กิริยากิตก์

  ความหมาย    
  วิธีลงปัจจัยกิริยากิตก์
  กิตปัจจัย
อนฺต ปัจจัย
ตฺวนฺตุ ปัจจัย
ตาวี ปัจจัย
กิจจปัจจัย
อนีย ปัจจัย
ตพฺพ ปัจจัย
กิตกิจจปัจจัย
มาน ปัจจัย
ต ปัจจัย
ตูนาทิ ปัจจัย

ปัจจัยกิริยากิตก์นอกแบบ: อาน
ตัวอย่างการแจกศัพท์ที่ลง อนฺต ปัจจัย ปุงลิงค์  ที่แจกอย่าง ภควนฺตุ: วท กร อส ธาตุ

ชีทประกอบการศึกษา:  ผังวาจก กิริยากิตก์

กิตก์ หมายถึง ศัพท์ที่ประกอบด้วยปัจจัยกิตก์* ซึ่งเป็นเครื่องกำหนดเนื้อความได้ต่างๆ กัน  สำเร็จเป็นนามบ้าง กิริยาบ้าง

กิตก์ที่เป็นนามนาม และ คุณนาม เรียกว่า นามกิตก์   เช่น  ทานํ  การให้   ธมฺมจารี  ผู้ประพฤติซึ่งธรรมโดยปกติ

กิตก์ที่เป็นกิริยา เรียกว่า กิริยากิตก์   เช่น  กโรนฺโต ทำอยู่  กตฺวา ทำแล้ว

* ‘กิตก์’ หมายถึงศัพท์ที่ลงปัจจัยกิตก์ และตัวปัจจัยกิตก์นั้นเองด้วย

 

กิริยากิตก์

กิริยากิตก์ ประกอบด้วย ลิงค์ วิภัตติ วจนะ เหมือนนามศัพท์   และประกอบด้วย ธาตุ วาจก ปัจจัย* กาล** เช่นเดียวอาขยาต  
ต่างกันที่ กิริยากิตก์ ไม่มี บท และ บุรุษ เท่านั้น

* ปัจจัยกิริยากิตก์  ** ในกิริยากิตก์ไม่มีอนาคตกาล

 

  วท
ธาตุ
|
อรรถ
+ อนฺต
ปัจจัยกิริยากิตก์
|
วาจก กาล
+ สิ
วิภัตตินาม
|
ลิงค์ วจนะ
วทนฺโต
     กิริยากิตก์
  วท
ธาตุ
+ ตฺวา
ปัจจัยที่เป็นอัพยยะไม่ต้องลงวิภัตติ
  - วตฺวา
     กิริยากิตก์
 
  วท
ธาตุ
|
อรรถ
+
ปัจจัยกิริยาอาขยาต
|
วาจก
+ ติ
วิภัตติอาขยาต
|
กาล บท วจนะ บุรุษ
วทติ
   กิริยาอาขยาต

กิริยากิตก์ไม่มีวิภัตติเป็นของตนเองเหมือนอาขยาต เพราะกิริยากิตก์ใช้วิภัตตินาม  
ถ้านามศัพท์ที่เป็นเจ้าของกิริยากิตก์ เป็นลิงค์  วิภัตติ วจนะ ใด  กิริยากิตก์ ก็เป็นลิงค์ วิภัตติ วจนะ อันนั้นตาม  (ยกเว้นปัจจัยพวกอัพยยะ)  เช่น 

ปุริโส คจฺฉนฺโต ...     ปุริโส คโต.     ปุริโส คนฺตฺวา ...
นารี คจฺฉนฺตี ...        นารี คตา.      นารี คนฺตฺวา ...
กุลํ คจฺฉนฺตํ ...          กุลํ คตํ.         กุลํ คนฺตฺวา ...

กิริยาอาขยาต  ใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ (กิริยาใหญ่) อย่างเดียว
กิริยากิตก์  ใช้เป็นกิริยาในระหว่าง (กิริยาย่อย)   และที่ลง ต อนีย ตพฺพ ปัจจัย ยังใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ได้

กาลของกิริยากิตก์  แบ่งเป็น 2   คือ  ปัจจุบันกาล และ อดีตกาล

1.  ปัจจุบันกาล
    - ปัจจุบันแท้  แปลว่า  อยู่    เช่น 
      อหํ  ธมฺมํ  สุณนฺโต ปีตึ  ลภามิ.
       เรา ฟังอยู่ ซึ่งธรรม ได้อยู่ ซึ่งปีติ.
    - ปัจจุบันใกล้อนาคต  แปลว่า  เมื่อ    เช่น 
      อนุสนฺธึ  ฆเฏตฺวา  ธมฺมํ เทเสนฺโต  อิมํ คาถมาห.
      เมื่อทรงสืบต่อ ซึ่งอนุสนธิ แสดง ซึ่งธรรม ตรัสแล้ว ซึ่งพระคาถา นี้.

2.  อดีตกาล
    - อดีตกาลล่วงแล้ว  แปลว่า  แล้ว    เช่น 
       ตโย มาสา  อติกฺกนฺตา.
       เดือน ท. 3 ก้าวล่วงแล้ว.
    - อดีตกาลล่วงแล้วเสร็จ  แปลว่า  ครั้น... แล้ว    เช่น
       เยน  ภควา,  เตนุปสงฺกมิอุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ  อภิวาเทตฺวา  เอกมนฺตํ นิสีทิ. 
       ... เข้าไปเฝ้าแล้ว ....  ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมแล้ว .....

ปัจจัยกิริยากิตก์ 10 ตัว     เป็นเครื่องหมาย วาจก   ดังนี้

  1. กิตปัจจัย  3:          อนฺต  ตวนฺตุ  ตาวี          เป็นเครื่องหมาย กัตตุวาจก  และ เหตุกัตตุวาจก
  2. กิจจปัจจัย  2:       อนีย  ตพฺพ                  เป็นเครื่องหมาย กัมมวาจก เหตุกัมมวาจก และ ภาววาจก
  3. กิตกิจจปัจจัย  5:  มาน ตูน ตฺวา ตฺวาน    เป็นเครื่องหมาย วาจกทั้ง 5

ปัจจัยกิริยากิตก์  เป็นเครื่องหมาย กาล   ดังนี้

อนฺต  มาน                                  บอกปัจจุบันกาล       แปลว่า  อยู่,   เมื่อ
ตวนฺตุ  ตาวี    ตูน  ตฺวา  ตฺวาน     บอกอดีตกาล            แปลว่า  แล้ว,  ครั้น...แล้ว (เฉพาะ ตูนาทิปัจจัย)
อนีย ตพฺพ                                  บอกความจำเป็น      แปลว่า  พึง

 

วิธีลงปัจจัยกิริยากิตก์

กิตปัจจัย 
เป็นเครื่องหมายกัตตุวาจก  และ เหตุกัตตุวาจก

อนฺต ปัจจัย  (อยู่, เมื่อ)

บอกปัจจุบันแท้ แปลว่า อยู่
บอกปัจจุบันใกล้อนาคต แปลว่า เมื่อ
ใช้ใน 2 วาจก คือ  กัตตุวาจก และเหตุกัตตุวาจก

ปุงลิงค์    แจกวิภัตติอย่าง ชน หรือ ภควนฺตุ ก็ได้  (เว้น ป. เอก. แปลง นฺต เป็น อํ)
อิตถีลิงค์    ลง อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ (อิตถีโชตกปัจจัย)  มีรูปเป็น อนฺตี แจกอย่าง นารี
นปุงสกลิงค์    แจกอย่าง กุล   
ป. เอก.    -นฺโต,  -ํ,   -นฺตี,  -นฺตํ     ปจนฺโต, ปจํ,  ปจนฺตี,  ปจนฺตํ

  1. กัตตุวาจก  ลงปัจจัยประจำหมวดธาตุก่อน

หมวด ภู ธาตุ  อ ปัจจัย
ภวํ ภวนฺตี ภวนฺตํ (ภู อ)  มีอยู่, เป็นอยู่, เจริญอยู่         คจฺฉนฺโต คจฺฉํ  คจฺฉนฺตี คจฺฉนฺตํ (คมุ อ)  ไปอยู่
ปสฺสนฺโต ปสฺสํ  ปสฺสนฺตี ปสฺสนฺตํ (ทิส อ)  เห็นอยู่                เทนฺโต ททํ ททนฺโต  เทนฺตี เทนฺตํ (ทา อ)  ให้อยู่
นิกฺขมนฺโต นิกฺขมํ (นิ กม อ)  ออกไปอยู่    ลภนฺโต ลภํ (ลภ อ) ได้อยู่    ปจนฺโต ปจํ (ปจ อ) หุงอยู่    สรนฺโต สรํ (สร อ) ระลึกถึงอยู่    
ชยนฺโต ชยํ (ชิ อ) ชนะอยู่    มรนฺโต มรํ มียนฺโต มียํ  (มร อ) ตายอยู่    จวนฺโต จวํ (จุ อ) เคลื่อนอยู่    ชีรนฺโต ชีรํ (ชร อ) แก่อยู่    
ติฏฺฐนฺโต ติฏฺฐํ (ฐา อ) ยืนอยู่     ลภนฺโต ลภํ (ลภ อ)  ได้อยู่        วชนฺโต วชํ (วช อ) ไปอยู่     ชปนฺโต ชปํ (ชป อ) สวดอยู่    
มหนฺโต มหํ (มห อ) บูชาอยู่  (มโห การฉลอง, การบูชา, มหรสพ;  มห ค. มาก, ใหญ่)

