คู่มืออุภัยพากยปริวัตน์

(หัดแปลภาษาบาลี)

พระเฉลิมเกียรติ ธนานนฺโท

-----------------------------------------
. วิธีเรียงความภาษามคธ ไม่เหมือนเรียงภาษาไทย ใช้

กลับกัน เช่นคำไทยว่า สาวก ของพระพุทธเจ้า
คำมคธต้องเรียง กลับกันว่า ของพระพุทธเจ้า สาวก ดังนี้

ข้อ ๑ - ข้อ ๓๐

๑.พุทฺธสฺส สาวโก.

คำแปล สาวโก อันว่าพระสาวก พุทฺธสฺส ของพระพุทธเจ้า.

คำอธิบาย สาวโก เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
พุทฺธสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง.


๒. ธมฺเม ปสาโท.

คำแปล ปสาโท อันว่าความเลื่อมใส ธมฺเม ในธรรม.

คำอธิบาย ปสาโท เป็น อการันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลก่อน
ธมฺเม ลงในสัตตมีวิภัตติ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง.

๓.สาวกานํ สงฺโฆ.

คำแปล สงฺโฆ อันว่าหมู่ สาวกานํ แห่งสาวกทั้งหลาย.

คำอธิบาย สงฺโฆ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
สาวกานํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง.

๔. อาจริยสฺส สิสฺสา.

คำแปล สิสฺสา อันว่าศิษย์ทั้งหลาย อาจริยสฺส ของอาจารย์.

คำอธิบาย สิสฺสา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย
อาจริยสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง.

๕.คาเม อาวาโส.

คำแปล อาวาโส อันว่าอาวาส คาเม ใกล้บ้าน.

คำอธิบาย อาวาโส เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
คาเม ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน หรือ ใกล้ แปลเป็นอันดับสอง.

๖. คาเมสุ ทารกา.

คำแปล ทารกา อันว่า เด็กทั้งหลาย คาเมสุ ในบ้านทั้งหลาย.

คำอธิบาย ทารกา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย แปลก่อน
คาเมสุ ลงในสัตตมีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า ใน...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง.

๗. อาจริมฺหิ คารโว.

คำแปล คารโว อันว่าความเคารพ อาจริยมฺหิ ในอาจารย์.

คำอธิบาย คารโว เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
อาจริยมฺหิ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง.

๘. สงฺฆสฺส วิหาโร.

คำแปล วิหาโร อันว่าวิหาร สงฺฆสฺส ของสงฆ์.

คำอธิบาย วิหาโร เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
สงฺฆสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ของ เป็นอันดับสอง.

๙.อุปชฺฌายสฺส ปตฺโต.

คำแปล ปตฺโต อันว่าบาตร อุปชฺฌายสฺส ของพระอุปัชฌาย์.

คำอธิบาย ปุตฺโต เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
อุปชฺฌายสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง.

๑๐. ขตฺติยานํ กุมารา.

คำแปล กุมารา อันว่ากุมารทั้งหลาย ขตฺติยานํ ของกษัตริย์ทั้งหลาย.

คำอธิบาย กุมารา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย แปลก่อน
ขตฺติยานํ ลงฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง.

๑๑.อคฺคิโน ขนฺโธ.

คำแปล ขนฺโธ อันว่ากอง อคฺคิโน แห่งไฟ.

คำอธิบาย ขนฺโธ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
อคฺคิโน ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง.

๑๒.อิสีนํ อสฺสโม.

คำแปล อสฺสโม อันว่า อาศรม อิสีนํ ของฤษีทั้งหลาย.

คำอธิบาย อสฺสโม เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
อิสีนํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง.

๑๓.อริมฺหา อุตราโส.

คำแปล อุตราโส อันว่าความสะดุ้ง อริมฺหา แต่ข้าศึก.

คำอธิบาย อุตราโส เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
อริมฺหา ลงในปัญจมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แต่ หรือ จาก แปลเป็นอันดับสอง.

๑๔.รุกฺขสฺส สุสิเร อหิ.

คำแปล อหิ อันว่างู สุริเร ในโพรง รุกฺขสฺส ของตนไม้.

คำอธิบาย อหิ เป็น อิ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
สุริเร ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง
รุกฺขสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับที่สาม

๑๕. โกฏฺเฐ วีหิโย.

คำแปล วีหิโย อันว่าข้าวเปลือกทั้งหลาย โกฏฺเฐ ในฉาง.

คำอธิบาย วีหิโย เป็น อิ การันต์ อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
โกฏฺเฐ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง.

๑๖.กริโน ทนฺตา.

คำแปล ทนฺตา อันว่างาทั้งหลาย กริโน แห่งช้าง.

คำอธิบาย ทนฺตา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับแรก กริโน ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง.

๑๗.มนฺตีนํ สมาคโม.

คำแปล สมาคโม อันว่า สมาคม มนฺตีนํ แห่งคนมีความคิดทั้งหลาย.

คำอธิบาย สมาคโม เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
มนฺตีนํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง.

๑๘.รุกฺเข สิขี.

คำแปล สิขี อันว่านกยูง รุกฺเข บนต้นไม้.

คำอธิบาย สิขี เป็น อี การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
รุกฺเข ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง.

๑๙.ทณฺฑิสฺส หตฺเถ ทณฺโฑ.

คำแปล ทณฺโฑ อันว่า ไม้เท้า หตฺเถ ในมือ ทณฺฑิสฺส ของคนมีไม้เท้า.

คำอธิบาย ทณฺโฑ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
หตฺเถ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง
ทณฺฑิสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสาม.

 

๒๐.เสฏฺฐิมฺหิ วิสฺสาโส.

คำแปล วิสฺสาโส อันว่าความคุ้นเคย เสฏฺฐิมฺหิ ในเศรษฐี.

คำอธิบาย วิสฺสาโส เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
เสฏฺฐิมฺหิ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง.

๒๑. วเช ปสโว.

คำแปล ปสโว อันว่า สัตว์ของเลี้ยงทั้งหลาย วเช ในคอก.

คำอธิบาย ปสโว เป็น อุ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับแรก วเช ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง.

๒๒. ปพฺพตสฺส สิขเร เกตุ.

คำแปล เกตุ อันว่าธง สิขเร บนยอด ปพฺพตสฺส ของภูเขา.

คำอธิบาย เกตุ เป็น อุ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลเป็นอันดับแรก
สิขเร ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง
ปพฺพตสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสาม.

๒๓.เสตุมหิ รโถ.

คำแปล รโถ อันว่ารถ เสตุมฺหิ บนสะพาน.

คำอธิบาย รโถ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
เสตุมฺหิ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า บน หรือ ใน แปลเป็นอันดับสาม.

๒๔. ครุโน ปุตฺตา.

คำแปล ปุตฺตา อันว่าบุตรทั้งหลาย ครุโน ของครู.

คำอธิบาย ปุตฺตา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับแรก ครุโน ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง.

๒๕.กุมารานํ ครโว.

คำแปล ครโว อันว่าครูทั้งหลาย กุมารานํ ของกุมารทั้งหลาย.

คำอธิบาย ครโว เป็น อุ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลเป็นอันดับแรก
กุมารานํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง...ทั้งหลาย แปลเป็นอันสอง.

๒๖.วิญฺญูนํ โอวาโท.

คำแปล โอวาโท อันว่าโอวาท วิญฺญูนํ ของผู้รู้วิเศษทั้งหลาย.

คำอธิบาย โอวาโท เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลเป็นอันดับแรก
วิญญูนํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง.

๒๗.โลเก สยมฺภู.

คำแปล สยมฺภู อันว่าพระผู้เป็นเอง โลเก ในโลก.

คำอธิบาย สยมฺภู เป็น อู การันต์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลเป็นอันดับแรก
โลเก ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับที่สอง.

๒๘.สยฺภุโน ธมฺโม.

คำแปล ธมฺโม อันว่าธรรม สยมฺภุโน ของพระผู้เป็นเอง.

คำอธิบาย ธมฺโม เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลเป็นอันดับแรก
สยมฺภุโน ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง.

๒๙. เวทานํ ปารคุโน.

คำแปล ปารคุโน อันว่าบุคคลผู้ถึงฝั่งโดยปกติทั้งหลาย เวทานํ แห่งพระเวททั้งหลาย.

คำอธิบาย ปารคุโน เป็น อุ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย
เวทานํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง.

๓๐.วิญฺญูหิ อุปสํเสโว.

คำแปล อุปสํเสโว อันว่าความเข้าไปส้องเสพ วิญฺญูหิ ด้วยผู้รู้วิเศษทั้งหลาย.

คำอธิบาย อุปสํเสโว เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
วิญญูหิ ลงในตติยาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า ด้วย...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับที่สอง.

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๓๑ – ข้อ ๕๐

๓๑.ความเชื่อ ในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

คำแปล พุทฺเธ สทฺธา.

คำอธิบาย สทฺธา เป็น อา การันต์ อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
พุทฺเธ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน เรียงไว้ข้างหน้า.

๓๒.ผล ของพระธรรม.

คำแปล ธมฺมสฺสฺ วิปาโก.

คำอธิบาย วิปาโก เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เรียงไว้ข้างหลัง
ธมฺมสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ของ เรียงไว้ข้างหน้า.

๓๓. กุฏิทั้งหลาย ของสงฆ์.

คำแปล สงฆสฺส กุฏิโย.

คำอธิบาย กุฏิโย เป็น อิ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
สงฺฆสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ของ เรียงไว้ข้างหน้า.

๓๔.อาจารย์ ของศิษย์ทั้งหลาย.

คำแปล สิสฺสานํ อาจริโย.

คำอธิบาย อาจริโย เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้หลัง
สิสฺสานํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า ของ ..ทั้งหลาย เรียงไว้ด้านหน้า.

๓๕.บ้านทั้งหลาย ในเมือง.

คำแปล นคเร คามา.

คำอธิบาย คามา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
นคเร ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ  แปลว่า ใน เรียงไว้ข้างหน้า.

๓๖.เด็กทั้งหลาย ในวัด

คำแปล อาวาเส ทารกา.

คำอธิบาย ทารกา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ เรียวไว้ข้างหลัง
อาวาเส ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน เรียงไว้ข้างหน้า.

๓๗. หมู่ แห่งหญิงทั้งหลาย.

คำแปล อิตฺถีนํ คโณ.

คำอธิบาย คโณ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
อิตฺถีนํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง..ทั้งหลาย เรียงไว้ข้างหน้า.

๓๘. ต้นไม้ทั้งหลาย บนภูเขา.

คำแปล ปพฺพเต รุกฺขา.

คำอธิบาย รุกฺขา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
ปพฺพเต ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า บน เรียงไว้ข้างหน้า.

๓๙.วิหาร แห่งอุปัชฌาย์.

คำแปล อุปชฺฌายสฺส วิหาโร.

คำอธิบาย วิหาโร เป็น อ การันต์ ในปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
อุปชฺฌายสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๐.เมือง แห่งกษัตริย์.

คำแปล ขตฺติยสฺส นครํ.

คำอธิบาย นครํ เป็น อ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
ขตฺติยสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๑.เปลว แห่งไฟ.

คำแปล อคฺคิโน อจฺจิ.

คำอธิบาย อจฺจิ เป็น อิ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
อคฺคิโน ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๒.กิ่งทั้งหลาย แห่งต้นไม้.

คำแปล รุกฺขสฺส สาขา.

คำอธิบาย สาขา เป็น อา การันต์ อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
รุกฺขสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๓.ข้าวสุก ในหม้อข้าว.

คำแปล อุกฺขลิยํ โอทโน.

คำอธิบาย โอทโน เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
อุกขลิยํ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๔.เชือก ในคอ แห่งหมา.

คำแปล สุนขสฺส คีวายํ รชฺชุ.

คำอธิบาย รชฺชุ เป็น อุการันต์ อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
คีวายํ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน เรียงไว้ตรงกลาง
สุนขสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง เรียงไว้ข้างหน้าสุด.

๔๕. จุก ในหัว แห่งเด็ก.

คำแปล ทารกสฺส สีเส จุฬา.

คำอธิบาย จุฬา เป็น อา การันต์ อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้หลังสุด
สีเส ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน เรียงไว้กลาง
ทารกสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง เรียงไว้หน้าสุด.

๔๖.กอง แห่งข้าวเปลือกทั้งหลาย.

คำแปล วิหีนํ ราสิ.

คำอธิบาย ราสิ เป็น อิ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างท้าย
วิหีนํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง..ทั้งหลาย เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๗.หมู่ แห่งปลาทั้งหลาย ในสระ

คำแปล สเร มจฺฉานํ คโณ.

คำอธิบาย คโณ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
มจฺฉานํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง..ทั้งหลาย เรียงไว้ตรงกลาง
สเร ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๘.รถทั้งหลาย ในถนน.

คำแปล วีถิยํ รถา.

คำอธิบาย รถา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
วีถิยํ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๙.เสา แห่งสะพาน.

คำแปล เสตุโน ถมฺโภ.

คำอธิบาย ถมฺโภ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
เสตุโน ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง เรียงไว้ข้างหน้า.

๕๐.คอก แห่งสัตว์ของเลี้ยงทั้งหลาย.

คำแปล ปสูนํ วโช.

คำอธิบาย วโช เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง
ปสูนํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง ..ทั้งหลาย เรียงไว้ข้างหน้า.

. คุณนามของนามนามบทใด ต้องมีลิงคะ วจนะ วิภัตติ

เหมือนลิงคะ วจนะ วิภัตติ ของนามนามบทนั้น เรียงไว้หน้านาม -

นามบทนั้น ดังนี้ อุจฺโจ รุกฺโข ต้นไม้สูง, อจฺเจ รุกฺเข สกุณา

นกทั้งหลาย บนต้นไม้ สูง.
แปลว่า ผู้ มี ซึ่ง อัน

ข้อ ๕๑ – ข้อ ๘๐
๕๑.สตฺตานํ อคฺโค พุทฺโธ.

คำแปล พุทฺโธ อันว่าพระพุทธเจ้า อคฺโค ผู้เลิศ สตฺตานํ ของสัตว์ทั้งหลาย.

คำอธิบาย พุทโธ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
อคฺโค เป็นวิเสสนะของ พุทฺโธ จึงมีรูปเป็น ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ผู้ เป็นอันดับสอง
สตฺตานํ เป็น ฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสาม.

๕๒.สุนฺทโร ธมฺโม.

คำแปล ธมฺโม อันว่าธรรม สุนฺทโร อันดี.

คำอธิบาย ธมฺโม เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
สุนฺทโร เป็นวิเสสนะของ ธมฺโม จึงต้องมีรูปเป็น ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับที่สอง.

๕๓.มหนฺโต สาวกานํ สงฺโฆ.

คำแปล สงฺโฆ อันว่าหมู่ สาวกานํ แห่งสาวกทั้งหลาย มหนฺโต อันใหญ่.

คำอธิบาย สงฺโฆ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
สาวกานํ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง
มหนฺโต เป็นวิเสสนะของ สงฺโฆ จึงต้องทำรูปให้เป็น ปฐมวิภัตติท เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสาม.

๕๔.อคฺคสฺส พุทฺธสฺส สาสนํ.

คำแปล สาสนํ อันว่าคำสอน พุทฺธสฺส ของพระพุทธเจ้า อคฺคสฺส ผู้เลิศ.

คำอธิบาย สาสนํ เป็น อ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลเป็นอันดับแรก พุทฺธสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง
อคฺคสฺส เป็นวิเสสนะของ พุทฺธสฺส จึงต้องมีรูปเป็นฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ผู้ เป็นอันดับสาม.

๕๕. สุนฺทรสฺส ธมฺมสฺส วิปาโก.

คำแปล วิปาโก อันว่าผล ธมฺมสฺส ของธรรม สุนฺทรสฺส อันดี.

คำอธิบาย วิปาโก เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
ธมฺมสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง
สุนฺทรสฺสส เป็นวิเสสนะของ ธมฺมสฺส จึงต้องมีรูปเป็นฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสาม.

๕๖.สุทฺธานํ สาวกานํ สงฺโฆ.

คำแปล สงฺโฆ อันว่าหมู่ สาวกานํ แห่งสาวกทั้งหลาย สุทฺธานํ ผู้บริสุทธิ์.

คำอธิบาย สงฺโฆ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
สาวกานํ เป็นฉัฏฐีวิภัติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง--- หรือ ของ.....ทั้งหลาย แปลอันดับสอง
สุทฺธานํ เป็นวิเสสนะของ สาวกานํ จึงต้องมีรูปเป็น ฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า ผู้ เป็นอันดับสาม.

๕๗.กุสโล อาจริโย.

คำแปล อาจริโย อันว่าอาจารย์ กุสโล ผู้ฉลาด.

คำอธิบาย อาจริโย อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
กุสโล เป็น วิเสสนะของ อาจริโย จึงต้องทำรูปให้เป็น ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ผู้ เป็นอันดับสอง.

๕๘.อาตาปิโน สิสฺสา.

คำแปล อันว่าศิษย์ทั้งหลาย อาตาปิโน ผู้มีความเพียร.

คำอธิบาย สิสฺสา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า....ทั้งหลาย แปลก่อน
อาตาปิโน เป็นวิเสสนะของ สิสฺสา จึงต้องทำรูปให้เป็น ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า ผู้ เป็นอันดับสอง.

๕๙.กุสลสฺส อาจริยสฺส มติ.

คำแปล มติ อันว่าความรู้ อาจริยสฺส ของอาจารย์ กุสลสฺส ผู้ฉลาด.

คำอธิบาย มติ เป็น อิ การันต์ อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
อาจริยสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง
กุสลสฺส เป็นวิเสสนะของ อาจริยสฺสส จึงต้องทำรูปให้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ผู้ เป็นอันดับสาม.

๖๐.อาตาปินํ สิสสานํ สิกฺขา.

คำแปล สิกฺขา อันว่าความสำเหนียก(การศึกษา) สิสฺสานํ ของศิษย์ทั้งหลาย อาตาปีนํ ผู้มีความเพียร.

คำอธิบาย สิกฺขา เป็น อา การันต์ อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
สิสสานํ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือของ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง
อาตาปีนํ เป็นวิเสสนะของ สิสฺสานํ จึงทำรูปให้เป็น ฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า ผู้ เป็นอันดับสาม.

๖๑.อฑฺฒํ กุลํ.

คำแปล กุลํ อันว่าตระกูล อฑฺฒํ อันมั่งคั่ง.

คำอธิบาย กุลํ เป็น อ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
อฑฺฒํ เป็นวิเสสนะของ กุลํ จึงต้องทำรูปให้เป็น ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสอง.

๖๒.อฑฺฒสฺส กุสลฺส ปุตฺโต.

คำแปล ปุตฺโต อันว่าบุตร กุลสฺส ของตระกูล อฑฺฒสฺส อันมั่งคั่ง.

คำอธิบาย ปุตฺโต เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
กุลสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง
อฑฺฒสฺสส เป็นวิเสสนะของ กุลสฺส จึงต้องทำรูปให้เป็น ฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสาม.

๖๓.สุคนฺธํ ปุปฺผํ.

คำแปล ปปฺผํ อันว่า ดอกไม้ สุคนฺธํ อันมีกลิ่นหอม.

คำอธิบาย ปุปฺผํ เป็น อ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
สุคนฺธํ เป็นวิเสสนะของ ปุปฺผํ จึงต้องทำรูปให้เป็น ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสอง.

๖๔. สุคนฺเธ ปุปฺเผ ภมโร.

คำแปล ภมโร อันว่า แมลงภู่ ปุปฺเผ ในดอกไม้ สุคนฺเธ อันมีกลิ่นหอม.

คำอธิบาย ภมโร เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
ปุปฺเผ เป็นสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลอันดับสอง
สุคนฺเธ เป็นวิเสสนะของ ปุปฺเผ จึงต้องทำรูปให้เป็นสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลเป็นอันดับสาม.

๖๕.วิสาลํ เขฺตฺตํ.

คำแปล เขตฺตํ อันว่านา วิสาลํ อันกว้างขวาง.

คำอธิบาย เขตฺตํ เป็น อ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
วิสลาลํ เป็นวิเสนะของ เขตฺตํ จึงต้องทำรูปให้เป็นปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสอง.

๖๖.วิสาเล เขตฺเต สสฺสานิ.

คำแปล สสฺสานิ อันว่าข้าวกล้าทั้งหลาย เขตฺเต ในนา วิสาเล อันกว้างขวาง.

คำอธิบาย สสฺสานิ เป็น อ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า..ทั้งหลาย  แปลก่อน
เขตฺเต เป็น สัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง
วิสาเล เป็น วิเสสนะของ เขตฺเต จึงต้องทำรูปให้เป็น สัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสาม.

๖๗.ทารุณา โจรา.

คำแปล โจรา อันว่า โจรทั้งหลาย ทารุณา ผู้หยาบช้า.

คำอธิบาย โจรา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย แปลก่อน
ทารุณา เป็นวิเสนะของ โจรา จึงต้องทำรูปให้เป็น ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า ผู้ เป็นอันดับสอง.

๖๘.ทารุเณหิ โจโรหิ ภยํ.

คำแปล ภยํ อันว่าภัย โจเรหิ แต่โจรทั้งหลาย ทารุเณหิ ผู้หยาบช้า.

คำอธิบาย ภยํ เป็น อ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลก่อน
โจเรหิ เป็นปัญจมีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แต่...ทั้งหลาย หรือ จาก....ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง
ทารุเณหิ เป็นวิเสสนะของ โจเรหิ จึงทำให้มีรูปเป็น ปัญจมีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า ผู้ เป็นอันดับสาม.

๖๙.ทีฆา รชฺชุ.

คำแปล รชฺชุ อันว่าเชือก ทีฆา อันยาว.

คำอธิบาย รชฺชุ เป็น อุ การันต์ อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
ทีฆา เป็นวิเสสนะของ รชฺชุ จึงต้องมีรูปเป็น ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสอง.

๗๐.ทีฆาย รชฺชุยา คุลํ.

คำแปล คุลํ อันว่ากลุ่ม รชฺชุยา ของเชือก ทีฆาย อันยาว.

คำอธิบาย คุลํ เป็น อ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
รชฺชุยา เป็นอิตถีลิงค์ ฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ของ หรือ แห่ง แปลเป็นอันดับสอง
ทีฆาย เป็นวิเสสนะของ รชฺชุยา จึงต้องมีรูปเป็นฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสาม.

๗๑.นวํ สปฺปิ.

คำแปล สปฺปิ อันว่าเนยใส นวํ อันใหม่.

คำอธิบาย สปฺปิ เป็น อิ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า
นวํ เป็นวิเสสนะของ สปฺปิ จึงต้องมีรูปเป็น ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสอง.

๗๒.นวสฺมึ สปฺปิมหิ มกฺขิกา.

คำแปล มกฺขิกา อันว่าแมลงวัน สปฺปิมฺหิ ในเนยใส นวสฺมึ อันใหม่.

คำอธิบาย มกฺขิกา เป็น อา การันต์ อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
สปฺปิมฺหิ เป็นสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง
นวสฺมึ เป็นวิเสสนะของ สปฺปิมฺหิ จึงมีรูปเป็นสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสาม.

๗๓.มหตี สาลา.

คำแปล สาลา อันว่าศาลา มหตี อันใหญ่.

คำอธิบาย สาลา เป็น อา การันต์ อิตถีลิงค์ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
มหตี เป็นวิเสสนะของ สาลา จึงต้องมีรูปเป็นปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสอง.

๗๔.มหติยํ สาลายํ ชนา.

คำแปล ชนา อันว่าชนทั้งหลาย สาลายํ ในศาลา มหติยํ อันใหญ่.

คำอธิบาย ชนา อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า ...ทั้งหลาย แปลก่อน
สาลายํ เป็นสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง
มหติยํ เป็นวิเสสนะของ สาลายํ จึงมีรูปเป็นสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสาม.

๗๕.ครุกํ ธนุ.

คำแปล ธนุ อันว่าธนู ครุกํ อันหนัก.

คำอธิบาย ธนุ เป็น อุ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
ครุกํ เป็นวิเสสนะของ ธนุ จึงมีรูปเป็นปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสาม.

๗๖. ครุกสฺส ธนุสฺส ชิยํ.

คำแปล ชิยํ อันว่าสาย ธนุสฺส ของธนู ครุกสฺส อันหนัก.

