรียงจำนวนน้อยไว้หน้า) |
= ปญฺจจตฺตาฬีสาย อุตฺตรํ ติสเตหิ อธิกํ ทฺวิสหสเสหิ อธิกํ ทสสหสฺสํ | |
= ปญฺจจตฺตาฬีสุตฺตรํ ติสตาธิกํ ทฺวิสหสสาธิกํ ทสสหสฺสํ หมื่น ยิ่ง ด้วยพันสอง ท. ยิ่ง ด้วยร้อยสาม ท. เกิน ด้วย สี่สิบห้า |
|
= ปญฺจจตฺตาฬีสุตฺตรติสตาธิกทฺวิสหสสาธิกทสสหสฺสํ หมื่น ยิ่งด้วยพันสอง ยิ่งด้วยร้อยสาม เกินด้วยสี่สิบห้า |
|
54,821 | = 21 + 100 + 4000 + 50000 |
= เอกวีสติยา อุตฺตรานิ สเตน อธิกานิ จตุสหสฺเสหิ อธิกานิ ปญฺจทสสหสฺสานิ หมื่นห้า ท. ยิ่งด้วยพันสี่ ท. ยิ่งด้วยร้อย เกินด้วยยี่สิบเอ็ด |
|
= เอกวีสตยุตฺตรํ สตาธิกํ จตุสหสฺสาธิกํ ปญฺจทสสหสฺสานิ | |
= เอกวีสตยุตฺตรสตาธิกจตุสหสฺสาธิกปญฺจทสสหสฺสานิ หมื่นห้า ยิ่งด้วยพันสี่ ยิ่งด้วยร้อย เกินด้วยยี่สิบเอ็ด ท. |
สังขยามีเศษนับนามนาม
1. แบบแยกนามนาม
คือ ไม่เขียนนามนาม ปะปนกับสังขยา โดยการต่อสังขยานามนามให้เสร็จเรียบร้อยก่อน
แล้วจึงเรียงนามนามที่ประกอบด้วย ฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ ไว้ข้างหน้า ก็เป็นอันเสร็จ
ภิกษุ 7707 = ภิกฺขูนํ สตฺตุตฺตรานิ สตฺตสตาธิกานิ สตฺตสหสฺสานิ
พันเจ็ด ท. ยิ่งด้วยร้อยเจ็ด เกินด้วยเจ็ด แห่งภิกษุ ท.
2. แบบแทรกนามนาม
แบบยืดยาว
ชน 12,345 | = ชน 45 + ชน 100 + ชน 2000 + ชน 10000 |
= ปญฺจจตฺตาฬีสาย ชเนหิ อุตฺตรํ ตีหิ ชนานํ สเตหิ อธิกํ ทฺวีหิ ชนานํ สหสเสหิ อธิกํ ชนานํ ทสสหสฺสํ หมื่นแห่งชน ท. ยิ่งด้วยพันแห่งชน ท. สอง ยิ่งด้วยร้อยแห่งชน ท. สาม เกินด้วย สี่สิบห้า |
|
= ปญฺจจตฺตาฬีสชนุตฺตรติสตาธิกทฺวิสหสฺสาธิกชนทสสหสฺสํ หมื่นแห่งชน ยิ่งด้วยพันสอง ยิ่งด้วยร้อยสาม เกินด้วยสี่สิบห้า |
|
ชน 54,121 | = ชน 21 + ชน 100 + ชน 4000 + ชน 50000 |
= เอกวีสติยา ชเนหิ อุตฺตรานิ ชนานํ สเตน อธิกานิ ชนานํ จตุสหสฺเสหิ อธิกานิ ชนานํ ปญฺจทสสหสฺสานิ หมื่นห้า ท. แห่งชน ท. ยิ่งด้วยพันสี่ ท. แห่งชน ท. ยิ่งด้วยร้อย แห่งชน ท. เกินด้วยชน ท. ยี่สิบเอ็ด |
|
= เอกวีสติชนุตฺตรสตาธิกจตุสหสฺสาธิกปญฺจชนทสสหสฺสานิ หมื่นห้าแห่งชน ยิ่งด้วยพันสี่ ยิ่งด้วยร้อย เกินด้วยชนยี่สิบเอ็ด ท. |
แบบย่อ
ชน 1,345 | = ชน 45 + 100 + ชน 1000 |
= ปญฺจจตฺตาฬีสชนุตฺตรติสตาธิกํ ชนสหสฺสํ พันแห่งชน ยิ่งด้วยร้อยสาม เกินด้วยชนสี่สิบห้า |
|
ชน 4,121 | = ชน 21 + 100 + ชน 4000 |
= เอกวีสติชนุตฺตรสตาธิกานิ จตฺตาริ ชนสหสฺสานิ พันแห่งชน ท. 4 ยิ่งด้วยร้อย เกินด้วยชนยี่สิบเอ็ด |
2,557 ปี | = 57 ปี + 500 + 2000 ปี |
= สตฺตปญฺญาสสํวจฺฉรุตฺตรปญฺจสตาธิกานิ เทฺว สํวจฺฉรสหสฺสานิ พันแห่งปี ท. 2 ยิ่งด้วยร้อยห้า เกินด้วยปีห้าสิบเจ็ด |
|