หมวด รุธ ธาตุ  อ ปัจจัย และนิคคหิต
รุนฺธนฺโต รุนฺธํ (รุธ ํอ)  ปิดอยู่    ภุญฺชนฺโต ภุญฺชํ (ภุช ํอ)  กินอยู่     ฉินฺทนฺโต ฉินฺทํ (ฉิท ํอ)  ตัดอยู่    ยุญฺชนฺโต ยุญฺชํ (ยุช ํอ)  ประกอบอยู่
ภินฺทนฺโต ภินฺทํ (ภิท ํอ)  ทำลายอยู่    มุญฺจนฺโต มุญฺจํ (มุจ ํอ)  ปล่อยอยู่

หมวด ทิว ธาตุ  ย ปัจจัย
ทิพฺพนฺโต ทิพฺพํ (ทิว ย)  เล่นอยู่    พุชฺฌนฺโต พุชฺฌํ (พุธ ย)  รู้อยู่    กุปฺปนฺโต กุปฺปํ (กุป ย)  กำเริบ/โกรธอยู่    อุปฺปชฺชนฺโต อุปฺปชฺชํ (อุ ปท ย) เกิดขึ้นอยู่
กุชฺฌนฺโต กุชฺฌํ (กุธ ย)  โกรธอยู่    ยุชฺฌนฺโต ยุชฺฌํ (ยุธ ย)  ต่อสู้/รบอยู่   วิชฺฌนฺโต วิชฺฌํ (วิธ ย)  แทงอยู่    สนฺนยฺหนฺโต สนฺนยฺหํ (สํ นห ย)  ผูกอยู่
มุยฺหนฺโต มุยฺหํ (มุห ย)  หลงอยู่    มญฺญนฺโต มญฺญํ (มน ย)  รู้อยู่   ตุสฺสนฺโต ตุสฺสํ (ตุส ย)  ยินดีอยู่    สมฺมนฺโต สมฺมํ (สม ย)  สงบอยู่

หมวด สุ ธาตุ  ณุ ณา อุณา ปัจจัย
สุณนฺโต สุณํ (สุ ณา)  ฟังอยู่    ปาปุณนฺโต ปาปุณํ (ป อป อุณา) ถึง/บรรลุอยู่

หมวด กี ธาตุ  นา ปัจจัย
กิณนฺโต กิณํ (กี นา)  ซื้ออยู่    ชานนฺโต ชานํ (ญา นา)  รู้อยู่

หมวด คห ธาตุ  ณฺหา ปัจจัย
คณฺหนฺโต คณฺหํ (คห ณฺหา)  ถือเอาอยู่

หมวด ตน ธาตุ  โอ ปัจจัย
กโรนฺโต กรํ (กร โอ)  ทำอยู่    กุพฺพนฺโต กุพฺพํ (กร โอ)  ทำอยู่   ชาคโรนฺโต ชาครํ (ชาคร โอ)  ตื่นอยู่  

หมวด จุร ธาตุ  เณ ณย ปัจจัย
โจเรนฺโต โจรยนฺโต โจรยํ (จุร เณ/ณย)  ลักอยู่    กเถนฺโต กถยนฺโต กถยํ (กถ เณ/ณย)  กล่าวอยู่
มนฺเตนฺโต มนฺตยนฺโต มนฺตยํ (มนฺต เณ/ณย)  ปรึกษาอยู่        ปาเลนฺโต ปาลยนฺโต ปาลยํ (ปาล เณ/ณย)  รักษาอยู่
ปูเชนฺโต ปูชยนฺโต ปูชยํ (ปูช เณ/ณย)  บูชาอยู่

  1. เหตุกัตตุวาจก  ลงเหตุปัจจัย 4 ตัว  เช่น 

ภาเวนฺโต ภาวยนฺโต ภาวยํ ภาวาเปนฺโต ภาวาปยนฺโต ภาวาปยํ (ภู) ให้เป็น/เจริญอยู่
กาเรนฺโต การยนฺโต การยํ การาเปนฺโต การาปยนฺโต การาปยํ (ภู) ให้ทำอยู่
โจราเปนฺโต โจราปยนฺโต โจราปยํ (จุร ณาเป/ณาปย เหตุ.*)  ให้ลักอยู่   
กถาเปนฺโต กถาปยนฺโต กถาปยํ (กถ ณาเป/ณาปย เหตุ.*)  ให้กล่าวอยู่
(หมวด จุร ธาตุ เหตุกัตตุวาจก  ลงเฉพาะ ณาเป ณาปย  ดูวิธีการลงปัจจัยในเรื่องอาขยาต)

ตวนฺตุ ปัจจัย  (แล้ว)

บอกอดีตกาล  แปลว่า แล้ว
ใช้ในกัตตุวาจก

ปุงลิงค์    แจกวิภัตติอย่าง ภควนฺตุ
อิตถีลิงค์    อิตถีลิงค์ ลง อี  มีรูปเป็น -วนฺตี -วตี  แจกอย่าง นารี
นปุงสกลิงค์    แจกอย่าง กุล   
ป. เอก.    -ตวา, -ตวตี, -ตวตํ
               สุตวา, สุตวนฺตี สุตวตี, สุตวํ

ตวนฺตุ มีวิธีการลงปัจจัยเหมือน ตฺวา ปัจจัย

ธาตุพยางค์เดียว  
หุตวนฺตุ (หุ) (หุตวา) บูชาแล้ว    ปาตวนฺตุ (ปา) (ปาตวา) ดื่มแล้ว   สุตวนฺตุ (สุ) (สุตวา) ฟังแล้ว

ธาตุหลายพยางค์  ลง อิ อาคม
จชิตวนฺตุ (จช) (จชิตวา) สละแล้ว    ปจิตวนฺตุ (ปจ) (ปจิตวา) หุงแล้ว   วุสิตวนฺตุ (วส) (วุสิตวา) อยู่แล้ว

ลบที่สุดธาตุ  ซ้อน ตฺ  
คุตฺตวนฺตุ (คุป) (คุตฺตวา) คุ้มครองแล้ว    ภุตฺตวนฺตุ (ภุช) (ภุตฺตวา) กินแล้ว

ตาวี ปัจจัย  (แล้ว)

บอกอดีตกาล  แปลว่า แล้ว
ใช้ในกัตตุวาจก

ปุงลิงค์    แจกวิภัตติอย่าง เสฏฺฐี
อิตถีลิงค์    อิตถีลิงค์ ลง อินี ปัจจัย  มีรูปเป็น -ตาวินี แจกอย่าง นารี
นปุงสกลิงค์    รัสสะ อี เป็น อิ แล้วแจกอย่าง อกฺขิ     
ป. เอก.    -ตาวี, -ตาวินี, -ตาวิ;  
             สุตาวี, สุตาวินี, สุตาวิ

ตาวี มีวิธีลงท้ายธาตุเหมือน ตวนฺตุ  เช่น 

สุตาวี (สุ) ฟังแล้ว              ปาตาวี (ปา) ดื่มแล้ว      จชิตาวี (จช) สละแล้ว
คุตฺตาวี (คุป) คุ้มครองแล้ว  วุสิตาวี (วส) อยู่แล้ว

 

กิจจปัจจัย 
เป็นเครื่องหมายกัมมวาจก  เหตุกัมมวาจก  และ ภาววาจก

อนีย ปัจจัย  (พึง)
บอกความจำเป็น  แปลว่า พึง
ลงหลังสกัมมธาตุ เป็น กัมมวาจก เหตุกัมมวาจก
ลงหลังอกัมมธาตุ เป็น ภาววาจก เหตุกัมมวาจก

ปุงลิงค์    แจกอย่าง ชน
อิตถีลิงค์    ลง อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์  แจกอย่าง กญฺญา
นปุงสกลิงค์    แจกอย่าง กุล
ป. เอก.    -นีโย, -นียา, -นียํ;   -ณีโย, -ณียา, -ณียํ
    ปานีโย, ปานียา, ปานียํ;  กรณีโย, กรณียา, กรณียํ