คำอธิบาย ชิยํ (น่าจะเป็น ชิยา เป็น อา การันต์ อิตถีลิงค์) เป็น อ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลก่อน ธนุสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง
ครุกสฺส เป็นวิเสสนะของ ธนุสฺส จึงมีรูปเป็น ฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสาม.

๗๗.นีลานิ ปุปฺผานิ.

คำแปล ปุปฺผานิ อันว่าดอกไม้ทั้งหลาย นีลานิ อันเขียว.

คำอธิบาย ปุปฺผานิ เป็น อ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย แปลก่อน
นีลานิ เป็นวิเสสนะของ ปุปฺผานิ จึงมีรูปเป็นปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสอง.

๗๘.นีลานํ ปุปฺผานํ ราสิ.

คำแปล ราสิ อันว่ากอง ปุปฺผานํ แห่งดอกไม้ทั้งหลาย นีลานํ อันเขียว.

คำอธิบาย ราสิ เป็น อิ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
ปุปฺผานํ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง
นีลานํ เป็นวิเสสนะของ ปุปฺผานํ จึงมีรูปเป็นฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสาม.

๗๙.สุกฺโก สาลีนํ โอทโน.

คำแปล โอทโน อันว่าข้าวสุก สาลีนํ ของข้าวสาลีทั้งหลาย สุกฺโก อันขาว.

คำอธิบาย โอทโน เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
สาลีนํ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง
สุกฺโก เป็นวิเสสนะของ โอทโน จึงมีรูปเป็นปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสาม.

๘๐.สุกฺกสฺส โอทนสฺส ปาตี.

(น่าจะเป็น สุกกสฺส โอทนสฺส ปาติ)

คำแปล ปาตี อันว่าถาด โอทนสฺส แห่งข้าวสุก สุกฺกสฺส อันขาว.

คำอธิบาย ปาตี เป็นอิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน
โอทนสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง แปลเป็นอันดับสอง
สุกกสฺส เป็นวิเสสนะของ โอทนสฺส จึงมีรูปเป็นฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อัน เป็นอันดับสาม.

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๘๑-ข้อ ๑๐๐

๘๑.พระพุทธเจ้า ผู้เป็นที่พึ่ง ของสัตว์ ท.

สตฺตานํ นาโถ พุทฺโธฯ

๘๒.อานุภาพ ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นที่พึ่ง ของสัตว์ ท.

สตฺตานํ นาถสฺส พุทฺธสฺส อานุภาโวฯ

๘๓.ธรรม เลิศ ในโลก

โลเก อคฺโค ธมฺโมฯ

๘๔.ความเลื่อมใส ในธรรม เลิศ ในโลก

โลเก อคฺเค ธมฺเม ปสาโทฯ

๘๕.บุคคล ท. ผู้อริยะ

อริยา ปุคฺคลาฯ

๘๖.คุณ ของบุคคล ท. ผู้อริยะ

อริยานํ ปุคฺคลานํ คุโณฯ

๘๗.นางกษัตริย์

ขตฺติยา นารีฯ

๘๘.โอรส ของ นางกษัตริย์

ขตฺติยาย นาริยา ปุตฺโตฯ

๘๙.พระราชา มาคธ

มาคโธ ราชาฯ

๙๐.โอรส ใหญ่ ของพระราชา มาคธ

มาคธสฺส รญฺโญ เชฏฺโฐ ปุตฺโตฯ

๙๑.รัศมี ของพระอาทิตย์ ร้อน

ตปา อาทิจจสฺส อาภาฯ

๙๒.รัศมี ของพระจันทร์ เย็น

สีตา จนฺทสฺส อาภาฯ

๙๓.ต้นไม้ ท. ใหญ่

มหนฺตา รุกฺขาฯ

๙๔.ต้นไม้ ท. บนภูเขา ใหญ่

มหนฺตา ปพฺพเต รุกฺขาฯ

๙๕. พระสถูป สูง

อุโจ ถูโปฯ

๙๖. ธง บนยอด แห่งพระสถูป สูง

อุจฺจสฺส ถูปสฺส สิขเร ธโชฯ

๙๗.กระดูก ท. แห่งควายเผือก

สพฺพเสตสฺส มหิสฺส อฏฺฐีนิฯ

๙๘. หนัง แห่งโค ท. ดำ

กณฺหานํ โคณานํ ตโจฯ

๙๙.วิมาน แห่งพรหม ใหญ่

มหนฺตํ พฺรหมุโน วิมานํฯ

๑๐๐. ดาว ท. ในฟ้า อันมืด

ตเม นเภ ตาราโยฯ
. กิริยากิตก์ ที่ไม่ใช่อัพยยะ ของนามนามบทใด ต้อง

มีลิงคะ วจนะ วิภัตติ เหมือนลิงคะ วจนะ วิภัตติ ของนาม-

นามบทนั้น เหมือนกับคุณนามที่แสดงมาแล้ว แต่เรียงไว้หลัง

นามนาม ดังนี้ ปุตฺโต ชาโต บุตร เกิดแล้ว, ปิตา ตุฏฺโฐ

บิดา ยินดีแล้ว.

ข้อ ๑๐๑ –ข้อ ๑๓๐

๑๐๑ พุทโธ โลเก อุปฺปนฺโน

พุทฺโธ อ.พระพุทธเจ้า อุปฺปนฺโน เกิดขึ้นแล้ว โลเก ในโลกฯ

๑๐๒.สุริโย นเภ อุคฺคโต

สุริโย อ.พระอาทิตย์ อุคฺคโต ขึ้นไปแล้ว นเภ บนท้องฟ้าฯ

๑๐๓ ราชา อุยฺยานํ คโต

ราชา อ.พระราชา คโต เสด็จไปแล้ว อุยฺยานํ สู่พระราชอุทยานฯ

๑๐๔.อาจริโย สิสฺสานํ สิปฺปํ วาเจนฺโต

อาจริโย อ. อาจารย์ วาเจนฺโต บอกอยู่ สิปฺปํ ซึ่งศิลปะ สิสฺสานํ แก่ศิษย์ ท.ฯ

๑๐๕. วาณิโช ธนิยา นิกฺขนฺโต

วาณิโช อ.พ่อค้า นิกฺขนฺโต ออกไปแล้ว ธานิยา จากเมืองฯ

๑๐๖.พฺราหฺมโณ นหานาย นทึ คโต

พฺราหฺมโณ อ.พราหมณ์ คโต ไปแล้ว นทึ สู่แม่น้ำ นหานาย เพื่ออันอาบฯ

๑๐๗. ภิกฺขู คามํ ปิณฺฑาย ปวิฏฺฐา

ภิกฺขู อ. ภิกษุ ท. ปวิฏฺฐา เข้าไปแล้ว คามํ สู่บ้าน ปิณฺฑาย เพื่อบิณฑบาตฯ

๑๐๘. เสฏฺฐิโน ภริยา รเถน วีถิยา คตา

ภริยา อ.ภรรยา เสฏฺฐิโน ของเศรษฐี คตา ไปแล้ว วีถิยํ ในถนน รเถน ด้วยรถฯ

๑๐๙.อิสโย อสฺสเมสุ นิสินฺนา

อิสโย อ.ฤาษี ท. นิสินฺนา นั่งแล้ว อสฺสเมสุ ในอาศรมทั้งหลายฯ

๑๑๐. รญฺโญ ปุตฺโต ชาโต

ปุตฺโต อ. พระราชโอรส รญฺโญ ของพระราชา ชาโต ประสูติแล้วฯ

๑๑๑. ผลานิ รุกฺขา ปติตานิ

ผลานิ อ.ผลทั้งหลาย ปติตานิ ตกแล้ว รุกฺขา จากต้นไม้ฯ

๑๑๒.วธู คพฺภ นิสินฺนา

วธู อ.หญิงสาว ท. นิสินฺนา นั่งแล้ว คพฺเภ ในห้องฯ

๑๑๓.โสภณานิ ปุปฺผานิ มิตาลานิ

ปุปฺผานิ อ.ดอกไม้ ท. โสภณานิ อันงาม มิลาตานิ เหี่ยวแห้งแล้วฯ

๑๑๔. หตฺถี ชิณฺณาย สาลาย ฐิโต

หตฺถี อ.ช้าง ฐิโต ยืนอยู่แล้ว สาลาย ในโรง ชิณฺณาย อันชำรุดแล้วฯ

๑๑๕.จณฺโฑ ปุริโส อตฺตโน ญาตีหิ ภินฺโน

ปุริโส อ.บุรุษ จณฺโฑ ผู้ดุร้าย ภินฺโน แตกแล้ว ญาตีหิ จากญาติ ท. อตฺตโน ของตนฯ

๑๑๖.ปิตา ปุตฺเตน คามํ คโต

ปิตา อ. บิดา คโต ไปแล้ว คามํ สู่บ้าน ปุตฺเตน ด้วยบุตรฯ

๑๑๗.คิลาโน สยเน นิปนฺโน

คิลาโน อ.คนไข้ นิปนฺโน นอนแล้ว สยเน บนที่เป็นที่นอนฯ

๑๑๘.ตาปโส ผลานํ อตฺถาย วนํ คโต

ตาปโส อ.ดาบส คโต ไปแล้ว วนํ สู่ป่า อตฺถาย เพื่อประโยชน์ ผลานํ แก่ผลไม้ ท.ฯ

๑๑๙. ทลิทฺทสฺส ธนํ นฏฺฐํ

ธนํ อ. ทรัพย์ ทลิทฺทสฺส ของคนจน นฏฺฐํ ฉิบหายแล้วฯ

๑๒๐. ราชินี นารีนํ มชฺเฌ ฐิตา

ราชินี อ.พระราชินี ฐิตา ประทับยืนแล้ว มชฺเฌ ในท่ามกลาง นารีนํ แห่งนาง ท.ฯ

๑๒๑.อมจฺจสฺส เคลญฺญํ ชาตํ

เคลญฺญํ อ.ความเป็นไข้ ชาตํ เกิดแล้ว อมจฺจสฺส แก่อำมาตย์ฯ

๑๒๒. ติณานิ ภูมินํ รุฬฺหานิ

ติณานิ อ.หญ้า ท. รุฬฺหานิ งอกขึ้นแล้ว ภูมิยํ บนภาคพื้นฯ

๑๒๓.อจฺฉริยํ การณํ ชาตํ

การณํ อ. เหตุ อจฺฉริยํ อันน่าอัศจรรรย์ ชาตํ เกิดแล้วฯ

๑๒๔.รุกฺขสฺส สาขา ภคฺคา

สาขา อ.กิ่ง รุกฺขสฺส ของคนไม้ ภคฺคา หักแล้วฯ

๑๒๕.อมฺพสฺส ผลานิ ปกฺกานิ

ผลานิ อ.ผล ท. อมฺพสฺส ของมะม่วง ปกฺกานิ สุกแล้วฯ

๑๒๖.กากา รุกฺเขสุ นิลีนา

กากา อ.กา ท. นิลีนา แอบแล้ว รุกฺเขสุ บนต้นไม้ทั้งหลายฯ

๑๒๗.ภีรุโก มรณสฺมา ภีโต

ภีรุโก อ.บุคคลผู้ขลาด ภีโต กลัวแล้ว มรณสฺมา แต่ความตายฯ

๑๒๘. ภิกฺขุ อตฺตโน สนฺตเกน ตุฏฺโฐ

ภิกขุ อ.ภิกษุ ตุฏฺโฐ ยินดีแล้ว สนฺตเกน ด้วยทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ อตฺตโน ของตน ฯ

๑๒๙.ทาริกา นทิยํ มิมุคฺคา

ทาริกา อ.เด็กหญิง ท. นิมุคฺคา ดำลงแล้ว นทิยํ ในแม่น้ำ

๑๓๐. สปฺปิสฺส ภาชนํ ภินฺนํ

ภาชนํ อ.ภาชนะ สปฺปิสฺส แห่งเนยใส ภินฺนํ แตกแล้วฯ

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๑๓๑-ข้อ ๑๕๐

๑๓๑.พระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นแล้ว ในโลก

พุทฺโธ โลเก อุปฺปนฺโนฯ

๑๓๒.ธรรม ตั้งอยู่แล้ว ในสันดาน ของสัตบุรุษ

ธมฺโม สปฺปุริสานํ สนฺตาเน ฐิโตฯ

๑๓๓. พระผู้มีพระภาค ถึงแล้ว ซึ่งกรุงราชคฤห์ โดยลำดับ

ภควา อนุปุพฺเพน ราชคหํ ปตฺโตฯ

๑๓๔. ฤาษี ท. อยู่แล้ว ในสวน แห่งพระราชา

อิสโย รญฺโญ อุยฺยาเน วุตฺถาฯ

๑๓๕. ดอกบัว เขียว เกิดแล้ว ในน้ำ

นีลํ อุปลํ อุทเก ชาตํฯ

๑๓๖.กิ่งไม้ แห้ง ตกแล้ว จากต้นไม้

สุกฺขา สาขา รุกฺขา ปติตาฯ

๑๓๗. พระราชา ออกแล้ว จากเมือง ด้วยบริวาร ใหญ่

ราชา มหนฺเตน ปริวาเรน นครา นิกฺขนฺโตฯ

๑๓๘. ช้าง ดุ หลีกออกแล้ว จากฝูง

จณโฑ หตฺถี ยูถา วูปกฏฺโฐฯ

๑๓๙. ขุนนาง ไปแล้ว ในแม่น้ำ ด้วยเรือ

อมจฺโจ นาวาย นทิยํ คโตฯ

๑๔๐. พราหมณ์ ท.เข้าไปแล้ว สู่เมือง เพื่ออันขอ

พฺราหฺมณา นครํ ภิกฺขาย ปวิฏฺฐาฯ

๑๔๑.ไฟ ตั้งขึ้นแล้ว แต่หลังคา แห่งเรือน

อคฺคิ เคหสฺส ฉทนา อุฏฐิโตฯ

๑๔๒. หญิง ท. ไปแล้ว เพื่ออันเล่น ในแม่น้ำ

อิตฺถิโย นทิยํ กีฬาย คตาฯ

๑๔๓. จีวร ท. เกิดขึ้นแล้ว แก่สงฆ์

จีวรานิ สงฆสฺส อุปฺปนฺนานิฯ

๑๔๔. จีวร ของสามเณร หายแล้ว

สามเณรสฺส จีวรํ นฏฺฐํฯ

๑๔๕. ลูกหญิง ของเศรษฐี ตายแล้ว

เสฏฺฐิโน ธีตา มตาฯ

๑๔๖. ต้นไม้ ท. งอกขึ้นแล้ว ในสวน แห่งพระราชา

รุกฺขา รญฺโญ อุยฺยาเน รุฬฺหาฯ

๑๔๗. นางสาวน้อย ไปแล้ว สู่ตระกูล แห่งผัว

กญฺญา ปติโน กุลํ คตาฯ

๑๔๘.ภิกฺขุ ท. นั่งแล้ว ในวิหาร ใหญ่

ภิกฺขู มหนฺเต วิหาเร นิสินฺนาฯ

๑๔๙. คน นอนแล้ว ในศาลา สูง ใกล้บ้าน

นโร คาเม อุจฺจาย สาลาย นิปนฺโนฯ

๑๕๐. พระจันทร์ ขึ้นไปแล้ว ในฟ้า ในกลางคืน

จนฺโท รตฺติยา นเภ อุคฺตโตฯ

 

. เอกศัพท์ซึ่งเป็นสังขยา เป็นเอกวจนะอย่างเดียว ตั้งแต่

ทฺวิ จนถึง อฏฺฐารส เป็นพหุวจนะอย่างเดียว ตั้งแต่เอกูนวีสติ ถึง

อฏฺฐนวุติ เป็นเอกวจนะ อิตถีลิงค์อย่างเดียว แม้เข้ากับศัพท์ที่เป็น

พหุวจนะลิงค์อื่น ก็คงอยู่อย่างนั้น ไม่เปลี่ยนไปตาม ดังนี้ เอโก

ชโน ชน ผู้เดียว, เทฺว ชนา ชนทั้งหลาย ๒, ปญฺจตฺตึสาย

ชนานํ ลาโภ อุปฺปนฺโน ลาภ เกิดขึ้นแล้ว แก่ชนทั้งหลาย ๓๕.

ข้อ ๑๕๑-ข้อ ๑๖๕

๑๕๑. อฏฺฐนฺนํ ภควโต สาวกานํ สมุโห

สมุโห อ.การประชุม สาวกานํ แห่งสาวก ท. ภควโต ของพระผู้มีพระภาค อฏฺฐนฺนํ แปดฯ

๑๕๒. จตฺตาโร ภิกฺขู คามํ ปิณฺฑาย ปวิฏฺฐา

ภิกฺขู อ. ภิกษุ ท. จตฺตาโร สี่ ปวิฏฺฐา เข้าไปแล้ว คามํ สู่บ้านฯ

๑๕๓. ปญจ มาสา อติกฺกนฺตา

มาสา อ. เดือน ท. ปญฺจ ห้า อติกฺกนฺตา ก้าวล่วงแล้วฯ

๑๕๔. ตีณิ อุปลานิ อุทเก ชาตานิ

อุปลานิ อ.ดอกอุบล ท. ตีณิ สาม ชาตานิ เกิดแล้ว อุทเก ในน้ำฯ

๑๕๕. เอกูนวีสติ นาริโย นหาย นทึ คตา

นาริโย อ.นาง ท. เอกูนวีสติ ยี่สิบหย่อนหนึ่ง( ๑๙) คตา ไปแล้ว นทึ สู่แม่น้ำ นหานาย เพื่ออันอาบฯ

๑๕๖. เอกํ ผลํ รุกฺขา ปติตํ

ผลํ อ.ผลไม้ เอกํ ผลหนึ่ง ปติตํ หล่นลงแล้ว รุกฺขา จากต้นไม้ฯ

๑๕๗. จตุปญฺญาสาย ภิกขูนํ จีวรานิ ทายเกหิ ทินฺนานิ

จีวรานิ อ. จีวร ท. ทายเกหิ อันทายก ท. ทินฺนานิ ถวายแล้ว ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุ ท. จตุปญฺญาสาย ห้าสิบสี่ฯ

๑๕๘. สตฺต อิสโย นครา นิกฺขนฺตา

อิสโย อ.ฤาษี ท. สตฺต เจ็ด นิกฺขนฺตา ออกไปแล้ว นครา จากเมืองฯ

๑๕๙. อมจฺโจ ฉหิ สหายเกหิ อุยฺยานํ คโต

อมจฺโจ อ.อำมาตย์ คโต ไปแล้ว อุยฺยานํ สู่สวน สหายเกหิ ด้วยสหาย ท. ฉหิ หกฯ

๑๖๐. ทฺวินฺนํ กุฏีนํ อนฺตเร มหนฺโต สโร

สโร อ. สระ มหนฺโต อันใหญ่ อนฺตเร ในระหว่าง กุฏีนํ แห่งกุฎีทั้งหลาย ทฺวินฺนํ สองฯ

๑๖๑. เตวีสติยา กุมารานํ อาจริโย คามํ ปวิฏฺโฐ

อาจริโย อ. อาจารย์ กุมารานํ ของกุมาร ท. เตวีสติยา ยี่สิบสาม ปวิฏฺโฐ เข้าไปแล้ว คามํ สู่บ้านฯ

๑๖๒. ภควา จตสฺสนฺนํ ปริสานํ มชฺเฌ นิสินฺโน

ภควา อ.พระผู้มีพระภาค นิสินฺโน ประทับนั่งแล้ว มขฺเฌ ในท่ามกลาง ปริสานํ แห่งบริษัท ท. จตสฺสนฺนํ สี่ฯ

๑๖๓. นทิยา ทฺวีสุ ปาเรสุ คามา ฐิตา

คามา อ.บ้าน ท. ฐิตา ตั้งอยู่แล้ว ปาเรสุ ใกล้ฝั่ง ท. ทฺวีสุ สอง นทิยา แห่งแม่น้ำฯ

๑๖๔. นวนฺนํ ปุตฺตานํ มาตรา ธนํ ทินฺนํ

ธนํ อ. ทรัพย์ มาตรา อันมารดา ทินฺนํ ให้แล้ว ปุตฺตานํ แก่บุตร ท. นวนฺนํ เก้าฯ

๑๖๕. โสฬส สิสฺสา อตฺตโน สตฺถารํ อุปคตา

สิสฺสา อ. ศิษย์ ท. โสฬส สิบหก อุปคตา เข้าไปใกล้แล้ว สตฺถารํ ซึ่งครู อตฺตโน ของตนฯ

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๑๖๖-ข้อ ๑๗๕

๑๖๖. พระอรหันต์ ท. ๖๑ เกิดขึ้นแล้ว ในโลก

เอกสฏฺฐี อรหนฺโต โลโก อุปฺปนฺนาฯ

๑๖๗. สาวก ท. ใหญ่ ของพระผู้มีพรภาค ๘๐

อสีติ ภควโต มหนฺตา สาวกาฯ

๑๖๘. รัตนะ ท. ของจักรพรรดิ ๗ อย่าง

สตฺต จกฺกวตฺติโน รตนานิฯ

๑๖๙. ภิกษุ เข้าไปแล้ว สู่บ้าน ท. ๕ เพื่อก้อนข้าว

ภิกขุ ปญฺจ คาเม ปิณฺฑาย ปวิฏฺโฐฯ

๑๗๐. วัน ท. ๒๕ ล่วงไปแล้ว

ปญจวีสติ ทิวสา อติกฺกนฺตาฯ

๑๗๑. กิ่งไม้ ท. สี่ หักแล้ว จากต้นไม้

จตสฺโส สาขา รุกฺขา ภคฺคาฯ

๑๗๒. ชาย ท. ๑๔ ไปแล้ว ในถนน ด้วยหญิง ท. ๒๑

จตุทฺทส ปุริสา เอกวีสติยา อิตฺถีหิ วีถิยํ คตาฯ

๑๗๓. ข้าว อันบิดา ของเด็ก ให้แล้ว แก่พราหมณ์ ท. ๔๔

จตุจตฺตาฬีส พฺราหฺมณานํ ทารกสฺส ปิตรา ภตฺตํ ทินฺนํฯ

๑๗๔. ลูกสาว ท. ๒ ของเศรษฐี นั่งแล้ว ในห้อง

เสฏฐิโน เทฺว ธีตโร คพฺเภ นิสินฺนาฯ

๑๗๕. ตำแหน่ง อันพระราชา ประทานแล้ว แก่ชน ท. ๓๘

รญฺญา อฏฺฐตฺตึสาย ชนานํ ฐานํ ทินฺนํฯ

. ปุริสสัพพนาม ประถมบุรุษ ใช้แทนนามนามบทใด

ต้องมีลิงคะ และวจนะ เหมือนลิงคะและวจนะของนามนามบทนั้น

ส่วนวิภัตตินั้น เหมือนกันก็ได้ ต่างกันก็ได้ ดังนี้.

เอโก อุยฺยาเน รุกฺโข, โส วาเตน ปหโต, ตสฺส ปณฺณานิ

ปติตานิ. ต้นไม้ ในสวน ต้นหนึ่ง, ต้นไม้นั้น อันลม กระทบ

แล้ว, ใบทั้งหลาย ของต้นไม้นั้น หล่นแล้ว,
ข้อ ๑๗๖-ข้อ ๑๙๐

๑๗๖.ภควา อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ ปตฺโต, ตสฺส สาสนํ โลเก ปตฺถตํ.

ภควา อ.พระผู้มีพระภาค ปตฺโต ทรงบรรลุแล้ว สมฺมาสมฺโพธึ ซึ่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้เองโดยชอบ อนุตฺตรํ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า, สาสนํ อ.คำสั่งสอน ตสฺส ภควโต ของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ปตฺถตํ แผ่ไปแล้ว โลเก ในโลกฯ

๑๗๗. พหุ รญฺโญ ธนํ, ตสฺส นาคเรหิ สุงฺกา ทินฺนา.

ธนํ อ. ทรัพย์ รญฺโญ ของพระราชา พหุ มาก, สุงฺกา อ.ส่วย ท. นาคเรหิ อันชาวเมือง ท. ทินฺนา ถวายแล้ว ตสฺส รญฺโญ แด่พระราชานั้นฯ

๑๗๘.ตโย ชนา ปพฺพชิตา, เต สาสเน วุฑฺฒึ ปตฺตา.

ชนา อ. ชน ท. ตโย สาม ปพฺพชิตา บวชแล้ว, เต ชนา อ. ชน ท. เหล่านั้น ปตฺตา ถึงแล้ว วุฑฺฒึ ซึ่งความเจริญ สาสเน ในพระศาสนาฯ

๑๗๙. เสฏฺฐิโน มาตา สาสเน ปสนฺนา, ตาย สงฆสฺส ทานํ ทินฺนํ.