บัดนี้ ล่วงแล้ว 2,559 ปี จำเดิมแต่กาลปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า | |
= อิทานิ ภควโต ปรินิพฺพานกาลโต ปฏฺฐาย เอกูนสฏฺฐีสํวจฺฉรุตฺตรปญฺจสตาธิกานิ เทฺว สํวจฺฉรสหสฺสานิ อติกฺกนฺตานิ. ในกาลนี้ พันแห่งปี ท. 2 ยิ่งด้วยร้อยห้า เกินด้วยปีห้าสิบเก้า ล่วงแล้ว จำเดิม แต่กาลเป็นที่ปรินิพพาน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า |
การต่อสังขยาด้วย จ ศัพท์
(ใช้ได้ทั้งสังขยาจำนวนเต็ม และสังขยามีเศษ)
ใช้เฉพาะ จ ศัพท์ โดยใส่ไว้ทุกหลัก | |
กษัตริย์ 7707 | = สตฺต ขตฺติยา จ สตฺต ขตฺติยสตานิ จ สตฺต ขตฺติยสหสฺสานิ จ |
กษัตริย์ ท. เจ็ด ด้วย ร้อยแห่งกษัตริย์ ท. เจ็ด ด้วย | |
พันแห่งกษัตริย์ ท. เจ็ด ด้วย | |
ใช้ จ ศัพท์ ร่วมกับ อธิก | |
กษัตริย์ 7707 | = ขตฺติยานํ สตฺตสตาธิกานิ สตฺตสหสฺสานิ จ สตฺต ขตฺติยา จ |
พันเจ็ด ท. ยิ่งด้วยร้อยเจ็ด แห่งกษัตริย์ ท. ด้วย กษัตริย์ ท. เจ็ด ด้วย |
ปูรณสังขยา คือ สังขยาที่ใช้นับลำดับของนาม โดยใช้ปัจจัยตัทธิต 5 ตัว คือ ติย ฐ ถ ม อี ท้ายปกติสังขยา
ปูรณสังขยาเป็นคุณนาม เป็นเอกวจนะอย่างเดียว เป็นได้ 3 ลิงค์ มีวิธีใช้เหมือนคุณนามทั่วไป แจกวิภัตติอย่าง ชน กญฺญา นารี กุล ตามลำดับ
วิธีลงปัจจัยปูรณตัทธิต 5 ตัว
ปุ. | อิต. | นปุ. | ||
ปฐโม | ปฐมา | ปฐมํ | ที่ 1 | |
ทุติโย | ทุติยา | ทุติยํ | ที่ 2 | |
ตติโย | ตติยา | ตติยํ | ที่ 3 | |
จตุตฺโถ | จตุตฺถี | จตุตฺถา | จตุตฺถํ | ที่ 4 |
ปญฺจโม | ปญฺจมี | ปญฺจมา | ปญฺจมํ | ที่ 5 |
ฉฏฺโฐ | ฉฏฺฐี | ฉฏฺฐา | ฉฏฺฐํ | ที่ 6 |
สตฺตโม | สตฺตมี | สตฺตมา | สตฺตมํ | ที่ 7 |
อฏฺฐโม | อฏฺฐมี | อฏฺฐมา | อฏฺฐมํ | ที่ 8 |
นวโม | นวมี | นวมา | นวมํ | ที่ 9 |
ทสโม | ทสมี | ทสมา | ทสมํ | ที่ 10 |
เอกาทสโม | เอกาทสมี เอกาทสี-สึ * | เอกาทสมํ | ที่ 11 | |
ทฺวาทสโม | ทฺวาทสมี | ทฺวาทสมํ | ที่ 12 | |
เตรสโม | เตรสมี เตรสี | เตรสมํ | ที่ 13 | |
จตุทฺทสโม | จุทฺทสมี จาตุทฺทสี-สึ * | จตุทฺทสมํ | ที่ 14 | |
ปญฺจทสโม | ปญฺจทสี-สึ * ปณฺณรสี-สึ * | ปญฺจทสมํ | ที่ 15 | |
โสฬสโม | โสฬสี | โสฬสมํ | ที่ 16 | |
สตฺตรสโม | สตฺตรสี | สตฺตรสมํ | ที่ 17 | |
อฏฺฐารสโม | อฏฺฐารสี | อฏฺฐารสมํ | ที่ 18 | |
เอกูนวีสติโม | เอกูนวีสติมา | เอกูนวีสติมํ | ที่ 19 | |
วีสติโม | วีสติมา | วีสติมํ | ที่ 20 | |
เอกวีสติโม | เอกวีสติมา | เอกวีสติมํ | ที่ 21 | |
... | ... | ... | ... |
• แปลง ฉฏฺฐ เป็น ฉฏฺฐม ได้ (ฉฏฺฐโม, ฉฏฺฐมี, ฉฏฺฐมํ)
* ลงนิคคหิตอาคม; ทีฆะเป็น จาตุทฺทสี จาตุทฺทสึ
ปูรณสังขยาทั้งปวง เป็นคุณนาม เป็นได้ 3 ลิงค์ เป็นเอกวจนะอย่างเดียว