1. ใน ภาววาจก เป็น อ การันต์ นปุ. ปฐมา. เอก. เท่านั้น (-นียํ, -ณียํ) แจกอย่าง กุล   ส่วนตัวกัตตาเป็นตติยาวิภัตติ วจนะใดก็ได้ บุรุษใดก็ได้  เช่น  
     อชฺช เตน มรณียํ.                มรณียํ (มร) พึงตาย
     ตุมฺเหหิ อปฺปมตฺเตหิ ภวนียํ.    ภวนียํ (ภู) พึงเป็น
     มยา คมนียํ.                       คมนียํ (คม) พึงไป
2. ศัพท์ที่ลง อนีย ปัจจัยนี้ ใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ได้
3. ศัพท์ที่ลง อนีย ปัจจัย ใช้เป็นนามกิตก์ได้บ้าง  เช่น  ปณีเตน ขาทนีเยน โภชนีเยน ปริวิสิ. 
    (เขา) เลี้ยงแล้ว ด้วยของอันบุคคลพึงเคี้ยว  ด้วยของอันบุคคลพึงบริโภค อันประณีต
 

  1. กัมมวาจก และ ภาววาจก
    ธาตุพยางค์เดียว เป็นสระ อา   ลบ อา สระหน้า ทีฆะ อ สระหลัง  เช่น
    ปานีโย (ปา) พึงดื่ม    ทานีโย (ทา) พึงให้
    ธาตุพยางค์เดียว เป็น อุ อู พฤทธิ์ อุ อู เป็น โอ, มีสระอยู่หลัง แปลง โอ เป็น อว  เช่น
    ภวนียํ (ภู) พึงเป็น    อภิภวนีโย (อภิ ภู) พึงครอบงำ    สวณีโย (สุ) พึงฟัง
    ธาตุพยางค์เดียว เป็น อิ อี พฤทธิ์ อิ อี เป็น เอ, มีสระอยู่หลัง แปลง เอ เป็น อย เช่น
    สยนียํ (สี) พึงนอน    นยนีโย (นี) พึงนำไป

    ธาตุหลายพยางค์ (ลบสระที่สุดธาตุ)
    อาสนียํ (อาส) พึงนั่ง    อุปาสนีโย (อุป อาส) พึงนั่งใกล้   วจนีโย (วจ) พึงกล่าว    ขาทนีโย (ขาท) พึงเคี้ยวกิน   ขมนีโย (ขม) พึงอดทน/ทน
    ทสฺสนีโย (ทิส) พึงดู/เห็น (เป็นศัพท์ตัทธิตก็ได้)   ปฏิจฺฉาทนีโย (ปฏิ ฉท) พึงปกปิด    ปกาสนีโย (ป กาสุ) พึงประกาศ   เปกฺขนีโย (ป อิกฺข) พึงเพ่งเล็ง
    เลหนีโย (ลิห) พึงลิ้ม/เลีย    กามนีโย (กาม) พึงใคร่   ตชฺชนีโย (ตชฺช) พึงติเตียน/ลงโทษ/ข่มขู่
    ธาตุในหมวด รุธ ธาตุ และธาตุที่ลงท้ายด้วย อิ   ถ้าไม่ลงนิคคหิตอาคม ก็พฤทธิ์สระต้นธาตุได้บ้าง  เช่น 
    โภชนีโย (ภุช) พึงกิน    ภุญฺชนีโย (ภุช) พึงกิน (ไม่พฤทธิ์)
    ธาตุในหมวด ทิว สุ กี คห จุร ลงปัจจัยประจำหมวดธาตุได้  เช่น
    ปฏิปชฺชนีโย (ปท ย) พึงปฏิบัติ    สายนีโย (สา ย) พึงลิ้ม(รส)   ปูชนีโย (ปูช เณ) พึงบูชา
    ธาตุมี ร ห เป็นที่สุด และ รม อป ธาตุ เป็นต้น   แปลง น เป็น   เช่น  
    กรณีโย (กร) พึงทำ    สรณีโย (สร) พึงระลึก    คหณีโย (คห) พึงจับ    รมณีโย (รม) พึงยินดี    ปาปุณีโย (ป อป) พึงถึง

  1. เหตุกัมมวาจก  ลง เณ ณาเป ปัจจัย
    ภาวนีโย ภาวาปนีโย (ภู เณ/ณาเป) พึงให้เป็น/เจริญ        ยาปนีโย (ยา ณาเป) พึงให้เป็นไป
    มโนภาวนีโย (มน ภู เณ) พึงยังใจให้เจริญ, ผู้ให้เจริญใจ     วุฏฺฐาปนีโย (วิ อุ ฐา ณาเป) พึงให้ลุกขึ้น  
    อาราธนีโย (อา ราธ เณ) พึงให้ยินดี                              วิญฺญาปนีโย (วิ ญา ณาเป) พึงให้รู้แจ้งชัด
    ปริปาจนีโย (ปริ ปจ เณ) พึงให้สุกรอบ/แก่กล้า                สญฺญาปนีโย (สํ ญา ณาเป) พึงให้รู้พร้อม/รู้ดี/เข้าใจดี  
    ปฏิสารณีโย (ปฏิ สร เณ) พึงให้กลับระลึกถึง/ย้อนนึกถึง   นิชฺฌาปนีโย (นิ ฌา ณาเป) พึงให้พินิจพิจารณา
    นิสฺสารณีโย (นิ สร เณ) พึงให้แล่นออก, ขับออก

ตพฺพ ปัจจัย  (พึง)

บอกความจำเป็น  แปลว่า พึง
ลงหลังสกัมมธาตุ เป็น กัมมวาจก เหตุกัมมวาจก
ลงหลังอกัมมธาตุ เป็น ภาววาจก เหตุกัมมวาจก

ปุงลิงค์    แจกอย่าง ชน
อิตถีลิงค์    ลง อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์  แจกอย่าง กญฺญา
นปุงสกลิงค์    แจกอย่าง กุล
ป. เอก.    -ตพฺโพ, -ตพฺพา, -ตพฺพํ
              กาตพฺโพ, กาตพฺพา, กาตพฺพํ

1. ในภาววาจก เป็น อ การันต์ นปุ. ปฐมา. เอก. เท่านั้น (-ตพฺพํ)  ส่วนตัวกัตตาเป็นตติยาวิภัตติ วจนะใดก็ได้ บุรุษใดก็ได้

อวสฺสํ มยา มริตพฺพํ.                มริตพฺพํ (มร) พึงตาย
ตุมฺเหหิ อปฺปมตฺเตหิ ภวิตพฺพํ.    ภวิตพฺพํ (ภู) พึงเป็น
ตาย สกเคหํ คนฺตพฺพํ.              คนฺตพฺพํ (คม) พึงไป

2. ศัพท์ที่ลง ตพฺพ ปัจจัย ใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ได้