มาตา อ. มารดา เสฏฺฐิโน ของเศรษฐี ปสนฺนา เลื่อมใสแล้ว สาสเน ในพระศาสนา, ทานํ อ. ทาน ตาย มาตุยา อันมารดา นั้น ทินฺนํ ถวายแล้ว สงฺฆสฺส แก่สงฆ์ฯ

๑๘๐. จตสฺโส วาณิชสฺส ธีตโร, ตา สามิกานํ กุลํ คตา.

ธีตโร อ. ธิดา ท. วาณิชสฺส ของพ่อค้า จตสฺโส สี่, ตา ธีตโร อ. ธิดา ท. เหล่านั้น คตา ไปแล้ว กุลํ สู่ตระกูล สามิกานํ ของสามี ท.ฯ

๑๘๑. เทฺว พฺราหฺมณสฺส โคณา, เตสุ เอโก มโต.

โคณา อ. โค ท. พฺราหฺมณสฺส ของพราหมณ์ เทฺว สอง, เตสุ ทวีสุ โคเณสุ ในโค ท. สอง เหล่านั้นหนา เอโก โคโณ อ. โคตัวหนึ่ง มโต ตายแล้วฯ

๑๘๒.พหูนิ จีวรานิ สงฆสฺส อุปฺปนฺนานิ , ตานิ ภิกฺขูนํ วิภตฺตานิ.

จีวรานิ อ. จีวร ท. พหูนิ มาก อุปฺปนฺนานิ บังเกิดแล้ว สงฺฆสฺส แก่สงฆ์, ตานิ จีวรานิ อ.จีวร ท. เหล่านั้น สงฺเฆน อันสงฆ์ วิภตฺตานิ แจกแล้ว ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุ ท. ฯ

๑๘๓. อุจฺจํ ขตฺติยสฺส กุลํ, ตํ ชเนหิ มานิตํ.

กุลํ อ. ตระกูล ขตฺติยสฺส ของกษัตริย์ อุจฺจํ สูง, ตํ กุลํ อ.ตระกูลนั้น ชเนหิ อันชน ท. มานิตํ นับถือแล้วฯ

๑๘๔. สุริโย ปุพฺพณฺเห อุคฺคโต, โส สายณฺเห อตฺถงฺคโต.

สุริโย อ. พระอาทิตย์ อคฺคโต ขึ้นไปแล้ว ปุพฺพณฺเห ในเวลาเช้า, โส สุริโย อ. พระอาทิตย์นั้น อตฺถงฺคโต อัสดงคต(ตกแล้ว) สายณฺเห ในเวลาเย็นฯ

๑๘๕.เอโก โปโต ติตฺถํ สมฺปตฺโต, ตมฺหา พหูนิ ภณฺฑานิ วาณิเชหิ อานีตานิ.

โปโต อ.เรือกำปั่น เอโก ลำหนึ่ง สมฺปตฺโต ถึงพร้อมแล้ว ติตฺถํ ซึ่งท่า ธานิยา แห่งเมือง, ภณฺฑานิ อ.ภัณฑะ (สิ่งของ) ท. พหูนิ มาก วาณิเชหิ อันพ่อค้า ท. อานีตานิ นำมาแล้ว ตมฺหา โปตา จากเรือกำปั่นนั้น.

๑๘๖. มหนฺโต นิโคฺรโธ อรญฺเญ ชาโต, สกุณา ตสฺมึ นิลีนา.

นิโคฺรโธ อ.ต้นไทร มหนฺโต ใหญ่ ชาโต เกิดแล้ว อรญฺเญ ในป่า, สกุณา อ. นก ท. นิลีนา แอบแล้ว ตสฺมึ นิโคฺรเธ บนต้นไม้นั้นฯ

๑๘๗. ภิกฺขู ทายกสฺส เคเห นิสินฺนา, เตสํ โภชนํ เตน ทินฺนํ.

ภิกฺขู อ. ภิกษุ ท. นิสินฺนา นั่งแล้ว เคเห ในบ้าน ทายกสฺส ของทายก, โภชนํ อ.โภชนะ เตน ทายเกน อันทายกนั้น ทินฺนํ ถวายแล้ว เตสํ ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุ ท. เหล่านั้นฯ

๑๘๘. มาติกาย อุทกํ ปริปุณฺณํ, ตํ กิลิฏฺฐํ.

อุทกํ อ. น้ำ ปริปุณฺณํ เต็มรอบแล้ว มาติกาย ในเหมือง, ตํ อุทกํ อ.น้ำนั้น กิลิฏฺฐํ ขุ่นมัวแล้วฯ

๑๘๙. อุทเก ปทุมํ ปุปฺผิตํ, ภมโร ตํ อุปคโต.

ปทุมํ อ. ดอกประทุม อุทเก ในน้ำ ปุปฺผิตํ บานแล้ว,ภมโร อ. แมลงภู่ อุปคโต เข้าถึงแล้ว ตํ ปทุมํ ซึ่งดอกประทุมนั้นฯ

๑๙๐. ทลิทฺทสฺส ขโร อาพาโธ อุปฺปนฺโน, โส มุหุตฺเตน มโต.

อาพาโธ อ. ความป่วยไข้ ขโร กล้า อุปฺปนฺโน เกิดขึ้นแล้ว ทลิทฺทสฺส แก่คนจน, โส ทลิทฺโท อ. คนจนนั้น มโต ตายแล้ว มุหุตฺเตน โดยกาลครู่เดียวฯ

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๑๙๑-ข้อ ๒๐๐

๑๙๑. พระจันทร์ ขึ้นไปแล้ว ในฟ้า, พระจันทร์นั้น อันเมฆ บังแล้ว.

จนฺโท นเภ อุคฺคโต, โส เมเฆน ปฏิจฺฉนฺโนฯ

๑๙๒. อุบาสิกา ท. ไปแล้ว สู่วัด, ธรรม อันเขา ท. ฟังแล้ว.

อุป่าสิกาโย อาวาสํ คตา, ตาหิ ธมฺโม สุณิโตฯ

๑๙๓. ฝน ตกแล้ว, หยาด ท. แห่งมัน เต็มแล้ว ในตุ่ม.

เทโว วุฏฺโฐ, ตสฺส พินฺทูนิ จาฏิยํ ปริปุณฺณานิฯ

๑๙๔. ธิดา แห่งเศรษฐี เกิดแล้ว, เขา ยินดีแล้ว.

เสฏฺฐิโน ธีตา ชาตา, โส ตุฏฺโฐฯ

๑๙๕. เรือ ไปแล้ว ในแม่น้ำ, ภิกษุ ท. ๔ นั่งแล้ว ในเรือนั้น.

นาวา นทิยํ คตา, จตฺตาโร ภิกฺขู ตสฺสํ นิสินฺนาฯ

๑๙๖. ศิษย์ ท. เข้าไปใกล้แล้ว ซึ่งอาจารย์, โอวาท อันท่าน ให้แล้ว แก่เขา ท.

สิสฺสา อาจริยํ อุปคตา, โอวาโท เตน เตสํ ทินฺโนฯ

๑๙๗. หญ้า งอกแล้ว ในสวน, หญ้านั้น อันชาวสวน ดายแล้ว.

ติณํ อุยฺยาเน รุฬฺหํ, ตํ อุยฺยานเกน ฉินฺนํฯ

๑๙๘. ดอก ท. แห่งต้นโศก บานแล้ว, ดอก ท. นั้น อันตั๊กแตน ท. เคี้ยวกินแล้ว.

วญฺชุลสฺส ปุปฺผานิ ปุปฺผิตานิ, ตานิ กีฏาหิ ขาทิตานิฯ

๑๙๙. ผล แห่งมะม่วง หล่นแล้ว จากกิ่ง, ผลนั้น อันเด็ก ฉวยเอาแล้วฯ

อมพสฺส ผลํ สาขาย ปติตํ, ตํ ทารเกน คหิตํฯ

๒๐๐. ทรัพย์ แห่งคนจน หายแล้ว, ทรัพย์นั้น อันโจร ลักแล้ว.

ทลิทฺทสฺส ธนํ นฏฺฐํ, ตํ โจเรน คหิตํฯ

. เต, เม, โว, โน, มัธยมบุรุษ และอุตตมบุรุษ

สัพพนามนั้น ต้องมีบทอื่นนำหน้าก่อน จึงใช้ได้ เช่น อาจริโย

โน อาจารย์ ของข้า ท. อยนฺเต ปตฺโต นี้ บาตร ของเจ้า.

. วิเสสนสัพพนาม ของนามนามบทใด ต้องมีลิงคะ

วจนะ วิภัตติ เหมือนลิงคะ วจนะ วิภัตติ ของนามนามบทนั้น

เรียงไว้ข้างหน้าแห่งนามนามบทนั้น ดังนี้ ยสฺมึ ภควติ มยํ
อภิปฺปสนฺนา, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คตา. เรา ท. เลื่อมใสยิ่งแล้ว

ในพระผู้มีพระภาค ใด, เรา ท. ถึงแล้ว ซึ่งพระผู้มีพระภาคนั้น

เป็นที่ระลึก. ถ้าไม่นิยมนามนาม เป็นแต่นิยมลิงค์เท่านั้น จะไม่

เรียงนามนามไว้ด้วยก็ได้ ดังนี้ ยสฺส ลาโภ อุปฺปนฺโน, ตสฺส

อลาโภ อุปฺปนฺโน. ลาภ เกิดขึ้นแล้ว แก่ผู้ใด, ความไม่มีลาภ

เกิดขึ้นแล้ว แก่ผู้นั้น. ยสฺสา ปุตฺโต ชาโต, สา ตุฏฺฐา. บุตร

ของหญิงใด เกิดแล้ว. หญิงนั้น ยินดีแล้ว.

ข้อ ๒๐๑- ข้อ ๒๑๕

๒๐๑.อญฺญตโร ภิกฺขุ คามํ ปิณฺฑาย ปวิฏฺโฐ.

ภิกฺขุ อ. ภิกษุ อญฺญตโร รูปใดรูปหนึ่ง ปวิฏฺโฐ เข้าไปแล้ว คามํ สู่บ้าน ปิณฺฑาย เพื่อบิณฑบาต ฯ

๒๐๒. อิมสฺส ปุริสสฺส ปุตฺโต ปพฺพชิโต.

ปุตฺโต อ. บุตร ปุริสสฺส ของบุรุษ อิมสฺส นี้ ปพฺพชิโต บวชแล้ว ฯ

๒๐๓. ยสฺส สุขํ อุปฺปนฺนํ, ตสฺส ทุกฺขํ อุปฺปนฺนํ.

สุขํ อ.ความุข อุปฺปนฺนํ บังเกิดแล้ว ยสฺส ปุคฺคลสฺส แก่บุคคลใด, ทุกฺขํ อ. ความทุกข์ อุปฺปนฺนํ บังเกิดแล้ว ตสฺส ปุคฺคลสฺส แก่บุคคลนั้น ฯ

๒๐๔. มม อาจริโย อมุกสฺส อาวาเส วสฺสํ วุตฺโถ.

อาจริโย อ. อาจารย์ มม ขอเรา วุตฺโถ อยู่แล้ว วสฺสํ ตลอดกาลฝน อาวาเส ในอาวาส อมุกสฺส ชื่อโน้น ฯ

๒๐๕. เอสา อิตฺถี นหานาย นทึ คตา.

อิตฺถี อ. หญิง เอสา นั่น คตา ไปแล้ว นทึ สู่แม่น้ำ นหานาย เพื่ออันอาบ ฯ

๒๐๖. เกน เอตานิ จีวรานิ ตุยฺหํ ทินฺนานิ? มยฺหํ อุปฏฺฐเกนฯ

จีวรานิ อ. จีวร ท. เอตานิ เหล่านั้น เกน อันใคร ทินฺนานิ ถวายแล้ว ตุยฺหํ แก่ท่าน, (เติมเข้ามาใหม่) จีวรานิ อ. จีวร ท. อุปฏฐเกน อันอุปัฏฐาก ทินฺนานิ ถวายแล้ว มยฺหํ แก่กระผม ฯ

๒๐๗. อญฺโญ เม อากปฺโป กรณีโย.

อากปฺโป อ. มารยาท อญฺโญ อื่น เม อันเรา กรณีโย พึงกระทำฯ

๒๐๘. จณฺโฑ อยํ สุนโข, กิสฺมึ การเณ โส ตยา โปสิโต? ตสฺมึ อนุกมฺปายฯ

สุนโข อ. สุนัข อยํ นี้ จณฺโฑ ดุร้าย, โส สุนโข อ. สุนัขนั้น ตยา อันท่าน โปสิโต เลี้ยงแล้ว การเณ ในเพราะเหตุ กสฺมึ อะไร, (เติมเข้ามาใหม่) โส สุนโข อ.สุนัขนั้น มยา อันเรา โปสิโต เลี้ยงแล้ว อนุกมฺปาย ด้วยความเอ็นดู ตสฺมึ สุนเข ในสุนัขนั้น ฯ

๒๐๙. เอโส รุกฺโข วาเตน ปหโต, ตสฺส ปณฺณานิ ปติตานิ.

รุกฺโข อ. ต้นไม้ เอโส นั่น วาเตน อันลม ปหโต พัดแล้ว, ปณฺณานิ อ. ใบ ท. ตสฺส รุกฺขสฺส ของต้นไม้นั้น ปติตานิ หล่นแล้วฯ

๒๑๐. อาจริเยน โน อตฺตโน ปิโย สิสฺโส ตว สนฺติกํ เปสิโต.

สิสฺโส อ. ศิษย์ ปิโย ผู้เป็นที่รัก อตฺตโน ของตน อาจริเยน อันอาจารย์ โน ของเรา ท. เปสิโต ส่งไปแล้ว สนฺติกํ สู่สำนัก ตว ของท่านฯ

๒๑๑. ปตฺโต เม นฏฺโฐ,โส อิมิสฺสํ กุฏิยํ สามเณเรน นิกฺขิตฺโต.

ปตฺโต อ. บาตร เม ของเรา นฏฺโฐ หายแล้ว, โส ปตฺโต อ. บาตรนั้น สามเณเรน อันสามเณร นิกฺขิตฺโต เก็บไว้แล้ว กุฏิยํ ในกุฏี อิมิสฺสํ นี้ ฯ

๒๑๒. ปุตฺโต เต วยํ ปตฺโต.

ปุตฺโต อ. บุตร เต ของท่าน ปตฺโต ถึงแล้ว วยํ ซึ่งวัยฯ

๒๑๓. อิทํ ปณฺณํ มม สหาเยน ตุยฺหํ เปสิตํ.

ปณฺณํ อ. หนังสือ(จดหมาย) อิทํ นี้ สหาเยน อันสหาย มม ของเรา เปสิตํ ส่งไปแล้ว ตุยฺหํ เพื่อท่าน ฯ

๒๑๔. อิมสฺมึ มธุมฺหิ มกฺขิกา ปติตา.

มกฺขิกา อ. แมลงวัน ท. ปติตา ตกลงแล้ว มธุมฺหิ ในน้ำผึ้ง อิมสฺมึ นี้ฯ

๒๑๕. มยํ อิมินา ปุริเสน รญฺโญ อุยฺยานํ คตา.

มยํ อ. เรา ท. คตา ไปแล้ว อุยฺยานํ สู่อุทยาน รญฺโญ ของพระราชา ปุริเสน ด้วยบุรุษ อิมินา นี้ ฯ

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๒๑๕- ข้อ ๒๒๕

๒๑๖. คำสอน ของพระผู้มีพระภาค ใด แผ่ไปแล้ว ในโลก, พระผู้มีพระภาคนั้น ปรินิพพานแล้ว.

ยสฺส ภควโต สาสนํ โลเก ปตฺถตํ, โส ปรินิพฺพุโต ฯ

๒๑๗. ความสรรญเสริญ เกิดขึ้นแล้ว แก่ผู้ใด, ความนินทา เกิดขึ้นแล้ว แก่ผู้นั้น.

ยสฺส ปสํสา อุปฺปนฺนา, ตสฺส นินฺทา อุปฺปนฺนา ฯ

๒๑๘. บุตร ท. แห่งหญิง นี้ ทั้งหมด บวชแล้ว ในพระศาสนา.

สพฺเพ อิมิสสา อิตฺถิยา ปุตฺตา สาสเน ปพฺพชิตา ฯ

๒๑๙. อำมาตย์ ผู้โน้น ไปแล้ว สู่วัง แห่งพระราชา.

อสุโก อมจฺโจ รญฺโญ นิเวสนํ คโต ฯ

๒๒๐. ลูกชาย ของท่าน ไปแล้ว สู่ป่า ด้วยลูกชาย ของข้า.

ตว ปุตฺโต มม ปุตฺเตน วนํ คโตฯ

๒๒๑. ดอกไม้ ท. นี้ อันแม่ของข้า ให้แล้ว แก่อาจารย์ ของท่าน.

อิมานิ ปุปฺผานิ ตว อาจริยสฺส มม มาตรา ทินฺนานิฯ

๒๒๒. ธรรมนี้ อันพระศาสดา ของเรา ท. แสดงแล้ว.

อมฺหากํ สตฺถารา อยํ ธมฺโม เทสิโตฯ

๒๒๓. น้ำเต็มแล้ว ในเรือ นั่น.

อุทกํ เอติสฺสํ นาวาย ปุณณํ ฯ

๒๒๔. ใคร นอนแล้ว ในห้อง โน้น? ภิกษุ ใหม่ องค์หนึ่ง.

โก อมุกสฺมึ คพเภ นิปนฺโน, เอโก นวโก ภิกขุ ฯ

๒๒๕. กระบือ นี้ ดุ, คน ท. มาก อันมันขวิด(ประหาร) แล้ว.

จณฺโฑ อยํ มหิโส, พหู นรา เตน ปหตา ฯ
. กิริยาอาขยาต ของนามนามก็ดี ของปุริสสัพพนาม
ก็ดี บทใด ต้องมีวจนะ และบุรุษ เหมือนวจนะ และบุรุษ
ของนามนามก็ดี ของปุริสสัพพนามก็ดี บทนั้น ดังนี้ ชโน
ยาติ
, ชนา ยนฺติ, โส ยาติ, เต ยนฺติ, ตฺวํ ยาสิ, ตุมฺเห
ยาถ
, อหํ ยามิ, มยํ ยาม. กิริยาอาขยาตนี้ เรียงไว้ในที่สุด
ประโยค เช่นตัวอย่างที่แสดงมาแล้ว บางทีก็เรียงไว้หน้าประโยค
เช่น สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ ท่านผู้เจริญ สงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า
.
วิธีใช้มัธยมบุรุษ และอุตตมบุรุษ
, จะไม่เขียนตัวประธานลงด้วย
ก็ได้ แต่ต้องใช้กิริยาให้ถูกตามวจนะ และบุรุษ ดังนี้ กตรสฺมึ
อาวาเส วสฺสํ วสสิ ท่าน อยู่ตลอดพรรษา ในอาวาสไหน
?
ปวรนิเวเส วสฺสํ วสามิ ข้าพเจ้า อยู่ ตลอดพรรษา ในวันบวรนิเวศ
.

ข้อ ๒๒๖-ข้อ ๒๔๐

๒๒๖.อาจริโย อตฺตโน สิสฺสานํ โอวาทํ เทติ, เต สุณนฺติ.

อาจริโย อ. อาจารย์ เทติ ย่อมให้ โอวาทํ ซึ่งโอวาท สิสฺสานํ แก่ศิษย์ ท. อตฺตโน ของตน, เต สิสฺสา อ. ศิษย์ ท. เหล่านั้น สุณนฺติ ย่อมฟัง ฯ

๒๒๗. ทารกา ทิวเส สิปฺปํ สิกฺขนฺติ, เต อนุกฺกเมน วุฑฺฒึ ปาปุณนฺติ.

ทารกา อ. เด็ก ท. สิกฺขนฺติ ย่อมศึกษา สิปฺปํ ซึ่งศิลปะ ทิวเส ในวัน, เต ทารกา อ.เด็ก ท. เหล่านั้น ปาปุณนฺติ ย่อมถึง วุฑฺฒึ ซึ่งความเจริญ อนุกฺกเมน โดยลำดับ ฯ

๒๒๘. ปญฺญาย ปภา สพฺพาหิ ปภาหิ วิโรจติ.

ปภา อ. รัศมี ปญฺญาย แห่งปัญญา วิโรจติ ย่อมรุ่งเรือง ปภาหิ กว่ารัศมี ท. สพฺพาหิ ทั้งปวง ฯ

๒๒๙. โย พาเล เสวติ, โส วินาสํ ปาปุณาติ.

โย ปุคฺคโล อ. บุคคลใด เสวติ ย่อมเสพ พาเล ซึ่งชนพาล ท. , โส ปุคฺคโล อ. บุคคลนั้น ปาปุณาติ ย่อมถึง วินาสํ ซึ่งความพินาศ ฯ

๒๓๐. สปฺปุริสา สพฺเพสุ สตฺเตสุ เมตฺตํ กโรนฺติ.

สปฺปุริสา อ. สัตบุรุษ ท. กโรนฺติ ย่อมกระทำ เมตฺตํ ซึ่งความเมตตา สตฺเตสุ ในสัตว์ ท. สพฺเพสุ ทั้งปวง ฯ

๒๓๑. โย ธมฺมํ จรติ, โส ตสฺส วิปากํ อนุโภติ.

โย ปุคฺคโล อ. บุคคลด จรติ ย่อมประพฤติ ธมฺมํ ซึ่ งธรรม โส ปุคฺคโล อ. บุคคลนั้น อนุโภติ ย่อมเสวย วิปากํ ซึ่งวิบาก ตสฺส ธมฺมสฺส ของธรรมนั้น ฯ

๒๓๒. วิริเยน อตฺตานํ อตฺตโน นาถํ กโรติ.

ปุคฺคโล อ. บุคคล กโรติ ย่อมกระทำ อตฺตานํ ซึ่งตน นาถํ ให้เป็นที่พึ่ง อตฺตโน ของตน วิริเยน ด้วยความเพียร ฯ

๒๓๓. ตสฺมึ ภควติ พฺรหฺมจริยํ จราม.

มยํ อ. เรา ท. จราม ย่อมประพฤติ พฺรหฺมจริยํ ซึ่ งพรหมจรรย์ ภควติ ในพระผู้มีพระภาค ตสฺมึ นั้น ฯ

๒๓๔. มาตา อตฺตโน ปุตฺตํ อนุสาสติ, โส ตสฺสา โอวาเท ติฏฺฐติ.

มาตา อ. มารดา อนุสาสติ ย่อม พร่ำสอน ปุตฺตํ ซึ่งบุตร อตฺตโน ของตน, โส ปุตฺโต อ. บุตรนั้น ติฏฺฐติ ย่อม ตั้งอยู่

โอวาเท ในโอวาท ตสฺสา มาตุยา ของมารดานั้น ฯ

๒๓๕. กตเรน มคฺเคน รญฺโญ วิเวสนํ คจฺฉสิ?

ตฺวํ อ. ท่าน คจฺฉสิ จะไป นิเวสนํ สู่วัง รญโญ ของพระราชา มคฺเคน โดยหนทาง กตเรน ไหน ฯ

๒๓๖. อสุเกน มคฺเคน คจฺฉามิ.

อหํ อ. เรา คจฺฉามิ จะไป มคฺเคน โดยหนทาง อสุเกน ชื่อโน้น ฯ

๒๓๗. กตรสฺมึ คาเม วสถ? นครสฺส สมีเป วสาม.

ตุมฺเห อ. ท่าน ท. วสถ ย่อมอยู่ คาเม ในบ้าน กตรสฺมึ ไหน, มยํ อ. เรา ท. วสาม ย่อมอยู่ สมีเป ในที่ใกล้ นครสฺส แห่งเมือง ฯ

๒๓๘. อมฺพสฺส ผลานิ สาขาย ปตนฺติ, ทารกา ตานิ วิลุมปนฺติ.

ผลานิ อ. ผล ท. อมฺพสฺส ของมะม่วง ปตนฺติ ย่อมหล่น สาขาย จากกิ่ง, ทารกา อ. เด็ก ท. วิลุมฺปนฺติ ย่อมยื้อแย่ง ตานิ อมฺพผลานิ ซึ่งผลมะม่วง ท. เหล่านั้น ฯ

๒๓๙. ราชา มหนฺเตน ปริวาเรน อารามํ คจฺฉติ.