  1. กัมมวาจก และ ภาววาจก
    ธาตุพยางค์เดียว เป็น อา  เช่น
    ญาตพฺโพ ญาตพฺพา ญาตพฺพํ (ญา) พึงรู้    ทาตพฺโพ ทาตพฺพา ทาตพฺพํ (ทา) พึงให้    ปาตพฺโพ ปาตพฺพา ปาตพฺพํ (ปา) พึงดื่ม
    ฐาตพฺพํ (ฐา) พึงยืน
    ธาตุพยางค์เดียว เป็น อิ อี  พฤทธิ์ อิ อี เป็น เอ,  ถ้าลง อิอาคม  แปลง เอ เป็น อย
    เนตพฺโพ (นี) พึงนำไป    สยิตพฺพํ (สี) พึงนอน    กยิตพฺโพ (กี) พึงขาย    นยิตพฺโพ (นี) พึงนำไป
    ธาตุพยางค์เดียวเป็น อุ อู  พฤทธิ์ อุ อู เป็น โอ,  ลง อิอาคม  แปลง โอ เป็น อว
    ภวิตพฺพํ (ภู) พึงเป็น    โสตพฺโพ สวิตพฺโพ (สุ) พึงฟัง
    ธาตุหลายพยางค์ ลง อิ อาคมได้:
    มริตพฺพํ (มร) พึงตาย    รมิตพฺโพ (รม) พึงยินดี    ภุญฺชิตพฺโพ (ภุช) พึงกิน    ยุญฺชิตพฺโพ (ยุช) พึงประกอบ    กริตพฺโพ (กร) พึงทำ    
    คมิตพฺพํ (คม) พึงไป/ถึง    ภาสิตพฺโพ (ภาส) พึงกล่าว   เวทิตพฺโพ (วิท) พึงรู้
    ธาตุในหมวด ทิว สุ กี คห จุร ลงปัจจัยประจำหมวดธาตุได้  เช่น
    อุปฺปชฺชิตพฺพํ (อุ ปท ย) พึงเกิดขึ้น    ปฏิปชฺชิตพฺโพ (ปฏิ ปท ย) พึงปฏิบัติ    พุชฺฌิตพฺโพ (พุธ ย) พึงรู้    มญฺญิตพฺโพ (มน ย) พึงสำคัญ
    สุณิตพฺโพ (สุ ณา) พึงฟัง    ปาปุณิตพฺโพ (ป อป อุณา) พึงถึง    ปตฺตพฺโพ (ป อป) พึงถึง (ลบ ป ที่สุดธาตุ ซ้อน ตฺ)
    กีณิตพฺโพ (กี นา) พึงซื้อ    ชินิตพฺโพ (ชิ นา) พึงชนะ    
    คณฺหิตพฺโพ (คห ณฺหา) พึงถือเอา    คเหตพฺโพ (คห) พึงถือเอา
    โจเรตพฺโพ (จุร เณ) พึงลัก    โจรยิตพฺโพ (จุร ณย) พึงลัก    อาโรเจตพฺโพ (อา รุจ เณ) พึงบอก    อาโรจยิตพฺโพ (อา รุจ ณย) พึงบอก
    ลบที่สุดธาตุ
    ซ้อน ตฺ:      กตฺตพฺโพ (กร) พึงทำ    วตฺตพฺโพ (วท) พึงกล่าว    โภตฺตพฺโพ (ภุช) พึงกิน
    ลบ ธ ภ  แปลง ต ที่ ตพฺพ เป็น ทฺธลทฺธพฺโพ (ลภ) พึงได้     โพทฺธพฺโพ (พุธ) พึงรู้ (หรือ ต>ธ  ธฺ>ทฺ)    
    ลบ    แปลง ต ที่ ตพฺพ เป็น ฏฺฐทฏฺฐพฺโพ (ทิส) พึงเห็น
    แปลงที่สุดธาตุ
    แปลง ม น เป็น นฺ:   คนฺตพฺโพ (คม) พึงถึง   คนฺตพฺพํ (คม) พึงไป   ขนฺตพฺโพ (ขน) พึงขุด    มนฺตพฺโพ (มน) พึงสำคัญ    หนฺตพฺโพ (หน) พึงฆ่า/เบียดเบียน
    แปลง กร ธาตุ เป็น กา:    กาตพฺโพ (กร) พึงทำ
  1. เหตุกัมมวาจก  (ณย ณาปย ลง อิอาคม ด้วย)
    ธาตุพยางค์เดียว เป็น อิ อี พฤทธิ์ อิ อี เป็น เอ  แปลง เอ เป็น อาย  ลง ณาเป ณาปย  (ห้ามลง เณ ณย)
    สายาเปตพฺโพ สายาเปตพฺพา สายาเปตพฺพํ (สี ณาเป) พึงให้นอน    
    สายาปยิตพฺโพ สายาปยิตพฺพา สายาปยิตพฺพํ (สี ณาปย) พึงให้นอน
    ธาตุพยางค์เดียว เป็น อุ อู  พฤทธิ์ อุ อู เป็น โอ  แปลง โอ เป็น อาว  ลง เณ ณย  (ห้ามลง ณาเป ณาปย)
    ภาเวตพฺโพ ภาเวตพฺพา ภาเวตพฺพํ (ภู เณ) พึงให้เป็น    
    ภาวยิตพฺโพ ภาวยิตพฺพา ภาวยิตพฺพํ (ภู ณย) พึงให้เป็น
    ธาตุหลายพยางค์  ลง เณ ณย ณาเป ณาปย ปัจจัย  เช่น
    กาเรตพฺโพ การยิตพฺโพ การาเปตพฺโพ การาปยิตพฺโพ (ภู เณ/ณย/ณาเป/ณาปย) พึงให้ทำ
    นาเสตพฺโพ นาสยิตพฺโพ นาสาเปตพฺโพ นาสาปยิตพฺโพ (นส เณ/ณย/ณาเป/ณาปย) พึงให้ฉิบหาย
    หมวด จุร ธาตุ ลงเฉพาะ ณาเป ณาปย (เพื่อไม่ให้ซ้ำกับ เณ ณย ปัจจัยประจำหมวดธาตุ)  เช่น
    โจราเปตพฺโพ โจราปยิตพฺโพ (จุร ณาเป/ณาปย) พึงให้ลัก     
    อาโรจาเปตพฺโพ อาโรจาปยิตพฺโพ (อา รุจ ณาเป/ณาปย) พึงให้บอก

กิตกิจจปัจจัย
เป็นเครื่องหมายวาจกทั้ง 5

มาน ปัจจัย  (อยู่ เมื่อ)   ใช้เพียง 4 วาจก คือเว้นภาววาจก

บอกปัจจุบันแท้ แปลว่า อยู่
บอกปัจจุบันใกล้อนาคต แปลว่า เมื่อ

ใช้ใน 4 วาจก คือ  กัตตุวาจก กัมมวาจก เหตุกัตตุวาจก เหตุกัมมวาจก  (คือเว้นภาววาจก)

ปุงลิงค์ แจกอย่าง ชน
อิตถีลิงค์ ลง อา ปัจจัย เครื่องหมายอิตถีลิงค์  แจกอย่าง กญฺญา
นปุงสกลิงค์ แจกอย่าง กุล
ป. เอก. -มาโน, -มานา, -มานํ  ปจมาโน, ปจมานา, ปจมานํ

  1. กัตตุวาจก ลงปัจจัยประจำหมวดธาตุก่อน  เช่น 
    หมวด ภู ธาตุ  อ ปัจจัย
    ภวมาโน ภวมานา ภวมานํ (ภู อ) มี/เป็นอยู่     สยมาโน สยมานา สยมานํ (สี อ)  นอนอยู่
    อภิภวมาโน อภิภวมานา อภิภวมานํ (อภิ ภู อ)  ครอบงำอยู่    อธิสยมาโน อธิสยมานา อธิสยมานํ (อธิ สี อ)  นอนทับอยู่  
    ปจมาโน (ปจ อ)  หุงอยู่    จรมาโน (ปจ อ)  เที่ยวไปอยู่  สยาโน สยานา สยานํ (สี อ)  นอนอยู่  (แปลง มาน เป็น อาน)  
    หมวด รุธ ธาตุ  อ ปัจจัย และนิคคหิต
    ภุญฺชมาโน (ภุช อ)  กินอยู่    มุญฺจมาโน (มุจ อ)  ปล่อยอยู่
    หมวด ทิว ธาตุ  ย ปัจจัย
    พุชฺฌมาโน (พุธ อ)  รู้อยู่    มุยฺหมาโน (มุห อ)  หลงอยู่
    กุปฺปมาโน (กุป อ)  กำเริบ/โกรธอยู่    ชายมาโน (ชน อ)  เกิดอยู่
    หมวด สุ ธาตุ  ณุ ณา อุณา ปัจจัย
    สุณมาโน (สุ ณา)  ฟังอยู่    ปาปุณมาโน (ป อป อุณา) ถึง/บรรลุอยู่
    * หน้า มาน ปัจจัย ต้องเป็นรัสสะ
    หมวด กี ธาตุ  นา ปัจจัย
    กีณมาโน (กี นา)  ซื้ออยู่    ชานมาโน (ญา นา)  รู้อยู่
    หมวด คห ธาตุ  ณฺหา ปัจจัย
    คณฺหมาโน (คห ณฺหา)  ถือเอาอยู่
    หมวด ตน ธาตุ  โอ ปัจจัย
    กุรุมาโน (กร โอ)  ทำอยู่    ชาครมาโน (ชาคร โอ)  ตื่นอยู่
    กุพฺพาโน (กร โอ)  ทำอยู่    กยิรมาโน (กร ยิร)  ทำอยู่
    หมวด จุร ธาตุ  ลงเฉพาะ ณย ปัจจัย
    โจรยมาโน (จุร ณย)  ลักอยู่
    กถยมาโน (กถ ณย)  กล่าวอยู่
    มนฺตยมาโน (มนฺต ณย)  ปรึกษาอยู่
    ปตฺถยาโน (ปตฺถ ณย)  ปรารถนาอยู่
    ปาลยมาโน (ปาล ณย)  รักษาอยู่
    ปูชยมาโน (ปูช ณย)  บูชาอยู่
    อนุพนฺธนฺโต (อนุ พนฺธ)  ติดตามอยู่  (แปลง มาน เป็น อนฺต)
  2. กัมมวาจก ลง ย ปัจจัย กับ อิ อาคมหน้า ย ก่อน  ถ้าไม่ลง อิ ก็แปลงเป็นอย่างอื่น  เช่น  
    กริยมาโน (กร อิ ย) ทำอยู่    อุปฏฺฐิยมาโน (อุป ฐา อิ ย) บำรุงอยู่
    ปจิยมาโน (ปจ อิ ย) หุงอยู่    ลภิยมาโน (ลภ อิ ย) ได้อยู่    คหิยมาโน (คห อิ ย) ถือเอาอยู่    วจิยมาโน (วจ อิ ย) กล่าวอยู่
    ปจฺจมาโน (ปจ ย) หุงอยู่       ลพฺภมาโน (ลภ ย) ได้อยู่      คยฺหมาโน (คห ย) ถือเอาอยู่        วุจฺจมาโน (วจ ย) กล่าวอยู่
  3. เหตุกัตตุวาจก ลง ณย ณาปย ก่อน   เช่น
    ภาวยมาโน ภาวาปยมาโน (ภู ณย/ณาปย) ให้มี/เจริญ อยู่
    การยมาโน การาปยมาโน (กร ณย/ณาปย) ให้ทำอยู่    อภินิสีทยมาโน อภินิสีทาปยมาโน (อภิ นิ สท ณย/ณาปย) ให้นั่งใกล้อยู่
  4. เหตุกัมมวาจก  ลง เณ ณาเป กับ ย ปัจจัย และ อิ อาคมหน้า ย ก่อน  เช่น 
    ภาวิยมาโน ภาวาปิยมาโน (ภู เณ/ณาเป อิ ย) ให้มี/เจริญ อยู่    อภินิสีทิยมาโน อภินิสีทาปิยมาโน (อภิ นิ สท เณ/ณาเป อิ ย) ให้นั่งใกล้อยู่
    การิยมาโน การาปิยมาโน (กร อิ เณ/ณาเป อิ ย) ให้ทำอยู่