ราชา อ. พระราชา คจฺฉติ ย่อมเสด็จไป อารามํ สู่อาราม ปริวาเรน ด้วยบริวาร(กับบริวาร) มหนฺเตน ใหญ่ ฯ

๒๔๐. พฺราหฺมณา ภิกฺขาย นครํ ปวิสนฺติ.

พฺราหฺมณา อ. พราหมณ์ ท. ปวิสนฺติ ย่อมเข้าไป นครํ สู่เมือง ภิกฺขาย เพื่อภิกษา ฯ

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๒๔๑-ข้อ ๒๕๐

๒๔๑.พระพุทธเจ้า แสดง ซึ่งธรรม เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แห่งชน ท.

พุทฺโธ ชนานํ หิตาย สุขาย ธมฺมํ เทเสติ ฯ

๒๔๒. ชน ท. ใด ปฏิบัติ โดยเคารพ, ชน ท. นั้น พ้น จากทุกข์.

เย ชนา สกฺกจฺจํ ปฏิปชฺชนฺติ, เต ทุกฺขา ปมุจฺจนฺติ ฯ

๒๔๓. ผู้ใด สงวน ซึ่งตน, ผู้นั้น เว้น จากบาป.

โย อตฺตานํ สญฺญมติ, โส ปาปา วิรมติ ฯ

๒๔๔. ความเลื่อมใส ในธรรม ของผู้ใด มีอยู่, ผู้นั้น ประพฤติ ซึ่งธรรมนั้น.

ยสฺส ธมฺเม ปสาโท อตฺถิ, โส ตํ ธมฺมํ จรติ ฯ

๒๔๕. ลูกชาย ท. ของเศรษฐี มีอยู่ ๔ คน, ในเขา ท. คนหนึ่ง ตายเสีย.

จตฺตาโร เสฏฺฐิโน ปุตฺตา โหนฺติ, เตสุ เอโก มโต ฯ

๒๔๖. ผู้ใด ทำ ซึ่งบาป, บาปนั้น ให้ ซึ่งผล แก่ผู้นั้น.

โย ปาปํ กโรติ, ตํ ปาปํ ตสฺส วิปากํ เทติ ฯ

๒๔๗. ภิกษุ ท. ท่องอยู่ ซึ่งธรรม ในวิหาร.

ภิกฺขู วิหาเร ธมฺมํ สชฺฌายนฺติ ฯ

๒๔๘. คนเจ็บ นอนอยู่ ในที่นอน, หมอ ให้ ซึ่งยา แก่เขา .

คิลาโน สยเน นิปชฺชติ, เวชฺโช ตสฺส เภสชฺชํ เทติ ฯ

๒๔๙. พราหมณ์ ท. บูชา ซึ่งกอง แห่งไฟ เพื่อลาภ.

พฺราหฺมณา ลาภาย อคฺคิโน ราสึ ปูเชนฺติ ฯ

๒๕๐. สัตบุรุษ ท. บูชา ซึ่งรตนะ ท. ๓ ด้วยความเลื่อมใส ฯ

สปฺปุริสา ปสาเทน ตีณิ รตนานิ ปูเชนฺติ ฯ

. คุณนาม ที่เนื่องด้วยกิริยา ว่ามี ว่าเป็น เรียงไว้หลัง

นามนาม ซึ่งเป็นเจ้าของ หน้ากิริยา ว่ามี ว่าเป็น นั้น ดังนี้

สุคนฺธํ ปุปฺผํ สพฺเพสํ มนาปํ โหติ ดอกไม้ หอม เป็น ที่ชอบ

ใจ ของชนทั้งหลายทั้งปวง. แม้จะไม่เรียงกิริยาไว้ด้วยก็ได้ ดังนี้

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแล เป็นที่พึ่งของตน.

๑๐. นามนาม ซึ่งใช้เป็นคุณนาม ต้องมีวจนะและวิภัตติ

เหมือนนามนามซึ่งเป็นเจ้าของ แต่ลิงค์นั้นคงอยู่ตามที่ คือศัพท์เดิม

เป็นลิงค์อะไร ก็คงเป็นลิงค์นั้น ดังนี้ พุทฺโธ เม วรํ สรณํ พระ

พุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง อันประเสริฐ ของเรา.
ข้อ ๒๔๑-ข้อ ๒๕๐

๒๔๑.พระพุทธเจ้า แสดง ซึ่งธรรม เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แห่งชน ท.

พุทฺโธ ชนานํ หิตาย สุขาย ธมฺมํ เทเสติ ฯ

๒๔๒. ชน ท. ใด ปฏิบัติ โดยเคารพ, ชน ท. นั้น พ้น จากทุกข์.

เย ชนา สกฺกจฺจํ ปฏิปชฺชนฺติ, เต ทุกฺขา ปมุจฺจนฺติ ฯ

๒๔๓. ผู้ใด สงวน ซึ่งตน, ผู้นั้น เว้น จากบาป.

โย อตฺตานํ สญฺญมติ, โส ปาปา วิรมติ ฯ

๒๔๔. ความเลื่อมใส ในธรรม ของผู้ใด มีอยู่, ผู้นั้น ประพฤติ ซึ่งธรรมนั้น.

ยสฺส ธมฺเม ปสาโท อตฺถิ, โส ตํ ธมฺมํ จรติ ฯ

๒๔๕. ลูกชาย ท. ของเศรษฐี มีอยู่ ๔ คน, ในเขา ท. คนหนึ่ง ตายเสีย.

จตฺตาโร เสฏฺฐิโน ปุตฺตา โหนฺติ, เตสุ เอโก มโต ฯ

๒๔๖. ผู้ใด ทำ ซึ่งบาป, บาปนั้น ให้ ซึ่งผล แก่ผู้นั้น.

โย ปาปํ กโรติ, ตํ ปาปํ ตสฺส วิปากํ เทติ ฯ

๒๔๗. ภิกษุ ท. ท่องอยู่ ซึ่งธรรม ในวิหาร.

ภิกฺขู วิหาเร ธมฺมํ สชฺฌายนฺติ ฯ

๒๔๘. คนเจ็บ นอนอยู่ ในที่นอน, หมอ ให้ ซึ่งยา แก่เขา .

คิลาโน สยเน นิปชฺชติ, เวชฺโช ตสฺส เภสชฺชํ เทติ ฯ

๒๔๙. พราหมณ์ ท. บูชา ซึ่งกอง แห่ง ไฟ เพื่อลาภ.

พฺราหฺมณา ลาภาย อคฺคิโน ราสึ ปูเชนฺติ ฯ

๒๕๐. สัตบุรุษ ท. บูชา ซึ่งรตนะ ท. ๓ ด้วยความเลื่อมใส ฯ

สปฺปุริสา ปสาเทน ตีณิ รตนานิ ปูเชนฺติ ฯ

แปลยกศัพท์

ข้อ ๒๕๑-ข้อ ๒๖๕

๒๕๑. ราชา อตฺตโน รฏฺเฐ ชนานํ อิสฺสโร โหติ.

ราชา อ. พระราชา อิสฺสโร เป็นผู้เป็นใหญ่ ชนานํ แห่งชน ท. รฏฺเฐ ในแว่นแคว้น อตฺตโน ของพระองค์ โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๕๒. อยํ ทารโก เสฏฺฐิโน นตฺตา โหติ.

ทารโก อ. ทารก อยํ นี้ นตฺตา เป็นหลาน เสฏฺฐิโน ของเศรษฐี โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๕๓. พุทฺโธ สตฺตานํ นาโถ.

พุทฺโธ อ. พระพุทธเจ้า นาโถ เป็นที่พึ่ง สตฺตานํ ของสัตว์ ท. โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๕๔. ธมฺโม โน อุตฺตมํ สรณํ.

ธมฺโม อ. พระธรรม สรณํ เป็นที่ระลึก อุตฺตมํ อันสูงสุด โน แห่งเรา ท. โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๕๕. ยสฺมึ ภควติ พฺรหฺจริยํ จราม, โส โน ภควา สตฺถา.

มยํ อ. เรา ท. จราม ย่อมประพฤติ พฺรหฺมจริยํ ซึ่ งพรหมจรรย์ ภควติ ในพระผู้มีพระภาค ยสฺมึ ใด, ภควา อ. พระผู้มีพระภาค โส นั้น สตฺถา เป็นศาสดา โน แห่งเรา ท. โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๕๖. มนุสฺสานํ ชีวิตํ อปฺปํ โหติ.

ชีวิตํ อ. ชีวิต มนุสฺสานํ ของมนุษย์ ท. อปฺปํ เป็นธรรมชาติน้อย โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๕๗. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, เย อุปปชฺชนฺติ, เต นิรุชฌนฺติ.

สงฺขารา อ. สังขาร ท. สพฺเพ ทั้งปวง อนิจฺจา เป็นของไม่เที่ยง โหนฺติ ย่อมเป็น, เย สงฺขารา อ. สังขาร ท. เหล่าใด อุปฺปชฺชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น, เต สงฺขารา อ. สังขาร ท. เหล่านั้น นิรุชฺฌนฺติ ย่อมดับไป ฯ

๒๕๘. สพฺเพสํ สตฺตานํ มรณํ นิยตํ.

มรณํ อ. ความตาย สตฺตานํ แห่งสัตว์ ท. สพฺเพสํ ทั้งปวง นิยตํ เป็นของเที่ยง โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๕๙. สงโฆ อนุตฺตรํ โลกสฺส ปุญฺญสฺส เขตฺตํ.

สงฺโฆ อ. พระสงฆ์ เขตฺตํ เป็นเนื้อนา ปุญฺญสฺส แห่งบุญ โลกสฺส ของโลก อนุตฺตรํ อันยอดเยี่ยม โหติ ย่อมเป็นฯ

๒๖๐. ปุญฺญานิ สตฺตานํ ปติฏฺฐา โหนฺติ.

ปุญฺญานิ อ. บุญ ท. ปติฏฺฐา เป็นที่พึ่ง สตฺตานํ ของสัตว์ ท. โหนฺติ ย่อมเป็น ฯ

๒๖๑. ปมาโท มจฺจุโน ปทํ.

ปมาโท อ. ความประมาท ปทํ เป็นหนทาง มจฺจุโน แห่งความตาย โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๖๒. อยํ รุกฺโข อิมสฺมึ วเน สพฺเพหิ รุกฺเขหิ อุตฺตโม โหติ.

รุกฺโข อ. ต้นไม้ อยํ นี้ อุตฺตโม เป็นต้นไม้สูงที่สุด รุกฺเขหิ กว่าต้นไม้ ท. สพฺเพหิ ทั้งปวง วเน ในป่า อิมสฺมึ นี้ โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๖๓. ยํ มาตุ ธนํ, ตํ ปุตฺตสฺส สนฺตกํ โหติ.

ธนํ อ. ทรัพย์ มาตุ ของมารดา ยํ ใด, ตํ ธนํ อ. ทรัพย์นั้น สนฺตกํ เป็นของมีอยู่ ปุตฺตสฺส แห่งบุตร โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๖๔. ราชา มนุสฺสานํ มุขํ.

ราชา อ. พระราชา มุขํ เป็นประมุข มนุสฺสานํ ของมนุษย์ ท. โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๖๕. ภิกฺขุ ปญฺญวา โหติ.

ภิกฺขุ อ.ภิกษุ ปญฺญวา เป็นผู้มีปัญญา โหติ ย่อมเป็น ฯ

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๒๖๖-ข้อ ๒๗๕

๒๖๖. บิดา เป็นที่รัก ของเรา ท.

ปิตา อมฺหากํ ปิโย โหติ ฯ

๒๖๗. หญิงสาว เป็นที่ชอบใจ ของชายแก่.

ยุวตี มหลฺลกสฺส มนาปา โหติ.

๒๖๘. ข้าฯ เป็นที่รัก ของมารดา ของข้า.

อหํ มม มาตุยา ปิโย โหมิ ฯ

๒๖๙. ความไม่ประมาท เป็นทาง แห่งนิพพาน.

อปฺปมาโท นิพฺพานสฺส ปทํ ฯ

๒๗๐. ไฟ เป็นปาก(ประธาน) ของยัญ.

อคฺคิ ยญฺญสฺส มุขํ ฯ

๒๗๑. ความไม่มี แห่งโรค เป็นลาภ แห่งชน ท.

โรคสฺส อภาโว ชนานํ ลาโภ ฯ

๒๗๒. กรุงเทพฯ เป็นเมือง มั่งคั่ง.

เทวนครํ อฑฺฒํ โหติ ฯ

๒๗๓. วัด ไกล จากบ้าน ท. เป็นที่สบาย.

คาเมหิ ทูโร อาวาโส ผาสุโก โหติ ฯ

๒๗๔. แผ่นดิน เป็นที่อยู่ ของสัตว์ ท. ทั้งปวง.

ปฐวี สพฺเพสํ สตฺตานํ นิวาสา โหติ ฯ

๒๗๕. ต้นไม้ ท. เป็นที่อาศัย ของนก ท.

รุกฺขา สกุณานํ ปติฏฺฐา โหนฺติ ฯ
๑๑. กิริยากิตก์ ที่ไม่ใช่อัพยยะ ถ้ามีกิริยา ว่ามี ว่าเป็น

อยู่หลัง เข้ากับกิริยา ว่ามี ว่าเป็น นั้น ใช้เหมือนกิริยาอาขยาต

ซึ่งมีธาตุอย่างเดียวกับกิริยากิตก์นั้น เช่น เสฏฺฐิโน ลาโภ อุปฺปนฺโน

โหติ มีความเป็นอย่างเดียวกันกับ เสฏฺฐิโน ลาโภ อุปฺปชฺชติ

ดังนี้.

ข้อ ๒๗๖-ข้อ ๒๙๐.

๒๗๖. ราชา ชเนหิ มานิโต โหติ.

ราชา อ. พระราชา ชเนหิ มานิโต เป็นผู้อันชน ท. นับถือแล้ว ฯ

๒๗๗. พุทฺโธ วิญฺญูหิ ปูชิโต.

พุทฺโธ อ. พระพุทธเจ้า วิญฺญูหิ ปูชิโต เป็นผู้อันบุคคลผู้รู้วิเศษ ท. บูชาแล้ว โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๗๘. สาวตฺถิยํ อญฺญตโร ภิกฺขุ อหินา ทฏฺโฐ กาลกโต โหติ ฯ

ภิกฺขุ อ. ภิกษุ อญฺญตโร รูปใดรูปหนึ่ง สาวตฺถิยํ ในพระนครชื่อว่าสาวัตถี อหินา ทฏฺโฐ เป็นผู้อันงูกัดแก้ว หุตฺวา เป็น กาลกโต เป็นผู้มีกาละอันกระทำแล้ว โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๗๙. เสฏฺฐิโน อาพาโธ อุปฺปนฺโน โหติ.

อาพาโธ อ.ความป่วยไข้ อุปฺปนฺโน เป็นสภาพเกิดขึ้นแล้ว เสฏฺฐิโน แก่เศรษฐี โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๘๐. สงฺฆสฺส จีวรํ อุสฺสนฺนํ โหติ.

จีวรํ อ. จีวร อุสฺสนฺนํ เป็นของหนาขึ้นแล้ว สงฺฆสฺส แก่สงฆ์ โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๘๑. ภิกฺขุ อตฺตโน สนฺตเกน ตุฏฺโฐ โหติ .

ภิกฺขุ อ. ภิกษุ ตุฏฺโฐ เป็นผู้ยินดีแล้ว สนฺตเกน ด้วยของมีอยู่ อตฺตโน ของตน โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๘๒. ปาโป ชาโต’สิ .

ตฺวํ อ. ท่าน ปาโป เป็นผู้ลามก ชาโต เป็นสภาพเกิดแล้ว อสิ ย่อมเป็น ฯ

๒๘๓. ภควโต สาวกานํ สงฺโฆ สุปฏิปนฺโน โหติ ฯ

สงฺโฆ อ. หมู่ สาวกานํ แห่งสาวก ท. ภควโต ของพระผู้มีพระภาค สุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๘๔. อิมสฺมึ อาวาเส วสฺสํ วุตฺโถ’มฺหิ.

อหํ อ. เรา วุตฺโถ เป็นผู้อยู่แล้ว วสฺสํ ตลอดกาลฝน อาวาเส ในอาวาส อิมสฺมึ นี้ อมฺหิ ย่อมเป็น ฯ

๒๘๕. เทสนาวสาเน พหู ชนา โสตาปนฺนา อเหสุํ.

ชนา อ. ชน ท. พหู มาก โสตาปนฺนา เป็นพระโสดาบัน อเหสุํ ได้เป็นแล้ว เทสนาวสาเน ในกาลเป็นที่จบแห่งเทศนา ฯ

๒๘๖. อปฺปมตฺตา โหถ.

ตุมฺเห อ. ท่าน ท. อปฺปมตฺตา เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว โหถ จงเป็น ฯ

๒๘๗. อรหนฺโต ปรมาย วิสุทฺธิยา วิสุทฺธา โหนฺติ.

อรหนฺโต อ. พระอรหันต์ ท. วิสุทฺธา เป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว วิสุทธิยา โดยความบริสุทธิ์ ปรมาย อย่างยิ่ง โหนฺติ ย่อมเป็น ฯ

๒๘๘. นวกสฺส ภิกฺขุโน อนภิรติ อุปฺปนฺนา โหติ.

อนภิรติ อ. ความไม่ยินดี อุปฺปนฺนา เป็นธรรมชาติเกิดขึ้นแล้ว ภิกฺขุโน แก่ภิกษุ นวกสฺส ผู้ใหม่ โหติ ย่อมเป็น ฯ

๒๘๙. อิทํ สิกฺขาปทํ ภควตา ภิกฺขูนํ ปญฺญตฺตํ โหติ.

สิกฺขาปทํ อ. สิกขาบท อิทํ นี้ ภควตา ปญฺญตฺตํ เป็นสิกขาบทอันอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้ว ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุ ท. โหตติ ย่อมเป็น ฯ

๒๙๐. อิมานิ การณานิ มม อาจริเยน ทิฏฺฐานิ โหนฺติ.

การณานิ อ. เหตุ ท. อิมานิ เหล่านี้ มม อาจริเยน ทิฏฺฐานิ เป็นเหตุอันอันอาจารย์ของเราเห็นแล้ว โหนฺติ ย่อมเป็น ฯ
ประโยคเหล่านี้ ควรอาจารย์ให้ศิษย์กลับกิริยากิตก์ กับกิริยา

ที่แปล ว่ามี ว่าเป็น เป็นกิริยาอาขยาตตัวเดียว เพื่อให้ศิษย์เข้าใจ

ชัดเจน.

ข้อ ๒๙๑-ข้อ ๓๐๐

๒๙๑. ต้นไทร ใหญ่ นี้ เป็น(ของ) อันเทวดา สิงแล้ว ฯ

อยํ มหนฺโต นิโครฺโธ เทวตาย อธิวุตฺโถ โหติ ฯ

๒๙๒. กองทัพ แห่งข้าศึก เป็น(หมู่) อันพระราชา ชำนะแล้ว.

อริโน ขนฺธวาโร รญฺญา ชิโต โหติ ฯ

๒๙๓.ศิลปะ อันนี้ เป็น(ของ) อันศิษย์ ของเรา ศึกษาแล้ว.

อิทํ สิปฺปํ มม สิสฺเสน สิกฺขิตํ โหติ ฯ

๒๙๔. คำนี้ เป็น(คำ) อันอุปัชฌาย์ ของท่าน พูดแล้ว.

อิทํ วจนํ ตว อุปชฺฌาเยน กถิตํ โหติ ฯ

๒๙๕. ผ้า ท. นี้ เป็น(ของ) อันทายก ถวายแล้ว แก่สงฆ์.

อิมานิ วตฺถานิ สงฆสฺส ทายเกน ทินฺนานิ โหนฺติ ฯ

๒๙๖. คลอง นั้น เป็น(ของ) อันบิดา ของเรา ท. ขุดแล้วฯ

โส ปสาโข โน ปิตรา ขโต โหติ ฯ

๒๙๗. ทรัพย์ ของคนจน เป็น(ของ) อันโจร ลักแล้ว .

ทลิทฺทสฺส ธนํ โจเรน คหิตํ โหติ ฯ

๒๙๘. ลูกชาย ของท่าน เป็น(ผู้) อันชนพาล ตีแล้ว .

ตุยฺหํ ปุตฺโต พาเลน ปหโต โหติ ฯ

๒๙๙. กิเลส ท. ทั้งปวง เป็น (โทษ) อันพระอรหันต์ ท. ละได้แล้ว.

สพฺเพ กิเลสา อรหนฺเตหิ ปหีนา โหนฺติ ฯ

๓๐๐. ธรรม นี้ เป็น(คุณ) อันผู้รู้ ท. ถึงทับแล้ว.

อยํ ธมฺโม มุนีหิ อธิคโต โหติ ฯ
ประโยคเหล่านี้ เมื่อศิษย์แปลเป็นมคธแล้ว ควรอาจารย์

จะให้กลับเป็นกิริยาอาขยาตตัวเดียว เช่นเคยให้ทำมาแล้ว.

๑๒. ถ้ามีข้อความเรื่องอื่น แทรกเข้ามาในระหว่าง แห่งประโยค

นามนาม ที่เป็นประธาน ในข้อความนั้น ใช้ฉัฏฐี หรือสัตตมีวิภัตติ

กิริยาของนามนามบทนั้นใช้กิริยากิตก์ มี ลิงคะ วจนะ วิภัตติ

เหมือน ลิงคะ วจนะ วิภัตติ ของนามนามบทนั้น แทรกเข้ามาใน

ที่ไหนก็เรียงไว้ในที่นั้น ดังนี้ สุริเย อตฺถงฺคเต, จนฺโท อุคฺคจฺฉติ

ครั้นเมื่อพระอาทิตย์ ตกแล้ว, พระจันทร์ ขึ้นไปอยู่. ทารกสฺส

รุทนฺตสฺส, ปิตา ปพฺพชิ เมื่อเด็ก ร้องให้อยู่, พ่อ บวชแล้ว.

ข้อ ๓๐๑-ข้อ ๓๑๐

๓๐๑. รญฺเญ อาคเต, สพฺเพ ชนา ปกฺกมนฺติ ฯ

รญฺเญ ครั้นเมื่อพระราชา อาคเต เสด็จมาแล้ว, ชนา อ. ชน ท. สพฺเพ ทั้งปวง ปกฺกมนฺติ ย่อมหลีกไปฯ

๓๐๒. อยํ อิตฺถี, อตฺตโน สามิเก มเต, อญฺญํ สามิกํ ลภิ.

อิตฺถี อ. หญิง อยํ นี้ , สามิเก ครั้นเมื่อสามี อตฺตโน ของตน มเต ตายแล้ว, ลภิ ได้แล้ว สามิกํ ซึ่งสามี อญญํ อื่น ฯ

๓๐๓. นิโครฺธสฺส ปตฺตานิ, เทเว วุฏฺเฐ, ผลนฺติ.

ปตฺตานิ อ. ใบ ท. นิโครฺธสฺส ของต้นไทร, เทเว ครั้นเมื่อฝน วุฏฺเฐ ตกแล้ว, ผลนฺติ ย่อมผลิ ฯ

๓๐๔.เถรสฺส นิทฺทํ อโนกฺกมนฺตสฺส, อกฺขิมฺหิ โรโค อุปฺปชฺชิ.

เถรสฺส เมื่อพระเถระ อโนกฺกมนฺตสฺส ไม่ก้าวลงอยู่ นิทฺทํ สู่ความหลับ, โรโค อ. โรค อุปฺปชฺชิ เกิดชึ้นแล้ว อกฺขิมฺหิ ในนัยน์ตา ฯ

๓๐๕. อมฺพสฺส ผเลสุ สาขาย ปติเตสุ, ทารกา วิลุมฺปนฺติ .

ผเลสุ ครั้นเมื่อผล ท. อมฺพสฺส แห่งมะม่วง ปติเตสุ หล่นแล้ว สาขาย จากกิ่ง, ทารกา อ.ทารก ท. วิลุมฺปนฺติ ย่อมยื้อแย่ง ฯ

๓๐๖. ปิตา, อตฺตโน ปุตฺเต วุฑฺฒึ ปตฺเต, ตสฺส อตฺถาย กุมาริกํ อาเนสิ.

ปิตา อ. บิดา, ปุตฺเต ครั้นเมื่อบุตร อตฺตโน ของตน ปตฺเต ถึงแล้ว วุฑฺฒึ ซึ่งความเจริญ, อาเนสิ นำมาแล้ว กุมาริกํ ซึ่งนางกุมาริกา อตฺถาย เพื่อประโยชน์ ตสฺส แก่บุตรนั้น ฯ

๓๐๗. ทลิทฺทา, อตฺตโน ธเน นฏฺเฐ, โสจนฺติ.