ปัจจัย (แล้ว) 

บอกอดีตกาล  แปลว่า แล้ว
ใช้ใน 4 วาจก คือเว้นเหตุกัตตุวาจก

ลงหลังสกัมมธาตุ เป็น กัมมวาจก  เหตุกัมมวาจก
ลงหลังอกัมมธาตุ เป็น กัตตุวาจก  เหตุกัมมวาจก ภาววาจก

ปุงลิงค์    แจกอย่าง ชน
อิตถีลิงค์    ลง อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์  แจกอย่าง กญฺญา
นปุงสกลิงค์    แจกอย่าง กุล
ป. เอก.    -โต, -ตา, -ตํ    กโต, กตา, กตํ

  1. ใน ภาววาจก เป็น อ การันต์ นปุ. ปฐมา. เอก. เท่านั้น
    ใช้เป็นนามนาม ไม่แปลว่าแล้ว  เช่น  มตํ ความตาย,  ชีวิตํ ความเป็นอยู่, ชีวิต
  2. ศัพท์ที่ลง ต ปัจจัย ใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ได้
  1. กัตตุวาจก และ กัมมวาจก
    ลงหลังสกัมมธาตุ เป็น กัมมวาจก
    ลงหลังอกัมมธาตุ เป็น กัตตุวาจก
  ธาตุพยางค์เดียว:
    ญาโต (ญา) รู้แล้ว ฉาโต (ฉา) หิวแล้ว ชิโต (ชิ) ชนะแล้ว ภีโต (ภี) กลัวแล้ว
    นีโต (นี) นำไปแล้ว กีโต (กี) ซื้อแล้ว สุโต (สุ) ฟังแล้ว  
    ภูโต (ภู) เป็นแล้ว อิโต (อิ) ไปแล้ว; ถึงแล้ว (ซึ่ง...)    เช่น ทุกฺขิโต ถึงแล้วซึ่งทุกข์  (ทุกฺข-อิ-ต)
  ธาตุพยางค์เดียว เป็น อา   แปลง อา เป็น อิ อี:
    ฐิโต (ฐา) ยืนแล้ว ปีโต (ปา) ดื่มแล้ว อภิชฺฌิโต (อภิ เฌ/ฌา) เพ่งจำเพาะแล้ว
  ลงหลังธาตุหลายพยางค์  ถ้าไม่แปลงธาตุและปัจจัย ก็ให้ลง อิ อาคมได้:
(ลง อิ อาคม ด้วยอำนาจปัจจัยที่ขึ้นด้วย ตฺ  เช่น ต ตพฺพ ตฺวา ตุํ)
    ปจิโต (ปจ) หุงแล้ว กริโต (กร) ทำแล้ว คมิโต (คม) ไปแล้ว มริโต (มร) ตายแล้ว
    ภาสิโต (ภาส) กล่าวแล้ว รกฺขิโต (รกฺข) รักษาแล้ว ปสํสิโต (ป สํส) สรรเสริญแล้ว  
  ลบที่สุดธาตุ
  ลบ      
    คโต (คม) ไปแล้ว, ถึงแล้ว (ซึ่ง) รโต (รม) ยินดีแล้ว นิยโต (นิ ยมุ) เที่ยงแล้ว ปริณโต (ปริ นม) แปรปรวนแล้ว
    ปฏิวิรโต (ปฏิ วิ รมุ) เว้นเฉพาะแล้ว      
  ลบ      
    ขโต (ขน) ขุดแล้ว หโต (หน) เบียดเบียนแล้ว สมฺมโต (สํ มน) รู้พร้อมแล้ว  
  ลบ      
    กโต ทำแล้ว ทุกฺกโต-โฏ (กร) ทำชั่วแล้ว มโต (มร) ตายแล้ว สโต (สร) ระลึกแล้ว
    นีหโต-โฏ (นี หร) นำออกแล้ว อภิหโต-โฏ (อภิ หร) นำไปแล้ว สนฺถโต (ถร) ปูลาดแล้ว กิโต (กิร) เกลื่อนกล่นแล้ว
    ภโต-โฏ (ภร) เลี้ยงแล้ว    
  เฉพาะ กร ธาตุ ถ้ามี ปุร สํ อุป ปริ นำหน้า  แปลง ก เป็น ด้วย:     
    ปุรกฺขโต (ปุร กร) ทำก่อนแล้ว สงฺขโต (สํ กร) ปรุงแต่งแล้ว    
    ปริกฺขโต (ปริ กร) ทำรอบแล้ว อุปกฺขโต (อุป กร) เข้าทำแล้ว    
  ธาตุมี จ ช ท ป  เป็นที่สุด  ลบที่สุดธาตุ ซ้อน ตฺ  เช่น
  ลบที่สุดธาตุ  ซ้อน ตฺ      
    ลบ      
    สิตฺโต (สิจ) รดแล้ว วุตฺโต (วจ) กล่าวแล้ว วิวิตฺโต (วิ วิจ) สงัดแล้ว มุตฺโต (มุจ) พ้น/ปล่อยแล้ว
    ลบ      
    ยุตฺโต (ยุช) ประกอบแล้ว จตฺโต (จช) สละแล้ว รตฺโต (รนฺช) กำหนัดแล้ว สารตฺโต (สํ รนฺช) กำหนัดนักแล้ว
    ภุตฺโต (ภุช) กินแล้ว      
    ลบ      
    ปตฺโต (ปท) ถึงแล้ว (ซึ่ง) ปมตฺโต (มท) ประมาทแล้ว ขิตฺโต (ขิป) ซัดไปแล้ว  
    ลบ      
    ปตฺโต (ป อป) ถึงแล้ว (ซึ่ง) ปญฺญตฺโต (ป ญป) ปูลาด/บัญญัติแล้ว คุตฺโต (คุป) คุ้มครองแล้ว สุตฺโต (สุป) หลับแล้ว
    ตตฺโต (ตป) ร้อนแล้ว สนฺตตฺโต (สํ ตป) เร่าร้อนแล้ว อาทิตฺโต (อา ทีป) ไหม้แล้ว ลิตฺโต (ลิป) ฉาบ/ทาแล้ว
  ลบที่สุดธาตุ แปลง ต      
  ลบ     แปลง ต เป็น คฺค: ลคฺโค (ลค) ข้องแล้ว    
  ลบ     แปลง ต เป็น คฺค: ภคฺโค (ภญฺช/ภนฺช) หัก/แบ่งแล้ว โอภคฺโค (โอ ภญฺช) หักลงแล้ว นิมฺมุคฺโค (นิ มุชฺช) ดำลงแล้ว
  ลบ     แปลง ต เป็น นฺน:
    ฉนฺโน (ฉท) มุงแล้ว ปฏิจฺฉนฺโน (ปฏิ ฉท) ปิดแล้ว รุนฺโน (รุท) ร้องไห้แล้ว ทินฺโน (ทา) ให้แล้ว (อา>อิ)
    สนฺโน (สท) จมแล้ว นิสินฺโน (นิ สท) นั่งแล้ว (อ>อิ) ฉินฺโน (ฉิท) ตัด/ขาดแล้ว สมฺปนฺโน (สํ ปท) ถึงพร้อมแล้ว
    ปสนฺโน (ป สท) เลื่อมใสแล้ว อุปฺปนฺโน (อุ ปท) เกิดขึ้น/อุบัติแล้ว ภินฺโน (ภิท) แตก/ทำลายแล้ว สมาปนฺโน (สํ อา ปท) เข้าถึงแล้ว
    นิปนฺโน (นิ ปท) นอนแล้ว      
    นิปฺปนฺโน นิปฺผนฺโน (นิ ปท) สำเร็จแล้ว    
  ลบ ธ    แปลง ต เป็น ทฺธ:      
    พุทฺโธ (พุธ) รู้แล้ว พทฺโธ (พธ) ผูกแล้ว กุทฺโธ (กุธ) โกรธแล้ว รุทฺโธ (รุธ) กั้นแล้ว
    สุทฺโธ (สุธ) หมดจดแล้ว สิทฺโธ (สิธ) สำเร็จแล้ว ยุทฺโธ (ยุธ) รบแล้ว ปยุทฺโธ (ป ยุธ) รบแล้ว
    ปฏิวิทฺโธ (ปฏิ วิธ) แทงตลอดแล้ว    
  ลบ ภ    แปลง ต เป็น ทฺธ:      
    ลทฺโธ (ลภ) ได้แล้ว อารทฺโธ (อา รภ) ปรารภแล้ว    
  ลบ ห    แปลง ต เป็น ทฺธ:      
    นทฺโธ (นห) ผูกแล้ว      สนฺนทฺโธ (สํ นห) ผูกแล้ว    
  ลบ ฑฺฒ  แปลง ต เป็น ฑฺฒ: วุฑฺโฒ (วฑฺฒ) เจริญแล้ว    
  ลบ   แปลง ต เป็น ฑฺฒ: ทฑฺโฒ (ทห) ไหม้แล้ว, (อันไฟ) เผาแล้ว    
  ลบ     แปลง ต เป็น นฺต:      
    ปกฺกนฺโต (ป กม) หลีกไปแล้ว นิกฺขนฺโต (นิ กม) ออกแล้ว สนฺโต (สม) สงบแล้ว ทนฺโต (ทม) ฝึกแล้ว
    กิลนฺโต (กิลม) ลำบากแล้ว ปนฺโต (ป อม) สงัดแล้ว วิพฺภนฺโต (วิ ภม) สึกแล้ว ‘หมุนไปผิด’
  ลบ     แปลง ต เป็น ณฺณ อิณฺณ:
    ปุณฺโณ (ปูร) เต็มแล้ว ติณฺโณ (ตร) ข้ามแล้ว รุณฺณํ (รุท) การร้องไห้  
    ชิณฺโณ (ชร) แก่แล้ว ปริชิณฺโณ (ปริ ชร) แก่รอบแล้ว กิณฺโณ (กิร) เกลื่อนกล่นแล้ว อากิณฺโณ (อา กิร) เกลื่อนกล่นแล้ว
    สุจิณฺโณ (สุ จร) ประพฤติดีแล้ว อาจิณฺโณ (อา จร) ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อแล้ว    
  ลบ     แปลง ต เป็น ตฺถ:
    วุตฺโถ (วส) อยู่แล้ว (เอา อ ที่ ว เป็น อุ) ปสตฺโถ (ป สํส)  สรรเสริญแล้ว (ลบนิคคหิต)
    นิวตฺโถ นิวุตฺโถ (นิ วส) นุ่งแล้ว (เอา อ ที่ ว เป็น อุ) อธิวตฺโถ อธิวุตฺโถ (วส) อยู่แล้ว (เอา อ ที่ ว เป็น อุ)
  ลบ ส  แปลง ต เป็น ฏฺฐ:
    กฏฺโฐ (กส) ไถแล้ว กิลิฏฺโฐ (กิลิส) เศร้าหมองแล้ว ตุฏฺโฐ (ตุส) ยินดีแล้ว ทฏฺโฐ (ทํส) กัดแล้ว
    ทิฏฺโฐ (ทิส) เห็นแล้ว ทุฏฺโฐ (ทุส) ประทุษร้ายแล้ว ภฏฺโฐ (ภส) พลาดแล้ว อิฏฺโฐ (อิส) ปรารถนาแล้ว
    นฏฺโฐ (นส) พินาศแล้ว นิวิฏฺโฐ (นิ วิส) ตั้งลงแล้ว ปมุฏฺโฐ (ป มุส) ลืมแล้ว ปวิฏฺโฐ (ป วิส) เข้าไปแล้ว
    ผุฏฺโฐ (ผุส) ถูกต้องแล้ว ปรามฏฺโฐ (ปรา มส) ยึดมั่นแล้ว ปหฏฺโฐ (ป หส) ร่าเริงแล้ว หฏฺโฐ (หส) ร่าเริงแล้ว
    อนุสิฏฺโฐ (อนุ สาส) พร่ำสอนแล้ว อามฏฺโฐ (อา มส) จับต้องแล้ว    
  ลบ ช ฉ แปลง ต เป็น ฏฺฐ:
    ยิฏฺโฐ (ยช) บูชาแล้ว สฏฺโฐ (สช) ข้องแล้ว ปุฏฺโฐ (ปุจฺฉ) ถามแล้ว ภฏฺโฐ (ภนฺช) หัก/แบ่ง/ทำลายแล้ว
  ลบ   แปลง ต เป็น ฬฺห:
    มุฬฺโห มูฬฺโห (มุห) หลงแล้ว อชฺโฌคาฬฺโห (อธิ โอ คาห) หยั่งลงแล้ว พาฬฺโห (พห) มั่นคงแล้ว วุฬฺโห (วห/วุห) นำไปแล้ว
    รุฬฺโห (รุห) งอกขึ้นแล้ว อารุฬฺโห (อา รุห) งอกขึ้นแล้ว    
  ลบ จ ก ส  แปลง ต เป็น : ปกฺโก (ปจ) หุงแล้ว, สุกแล้ว สุกฺโก สุกฺโข (สุส/สุจ) แห้งแล้ว
    โอมุกฺโก (โอ มุจ) ถอดออกแล้ว สกฺโก (สก) อาจแล้ว    
  ธาตุที่แปลงเป็นอย่างอื่น (เป็นกฎเกณฑ์เฉพาะธาตุนั้นๆ)  เช่น
  แปลง ต เป็น อีณ  ลบสระหน้า  แปลง ณ เป็น บ้าง  รัสสะ อี เป็น อิ บ้าง:    
    ขีโณ (ขี) สิ้นแล้ว ชีโน ชิโน (ชิ) ชนะแล้ว (ต>อีน) ทีโน ทิโน (ที) สิ้นแล้ว (ต>อีน)
    หีโน ปหีโน (ป หา) เสื่อมแล้ว (ต>อีน) หีโน (หา) เสื่อมแล้ว    
    สลฺลีโน (สํ ลี) ซ่อนเร้นแล้ว คิลาโน (คิเล) เจ็บไข้แล้ว -ทตฺโต (ทา) ให้แล้ว ปกฺขนฺโต (ป ขทิ) แล่นไปแล้ว
    ภจฺโจ (ภร) เลี้ยงแล้ว ฉุฑฺโฑ (ฉุภ) ทิ้งแล้ว ปยโต (ป ยต) ชำระแล้ว พนฺโธ (พธ พนฺธ) ผูกแล้ว
    สมาหิโต (สํ อา ธา) ตั้งมั่นแล้ว (ธา>ห) ปณิหิต (ป นิ ธา) ตั้งมั่นแล้ว (ธา>ห   น>ณ)  นิหิโต (นิ ธา) ตั้งแล้ว (ธา>ห) นิวตฺโต (นิ วต) กลับแล้ว
    นิสฺสิโต อาศัยแล้ว (ซึ่ง) วุตฺโถ (วส) อยู่แล้ว โรทิโต (รุธ อิ) ร้องไห้แล้ว  
    อุเปโต (อุป อิ อิ) เข้าถึงแล้ว (พฤทธิ์ อิ เป็น เอ) อธิวตฺโถ อธิวุตฺโถ (วส) อยู่ทับแล้ว/ให้อยู่ทับแล้ว (รับนิมนต์)
  แปลงเฉพาะธาตุ      
    ชาโต (ชน) เกิดแล้ว คีตํ (เค) ขับร้องแล้ว    
    นจฺโจ นฏฺโฏ (นต) ฟ้อนรำแล้ว (แปลง ต ปัจจัย กับ ต เป็น จฺจ ฏฺฏ) (นต ย ติ = นจฺจติ)    
  1. เหตุกัมมวาจก  ลงเหตุปัจจัย (มักใช้ เณ ณาเป) และ อิ อาคม ก่อน  เช่น 
    การิโต การาปิโต การยิโต การาปยิโต (กร เณ/ณย/ณาเป/ณาปย) ให้ทำแล้ว  
    มาริโต มาราปิโต มารยิโต มาราปยิโต (มร เณ/ณย/ณาเป/ณาปย) ให้ตายแล้ว
    ภาวิโต (ภู เณ) ให้มี/เจริญแล้ว   สาวิโต (สุ เณ) ให้ฟังแล้ว

ตูนาทิ ปัจจัย (แล้ว, ครั้น...แล้ว) 

บอกอดีตกาล  แปลว่า แล้ว
บอกอดีตกาล ล่วงแล้วเสร็จ แปลว่า ครั้น...แล้ว

ใช้ใน 2 วาจก คือ กัตตุวาจก และ เหตุกัตตุวาจก

ตูน ตฺวา ตฺวาน  เรียกว่า ตูนาทิ ปัจจัย   แปลว่า ปัจจัยมี ตูน เป็นต้น   ทั้ง 3 ตัวนี้ ไม่ต้องแจกด้วยวิภัตตินาม
(ต่อไปนี้ จะเรียกว่า ตฺวา อย่างเดียว  เพราะตูนาทิ มีตูนศัพท์เป็นต้น คือเป็นศัพท์แรกของกลุ่ม ก็จริง  แต่ก็มี ตฺวา ปัจจัยซึ่งใช้มากที่สุดเป็นหลัก)