ทลิทฺทา อ. ความยากจน ท., ธเน ครั้นเมื่อทรัพย์ อตฺตโน ของตน นฏฺเฐ หายแล้ว, โสจนฺติ ย่อมเศร้าโศกฯ

๓๐๘. ทารกา, อตฺตโน หตฺเถ ผเล มาตรา คหิตา, โรทนฺติ.

ทารกา อ. ทารก ท., ผเล ครั้นเมื่อผลไม้ หตฺเถ ในมือ อตฺตโน ของตน มาตรา อันมารดา คหิเต ถือเอาแล้ว, โรทนฺติ ย่อมร้องไห้ ฯ

๓๐๙. สามเณรสฺส ธมฺมํ กเถนฺตสฺส, ธนฺธกาโร ชาโต .

สามเณรสฺส เมื่อสามเณร ธมฺมํ กเถนฺตสฺส กล่าวอยู่ ซึ่งธรรม, อนฺธกาโร อ. หมอกผู้กระทำซึ่งความมืด ชาโต เกิดแล้ว ฯ

๓๑๐.ปทุมานิ, สุริเย อุคฺคเต, ปุปฺผนฺติ, ตสฺมึ อตฺถงฺคเต, ปตฺตานิ  ปิหทนฺติ.

ปทุมานิ อ. ดอกปทุม ท. , ครั้นเมื่อพระอาทิตย์ อุคฺคเต ขึ้นไปแล้ว, ปุปฺผนฺติ ย่อมบาน, ตสฺมึ สุริเย ครั้นเมื่อพระอาทิตย์ อตฺถงคเต อัสดงคตแล้ว, ปตฺตานิ อ. กลีบ ท. ปิทหนฺติ ย่อมหุบ ฯ

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๓๑๑-ข้อ ๓๒๐

๓๑๑. พระจันทร์, ครั้นเมื่อเมฆ ไปปราศแล้ว, ย่อมเปล่ง ซึ่งรัศมี.

จนฺโท, เมเฆ อปคเต, โอภาสํ วิสชฺเชสิ ฯ

๓๑๒. พระอาทิตย์, ครั้นเมื่อฝน ตกแล้ว, ย่อมเศร้าหมอง.

สุริโย, เทเว วสฺสนฺเต, กิลิสฺสติ ฯ

๓๑๓. บุตร ผู้ใหญ่, ครั้นเมื่อบิดา ตายแล้ว,ย่อมได้ ซึ่งสมบัติ ของเขา.

เชฏฺฐโก ปุตฺโต, ปิตริ มเต, ตสฺส สมปตฺตึ ลภติ ฯ

๓๑๔. ศิษย์ ท., เมื่ออาจารย์ ของตน มาแล้ว, ลุกขึ้น จากที่นั่ง ด้วยความเคารพ.

สิสฺสา, อตฺตโน อาจริยสฺส อาคตสฺส, สกฺกจฺจํ อาสนา อุฏฺฐหนฺติ ฯ

๓๑๕. พระราชา, ครั้นเมื่อเดือน ล่วงแล้ว, ประทาน ซึ่งทรัพย์ แก่บริวาร ท. ของพระองค์.

ราชา, มาเส อติกฺกนฺเต, อตฺตโน ปริวารานํ ธนํ เทติ ฯ

๓๑๖. ติตถิยะ ท. , เมื่อพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลก, เสื่อมแล้ว จากลาภ.

ติตฺถิยา, พุทธสฺส โลเก อุปฺปนนสฺส, ลาภา ปริหายึสุ ฯ

๓๑๗. ฝูง แห่งเนื้อ ท., เมื่อราชสีห์ มาแล้ว, ย่อมหนีไป จากที่นั้น.

มิคานํ ยูโถ, สีหสฺส อาคตสฺส, ตมฺหา ฐานา ปลายติ ฯ

๓๑๘. เมื่อพระเถระ กล่าวอยู่ ซึ่งธรรม, อรุณ ขึ้นไปแล้ว.

เถรสฺส ธมฺมํ กเถนฺตสฺส, อรุโณ อุคฺคจฺฉิ ฯ

๓๑๙. แมงเม่า ท., เมื่อฝน ตกแล้ว, ย่อมขึ้นไป จากรู ของตน.

อินฺทโคปกา, เทวสฺส วุฏฺฐสฺส, อตฺตโน พิลา อุคฺคจฺฉนฺติ ฯ

๓๒๐. ชาย นี้, ครั้นเมื่อภริยา ของตน ตายแล้ว, ได้แล้ว ซึ่งภริยา อื่น .

อยํ ปุริโส, อตฺตโน ภริยาย มตาย, อญฺญํ ภริยํ ลภิ ฯ

๑๓. ในความท่อนเดียว ถ้ามีกิริยาซึ่งเนื่องกันต่อ ๆ มาโดย

ลำดับหลายตัว ใช้กิริยาอาขยาตแต่ตัวหลังตัวเดียว บรรดากิริยา

ข้างหน้า ใช้กิริยากิตก์เป็นอัพยยะบ้าง ไม่เป็นอัพยยะบ้าง ทั้งสิ้น

แต่ที่ใช้กิริยากิตก์ที่เป็นอัพยยะคือกิริยาที่ลง ตฺวา ปัจจัย มากกว่าอย่าง

อื่น ดังนี้: สพฺเพ สกุณา ปุพฺพณฺเห อตฺตโน กุลาวกา นิกฺขมิตฺวา

สกลํ ทิวสํ จริตฺวา สายณฺเห ปฏินิวตฺตนฺติ นก ท. ทั้งปวง ออก

แล้ว จากรัง ของตน ๆ ในเวลาเช้า เที่ยวไปแล้ว ตลอดวัน

ทั้งสิ้น กลับคืนมา ในเวลาเย็น

ข้อ ๓๒๑-ข้อ ๓๓๐

๓๒๑. อญฺญตโร ภิกฺขุ อตฺตโน อุปชฺฌายํ อุปสงฺกมิตฺวา วนฺทิตฺวา อภิรูเป อาสเน นิสีทิตฺวา ปญฺหํ ปุจฺฉิ.

ภิกฺขุ อ. ภิกษุ อญญตโร รูปใดรูปหนึ่ง อุปสงกมิตฺวา เข้าไปหาแล้ว อุปชฺฌายํ ซึ่งพระอุปัชฌาย์ อตฺตโน ของตน วนฺทิตฺวา ไหว้แล้ว นิสีทิตฺวา นั่งแล้ว อาสเน บนอาสนะ ปฏิรูเป อันสมควร ปุจฉิ ถามแล้ว ปญหํ ซึ่งปัญหา ฯ

๓๒๒. โส ตสฺส ปญฺหํ กเถตฺวา ตํ อุยฺโยเชสิ.

โส อุปชฌาโย อ. พระอุปัชฌาย์นั้น กเถตฺวา บอกแล้ว ปญฺหํ ซึ่งปัญหา ตสฺส ภิกฺขุโน แก่ภิกษุนั้น อุยฺโยเชสิ ส่งไปแล้ว ตํ ภิกฺขุ ซึ่งภิกษุนั้น ฯ

๓๒๓. สูโท ตณฺฑุลํ โธวิตฺวา อุกฺขลิยํ ปกฺขิปิตฺวา อุทฺธนํ อาโรเปตฺวา, ภตฺเต ปกฺเก, โอตาเรสิ.

สูโท อ. พ่อครัว โธวิตฺวา ล้างแล้ว ตณฺฑุลํ ซึ่งข้าวสาร ปกฺขิปิตฺวา ใส่เข้าแล้ว อุกฺขลิยํ ในหม้อข้าว ทตฺวา ให้แล้ว อุทกํ ซึ่งน้ำ อาโรเปตฺวา ยกขึ้นแล้ว อุทฺธนํ สู่เตา, ภตฺเต ครั้นเมื่อภัต ปกฺเก สุกแล้ว, ปุคฺคลํ ยังบุคคล โอตาเรตสิ ให้ปลงลงแล้ว ฯ

๓๒๔. อมจฺโจ รญฺโญ นิเวสนํ คนฺตวา, ตสฺส กิจฺจํ กตฺวา, อตฺตโน เคหํ นิวตฺติ.

อมจฺโจ อ. อำมาตย์ คนฺตวา ไปแล้ว นิเวสนํ สู่พระราชวัง รญฺโญ ของพระราชา, กตฺวา กระทำแล้ว กิจฺจํ ซึ่งกิจ ตสฺส รญฺโญ ของพระราชานั้น, นิวตฺติ กลับแล้ว เคหํ สู่เรือน อตฺตโน ของตน ฯ

๓๒๕. สีโห มิคํ หนฺตฺวา, ตสฺส มํสํ ขาทติ.

สีโห อ. ราชสีห์ หนฺตฺวา ฆ่าแล้ว มิคํ ซึ่งเนื้อ, ขาทติ ย่อมเคี้ยวกิน มํสํ ซึ่งเนื้อ ตสฺส มิคสฺส ของเนื้อนั้น ฯ

๓๒๖. อุปาสกา อารามํ คนฺตฺวา, ทานํ ทตฺวา, สีลํ สมาทยิตฺวา, ธมฺมํ สุณนฺติ.

อุปาสกา อ. อุบาสก ท. คนฺตฺวา ไปแล้ว อารามํ สู่อาราม, ทตฺวา ให้แล้ว ทานํ ซึ่งทาน, สมาทยิตฺวา สมาทานแล้ว สีลํ ซึ่งศีล, สุณนฺติ ย่อมฟัง ธมฺมํ ซึ่งธรรม ฯ

๓๒๗. วาณิชา วิเทสา ภณฺฑานิ อาเนตฺวา, อปเณสุ วิกฺกีณนฺติ.

วาณิชา อ. พ่อค้า ท. อาเนตฺวา นำมาแล้ว ภณฺฑานิ ซึ่งภัณฑะ (สินค้า) ท. วิเทสา จากต่างประเทศ, วิกฺกีณนฺติ ย่อมขาย อาปเณสุ ในตลาด ท. ฯ

๓๒๘. อาจริโย, เวลาย สมฺปตฺตาย, อตฺตโน สิสฺสานํ โอวาทํ ทตฺวา, คพฺภํ ปวิสติ.

อาจริโย อ. อาจารย์, เวลาย ครั้นเมื่อเวลา สมฺปตฺตาย ถึงพร้อมแล้ว, ทตฺวา ให้แล้ว โอวาทํ ซึ่งโอวาท สิสฺสานํ แก่ศิษย์ ท. อตฺตโน ของตน, ปวิสติ ย่อมเข้าไป คพฺภํ สู่ห้อง ฯ

๓๒๙. ราชา ทิวเส ทิวเส อนฺเตปุรา นิกฺขมิตฺวา, อมจฺจานํ  สมาคเม นิสีทิตฺวา, อตฺตโน รฏฺเฐ  อุปฺปนฺนํ  กิจฺจํ วิจาเรติ.

ราชา อ. พระราชา นิกฺขมิตฺวา เสด็จออกแล้ว อนฺเตปุรา จาก ภายในแห่งบุรี, นิสีทิตฺวา ประทับนั่งแล้ว สมาคเม ในสมาคม อมจฺจานํ แห่งอำมาตย์ ท. , วิจาเรติ ย่อมพิจารณา กิจฺจํ ซึ่งกิจ อุปฺปนฺนํ อันเกิดขึ้นแล้ว รฏฺเฐ ในแว่นแคว้น อตฺตโน ของพระองค์ ทิวเส ทิวเส ในวันๆ ฯ

๓๓๐. โจรา รตฺติยํ วจริตฺวา, อรุเณ อุคฺคเต, อญฺญตรํ ฐานํ ปวิสิตฺวา สยนฺติ.

โจรา อ. โจร ท. วิจริตฺวา เที่ยวไปแล้ว รตฺติยํ ในกลางคืน, อรุเณ ครั้นเมื่ออรุณ อุคฺคเต ขึ้นไปแล้ว, ปวิสิตฺวา เข้าไปแล้ว ฐานํ สู่สถานที่ อญฺญตรํ แห่งใดแห่งหนึ่ง , สยนฺติ ย่อม นอน.

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๓๓๑-ข้อ ๓๔๐

๓๓๑. หมู่ แห่งภิกษุ ท., ครั้นเมื่อดิถี ที่ ๑๕ ถึงพร้อมแล้ว, ประชุมกันแล้ว ในสีมา, ทำ ซึ่งอุโบสถ.

ภิกฺขูนํ สงฺโฆ, ปณฺณรสิยา ติถิยา สมฺปตฺตาย, สีมายํ สนฺนิปติตฺวา อุโปสถํ กโรติ ฯ

๓๓๒. สังขาร ท. ทั้งปวง ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป.

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฌนฺติ ฯ

๓๓๓. คนจน ท. เข้าไปแล้ว สู่เมือง, ทำแล้ว ซึ่งการงาน, ครั้นเมื่อค่าจ้าง อันตน ได้แล้ว, ซื้อแล้ว ซึ่งอาหาร ด้วยค่าจ้างนั้น บริโภคแล้ว .

ทลิทฺทา นครํ ปวิสิตฺวา, กมฺมํ กตฺวา, ภติยา อตฺตนา ลทฺธาย, ตาย อาหารํ กีณิตฺวา, ปริภุญชึสุ ฯ

๓๓๔. ชาวนา ท., ครั้นเมื่อฤดูฝน ถึงพร้อมแล้ว, ไถแล้ว ซึ่งนา หวานแล้ว ซึ่งพืช ท., ครั้นเมื่อข้าวกล้า ท. สุกแล้ว, เกี่ยวแล้ว ซึ่งข้าวกล้า ท. นั้น ด้วยเคียว ให้เป็นฟ่อน นำมาแล้ว นวดแล้ว ในลาน ถือเอาแล้ว ซึ่งข้าวเปลือก ท.

กสกา, วสฺเส สมฺปตฺเต, เขตฺตํ กสิตฺวา พีชานิ วปิตฺวา, สสฺเสสุ ปกฺเกสุ, ทาเตน ตานิ ลุนิตฺวา, กลาปํ พนฺธิตฺวา, อาเนตฺวา ขเล ปริมทฺทิตฺวา วีหโย คณหึสุ ฯ

๓๓๕. พราน ท. ไปแล้ว สู่ป่า เห็นแล้ว ซึ่งเนื้อ ยิงแล้ว ซึ่งมัน ด้วยธนู, เมื่อมัน ลมแล้ว ตายแล้ว, ถือเอาแล้ว ซึ่งเนื้อแห่งมัน นำมา ขาย.

ลุทฺทกา วนํ คนฺตวา, มิคํ ทิสฺวา ธนุนา ตํ วิชฺฌิตฺวา, ตสฺมึ ปติตฺวา มเต, ตสฺส มํสํ คเหตฺวา, วิกฺกีณนฺติ ฯ

๓๓๖. อุบาสิกา ไปแล้ว สู่วัด นิมนต์แล้ว ซึ่งภิกษุ ท. ตระเตรียมแล้ว ซึ่งทาน, ครั้นเมื่อเธอ ท. มาแล้ว สู่เรือน แห่งตน นั่งแล้ว บนอาสนะ, ให้แล้ว ซึ่งโภชนะ ยังเธอ ท. ให้ฉันแล้ว.

อุปาสิกา อารามํ คนฺตฺวา, ภิกขู นิมนฺเตตฺวา, ทานํ สชฺเชตฺวา, เตสุ อตฺตโน เคหํ อาคนฺตฺวา อาสเน นิสินฺเนสุ, โภชนํ ทตฺวา เต โภเชสิ ฯ

๓๓๗. พ่อค้า ท. ไปแล้ว สู่สมุทร ด้วยเรือ, ครั้นเมื่อเรือนั้น ถึงแล้ว ซึ่งท่า แห่งเมือง, ไปแล้ว สู่ฝั่ง แห่งเมือง.

วาณิชา นาวาย สมุทฺทํ คนฺตฺวา, ตสฺส ธานิยา ติตฺถํ สมฺปตฺวา, ตสฺสา ตีรํ คจฺฉึสุ ฯ

๓๓๘. ชน ท. ครั้นฤดูฝน ถึงพร้อมแล้ว, นิมนต์แล้ว ซึ่งภิกษุ ท. ให้แสดง ซึ่ง ธรรม ในเรือน ของตน ของตน.

ชนา, วสฺเส สมปตฺเต, ภิกฺขู นิมนฺเตตฺวา , อตฺตโน อตฺตโน เคเห ธมฺมํ เทสาเปนฺติ.

๓๓๙. พระเถระ ท. ในกาลก่อน อยู่แล้ว สิ้นฤดูฝน ตลอดเดือน ท. ๓ ปวารณาแล้ว ย่อมเที่ยวไป สู่ที่จาริก.

ปุพฺเพ เถรา ตโย มาเส วสฺสํ วสิตฺวา, ปวาเรตฺวา, จาริกํ วิจรนฺติ ฯ

๓๔๐. คนพาล ทำแล้ว ซึ่งบาป, ครั้นเมื่อบาป หนาขึ้นแล้ว, ย่อมได้ ซึ่งผล แห่งมัน.

พาโล ปาปํ กตฺวา, ปาเป อุสฺสนฺเน, ตสฺส วิปากํ ลภติ ฯ
๑๔. ศัพท์เป็นอัพยยะ คือ นิบาตและปัจจัย บางเหล่า ไม่

ต้องแจกวิภัตติอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียงลงตามรูปศัพท์เดิมดังนี้ : สเจ

ปาปํ น กเรยฺยาสิ, สุขํ ลภิสฺสสิ. ถ้า เจ้า ไม่พึงทำ ซึ่งบาป,

เจ้าจักได้ซึ่งสุข.

๑๕. นิบาตที่เป็นต้นข้อความ มักเรียงไว้เป็นศัพท์ที่ ๒ ในข้อ

ความอันนั้น ดังนี้: กุหึ ปน ตฺวํ วสสิ. ก็ เจ้า อยู่ที่ไหน ?

๑๖. อาลปนะ ตามสำนวนบาลี เรียงไว้เป็นที่ ๒ ในข้อ

ความอันนั้น ดังนี้ สงฺฆํ: ภนฺเต อุปสมฺปทํ ยาจามิ ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ข้า ฯ ขอ ซึ่งอุปสมบท กะสงฆ์. ถ้ามีสัพพนามหรือ

นิบาตอยู่ เรียงอาลปนะไว้ เป็นที่ ๓ บ้าง เป็นที่ ๔ บ้าง ดังนี้:

ธมฺมํ หิ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ. แน่ะภิกษุ ท. เรา จักแสดง

ซึ่งธรรม แก่ท่าน ท. กุหึ ปน ตฺวํ อาวุโส วสฺสํ วุตฺโถ.

ดูก่อนผู้มีอายุ ก็ ท่าน อยู่ ตลอดพรรษาแล้ว ในที่ไหน ?

ตามสำนวนอรรถกถา เรียงอาลปนะไว้ข้างต้นบ้าง ในที่สุดแห่ง

ประโยคบ้าง ดังนี้: ภนฺเต มํ มา นาเสถ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ขอท่าน ท. อย่ายังข้า ฯ ให้ฉิบหาย. เอวํ กโรหิ มหาราช.

ข้าแต่พระราชผู้ใหญ่ ขอพระองค์ จงทรงทำอย่างนี้.

ข้อ ๓๔๑-ข้อ ๓๕๐

๓๔๑. เทฺว เม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา.

ภิกฺขเว ดูกรภิกษุ ท. อนฺตา อ. ที่สุด ท. เทฺว สอง อิเม เหล่านี้ ปพฺพชิเตน อันบรรพชิต น เสวิตพฺพา ไม่พึงเสพฯ

๓๔๒. อิเม โข ปนา’ ยสฺมนฺโต เทฺวนวุติ ปาจิตฺติยา ธมฺมา อุทฺเทสํ อาคจฺฉนฺติ.

อายสฺมนฺโต ดูกรท่านผู้มีอายุ ท. ปน ก็ ธมฺมา อ.ธรรม ท. ปาจิตติยา ชื่อปาจิตตีย์ เทฺวนวุติ เก้าสิบสอง อิเม โข เหล่านี้แล อาคจฺฉนฺติ ย่อมมา อุทฺเทสํ สู่อุเทศ ฯ

๓๔๓. อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต โหหิ .

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตฺวํ อ. ท่าน อุปชฺฌาโย เป็นพระอุปัชฌาย์ เม ของกระผม โหหิ จงเป็น ฯ

๓๔๔. อหํ อาวุโส สมฺพหุลา ทุกฺกฏาโย อาปตฺติโย อาปนฺโน ตา ปฏิเทเสมิ.

อาวุโส ดูกรท่านผู้มีอายุ อหํ อ. เรา อาปนฺโน เป็นผู้ต้องแล้ว อาปตฺติโย ซึ่งอาบัติ ท. ทุกฺกฏาโย ชื่อว่า ทุกกฎ สมฺพหุลา มากพร้อม หุตฺวา เป็น ปฏิเทเสมิ ย่อมแสดงคืน ตา อาปตฺติโย ซึ่งอาบัติ ท. เหล่านั้น ฯ

๓๔๕. สกฺขสิ ปน ตฺวํ คหปติ เอเกน ปสฺเสน สตฺต มาเส นิปชฺขิตุ ? สกฺโกม’ หํ อาจริย.

คหปติ ดูกรคฤหบดี ปน ก็ ตฺวํ อ. ท่าน สกฺขสิ ย่อมอาจ นิปชฺชิตุ เพื่ออันนอน มาเส ตลอดเดือน ท. สตฺต เจ็ด ปสฺเสน โดยข้าง เอเกน ข้างเดียวหรือ? อาจริย ข้าแต่อาจารย์ อหํ อ. กระผม สกฺโกมิ ย่อมอาจ นิปชฺขิตุ เพื่ออันนอน มาเส ตลอดเดือน ท. สตฺต เจ็ด ปสฺเสน โดยข้าง เอเกน ข้างเดียว ฯ

๓๔๖. มยฺหํ โข เทว ตาทิโส อาพาโธ; สาธุ เทโว ชีวกํ เวชฺชํ อาณาเปตุ, โส มํ ติกิจฺฉิสฺสติ.

เทว ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อาพาโธ อ. อาพาธ ตาทิโส เช่นนั้น อตฺถิ มีอยู่ มยฺหํ โข แก่ข้าพระองค์แล, สาธุ ดังข้าพระองค์ขอโอกาส เทโว อ. พระองค์ผู้สมมติเทพ อาณาเปตุ จงบังคับ เวชฺชํ ซึ่งหมอ ชีวกํ ชื่อว่าชีวก, โส ชีวโก อ.หมอชีวกนั้น ติกิจฺฉิสฺสติ จักเยียวยา มํ ซึ่งข้าพระองค์ ฯ

๓๔๗. อภิญฺญาย โว ภิกฺขเว ธมฺมํ เทเสมิ.

ภิกฺขเว ดูกรภิกษุ ท. อหํ อ. เรา เทเสมิ จะแสดง ธมฺมํ ซึ่งธรรม โว แก่เธอ ท. อภิญฺญาย เพื่อความรู้ยิ่ง ฯ

๓๔๘. ยโต’หํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต นา’ ภิชานามิ สญฺจิจ ปาณํ ชีวิตา โวโรเปตา, เตน สจฺเจน โสตฺถิ เต โหตุ, โสตฺถิ คพฺภสฺส.

ภคินิ ดูกรน้องหญิง อหํ อ. เรา ชาโต เกิดแล้ว ชาติยา โดยชาติ อิริยาย อันประเสริฐ ยโต กาลโต ในกาลใด, อหํ อ. เรา สญฺจิจฺจ โวโรเปตา แกล้งปลงลงแล้ว ปาณํ ซึ่งสัตว์มีลมปราณ ชีวิตา จากชีวิต น อภิชานามิ ย่อมไม่รู้ยิ่ง ตโต กาลโต ในกาลนั้น, โสตฺถิ อ. ความสวัสดี โหตุ จงมี เต แก่ท่าน สจฺเจน ด้วยความสัตย์ เตน นั้น, โสตถิ อ.ความสวัสดี โหตุ จงมี คพฺภสฺส แก่สัตว์ผู้เกิดแล้วในครรภ์ สจฺเจน ด้วยความสัตย์ เตน นั้น ฯ

๓๔๙. ยคฺเฆ อยฺเย ชาเนยฺยาสิ: สุทินฺโน อนุปฺปตฺโต.