  1. กัตตุวาจก  ลงปัจจัยประจำหมวดธาตุบ้าง
  ภู: ทตฺวา (ทา) ให้แล้ว (อา>อ) ฐตฺวา (ฐา) ยืนแล้ว (อา>อ) ปิตฺวา (ปา) ดื่มแล้ว (อา>อิ) ปิวิตฺวา (ปา>ปิว) ดื่มแล้ว
    ชหิตฺวา (หา) ละแล้ว
(เทฺวภาวะ หา>หาหา>ชหา)
สยิตฺวา (สี) นอนแล้ว ภายิตฺวา (ภี) กลัวแล้ว  
    หุตฺวา (หุ) เป็นแล้ว ภวิตฺวา (ภู) เป็นแล้ว    อภิภวิตฺวา (อภิ ภู) ครอบงำแล้ว    จวิตฺวา (จุ) เคลื่อนแล้ว
    ยาจิตฺวา (ยาจ) ขอแล้ว ขาทิตฺวา (ขาท) เคี้ยวกินแล้ว ลภิตฺวา (ลภ) ได้แล้ว มริตฺวา (มร) ตายแล้ว
    คมิตฺวา (คม) ไปแล้ว ปวิสิตฺวา (ป วิส) เข้าไปแล้ว นิกฺขมิตฺวา (นิ กม) ออกไปแล้ว  
  รุธ: รุนฺธิตฺวา (รุธ) ปิดแล้ว           มุญฺจิตฺวา (มุจ) ปล่อยแล้ว ภินฺทิตฺวา (ภิท) ทำลายแล้ว ฉินฺทิตฺวา (ฉิท) ตัดแล้ว
  ทิว: ทิพฺพิตฺวา (ทิว ย) เล่นแล้ว สิพฺพิตฺวา (สิว ย) เย็บแล้ว ชายิตฺวา (ชน ย) เกิดแล้ว อาทิยิตฺวา (อา ทา ย) ถือเอาแล้ว
    พุชฺฌิตฺวา (พุธ ย) รู้แล้ว ภิชฺชิตฺวา (ภิท ย) แตกแล้ว วิรชฺฌิตฺวา (วิ รุธ ย) ผิดแล้ว อุปฺปชฺชิตฺวา (อุ ปท ย) เกิดขึ้นแล้ว
    รชฺชิตฺวา (รช ย) ย้อมแล้ว ปจฺจิตฺวา (ปจ ย)  สุกแล้ว มุจฺจิตฺวา (มุจ ย) พ้นแล้ว สมฺมุยฺหิตฺวา (มุห ย) หลงแล้ว
    อารุยฺหิตฺวา (อา รุห ย) ขึ้นแล้ว อารุหิตฺวา (อา รุห)  ขึ้นแล้ว ฉิชฺชิตฺวา (ฉิท ย)  ขาดแล้ว อารพฺภิตฺวา (อา รภ ย) ปรารภแล้ว
  สุ: สุณิตฺวา (สุ ณา)  สุตฺวา (สุ) ฟังแล้ว ปาปุณิตฺวา (ป อป อุณา) ปตฺวา (อป) ถึงแล้ว  (ลบ อ ต้นธาตุ)  
  กี: กีณิตฺวา (กี นา) ซื้อแล้ว วิกฺกิณิตฺวา (วิ กี นา) ขายแล้ว ชินิตฺวา (ชิ นา) ชิตฺวา (ชิ)เชตฺวา (ชิ -วุทธิ)  ชนะแล้ว
    ญตฺวา (ญา) ชานิตฺวา (ญา นา) รู้แล้ว       วิชานิตฺวา (วิ ญา นา) รู้แจ้งแล้ว  
  คห: คณฺหิตฺวา (คห ณฺหา) คเหตฺวา (คห) จับแล้ว ปคฺคณฺหิตฺวา (ป คห ณฺหา) ประคองแล้ว
  ตน: กริตฺวา (กร) กตฺวา (กร)  ทำแล้ว ตนิตฺวา (ตน) แผ่ไปแล้ว โอสกฺกิตฺวา (โอ สกฺก) ล้าลงแล้ว  
  จุร: โจเรตฺวา โจรยิตฺวา (จุร เณ ณย) ลักแล้ว ปูเชตฺวา ปูชยิตฺวา (ปูช เณ ณย) บูชาแล้ว
    จินฺเตตฺวา จินฺตยิตฺวา (จินฺต เณ ณย) คิดแล้ว มนฺเตตฺวา มนฺตยิตฺวา (มนฺต เณ ณย)  ปรึกษาแล้ว
    อุทฺทิสิตฺวา (ทิส เณ) แสดงขึ้นแล้ว      
  ลบที่สุดธาตุ: กตฺวา (กร) ทำแล้ว ภุตฺวา (ภุช) กินแล้ว ปตฺวา (ปท) ถึงแล้ว
    วตฺวา (วท) กล่าวแล้ว      
  ธาตุมี ม น เป็นที่สุด  แปลงเป็น นฺ      
    คนฺตฺวา (ไปแล้ว) อาคนฺตฺวา (อา คม) มาแล้ว หนฺตฺวา (หน) ฆ่า/เบียดเบียนแล้ว ขนฺตฺวา (ขน) ขุดแล้ว
    มนฺตฺวา (มน) รู้แล้ว      
  ทิส ธาตุ แปลง ตฺวา เป็น สฺวา,  ตฺวาน เป็น สฺวาน: ทิสฺวา ทิสฺวาน (ทิส) เห็นแล้ว  
  แปลง ตฺวา เป็น :      
    อาทาย (อา ทา) ถือเอาแล้ว ปริยาทาย (ปริ ยฺ อา ทา) ถือเอารอบแล้ว สมาทาย (สํ อา ทา) สมาทานแล้ว ปหาย (ป หา) ละแล้ว
    โอหาย (โอ หา) ละแล้ว วุฏฺฐาย (อุ วฺ ฐา) ออกแล้ว อธิฏฺฐาย (อธิ ฐา) ตั้งทับแล้ว, อธิษฐานแล้ว
    อุฏฺฐาย (อุ ฐา) ตั้งขึ้นแล้ว ปจฺจุฏฺฐาย (ปติ อุ ฐา) กลับลุกขึ้นแล้ว สมุฏฺฐาย (สํ อุ ฐา) ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว
    ปติฏฺฐาย (ปติ ฐา) ตั้งอยู่เฉพาะแล้ว  
    ปฏฺฐาย (ป ฐา) ตั้งก่อนแล้ว  แต่ใช้เป็นกิริยาวิเสสนะ แปลว่า ตั้งแต่, ตั้งก่อน, จำเดิม
    นิสฺสาย (นิ สี) อาศัยแล้ว อญฺญาย (อา ญา) รู้ทั่วแล้ว    อนฺวาย (อนุ อิ) เป็นไปตามแล้ว, อาศัยแล้ว
    ปจฺจกฺขาย (ปติ ขา) บอกคืนแล้ว        อภิภุยฺย (อภิ ภู) ครอบงำแล้ว อภิวิชิย (อภิ ชิ) ชนะยิ่งแล้ว  
    ปฏิสํขา ปฏิสงฺขา ปฏิสงฺขาย (ปฏิ สํ ขา) พิจารณาแล้ว    
    สนฺธาย (สํ ธา) หมายเอาแล้ว   ใช้เป็นกิริยาวิเสสนะ แปลว่า หมายเอา    
  ลบที่สุดธาตุ      
  ลบ มฺ  แปลง ตฺวา เป็น มฺม:
    อาคมฺม (อา คม) มาแล้ว, อาศัยแล้ว อุปคมฺม (อุป คม) เข้าไปใกล้แล้ว นิสมฺม (นิ สม) ใคร่ครวญแล้ว อภิรมฺม (อภิ รม) ยินดียิ่งแล้ว
    นิกฺขมฺม (นิ กม) ออกแล้ว โอกฺกมฺม (โอ กม) ก้าวลงแล้ว, หยั่งลงแล้ว  
  ลบ ทฺ  แปลง ตฺวา เป็น ชฺช:
    อุปฺปชฺช (อุ ปท) เกิดขึ้นแล้ว ปมชฺช (ป มท) ประมาทแล้ว ฉิชฺช (ฉิท) ขาดแล้ว อจฺฉิชฺช (อา ฉิท) ชิงเอาแล้ว
    นิสชฺช (นิ สท สิท) นั่งแล้ว วิภชฺช (วิ ภช) แบ่งแล้ว    
  ลบ ธ ภ  แปลง ตฺวา เป็น ทฺธา  พฺภ:
    วิทฺธา (วิธ) แทงแล้ว ลทฺธา ลทฺธ (ลภ) ได้แล้ว อารพฺภ อารทฺธ (รภ) ปรารภแล้ว
  ลบ   แปลง ตฺวา เป็น ยฺห:
    ปคฺคยฺห (ป คห) ประคองแล้ว สนฺนยฺห (สํ นห) ผูกแล้ว อารุยฺห (อา รุห) ขึ้นแล้ว ปสยฺห (ป สห) กดขี่แล้ว
    อพฺพุยฺห (อา วุห) ถอนแล้ว โอรุยฺห (โอ รุห) ลงแล้ว    
  ลบ จ น  แปลง ตฺวา เป็น จฺจ:      
    อาหจฺจ (อา หน) กระทบแล้ว อูหจฺจ (อุ หน) ถอนขึ้นแล้ว วิวิจฺจ (วิ วิจ) สงัดแล้ว  
    อุปหจฺจ (อุป หน) เข้าไปกระทบ/จดแล้ว      
  ธาตุเหล่านี้ แปลง ตฺวา เป็น จฺจ:
    ปฏิจฺจ (ปฏิ อิ ‘ไป ถึง’) อาศัยแล้ว อเวจฺจ (อว อิ) ลงไปแล้ว, หยั่งลงแล้ว อติจฺจ (อติ อิ) เป็นไปล่วงแล้ว, ก้าวล่วงแล้ว
    ปริจฺจ (ปริ อิ) กำหนดแล้ว อภิสเมจฺจ (อภิ สํ อิ) บรรลุแล้ว สเมจฺจ (สํ อิ) ถึงพร้อมแล้ว, พิจารณาแล้ว
    เปจฺจ (ป อิ) ละไปแล้ว อเปจฺจ (อุป อิ) เข้าไปแล้ว อนุวิจฺจ (อนุ วิท ‘รู้’ ) พิจารณาแล้ว
    สกฺกจฺจ (สํ กร) ทำโดยดีแล้ว อธิกิจฺจ (อธิ กร) ทำยิ่งแล้ว  
    สญฺจิจฺจ (สํ จิต) แกล้ง/จงใจแล้ว (‘แกล้ง’ เป็นภาษาเก่า  หมายถึง จงใจ)    
  แปลง ย กับที่สุดธาตุเป็นอย่างอื่น
    อุทฺทิสฺส (อุ ทิส) เจาะจงแล้ว  ใช้เป็นกิริยาวิเสสนะ แปลว่า เจาะจง ปวิสฺส (ป วิส) เข้าไปแล้ว  
    ปฏิหิญฺญ (ปฏิ หน) กระทบเฉพาะแล้ว    