อยฺเย ข้าแต่แม่เจ้า ยคฺเฆ ขอเดชะ ตฺวํ อ. ท่าน ชาเนยฺยาสิ พึงทราบ: สุทินฺโน อ. พระสุทิน อนุปฺปตฺโต ถึงแล้วโดยลำดับ ฯ

๓๕๐. ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว รูปํ อนตฺตา; ตสฺมา รูปํ อาพาธาย สํวตฺตติ.

ภิกฺขเว ดูกรภิกษุ ท. จ ก็ รูปํ อ. รูป อนตฺตา เป็นธรรมชาติมิใช่ตน โหติ ย่อมเป็น ยสฺมา โข เพราะเหตุใดแล; ตสฺมา เพราะเหตุนั้น รูปํ อ. รูป สํวตฺตติ ย่อมเป็นไปพร้อม อาพาธาย เพื่อความเจ็บไข้ ฯ

แปลเป็นมคธ

ข้อ ๓๕๑-ข้อ ๓๖๐

๓๕๑. แน่ะพ่อ ความเจ็บ ของข้าฯ เป็นโรค หนัก, ข้าฯ จักตายเป็นแท้, เมื่อ ข้าฯ ตายแล้ว, เจ้าจงเลี้ยง ซึ่งมารดา ของเจ้า.

มยฺหํ ตาต อาพาโธ ครุโก โหติ, อวสฺสํ มริสฺสามิ, มม มตสฺส, ตว มาตรํ โปเสหิ ฯ

๓๕๒. ดูกรผู้มีอายุ เจ้าจงประกอบ ซึ่งธุระ ท. ๒ ในศาสนา นี้ เจ้า ทำ ตามคำ ของข้าฯ เจ้าจักถึง ซึ่งความเจริญ ในศาสนา นี้.

อิธ สาสเน อาวุโส เทฺว ธุรานิ โยเชหิ, สเจ มม วจนํ กโรสิ อิธ สาสเน วุฑฺฒึ ปาปุณิสฺสสิ ฯ

๓๕๓. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งคำ นี้ อย่างไร?

กถํ ภนฺเต อิมสฺส วจนสฺส อตฺโถ ฯ

๓๕๔. แน่ะนางผู้เจริญ เจ้า ทำ อย่างนี้ เพราะเหตุอะไร?

กสฺมา ตฺวํ ภทฺเท เอวํ กโรสิ ?

๓๕๕. แน่ะภิกษุ ท. ธรรม ท. ๘ นี้ ย่อมเป็นไป ตามซึ่งโลก, อนึ่ง โลก ย่อมเป็นไปตาม ซึ่งธรรม ท. ๘ นี้.

อฏฺฐิเม ภิกฺขเว ธมฺมา โลกํ อนุวตฺตนฺติ, โลโก จ อฏฺฐิเม ธมฺเม อนุวตฺตติ ฯ

๓๕๖. แน่ะแม่ เจ้า ไปแล้ว สู่ตระกูล แห่งผัว จงลุกขึ้นแล้ว แต่เช้า ทำ ซึ่งงาน ของผัว แห่งตน ในวันๆ จงรักษา ซึ่งทรัพย์ อันเขานำมาแล้ว จากอันตราย.

อมฺเม ปติโน กุลํ คนฺตฺวา ปาโต อุฏฺฐาย ทิวเส ทิวเส อตฺตโน ปติโน กมฺมํ กตฺวา เตน อานิตํ อนฺตรายา ธนํ รกฺขาหิ ฯ

๓๕๗. ดูกรสาธุชน ท. บัดนี้ ดิถี ที่ ๘ ถึงพร้อมแล้ว, เพราะเหตุนั้น ท่าน ท. ประชุมกันแล้ว ในที่นี้ เพื่อจะฟัง ซึ่งธรรม ข้าพเจ้า จักกล่าว ซึ่งธรรมนั้น ตามกาล .

อิทานิ สาธโว อฏฺฐมี ติถิ สมฺปตฺตา, ตสฺมา อิธ ตุมฺเห ธมฺมํ โสตุ สนฺนิปติตา, กาเลน ตํ ธมฺมํ ภาสิสฺสามิ ฯ

๓๕๘. แน่ะเพื่อน ช้าง เผือก มาถึงแล้ว, มัน ยืนแล้ว ในโรง ในวัง, พรุ่งนี้ เรา ท. จงไป เพื่อจะดู ซึ่งมัน.

สมฺม สพฺพเสโต หตฺถี อาคโต, โส นิเวสเน สาลายํ ฐิโต, เสฺว ตสฺส ทสฺสนตฺถํ คจฺฉาม ฯ

๓๕๙. แน่ะพนาย พรุ่งนี้ เรา จักให้ ซึ่งทาน, เจ้า จงไปแล้ว สู่วัด นิมนต์ ซึ่งภิกษุ ท. ๕ รูป.

อหํ ภเณ เสฺว ทานํ ทสฺสามิ, อารามํ คนฺตฺวา ปญฺจ ภิกฺขู นิมนฺเตหิ ฯ

๓๖๐. ข้าแต่นาย บัดนี้ ภิกษุ ท. มาแล้ว, เจ้าจงเชิญ เธอ ให้เข้ามา ในเรือน.

อิทานิ สามิ ภิกฺขู อาคตา, เคเห เต อาคจฺฉาเปหิ ฯ

๑๗. มา ศัพท์ ซึ่งแปลว่า อย่า ใช้ได้แต่กับกิริยาที่เป็น

วิภัตติปัญจมี และอัชชัตตนี เท่านั้น ใช้กับกิริยาที่เป็นวิภัตติ

อื่นไม่ได้ ดังนี้: มา มํ ภนฺเต นาเสถ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ขอท่าน ท. จงอย่ายังข้า ฯ ให้ฉิบหาย. มา เอวํ กริ เจ้า

อย่าทำแล้ว อย่างนี้.

๑๘. ในประโยคที่เป็นคำถาม ถ้ามี กึ ศัพท์ หรือศัพท์

ที่เปลี่ยนแปลงมแต่ กึ ศัพท์ เรียงศัพท์นั้นไว้หน้า ถ้าไม่มี

ศัพท์เช่นนั้นไว้หน้า ควรเรียงกิริยาไว้หน้า ปน ไว้ที่ ๒ ต่อ

นั้นมา ประธาน หรือศัพท์ที่เนื่องกับประธาน ดังนี้: กึ ตยา

ปพฺพชิตุํ น วฏฺฏติ อันท่าน บวช ไม่ควรหรือ ? กจฺจิตฺถ
ปริสุทฺธา ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ แลหรือ ? สกฺขสิ ป ตฺวํ คหปติ

เอเกน ปสฺเสน สตฺต มาเส นิปชฺชิตุํ ดูก่อน คฤหบดี

ท่าน อาจ เพื่อจะนอน โดยข้าง อันเดียว ตลอดเดือน ท.

หรือ ? ทียติ ปน คหปติ กุเล ทานํ แน่ะคฤหบดี ก็ ทาน

ในตระกูล อันท่านยังให้อยู่หรือ ?

ข้อ ๓๖๑-ข้อ ๓๗๐

๓๖๑. กติ อตฺถวเส ภควตา ภิกฺขูนํ สิกฺขาปทํ ? ทส.

อ. สิกขาบท ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปญฺญตฺตํ ทรงบัญญัติแล้ว ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุ ท. ปฏิจฺจ เพราะอาศัย อตฺถวเส ซึ่งอำนาจแห่งประโยชน์ ท. กติ เท่าไร? สิกฺขาปทํ อ. สิกขาบท ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปญฺญตฺตํ ทรงบัญญัติแล้ว ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุ ท. ปฏิจฺจ เพราะอาศัย อตฺถวเส ซึ่งอำนาจแห่งประโยชน์ ท. ทส สิบฯ

๓๖๒. อตฺถิ ปนา’ยสฺสมโต โกจิ เวยฺยาวจฺจกโร?

ปน ก็ โกจิ อ. ใครๆ เวยฺยาวจฺจกโร ผู้เป็นไวยาวัจกร อายสฺมโต ของท่านผู้มีอายุ อตฺถิ มีอยู่หรือ?

๓๖๓. มา อายสฺมนฺโต เอวํ อวจุตฺถ.

อายสฺมนฺโต ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ ท. ตุมเห อ. ท่าน ท. อา อวจุตฺถ อย่าได้กล่าวแล้ว เอวํ อย่างนี้ ฯ

๓๖๔. โก นาม เต อุปชฺฌาโย?

อุปชฺฌาโย อ. พระอุปัชฌาย์ เต ของท่าน โก นาม ชื่ออะไร?

๓๖๕. อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต อายสฺมา ติสฺสตฺเถโร นาม.

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อุปชฺฌาโย อ. พระอุปัชฌาย์ เม ของกระผม อายสฺมา ติสฺสตฺเถโร นาม ชื่อติสสเถระ ผู้มีอายุ โหติ ย่อมเป็น ฯ

๓๖๖. สเจ อหํ ตํ คหปติ อโรคํ กเรยฺยํ, กึ เม เทยฺยธมฺโม? สพฺพํ จ เต อาจริย สาปเตยฺยํ โหตุ, อหํ จ เต ทาโสฯ

คหปติ ดูกรคฤหบดี สเจ หากว่า อหํ อ. เรา กเรยฺยํ พึงกระทำ ตํ ซึ่งท่าน อโรคํ ให้เป็นผู้หาโรคมิได้ไซร้, เทยฺยธมฺโม อ. ไทยธรรม กึ อะไร ภวิสฺสติ จักมี แก่เรา? อาจริย ข้าแต่อาจารย์ จ ก็ สาปเตยฺยํ อ. ทรัพย์สมบัติ สพฺพํ ทั้งปวง โหตุ จงมี แก่ท่าน , จ อนึ่ง อหํ อ. เรา ทาโส เป็นทาส เต ของท่าน โหมิ จะเป็นฯ

๓๖๗. มา เม ตฺวํ คหปติ สพฺพํ สาปเตยฺยํ อทาสิ, มา จ เม ทาโส.

คหปติ ดูกรคฤหบดี ตวํ อ. ท่าน มา อทาสิ อย่าได้ให้แล้ว สาปเตยฺยํ ซึ่งทรัพย์สมบัติ สพฺพํ ทั้งปวง เม แก่เรา, จ อนึ่ง ตฺวํ อ.ท่าน ทาโส เป็นทาส เม ของเรา มา โหหิ จงอย่าเป็นฯ

๓๖๘. เอเต โข ภเณ เวชฺชา นาม พหุมายา, มา จ อสฺส กิญฺจิ ปฏิคฺคเหสิ.

ภเณ แน่ะพนาย เวชฺชา ชื่อ อ. หมอ ท. เอเต โข เหล่านั่นแล พหุมายา เป็นคนมีมายามาก โหนฺติ ย่อมเป็น, จ ก็ ตฺวํ อฺ ท่าน มา ปฏิคฺคเหสิ อย่าถือเฉพาะแล้ว(อย่าชื่อถือ) กิญฺจิ วจนํ ซึ่งคำอะไรๆ อสฺส เวชฺสฺส ของหมอนั่นฯ

๓๖๙. ปริปุณฺณํ เต ปตฺตจีวรํ,? อาม ภนฺเต.

ปตฺตจีวรํ อ. บาตรและจีวร เต ของท่าน ปริปุณฺณํ เต็มรอบแล้วหรือ(มีครบแล้วหรือ)? ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม เออ ปตฺตจีวรํ อ. บาตรและจีวร เม ของกระผม ปริปุณฺณํ เต็มรอบแล้ว?

๓๗๐. มา ตํ โลโภ อธมฺโม จ จิรํ ทุกฺขาย รนฺธยุ ฯ

โลโภ จ อ. ความโลภด้วย อธมฺโม จ อ. สภาพมิใช่ธรรมด้วย มา รนฺธยุ อย่าระรานแล้ว ตํ ซึ่งท่าน ทุกฺขาย เพื่อทุกข์ จิรํ สิ้นกาลนานฯ

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๓๗๑-ข้อ ๓๘๐

๒๗๑. แน่ะพ่อ เจ้า จงอย่าเสพ ซึ่งชนพาล ท.

มา ตาต ตฺวํ พาเล เสว ฯ

๒๗๒. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมนี้ ชื่ออะไร? ดูกรผู้มีอายุ ชื่ออาทิตตปริยาย.

โก นาม ภนฺเต อยํ ธมฺโม, อาทิตฺตปริยาโย นาม อาวุโส ฯ

๒๗๓. จำเดิม แต่นี้ เจ้า อย่า มาแล้ว ในที่นี้ อีก.

มา ตฺวํ อิโต ปฏฺฐาย ปุน อิธาคจฺฉิ ฯ.

๓๗๔. ท่านผู้มีอายุ อย่า พากเพียรแล้ว เพื่ออันทำลาย ซึ่งสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกัน.

มา อายสฺมา สมคฺคสฺส สงฺฆสฺส เภทาย ปรกฺกมิ ฯ

๓๗๕. ท่าน จักไป สู่ฝั่ง แห่งแม่น้ำ กับข้าฯ หรือ.

กึ มยา สทฺธึ นทิยา ปารํ คจฺฉิสฺสสิ ฯ

๓๗๖. ท่าน อย่า บอกแล้ว ซึ่งเนื้อความ นั้น แก่ใครๆ.

มา ตฺวํ กสฺสจิ ตมตฺถํ อาจิกขิ ฯ

๓๗๗. แน่ะพ่อ เจ้า อย่า เสพแล้ว ซึ่งสิ่งใช่ประโยชน์

มา ตาต อนตฺถํ เสวิ ฯ

๓๗๘. ท่าน ท. จง อย่า ประกอบตาม ซึ่งความไม่ประมาท.

มา ปมาทํ อนุยุญฺเชถ (มา ปมาทมนุยุญฺเชถ) ฯ

๑๗๙. พระชนม์ ของพระผู้มีพระภาค เท่าไร ?

กติ ภควโต อายุ? อสีติ ฯ

๓๘๐. กิเลส ท. อย่า ยังท่าน ท. ให้เป็นไป ในอำนาจ แห่งตน.

มา กิเลสา อตฺตโน วเส โว วตฺตาเปนฺตุ ฯ
๑๙. ศัพท์ที่เป็นกิริยาวิเสสนะ คือแสดงลักษณะของกิริยา

ที่แปลกจากกิริยาอื่น ใช้ทุติยาวิภัตติ เป็นวิเสสนะของกิริยา

บทใด เรียงไว้หน้ากิริยาบทนั้น หรือหน้าบทอื่น ที่เนื่องด้วย

กิริยาบทนั้น ดังนี้ : ธมฺมจารี สุขํ เสติ คนประพฤติธรรม

นอน เป็นสุข, ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต คมแพ้ (แต่ผู้อื่น)

นอน เป็นทุกข์.

ข้อ ๓๘๑- ข้อ ๓๙๐

๓๘๑. สตฺต โว ภิกฺขเว อปริหานิเย ธมฺเม เทเสสฺสามิ, ตํ สุณาถ สาธุกํ มนสิ กโรถ, ภาสิสฺสามิ.

ภิกฺขเว ดูกรภิกษุ ท. อหํ อ. เรา เทเสสฺสามิ จักแสดง ธมฺเม ซึ่งธรรม ท. อปริหานิเย อันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม(อันไม่เป็นไปเพื่อความเสื่อมรอบ) สตฺต เจ็ด โว แก่เธอ ท., ตุมฺเห อ. เธอ ท. สุณาถ จงฟัง ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น กโรถ จงกระทำ มนสิ ในใจ สาธุกํ ให้ดี, อหํ อ. เรา ภาสิสฺสามิ จักกล่าว ฯ

๓๘๒. เกน นุ โข อุปาเยน สพฺเพ สฺพฺรหฺมจารี ผาสุ วิหเรยฺยยุ .

สพฺรหฺมจารี อ. สพรหมจารีบุคคล ท. สพฺเพ ทั้งปวง วิหเรยฺยยุ พึงอยู่ ผาสุ สบาย อุปาเยน โดยอุบาย เกน นุ โข อะไร หนอแล ฯ

๓๘๓. ทนฺธํ ปุญฺญํ กโรติ ทนฺธํ ทนฺทํ วิปากํ ลภติ.

โย ปุคฺคโล อ. บุคคลใด กโรติ ย่อมกระทำ ปุญฺญํ ซึ่งบาป ทนฺธํ ช้า โส ปุคฺคโล อ. บุคคลนั้น ลภติ ย่อม ได้ ซึ่งผล ทนฺธํ ทนฺธํ ช้าๆ ฯ

๓๙๔. โถกํ อาวุโส เทหิ ฯ

อาวุโส ดูกรทานผู้มีอายุ ตฺวํ อ. ท่าน เทหิ จงให้ โถกํ หน่อยหนึ่ง ฯ

๓๘๕. อคิลาเนน ภิกฺขุนา เอโก อาวสถปิณโฑ ภุญฺชิตพฺโพ, ตโต เจ อุตฺตรึ ภุญเชยฺย, ปาจิตฺติยํ.

อาวสถปิณฺโฑ อ. ก้อนข้าวในโรงทาน เอโก ก้อนหนึ่ง ภิกฺขุนา อันภิกษุ อคิลาเน น ผู้ไม่เป็นไข้ ภุญฺชิตพฺโพ พึงฉัน(สกึ คราวเดียว) , เจ ถ้าว่า โย ภิกฺขุ อ. ภิกษุใด ภุญเชยฺย พึงฉัน อุตฺตรึ ให้ยิ่ง ตโต กว่านั้นไซร้, ปาจิตฺตฺติยํ . อ.วีติกกมะชื่อว่าปาจิตตีย์ สิยา พึงมี ตสฺส ภิกฺขุโน แก่ภิกษุนั้น ฯ

๓๘๖. ปาฏิโมกฺขํ อุทฺทิสิสฺสามิ, ตํ สพฺเพว สนฺตา สาธุกํ สุโณม มนสิ กโรม.

อหํ อ. เรา อุทฺทิสิสฺสามิ จักแสดงขึ้น ปาฏิโมกฺขํ ซึ่งพระปาติโมกข์, มยํ อ. เรา ท. สพฺเพว ทั้งปวงเทียว สนฺตา ผู้สงบแล้ว สุโณม จงฟัง คํ ปาฎิโมกฺขํ ซึ่งพระปาติโมกข์นั้น สาธุกํ ให้ดี กโรม จงกระทำ มนสิ ในใจ ฯ

๓๘๗. ตุริตตุริตํ สีฆสีฆํ กุสลํ กเรยฺย.

ปุคฺคโล อ. บุคคล กเรยฺย พึงกระทำ กุสลํ ซึ่งกุศล ตุริตตุริตํ ด่วนๆ สีฆสีฆํ เร็วๆ ฯ

๓๘๘. อวสฺสํ มยา มริตพฺพํ.

มยา อันเรา มริตพฺพํ พึงตาย อวสฺสํ แน่แท้ ฯ

๓๘๙. อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุยฺหํ ขิปฺป’ เมว สมิชฺฌตุ .

อิจฺฉิตํ อ. ผลอันท่านอยากได้แล้ว ปตฺถิตํ อ. ผลอันท่านปรารถนาแล้ว สมิชฺฌตุ จงสำเร็จ ตุยฺหํ แก่ท่าน ขิปฺปํ เอว พลันนั่นเทียว ฯ

๓๙๐. สจฺจํ อหํ อาจริย ปฏิสฺสุณึ, อปิ อหํ มริสฺสามิ, น อหํ สกฺโกมิ เอเกน ปสฺเสน สตฺต มาเส นิปชฺชิตุ.

อาจริย ข้าแต่ท่านอาจารย์ อหํ อ. เรา ปฏิสฺสุณึ ฟังเฉพาะแล้ว สจฺจํ จริง, อปิ เออก็ อหํ อ. เรา มริสฺสามิ จักตาย, อหํ อ. เรา น สกฺโกมิ ย่อมไม่อาจ นิปชฺชิตุ เพื่ออันนอน มาเส ตลอดเดือน ท. สตฺต เจ็ด ปสฺเสน โดยข้าง เอเกน ข้างหนึ่ง ฯ

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๓๙๑-ข้อ ๔๐๐

๓๙๑. เจ้า จงไป สู่บ้าน ชื่อโน้น แล้ว กลับมา พลัน.

อสุกํ คามํ คนฺตฺวา ขิปฺปํ ปจฺจาคจฺฉาหิ.

๓๙๒. หญิง นั้น พูด จริง, คำ ของเขา อันเรา ต้องทำ.

สา อิตฺถี สจฺจํ วทติ, ตสฺสา วจนํ มยา กาตพฺพํ ฯ

๓๙๓. ภิกษุ ท. ๓ๆ อยู่แล้ว สิ้นฤดูฝน ในเมืองสาเกต ไม่ผาสุก.

ตึส ภิกฺขู สาเกเต วสฺสํ อผาสุกํ วิหรึสุ.

๓๙๔. สมณะ ค่อยๆ ไปอยู่ โดยปกติ จึงงาม.

สมโณ ปกติยา สณิกํ คจฺฉนฺโต โสภติ ฯ

๓๙๕. บุรุษ ผู้มีปัญญา ย่อมรู้ ซึ่งธรรม อันพระผู้มีพระภาค แสดงแล้ว โดยเร็ว.

ปญฺญวา ปุริโส ภควตา เทสิตํ ธมฺมํ ขิปฺปํ ชานาติ.

๓๙๖. นอน หลับ ตลอดวัน ทั้งสิ้น ประเสริฐกว่า, ตรึก ซึ่งวิตก เป็นอกุศล ไม่ประเสริฐเลย.

วรตรํ สกลํ ทิวสํ นิปชฺชิตฺวา นิทฺทายนํ , น วรเมว อกุสลสฺส วิตกฺกนํ ฯ

๓๙๗. ได้ น้อย โดยสุจริต ดีกว่า, ได้ มาก โดยทุจริต ไม่ดีเลย.

สุนฺทรตรํ สุจริเตน อปฺปภลนํ, น สาธุ เอว ทุจฺจริเตน พหุลภนํ ฯ

๓๙๘. ดูกรกุมาร ท. เจ้า ท. จงถือเอา ซึ่งศิลปะ ให้ประโยชน์สำเร็จ.

สาธุกํ กุมารา สิปฺปํ คณฺหถ ฯ

๓๙๙. แน่ะแม่ เจ้า อันชน ท. อื่น ว่า เป็นธรรม อย่า โกรธแล้ว.

มา อมฺม อญฺเญหิ ชเนหิ ธมฺมํ วุตฺตา กุชฺฌิ.

๔๐๐. คน ผู้ประกอบด้วยเมตตา นอนหลับ เป็นสุข ตื่น เป็นสุข.

เมตฺตาย สมนฺนาคโต นโร สุขํ สุปติ สุขํ ปฏิพุชฺฌติ ฯ

๒๐. ถ้าในประโยคอันเดียว มีข้อความซับซ้อนกับหลาย

ข้อ เหมือนเช่นผู้เล่านิทานเล่าเรื่องไป แล้วอ้างคนในนิทานที่ตัว

เล่าว่า คนนั้นพูดอย่างนี้ คนนี้พูดอย่างนั้น ในที่สุดข้อความ

อันหนึ่ง ๆ ต้องลง อิติศัพท์ คั่น ดังนี้.

เอกสฺมึ สมเย ภควา ราชคหโต นิกฺขมิตฺวา ฉ ทิสา

นมสฺสนฺตํ สิคาลกํ มาณวํ ทิสฺวา "กิสฺส ตฺวํ คหปติปุตฺต ทิสา

นมสฺสสี' ติ ปุจฺฉิ. ตํ สุตฺวา สิคาลโก มาณโว "ปิตา เม ภนฺเต

กาลั กโรนฺโต เอวํ อวจ 'ทิสา ตาต นมสฺเสยฺยาสี' ติ, โส อหํ

ปิตุ วจนํ กโรนฺโต ทิสา นมสฺสามี' ติ อาห. อถ นํ ภควา

"น โข คหปติปุตฺต อริยสฺส วินเย เอวํ ทิสา นมสฺสิตพฺพา' ติ วติวา เตน ปุจฺฉิโต คิหิวินยํ กเถสิ.

ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จออกแล้ว จากกรุง

ราชคฤห์ ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ซึ่งสิงคาลมาณพ นอบน้อมอยู่
ซึ่งทิศทั้งหลาย ๖.

จึงตรัสถามแล้ว ว่า "แน่ะบุตรแห่งคฤหบดี ท่านนอบน้อมอยู่

ซึ่งทิศทั้งหลาย เพื่อเหตุอะไร ?"

สิงคาลมาณพ ฟังแล้ว ซึ่งคำนั้น จึงทูลว่า "ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ บิดา ของข้าพระเจ้า เมื่อทำ ซึ่งกาลกิริยา ได้พูดแล้วอย่างนี้

ว่า 'แน่ะพ่อ เจ้า จงนอบน้อม ซึ่งทิศทั้งหลาย' ข้าพระเจ้า นั้น

เมื่อทำ ซึ่งคำ ของบิดา จึงนอบน้อมอยู่ ซึ่งทิศทั้งหลาย."

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้ว กะสิงคาลมาณพนั้น ว่า

"แน่ะบุตรแห่งคฤหบดี ในวินัย ของพระอริยเจ้า ทิศทั้งหลาย อัน

เขา ไม่พึงนอบน้อม อย่างนี้เลย."

พระองค์เป็นผู้อันสิงคาลมาณพนั้น ทูลถามแล้ว ตรัสแล้ว ซึ่ง

วินัยแห่งคฤหัสถ์.

ข้อ ๔๐๑- ข้อ ๔๐๕

๔๐๑. อมฺหากํ สตฺถา มหนฺเตน อุตฺสาเหน เทวมนุสฺเสหิ กตํ สกฺการํ ทิสวา อานนฺทตฺเถรํ อามนฺตฺวา “โย โข อานนฺท ตาทิเสนปิ สกฺกาเรน ตถาคตํ ปูเชติ, น โส ปรมาย ปูชาย ตถาคตํ ปูเชติ นาม, โย จ โข อานนฺท ตถาคเตน ทินฺนํ โอวาทํ กโรติ, โส ปรมาย ปูชาย ตถาคตํ ปูเชติ นามา’ ติ อาห.

สตฺถา อ. พระศาสดา อมฺหากํ ของเรา ท. ทิสฺวา ทอดพระเนตรแล้ว สกฺการํ ซึ่งสักการะ เทวมนุสฺเสหิ กตํ อันๆเทวดาและมนุษย์ ท. กระทำแล้ว อุตฺสาเหน โดยความอุตสาหะ ใหญ่ อามนฺเตตฺวา ตรัสเรียกมาแล้ว โย โข อาทนฺท ฯเปฯ ปูเชติ นาม อิติ ว่า ดังนี้(เลขใน) อานนฺท ดูกรอานท์ โย โข ปุคฺคโล อ. บุคคลใดแล ปูเชติ ย่อมบูชา ตถาคตํ ซึ่งตถาคต สกฺกาเรน ด้วยสักการะ ตาทิเสนปิ แม้เช่นนั้น โส ปุคฺคโล อ. บุคคลนั้น ปูเชติ นาม ชื่อว่าย่อมบูชา ตถาคตํ ซึ่งพระตถาคต ปูชาย ด้วยอันบูชา ปรมาย อย่างยิ่ง น หามิได้, อานนฺท ดูกรอานนท์ จ ส่วนว่า โย โข ปุคฺคโล อ.บุคคลใดแล กโรติ ย่อมกระทำ

โอวาทํ ซึ่งโอวาท ตถาคเตน ทินฺนํ อันๆพระตถาคต ให้แล้ว โส ปุคฺคโล อ. บุคคลนั้น ปูเชติ นาม ชื่อว่าย่อมบูชา ตถาคตํ ซึ่งพระตถาคต ปูชาย ด้วยอันบูชา ปรมาย อย่างยิ่ง ฯ

๔๐๒. อสฺสุตวโต ภิกฺขเว ปุถุชฺชนสฺส อุปฺปชฺชติ ลาโภ, โส น อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ “ อุปปนฺโน โข เม อยํ ลาโภ, โส จ โข อนิจฺโจ ทุกฺโข วิปริณามธมฺโม’ ติ ยถาภูตํ ปชานาติ.

ภิกฺขเว ดูกรภิกษุ ท. ลาโภ อ. ลาภ อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น ปุถุชฺชนสฺส แก่ภิกษุผู้ปุถุชน อสฺสุตวโต ผู้ไม่สดับอยู่, โส ปุถุชฺขโน อ. ภิกษุปุถุชนนั้น น ปฏิสญฺจิกฺขติ ย่อมไม่พิจารณาเห็น อุปฺปนฺโน โข ฯเปฯ วิปริณามธมฺโม อิติ ว่าดังนี้ (เลขใน) ลาโภ อ.ลาภ อยํ นี้ อุปฺปนฺโน โข บังเกิดแล้วแล เม แก่เรา, จ แต่ว่า โส โข ลาโภ อ.ลาภนั้นแล อนิจฺโจ ไม่เที่ยง ทุกฺโข เป็นทุกข์ วิปริณามธมฺโม มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ฯ

๔๐๓. ปาตลิปุตฺตสฺมึ นคเร สุทสฺสโน นาม ราชา “ โย สิปฺปํ น ชานาติ, โส อนฺโธ วิย โหตี’ ติ อิมํ อตฺถํ คเหตฺวา คีตํ คายนฺตสฺส วจนํ สุตวา อตฺตโน ปุตฺเต สิปฺปํ อชานฺนเต ญตฺวา สํวิคฺคมานโส หุตฺวา ราชปณฺฑิเต สนฺนิปาเตตฺวา “ โก เม ปุตฺเต สิปฺปํ สิกฺขาเปตุ สกฺขิสฺสตี’ ติ ปุจฺฉิ. ตํ สุตฺวา อญฺญตโร ราชปณฺฑิโต “ อหนฺเต เทว ปุตฺเต ฉหิ มาเสหิ สิปฺปํ ชานาเปสฺสามี’ ติ อาห. โส ตุสิตฺวา ตสฺส นิยฺยาเทสิ.

ราชา อ. พระราชา สุทสฺสโน นาม ชื่อว่า สุทัสสนะ นคเร ในพระนคร ปาตลิปุตฺตสฺมึ ชื่อว่าปาตลีบุตร สุตฺวา ทรงสดับแล้ว วจนํ ซึ่งคำ ปุคฺคลสฺส ของบุคคล โย สิปฺปํ ฯเปฯ อิติ อิมํ อตฺถํ คเหตฺวา คีตํ คายนฺตสฺส ผู้ถือเอาซึ่งเนื้อความนี้ว่า ดังนี้แล้วขับอยู่ ซึ่งเพลงขับ ญตฺวา ทรงทราบแล้ว ปุตฺเต ซึ่งพระโอรส ท. อตฺตโน ของพระองค์ อชานฺเต ผู้ไม่รู้อยู่ สิปฺปํ ซึ่งศิลปะ สํวิคฺคมานโส เป็นผู้มีพระหฤทัยอันสลดแล้ว หุตฺวา เป็น ราชปณฺฑิเต ยังราชบัณฑิต ท. สนฺนิปาเตตฺวา ให้ประชุมกันแล้ว ปุจฺฉิ ตรัสถามแล้ว โก เม ปุตฺเต ฯเปฯ สกฺขิสฺสติ อิติ ว่าดังนี้(เลขในท่อนบน) โย ปุคฺคโล อ. บุคคลใด น ชานาติ ย่อมไม่รู้ ซึ่งศิลปะ โส ปุคฺคโล อ. บุคคลนั้น อนฺโธ วิย เป็นผู้ราวกะว่าคนตาบอด โหติ ย่อมเป็น(เลขในท่อนสอง) โก อ. ใคร สกฺขิสฺสติ จักอาจ เม ปุตฺเต สิปฺปํ สิกฺขาเปตุ เพื่ออันยังบุตร ท. ของเราให้ศึกษาศิลปะ.ฯ ราชปณฺฑิโต อ. ราชบัณฑิต อญฺญญโร คนใดคนหนึ่ง สุตฺวา ฟังแล้ว ตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น อาห กราบทูลแล้ว อหนฺเต ฯเปฯ ชานาเปสฺสามิ อิติ ว่าดังนี้ เทว ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อหํ อ. ข้าพระองค์ ปุตฺเต ยังพระโอรส ท. เต ของพระองค์ ชานาเปสฺสามิ จักให้ทราบ สิปฺปํ ซึ่งศิลปะ มาเสหิ โดยเดือน ท. หก ฯ โส ราชา อ. พระราชานั้น ตุสิตฺวา ทรงยินดีแล้ว นิยฺยาเทสิ ทรงมอบให้แล้ว ตสฺส ราชปณฑิตสฺส แก่ราชบัณฑิตนั้นฯ

๔๐๔. ภควา อตฺตโน ปรินิพฺพานํ อารพฺภ อานนฺทตฺเถรํ อามนฺเตตฺวา “โย โว อานนฺท มยา เทสิโต ปญฺญตฺโต ธมฺโม จ วินโย จ, โส โว มม อจฺจเยน สตฺถา’ ติ วตฺวา “หนฺท’ทานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว, วยธมฺมา สงฺขารา, อปฺปมาเทน สมฺปาเทถา’ ติ, ภิกฺขูนํ โอวาทํ อทาสิ.

ภควา อ. พระผู้มีพระภาค อารพฺภ ทรงปรารภ ปรินิพฺพานํ ซึ่งการปรินิพพาน อตฺตโน แห่งพระองค์ อามนฺตฺวา ตรัสเรียกมาแล้ว อานนฺทตฺเถรํ ซึ่งพระเถระชื่อว่าอานนท์ วตฺวา ตรัสแล้ว โย โว อานฺท ฯเปฯ อจฺจเยน สตฺถา อิติ ว่าดังนี้ อทาสิ ได้ประทานแล้ว โอวาทํ ซึ่งโอวาท ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุ ท. หนฺททานิ ฯเปฯ สมฺปาเทถา อิติ ว่าดังนี้ (เลขในท่อนบน) อานนฺท ดูกรอานนท์ ธมฺโม จ. อ. พระธรรมด้วย วินโย จ อ. พระวินัยด้วย โย ใด มยา อันเรา เทสิโต แสดงแล้ว ปญฺญตฺโต บัญญํติแล้ว โว แก่เธอ ท. โส ธมฺมวินโย อ. พระธรรมและพระวินัยนั้น สตฺถา จักเป็นครู โว ของเธอ ท. อจฺจเยน โดยกาลล่วงไป มม ของเรา ภวิสฺสติ จักเป็น(เลขในที่ ๒) ภิกฺขเว ดูกร ภิกษุ ท. หนฺท ดังเราตักเตือน อหํ อ. เรา อามนฺตยามิ ย่อมร้องเรียก โว ซึ่งเธอ ท. อิทานิ ในกาลนี้ สงฺขารา อ. สังขาร ท. วยธมฺมา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ตุมเห อ. เธอ ท. สมฺปาเทถ จงยังกาลให้ถึงพร้อม อปฺปมาเทน ด้วยความไม่ประมาท.

๔๐๕. วกฺกลินาม พฺราหฺมโณ อมฺหากํ สตฺถุ รูปสมปตฺตึ ทิสฺวา ทสฺสเนน อติตฺโตเยว”อิมินา อุปาเยน อหํ นิจฺจกาลํ สตฺถารํ ปสฺสิตุ ลภิสฺสามี’ติ จินฺเตตฺวา ปพฺพชิตฺวา สตถุ สนฺติเกเยว วิจริ. สตฺถา ตํ ปวตฺตึ ญตฺวา “กึ เต วกฺกลิ อิมินา ปูติกาเยน, โยปิ วกฺกลิ นิจฺจํ มม สงฺฆาฏิกณฺณํ คเหตฺวา วิจรติ, น โส มํ ปสฺสติ นาม, โย จ โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ, โส มํ ปสฺสติ นามา’ ติ อาห .

พฺราหฺมโณ อ. พราหมณ์ วกฺกลิ ชื่อว่าวักกลิ ทิสฺวา เห็นแล้ว รูปสมฺปตฺตึ ซึ่งรูปสมบัติ สตฺถุ แห่งพระศาสดา อมฺหากํ ของเรา ท. ทสฺสเน อติตฺโตเอว เป็นผู้ไม่อิ่มแล้ว ในเพราะอันเห็นนั่นเทียว หุตฺวา เป็น จินฺเตตฺวา คิดแล้ว อิมินา อุปาเยน ฯปฯ ปสฺสิตุ ลภิสฺสามิ อิติ ว่าดังนี้ ปพฺพชิตฺวา บวชแล้ว วจริ เที่ยวไปแล้ว สตฺถุ สนฺติเก เอว ในสำนักของพระศาสดานั่นเทียว(เลขใน) อห็ อ. เรา ลภิสฺสามิ จักได้ ปสฺสิตุ เพื่ออันเห็น สตฺถารํ ซึ่งพระศาสดา นิจฺจกาลํ ตลอดกาลเป็นนิตย์ อุปาเยน โดยอุบาย อิมินา นี้ฯ สตฺถา อ. พระศาสดา ญตฺวา ทรงทราบแล้ว ปวตฺตึ ซึ่งเรื่องอันเป็นไปทั่ว ตํ นั้น อาห ตรัสแล้ว กึ เต วกฺกลิ ฯเปฯ ปสฺสติ นาม อิติ ว่าดังนี้ (เลขใน) วกฺกลิ ดูกรวักกลิ กึ ปโยชนํ อ. ประโยชน์อะไร ปูติกาเยน ด้วยกายอันเปื่อยเน่า อิมินา นี้ เต แก่เธอ วกฺกลิ ดูกรวักกลิ โย ปิ ปุคฺคโล อ. บุคคลแม้ใด คเหตฺวา จับแล้ว สงฺฆาฏิกณฺณํ ซึ่งมุมแห่งผ้าสังฆาฎิ มม ของเรา วิจริ ย่อมเที่ยวไป นิจฺจํ เป็นนิตย์ โส ปุคฺคโล อ.บุคคลนั้น น ปสฺสติ นาม ชื่อว่าย่อมไม่เห็น มํ ซึ่งเรา วักกลิ ดูกรวักกลิ จ ส่วนว่า โย โข ปุคฺคโล อ. บุคคลใดแล ปสฺสติ ย่อมเห็น ธมฺมํ ซึ่งธรรม โส ปุคฺคโล อ. บุคคลนั้น ปสฺสติ นาม ชื่อว่าเห็น มํ ซึ่งเรา ฯ

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๔๐๖-ข้อ ๔๑๐.

๔๐๖.ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกมาแล้ว ซึ่งภิกษุ ท. ประทานแล้ว ซึ่งโอวาท ว่า “แน่ะภิกษุ ท. ท่าน ท. เป็นผู้รับมฤดก ของเรา โดยธรรม เถิด, จงอย่า เป็นผู้รับมฤดก ของเรา โดยอามิส เลย.”

เอกสฺมึ สมเย ภควา ภิกฺขู อามนฺเตตฺวา “ธมฺเมน ภิกฺขเว มม ทายชฺชา หุตฺวา มา อามิเสเนว มม ทายชฺชา โหถาติ” โอวาทํ อทาสิ ฯ

๔๐๗. ใครๆ ไม่พึงดูหมิ่น ซึ่งบาป อย่างนี้ ว่า “บาป มีประมาณน้อย อันเรา ทำแล้ว, เมื่อไร มัน จักให้ ซึ่งผล แก่เรา.”

โกจิ “อปฺปมตฺตกํ เม ปาปํ กตํ, กทา เม เอตํ วิปจฺจิสฺสตีติ” เอวํ ปาปํ นาวชาเนยฺย ฯ

๔๐๘. วันหนึ่ง อนาถปิณฑิกะ คฤหบดี ไปแล้ว สู่สำนัก แห่งพระศาสดา เป็นผู้ อันท่าน ตรัสถามแล้ว ว่า “แน่ะคฤหบดี ก็ ทาน ในตระกูล อันท่าน ยังให้อยู่หรือ? ทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอรับ ก็แต่ว่า ข้าพระพุทธเจ้า ไม่อาจ เพื่อจะทำ ให้เป็นของประณีต.”

เอกทิวสํ อนาถปิณฺฑิโก สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา เตน “ทียติ ปน เต คหปติ กุเล ทานนฺติ” ปุฏฺโฐ “ อาม ภนฺเต. ปณีตํ ปน กาตุ น สกฺโกมีติ” อาห.

๔๐๙. พระศาสดา เมื่อทรงแสดง แก่เขา ว่า “ ทาน ไม่ ชื่อว่าประณีต ในเพราะไทยธรรม ประณีต” จึงตรัสแล้ว ว่า “แน่ะคฤหบดี เมื่อจิต เป็นของประณีต ทาน ที่ให้แล้ว ชื่อว่า เป็นทาน เศร้าหมอง ไม่มี; เหตุนั้น ท่าน อย่าคิดแล้ว ว่า “ทาน ของเรา เศร้าหมอง.”

สตฺถา ตสฺส “ น ปณีเต เทยฺยธมฺเม ปณีตํ นาม ทานนฺติ” เทนฺโต, “คหปติ จิตฺตสฺมึ ปณีเต สติ, ทินฺนทานํ ลูขํ นาม นตฺถิ, ตสฺมา ลูขํ เม ทานนฺติ” มา จินฺตยีติ อาห ฯ

๔๑๐. คนผู้อยู่ครอง ซึ่งเรือน พึงแบ่ง โภคะ โดยส่วน ท. ๔ , พึงบริโภค ซึ่งส่วน อันหนึ่ง, พึงประกอบ ซึ่งการงาน ด้วยส่วน ท. ๒, พึงเก็บไว้ ซึ่งส่วนที่ ๔ ด้วยคิดว่า “เมื่ออันตราย เกิดขึ้น เรา จักได้บริโภค.”

จตูหิ โกฏฺฐาเสหิ ฆราวาโส โภคํ วิภชิตฺวา, เอกํ ปริภุญฺชิตฺวา, ทวีหิ กมฺมนฺตํ โยเชตฺวา” อนฺตรายสฺส อุปฺปนฺนสฺส ปริโภคํ ลภิสฺสามีติ จตุตฺถํ นิสาเมยฺยฯ
๒๑. นามนามที่ออกจากกิริยา เช่น กรณํ ความทำ

คมนํ ความไป เป็นต้น มีกิริยาข้างหน้าได้ แต่ต้องเป็นกิริยา

ลง ตฺวา ปัจจัย หรือตติยาวิภัตติ ถ้าต้องการกัตตา คือผู้ทำ

ก็มีได้ ดังนี้. ปุญฺญตฺถิกานํ "อยํ โน อตฺโถ' ติ สลฺลกฺเขตฺวา

ปญฺญกรณํ ภาโร ความกำหนดว่า "นี้ประโยชน์ ของเรา ท."

แล้ว ทำ ซึ่งบุญ เป็นธุระ ของชน ผู้มีประโยชน์ ด้วยบุญ ท."

๒๒. ศัพท์กรรมที่เกี่ยวกับนามที่ออกจากกิริยานั้น ใช้ฉัฏฐี-

วิภัตติ แทนทุติยาวิภัตติ ดังนี้: ปุญฺญสฺส กรณํ ความทำซึ่ง

บุญ, อริยสจฺจานํ ทสฺสนํ ความเห็น ซึ่งอริยสัจ ท.

ข้อ ๔๑๑-ข้อ ๔๑๕

๔๑๑. เอโก นวโก ภิกฺขุ อุปชฺฌายํ อุปสงฺกมิตฺวา วนฺทิตฺวา นิสีทิตฺวา “กติ ภนฺเต อิมสฺมึ สาสเน ธุรานีติ” ปุจฺฉิ. “คนถธุรํ วิปสฺสนาธุรนฺติ ทฺว ธุรานิ ภิกฺขู’ ติ. “กตมํ ปน ภนฺเต คนฺถธุรํ, กตมํ วิปสฺสนาธุรนฺ’ ติ. “ติปิฏกํ อุคฺคเหตฺวา ตสฺส ธารณํ คนฺถธุรํ นาม, อตฺตภาเว ขยวยํ ปฏฺฐเปจตฺวา ตีณิ ลกฺขณานิ อาโรเปตฺวา สงฺขารานํ สมฺสสนํ วิปสฺสนาธุรํ นาม ภิกฺขู’ ติ.

ภิกฺขุ อ. ภิกษุ นวโก ผู้ใหม่ เอโก รูปหนึ่ง อุปสงฺกมิตฺวา เข้าไปหาแล้ว อุปชฺฌายํ ซึ่งพระอุปัชฌาย์ วนฺทิตฺวา ไหว้แล้ว นิสีทิตฺวา นั่งแล้ว ปุจฺฉิ ถามแล้ว กติ ภนฺเต อิมสฺมึ สาสเน ธุรานิ อิติ ว่าดังนี้ (เลขใน) ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธุรานิ อ. ธุระ ท. สาสเน ในพระศาสนา อิมสฺมึ นี้ กติ เท่าไร ฯโส อุปชฺฌาโย อ. พระอุปัชฌาย์นั้น อาห กล่าวแล้ว คนฺถธุรํ ฯเปฯ ภิกฺขุ อิติ ว่าดังนี้(เลขใน) ภิกฺขุ ดูกรภิกฺขุ ธุรานิ อ. ธุระ ท. เทฺว สอง อิติ คือ คนฺถธุรํ อ.คันถธุระ วิปสฺสนาธุรํ อ. วิปสฺสนาธุระ ฯโส ภิกฺขุ อ. ภิกษุนั้น ปุจฉิ ถามแล้ว กตมํ ปน ฯเปฯ วิปสฺสนาธุรํ อิติ ว่าดังนี้ (เลขใน) ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ คนฺถธุรํ อ. คันถธุระ กตมํ เป็นไฉน วิปสฺสนาธุรํ อ. วิปัสสนาธุระ กตมํ เป็นไฉน ฯโส อุปชฺฌาโย อ. พระอุปัชฌาย์นั้น อาห กล่าวแล้ว ติปิฏกํ อุคฺคเหตฺวา ฯเปฯ วิปสฺสนาธุรํ นาม ภิกฺขุ อิติ ว่าดังนี้(เลขใน) ภิกฺขุ ดูกรภิกษุ ติปิฏกํ อุคฺคเหตฺวา ตสฺส ติปิฏกสฺส ธารณํ อ. อันเรียนเอา ซึ่งพระไตรปิฎกแล้ว ทรงไว้ ซึ่งพระไตรปิฎกนั้น คันถธุรํ นาม ชื่อว่าคันถธุระ, อตฺตภาเว ขยวยํ ปฏฺฐเปตฺวา ตีณิ ลกฺขณานิ อาโรเปตฺวา สงฺขารานํ สมฺมสนํ อ. อันกำหนดซึ่งความสิ้นไปและความเสื่อมไปในอัตตภาพแล้วยกขึ้นสู่ลักษณะ ท. ๓ แล้วพิจารณาซึ่งสังขาร ท. วิปสฺสนาธุรํ นาม ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ ฯ

๔๑๒. เอวํ ปริตฺตเกน กมฺเมน เอวรูปํ สมฺปตฺตึ ลภิตฺวา อิทานิ มยา ปมชฺชิตุ น วฏฺฏติ.

เอวํ ปริตฺตเกน กมฺเมน เอวรูปํ สมฺปตฺตึ ลภิตฺวา มยา ปมชฺชิตุ อ. อันๆเราได้ซึ่งสมบัติมีอย่างนี้เป็นรูป ด้วยกรรมนิดหน่อยอย่างนี้ แล้วประมาท อิทานิ ในกาลนี้ น วฏฺฏติ ย่อมไม่ควรฯ

๔๑๓. อตฺถิ ภนฺเต ทานํ อทตฺวา สีลํ อสมาทยิตฺวา สจฺจมตฺตํ รกฺขิตฺวา สคฺคสฺส คมนํ?

ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานํ อทตฺวา สีลํ อสมาทยิตฺวา สจฺจมตฺตํ รกฺขิตฺวา สคฺคสฺส คมนํ อ. อันไม่ให้ซึ่งทาน ไม่สมาทานซึ่งศีล รักษา ซึ่งกรรม สักว่าความสัตย์แล้ว ไปสู่สวรรค์ อตฺถิ มีอยู่หรือ?

๔๑๔. ปฐวิยา เอกรชฺเชน สคฺคสฺสส คมเนน วา

สพฺพโลกาธิปจฺเจน โสตาปตฺติผลํ วรํ.

โสตาปตฺติผลํ อ. โสดาปัตติผล วรํ ประเสริฐกว่า ปฐวิยา เอกรชฺเชน วา กว่าความเป็นพระราชาเอกในแผ่นดินหรือ สคฺคสฺส คมเนน วา หรือว่ากว่าความไปสู่สวรรค์ สพฺพโลกาธิปจฺเจน วา หรือว่ากว่าความเป็นอธิบดีในโลกทั้งปวง ฯ

๔๑๕. สพฺปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา

สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ.