แปลง ตฺวา เป็น  อา  ยาน  อิย  ฏฺฐุํ  เฉพาะธาตุบางตัวที่มีอุปสัคเป็นบทหน้า  เช่น
  อา : ปฏิสงฺขา (ปฏิ สํ ขา) พิจารณาแล้ว,  อนาปุจฺฉา (น อา ปุจฺฉ) ไม่อำลาแล้ว
  ยาน : สมเวกฺขิยาน (สํ อว อิกฺข) พิจารณาแล้ว
  อิย : อปจฺจเวกฺขิย (น ปฏิ อว อิกฺข) ไม่พิจารณาแล้ว   
  ฏฺฐุํ : อภิหฏฺฐุํ (อภิ หร) นำไปยิ่งแล้ว

  1. เหตุกัตตุวาจก ลงเหตุปัจจัยก่อน  เฉพาะ ณย ณาปย  ลง อิ อาคมด้วย แล้วจึงลง ตฺวา ปัจจัย  เช่น
    ภาเวตฺวา ภาวยิตฺวา ภาวาเปตฺวา ภาวาปยิตฺวา (ภู เณ/ณย/ณาเป/ณาปย) ให้มีแล้ว
    โรเธตฺวา โรธยิตฺวา โรธาเปตฺวา โรธาปยิตฺวา (รุธ เณ/ณย/ณาเป/ณาปย)  ให้กั้นแล้ว
    กาเรตฺวา การยิตฺวา การาเปตฺวา การาปยิตฺวา (กร เณ/ณย/ณาเป/ณาปย)  ให้ทำแล้ว
    สิกฺขาเปตฺวา สิกฺขาปยิตฺวา (สิกฺข ณาเป/ณาปย) ให้ศึกษาแล้ว

ปัจจัยกิริยากิตก์นอกแบบ

อาน จัดเป็น กิตปัจจัย (หรือแปลงมาจาก มาน ปัจจัย)  บอกปัจจุบันกาล  แปลว่า อยู่   เช่น 
ปตฺถยาโน (ปตฺถ) ปรารถนาอยู่,  เอสาโน (เอส) แสวงหาอยู่,
สยาโน (สี) นอนอยู่,  กราโน (กร) ทำอยู่, 
อภิสมฺพุธาโน (อภิ สํ พุธ) ตรัสรู้อยู่,  อนุปาทิยาโน (น อุป อา ทา ย)  ไม่เข้าไปยึดถืออยู่
แปลง  อาน เป็น  อีน  เช่น  อาสีโน (อาส) นั่งอยู่

ตัวอย่างการแจกศัพท์ที่ลง อนฺต ปัจจัย ปุงลิงค์  ที่แจกอย่าง ภควนฺตุ (ยกเว้น ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ)
(ส่วนที่เป็นตัวหนา คือ แสดงรูปที่แจกแตกต่างจากการแจกอย่าง ชน)

วทนฺต (วท-อนฺต กล่าวอยู่) ในปุงลิงค์ แจกอย่าง ภควนฺตุ (ยกเว้น ป. เอก. เป็น -ํ )

  ป.
ทุ.
ต.
จ.
ปญ.
ฉ.
ส.
อา.
วทํ
วทนฺตํ
วทตา
วทโต
วทตา
วทโต
วทติ วทนฺเต
วท วทํ
วทนฺตา วทนฺโต
วทนฺเต วทนฺโต*
วทนฺเตหิ วทนฺเตภิ
วทตํ วทนฺตานํ
วทนฺเตหิ วทนฺเตภิ
วทตํ วทนฺตานํ
วทนฺเตสุ
วทนฺตา วทนฺโต

กโรนฺต (กร-โอ-อนฺต ทำอยู่) ในปุงลิงค์ แจกอย่าง ภควนฺตุ (ยกเว้น ป. เอก. เป็น -ํ)

  ป.
ทุ.
ต.
จ.
ปญ.
ฉ.
ส.
อา.
กรํ
กโรนฺตํ
กรตา
กรโต
กรตา
กรโต
กรติ
กโรนฺเต
กร กรํ
กโรนฺตา กโรนฺโต
กโรนฺเต กโรนฺโต*
กโรนฺเตหิ กโรนฺเตภิ
กรตํ กโรนฺตานํ
กโรนฺเตหิ กโรนฺเตภิ
กรตํ กโรนฺตานํ
กโรนฺเตสุ
กโรนฺตา กโรนฺโต

สนฺต (อส-อนฺต) ลบต้นธาตุ  มีอยู่, เป็นอยู่  ในปุงลิงค์ แจกอย่าง ภควนฺตุ (ยกเว้น ป. เอก. เป็น -ํ)

  ป.
ทุ.
ต.
จ.
ปญ.
ฉ.
ส.
อา.
สตํ
สนฺตํ
สตา
สโต
สตา
สโต
สติ สนฺเต
สต สตํ
สนฺตา สนฺโต
สนฺเต สนฺโต*
สนฺเตหิ สนฺเตภิ
สตํ   สนฺตานํ
สนฺเตหิ สนฺเตภิ
สตํ สนฺตานํ
สนฺเตสุ
สนฺตา สนฺโต

อุ. เอวํ สนฺเต/สติ. (เอวํ ภาเว ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น  สนฺเต/สติ มีอยู่)
ตโยเม ภิกฺขเว ปุคฺคลา สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมึ.  ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้ มีอยู่ มี(ปรากฏ)อยู่ ในโลก.

* ในไวยากรณ์ใหญ่ ไม่มีรูปนี้

สนฺต (สม-ต) ปุงลิงค์ ผู้สงบแล้ว, สัตบุรุษ, คนดี
แจกวิภัตติเฉพาะตัว  คือบางวิภัตติ แจกอย่าง ภควนฺตุ (ยกเว้น ป. เอก. เป็น -ํ)  บางวิภัตติแจกอย่าง ชน

  ป.
ทุ.
ต.
จ.
ปญ.
ฉ.
ส.
อา.
สํ สนฺโต
สนฺตํ
สตา สนฺเตน
สโต สนฺตสฺส
สตา สนฺตา สนฺตมฺหา สนฺตสฺมา (สพฺภา)
สโต สนฺตสฺส
สติ สนฺเต สนฺตมฺหิ สนฺตสฺมึ
สํ ส สา
สนฺตา สนฺโต
สนฺเต
สนฺเตหิ สพฺภิ
สตํ สนฺตานํ
สนฺเตหิ สพฺภิ
สตํ สนฺตานํ
สนฺเตสุ
สนฺตา สนฺโต

อุ. ฐาตุ จิรํ สตํ ธมฺโม. ขอธรรมของสัตบุรุษ จงยั่งยืนนาน.
สทฺธมฺโม สพฺภิ รกฺขิโต. พระสัทธรรม อันสัตบุรุษ รักษาแล้ว.
สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ. สัตบุรุษแล ย่อมสนทนาด้วยสัตบุรุษ. (สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นรู้กันได้)