เอตํ ติวิธกมฺมํ อ.กรรมมี ๓ อย่างนี้ สพฺพปาปสฺส อกรณํ คือ อ. อันไม่กระทำ ซึ่งบาปทั้งปวง กุสลสฺส อุปสมฺปทา คือ อ. อันยังกุศลให้ถึงพร้อม สจิตฺตปริโยทปนํ อ. อันยังจิตของตนให้ผ่องแผ้ว สาสนํ เป็นคำสั่งสอน พุทฺธานํ ของพระพุทธเจ้า ท. โหติ ย่อมเป็น ฯ

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๔๑๖-ข้อ ๔๒๐

๔๑๖. อันผู้ให้ ซึ่งทาน ชวนแล้ว แม้ซึ่งผู้อื่น ท. ให้ ย่อมควร.

ทานํ เทนฺเตน อญฺเญปิ สมาทเปตฺวา ทาตุํ วฏฺฏติ.

๔๑๗. ความได้ ซึ่งวิทยา ประเสริฐกว่า แต่ความได้ ซึ่งทรัพย์.

วิชฺชาย ลภนํ ธนสฺส ลภนโต วรํ ฯ

๔๑๘. ความลุกขึ้นแล้ว กินแล้ว ซึ่งข้าว นอนหลับ ตลอดวัน ทั้งสิ้น ดีกว่า แต่ความทำ ซึ่งบาป.

ปาปสฺส กรณโต อุฏฺฐาย ภตฺตํ ภุญฺชิตฺวา สกลํ ทิวสํ นิปชฺชิตฺวา นิทฺทายนํ สาธุตรํ ฯ

๔๑๙. อันผู้ทำ ซึ่งบุญ ยังสันดาน ของตน ให้หมดจดแล้ว จึงทำ ย่อมควร.

ปุญฺญกาเรน อตฺตโน สนฺตานํ โสธาเปตฺวา กาตุํ วฏฺฏติ.

๔๒๐.ความเข้าไปเสพแล้ว ซึ่งสัตบุรุษ ฟังแล้ว ซึ่งธรรม ของท่าน ทำในใจแล้ว โดยแยบคาย ประพฤติ ซึ่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ.

สปฺปุริสํ อุปสํเสวิตฺวา ตสฺส ธมฺมํ สุตฺวา โยนิโส มนสิกริตฺวา ธมฺมสฺส จรณํ วุฑฺฒิยา สํวตฺตติ ฯ

อุภัยพากยปริวัตน์ ภาคที่ ๑ จบ

อุภัยพากยปริวัตน์ ภาคที่ ๒

แปลยกศัพท์
๒๓. ประโยคมคธตามสำนวนในชั้นหลัง ๆ มักตัดความ

ที่ซ้ำกับประโยคต้น ๆ ออกเสีย คงไว้แต่คำที่ไม่ซ้ำ และคำที่

ตัดออกแล้วเสียความ ดังนี้. กุโต อาคจฺฉสิ ? เจ้ามาแต่ไหน ?

ชนปทโต ภนฺเต จากบ้านนอก พระผู้เจริญ.

ข้อ ๔๒๑- ข้อ ๔๓๐

๔๒๑. เอโก ภิกฺขุ ญาโณทยาวาสํ คนฺตฺวา ทนฺตมิตฺตํ นาม เถรํ อุปสงฺกมิตฺวา วนฺทิตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิ.

ภิกฺข อ. ภิกษุ เอโก รูปหนึ่ง คนฺตฺวา ไปแล้ว ญาโณทยาวาสํ สู่อาวาสชื่อญาโณทัย อุปสงฺกมิตฺวา เข้าไปหาแล้ว เถรํ ซึ่งพระเถระ ทนฺธมิตฺตํ นาม ชื่อว่าทันธมิตตะ วนฺทิตฺวา ไหว้แล้ว นิสีทิ นั่งแล้ว เอกมนฺเต ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง(ที่สมควรข้างหนึ่ง) ฯ

๔๒๒ อถ นํ เถโร “กุโต อาคโต’สิ อาวุโส’ติ ปุจฺฉิ. สมฺโมหารามโต ภนฺเต’ติ.

อถ ครั้งนั้น เถโร อ. พระเถระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กุโต อาคโตสิ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้ นํ ภิกฺขุ ซึ่งภิกษุนั้น

อาโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ตฺวํ อ. ท่าน อาคโต เป็นผู้มาแล้ว กุโต แต้ที่ไหน อสิ ย่อมเป็น. ฯ

โส ภิกฺขุ อ. ภิกษุนั้น อาห กล่าวแล้ว สมฺโมหารามโต ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อหํ อ.กระผม อาคโต เป็นผู้มาแล้ว สมฺโมหารามโต จากอารามชื่อว่าสัมโมหะ อมฺหิ ย่อมเป็น ฯ

๔๒๓. “กิมตฺถํ อิธา’คจฺฉติ อาวุส’ติ. วสิตุ ภนฺเต’ ติ.

โส เถโร อ. พระเถระนั้น ปุจฺฉิ ถามแล้ว กิมตฺถํ อิธาคจฺฉสิ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ตฺวํ อ. ท่าน อาคจฺฉสิ ย่อมมา อิธ ฐาเน ในที่นี้ กมตฺถํ เพื่อประโยชน์อะไรฯ

โส ภิกฺขุ อ.ภิกษุนั้น อาห กล่าวแล้ว วสิตุ ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อหํ อ. กระผม อาคจฺฉามิ ย่อมมา อิธ ฐาเน ในที่นี้ วสิตุ เพื่ออันอยู่ ฯ

๔๒๔. “กึ ปโยชนํ ปสฺสนฺโต, อิธ วสิตุ อิจฺฉติ อาวุโส’ ติ. “ตตฺถา’ หํ ภนฺเต มหาเถรสฺส กิตฺตึ อสฺโสสึ ‘ มหาเถโร ติปิฏกธโร อตฺตโน สิสฺสานํ วิตฺถาเรน ตํ วาเจสี’ ติ, อถา’ หํ จินเตสึ ‘ มมา’ ปิ อิธ วสโต มหาเถโร วาเจยฺย, เอว’มหํ อุคฺคเหตุ ลภิสฺสามี’ ติ, อิมํ โข อหํ ภนฺเต ปโยชนํ ปสฺสนฺโต อิธ วสิตุ อิจฺฉามี’ติ.

โส เถโร อ. พระเถระนั้น ปุจฺฉิ ถามแล้ว กึ ปโยชนํ ฯเปฯ อิจฺฉติ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ตฺวํ อ. ท่าน ปสฺสนฺโต เห็นอยู่ ปโยชนํ ซึ่งประโยชน์ กึ อะไร อิจฺฉสิ ย่อมปรารถนา วสิตุ เพื่ออันอยู่ อิธ ฐาเน ในที่นี้ฯ

โส ภิกฺขุ อ. ภิกฺษุนั้น อาห กล่าวแล้ว ตตฺถาหํ ภนฺเต ฯเปฯ วสิตุ อิจฺฉามี อิติ ว่าดังนี้

(เลขใน) ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อหํ อ. กระผม อสฺโสสึ ได้ฟังแล้ว กิตฺตึ ซึ่งกิตติศัพท์ มหาเถรสฺส ของพระมหาเถระ ตตฺถ ฐาเน ในที่นั้น มหาเถโร ฯเปฯ วาเจสิ อิติ ว่าดังนี้ อถ ภาเว ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น สนฺเต มีอยู่ อหํ อ. กระผม จินเตสึ คิดแล้ว มมาปิ อิธ ฯเปฯ อุคฺคเหตุ ลภิสฺสามิ อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อ.กระผม ปสฺสนฺโต เห็นอยู่ ปโยขนํ ซึ่งประโยชน์ อิมํ โข นี้แล อิจฺฉามิ ย่อมปรารถนา วสิตุ เพื่ออันอยู่ อิธ ฐาเน ในที่นี้ ฯ

(เลขในท่อนที่ ๑) มหาเถโร อ. พระมหาเถระ ติปิฏกธโร ผู้ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎก วาเจสิ บอกแล้ว ตํ ติปิฏกํ ซึ่งพระไตรปิฎกนั้น สิสฺสานํ แก่ศิษย์ ท. อตฺตโน ของตน วิตฺถาเรน โดยพิสดาร

(เลขในท่อนที่ ๒) มมาปิ แม้เมื่อเรา วสโต อยู่ๆ อิธ ฐาเน ในที่นี้ มหาเถโร อ. พระมหาเถระ วาเจยฺย พึงบอก, เอวํ ภาเว ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนี้ สนฺเต มีอยู่ , อหํ อ. กระผม ลภิสฺสามิ จักได้ อุคฺคเหตุ เพื่ออันเรียน ฯ

๔๒๕. “โก นาม ตฺวํ อาวุโส’ ติ. “วิธุโร ภนฺเต’ ติ.

โส เถโร อ. พระเถระนั้น ปุจฺฉิ ถามแล้ว โก นาม ตฺวํ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ตฺวํ อ. ท่าน โก นาม ชื่ออะไร อสิ ย่อมเป็น ฯ

โส ภิกฺขุ อ. ภิกษุนั้น อาห กล่าวแล้ว วิธุโร ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อหํ อ. กระผม วิธุโร นาม ชื่อว่าวิธุระ อมฺหิ ย่อมเป็น ฯ

๔๒๖. “กติวสฺโส’ สิ ตฺวํ วิธุรา’ติ. “ปญจวสฺโส’ หํ ภนฺเต’ ติ.

โส เถโร อ. พระเถระนั้น ปุจฺฉิ ถามแล้ว กติวสฺโสสิ ตฺวํ วิธุร อิติ ว่าดังนี้

วิธุระ ดูก่อนวิธุระ ตฺวํ อ. ท่าน กติวสฺโส เป็นผู้มีพรรษาเท่าไร อสิ ย่อมเป็น ฯ

โส วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระนั้น อาห กล่าวแล้ว ปญฺจวสฺโสมฺหิ ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อหํ อ.กระผม ปญฺจวสฺโส เป็นผู้มีภรรษา ๕ อมฺหิ ย่อมเป็นฯ

๔๒๗. โก นาม เต อุปชฺฌาโย’ ติ, “มิตฺตทูโร นาม เถโร ภนฺเต’ติ.

โส เถโร อ. พระเถระนั้น ปุจฺฉิ ถามแล้ว โก นาม เต อุปชฺฌาโย อิติ ว่าดังนี้

อุปชฺฌาโย อ. พระอุปัชฌาย์ เต ของท่าน โก นาม ชื่ออะไร โหติ ย่อมเป็น?

โส วิธุโร อ.ภิกษุชื่อว่าวิธุระนั้น อาห กล่าวแล้ว มิตฺตทูโร นาม เถโร ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เถโร อ. พระเถระ มิตฺตทูโร นาม ชื่อว่ามิตตทูระ อุปัชฌาโย เป็นพระอุปัชฌาย์ เม ของกระผม โหติ ย่อมเป็น ฯ

๔๒๘. “สุทฺธิปณฺณํ เต อานีตนฺติ. “อาม ภนฺเต’ ติ.

โส เถโร อ. พระเถรนั้น ปุจฺฉิ ถามแล้ว สุทฺธิปณฺณํ เต อานีตํ อิติ ว่าดังนี้

สุทฺธิปณฺณํ อ. หนังสือสุทธิ เต อันท่าน อานีตํ นำมาแล้วหรือ ฯ

โส วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระนั้น อาห กล่าวแล้ว อาม ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ช้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ขอรับ สุทฺธิปณฺณํ อ. หนังสือสุทฺธิ เม อันกระผม อานีตํ นำมาแล้ว ฯ

๔๒๙. “เตนหิ ตํ อาหรา’ ติ. โส ตสฺส สุทฺธิปณฺณํ ทสฺเสสิ.

โส เถโร อ. พระเถระนั้น อาห กล่าวแล้ว เตนหิ ตํ อาหร อิติ ว่าดังนี้

เตนหิ ถ้าเช่นนั้น ตฺวํ อ. ท่าน อาหร จงนำมา ตํ สุทฺธิปณฺณํ ซึ่งหนังสือสุทธินั้นฯ

โส วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระนั้น ทสฺเสสิ แสดงแล้ว สุทฺธิปณฺณํ ซึ่งหนังสือสุทธิ ตสฺส เถรสฺส แก่พระเถระนั้นฯ

๔๓๐. เถโร ตํ โอโลเกตฺวา “เตนหิ ยถาสุขํ วสาหิ วิธุรา’ ติ อาห.

เถโร อ. พราะเถระ โอโลเกตฺวา ตรวจดูแล้ว ตํ สุทฺธิปณฺณํ ซึ่งหนังสือสุทธินั้น อาห กล่าวแล้ว เตนหิ ฯเปฯ วิธุร อิติ ว่าดังนี้

วิธุร ดูก่อนท่านวิธุระ เตนหิ ถ้าเช่นนั้น ตฺวํ อ. ท่าน วสาหิ จงอยู่ ยถาสุขํ ตามความสุขอย่างไร ฯ

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๔๓๑-ข้อ ๔๔๐

๔๓๑.ลำดับนั้น พระเถระ สั่งแล้ว ซึ่งภิกษุหนุ่ม รูปหนึ่ง ว่า “ เจ้าจงไป, จงบอก แก่สุหทะ ว่า ท่าน จงปูลาดแล้ว ซึ่งเสนาสนะ อันหนึ่ง แสดง (ให้) แก่ภิกษุ ผู้มาใหม่.”

อถ เถโร เอกํ ทหรภิกฺขุ “คจฺฉ, สุหทสฺส, เอกํ เสนาสนํ ปญฺญาเปตฺวา อาคนฺตุกสฺส ภิกฺขุโน ทสฺเสหีติ, อาโตเจหีติ อาณาเปสิ ฯ

๔๓๒. ภิกษุ นั้น รับแล้ว ซึ่งคำ แห่งพระเถระ นั้น ว่า “อย่างนี้ ท่านผู้เจริญ” ไปแล้ว บอกแล้ว แก่สุหทภิกษุ.

โส ตสฺส วจนํ “เอวํ ภนฺเตติ สมฺปฏิจฺฉิตฺวา คนฺตฺวา สุหทภิกฺขุโน อาโรเจสิ ฯ

๔๓๓. สุหทภิกษุ นั้น ปูลาดแล้ว ซึ่งเสนาสนะ มาแล้ว สู่สำนัก แห่งพระเถระ บอกแล้ว แก่ท่านว่า “เสนาสนะ อันข้าฯ ปูลาดแล้ว ครั้นเมื่อคำว่า”ถ้าอย่างนั้น เจ้า จงนำไปแล้ว ซึ่งภิกษุ นี้ แสดง(ให้) ซึ่งเสนาสนะ” อันพระเถระ พูดแล้ว ได้ทำแล้ว อย่างนั้น.

โส สุหทภิกฺขุ เสนาสนํ ปญฺญาเปตฺวา เถรสฺส สนฺติกํ อาคนฺตฺวา ตสฺส “มยา เสนาสนํ ปญฺญตฺตนฺติ อาโรเจตฺวา เตนหิ เอตํ ภิกฺขุ เนตฺวา เสนาสนํ ทสฺเสหีติ วุตฺเต เอวมกาสิ ฯ

๔๓๔. วิธุรภิกฺขุ ถามแล้ว ซึ่งสุหทภิกษุ ว่า “ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กติกา ในวัดนี้ มี(หรือ). “มี ท่านผู้มีอายุ.”

วิธุรภิกฺขุ สุหทภิกฺขุ” อตฺถิ อิมสฺมึ อาวาเส กติกา ภนฺเตติ ปุจฺฉิฯ “อตฺถิ อาวุโสติ ฯ

๔๓๕. “กติกา อะไร ท่านผู้มีอายุ? “ “ ครั้นเมื่อระฆัง ตีแล้ว ภิกษุ ท. ประชุมกันแล้ว นมัสการ ซึ่งพระรัตนตรัย ในพระวิหาร ในเช้าด้วย ในเย็นด้วย. ภิกษุ ท. ด้วย สามเณร ท. ด้วย ไปแล้ว สู่ที่บำรุง แห่งพระเถระ ฟัง ซึ่งโอวาท อันท่านให้แล้ว. ครั้นเมื่อวันธัมมัสสวนะ ถึงพร้อมแล้ว, คฤหัสถ์และบรรพชิต ท. ประชุมกันแล้ว ในโรงธรรม. ภิกษุ รูปหนึ่ง แสดง ซึ่งธรรม, ชนอันเหลือ ฟัง ซึ่งธรรมนั้น, ครั้นเมื่อวันอุโบสถ ถึงพร้อมแล้ว, ภิกษุ ท. ทั้งหมด ย่อมทำ ซึ่งอุโบสถ ครั้นเมื่อดิถีปวารณา ถึงพร้อมแล้ว, ย่อมทำ ซึ่งปวารณา. กติกา มีอย่านี้เป็นต้น.”

กา กติกา อาวุโสติ ฯ คณฺฑิยา ปหตาย, ภิกฺขู สนฺนิปติตฺวา ปุพพณฺเห เจว สายณฺเห จ วิหาเร รตนตฺตยํ นมสฺสนฺติ, ภิกฺขู เจว สามเณรา จ เถรสฺส อุปฏฺฐานํ คนฺตฺวา เตน ทินฺนํ โอวาทํ สุณนฺติ, ธมฺมสฺสวนทิวเส สมฺปตฺเต, คิหิปพฺพชิตา ธมฺมสาลายํ สนฺนิปตึสุ, เอโก ภิกฺขุ ธมฺมํ เทเสติ, อวเสสชโน ตํ สุณาติ, อุโปสถทิวเส สมฺปตฺเต, สพฺเพ ภิกฺขู อุโปสถํ กโรนฺติ, ปวารณาย สมฺปตฺตาย, ปวารณํ กโรนฺตีติ เอวมาทิกา กติกา อาวุโสติ ฯ

๔๓๖. ในเย็น วิธุรภิกษุ ไปแล้ว สู่สำนัก แห่งพระเถระ ขอแล้ว ซึ่งนิสสัย. พระเถระ ได้ให้แล้ว.

สายํ วิธุรภิกฺขุ เถรสฺส สนฺติกํ คนฺตฺวา นิสฺสยํ ยาจิ ฯ เถโร อทาสิฯ

๔๓๗. จำเติม แต่กาลนั้น วิธุรภิกษุ ได้ทำแล้ว ซึ่งอาจริยวัตร มีให้น้ำบ้วนปากเป็นต้น แก่พระเถระ.

ตโต ปฏฺฐาย วิธุรภิกฺขุ เถรสฺส มุโขทกทานิกํ อาจริยวตฺตมกาสิ ฯ

๔๓๘. พระเถระ ยังความการุญ ให้เกิด ในเธอ.

เถโร ตสฺมึ การุญฺญํ อุปฺปาเทสิ ฯ

๔๓๙. เธอ เป็นที่รัก แม้แห่งภิกษุ ท. อื่น.

โส อญฺเญสํ ภิกฺขูนมฺปิ ปิโย โหติ ฯ

๔๔๐. เธอ เรียนอยู่ ซึ่งธรรมด้วย ซึ่งวินัยด้วย ในสำนัก แห่งพระเถระ ทุกวันๆ.

โส เทวสิกํ เถรสฺส สนฺติเก ธมฺมญฺจ วินยญฺจ อุคฺคณฺหาติ ฯ

หมายเหตุ ต้องกราบขออภัยเป็นอย่างสูงที่ไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์เขียนภาษาบาลี คำว่า อุง หุง เป็นต้นได้ เนื่องจากกระผมมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการใช้คอมฯที่ค่อนข้างต่ำ แม้ว่าจะได้พยายามใช้โปรแกรม E-pitaka ของท่านพระคึกฤทธิ์แห่งวัดนาป่าพงมาช่วยแล้ว แต่เมื่อโพสต์ลง ณ facebook ปรากฏว่า ตัว อุง เช่น ขุง ตุง เป็นต้น ก็หายไปอยู่ดี

หมายเหตุทับหมายเหตุ เขียนแก้ได้แล้ว ตามคำแนะนำของท่าน นาวาเอก(พิเศษ)ทองย้อยแสงสินชัย

ทั้งนี้ให้เอาคำที่พิมพ์ไม่ได้ใน Microsoft Word มาพิมพ์ในหน้า facebook เช่น ภิกฺขุํ อาสุํ จะเห็นว่าเขียนได้
๒๔. คำของผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่ แม้คนเดียว ต้องใช้มัธยม-

บุรุษ พหุวจนะ.

ข้อ ๔๔๑- ข้อ ๔๖๐

๔๔๑. เอกทิวสํ วิธุโร ภิกฺขุ เถรํ อุปสงฺกมิตฺวา “กสฺส ปุตฺโต ภนฺเต อมฺหากํ สตฺถา’ ติ ปุจฉิ. “กปิลวตฺถสฺมึ สุทฺโธทนมหาราชสฺส อาวุโส ‘ติ.

เอกทิวสํ ในวันหนึ่ง ภิกฺขุ อ. ภิกษุ วิธุโร ชื่อว่าวิธุระ อุปสงฺกมิตฺวา เข้าไปหาแล้ว เถรํ ซึ่งพระเถระ ปุจฉิ ถามแล้ว กสฺส ปุตฺโต อมฺหากํ สตฺถา อิติ ว่าดังนี้ ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สตฺถา อ. พระศาสดา อมฺหากํ ของเรา ท. ปุตฺโต เป็นพระโอรส กสฺส ของใคร โหติ ย่อมเป็น ฯ เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว กปิลวตฺถุสฺมึ สุทฺโธทนมหาราชสฺส อาวุโส อิติ ว่าดังนี้ อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สตฺถา อ. พระศาสดา อมฺหากํ ของเรา ท. ปุตฺโต เป็นพระโอรส สุทฺโธทนมหาราชสฺส ของพระมหาราชพระนามว่า สุทโธทนะ กปิลวตฺถุสมึ ในพระนครกบิลพัสดุ์ โหติ ย่อมเป็น ฯ

๔๔๒. “กา ตสฺส มาตา ภนฺเต’ ติ. “มายา เทวี อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กา ตสฺส มาตา ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กา อ. ใคร มาตา เป็นพระมารดา ตสฺส สตฺถุโน ของพระศาสดานั้น โหติ ย่อมเป็น ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว มายา เทวี อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เทวี อ. พระเทวี มายา พระนามว่ามายา มาตา เป็นพระมารดา ตสฺส สตฺถุโน ของพระศาสดานั้น โหตุ ย่อมเป็น ฯ

๔๔๓. “กตรสฺมึ วสฺเส โส ชาโต ภนฺเต’ ติ. “อิโต ปุพฺเพ ปณฺณรสวสฺสปญฺจสตาธิกาสุ ทวีสุ วสฺสสหสฺเสสุ อาวุโส’ ติ. “กตมิยํ ภนฺเต ติถิยนฺ’ ติ. “วิสาขปุณฺณมีทิวเส อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว กตรสฺมึ ฯเปฯ ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส สตฺถา อ. พระศาสดานั้น ชาโต ประสูติแล้ว วสฺเส ในปี กตรสฺมึ ไหน ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว อิโต ปุพฺเพ ฯเปฯ วสฺสสหสฺเสสุ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส สตฺถา อ. พระศาสดานั้น ชาโต ประสูติแล้ว วสฺสสหสฺเสสุ ในพันแห่งปี ท. ทฺวีสุ สอง ปณฺณรสวสฺสปญฺจสตาธิเกสุ อันยิ่งด้วยร้อยห้าสิบแห่งปีสิบห้า ปุพฺเพ ในก่อน อิโต กาลกโต แต่กาลนี้ ฯ

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กตมิยํ ภนฺเต ติถิยํ อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส สตฺถา อ. พระศาสดานั้น ชาโต ประสูติแล้ว ติถิยํ ในดิถี กตมิยํ ไหน ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว วิสาขปุณฺณมีทิวเส อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส สตฺถา อ.พระศาสดานั้น ชาโต ประสูติแล้ว วิสาขปุณฺณมีทิวเส ในวันคือดิถีมีพระจันทร์อันเต็มแล้วด้วยฤกษ์ชื่อว่าวิสาขะ ฯ

๔๔๔. “กตฺถ ภนฺเต’ ติ. กปิลวตฺถุสส จ เทวทหสฺส จ อนฺตรา ลุมฺพินีวเน อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว กตฺถ ภนเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สตฺถา อ. พระศาสดา ชาโต ประสูติแล้ว กตฺถ ฐาเน ในที่ไหนฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว กปิลวตฺถสฺส ฯเปฯ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สตฺถา อ. พระศาสดา ชาโต ประสูติแล้ว ลุมฺพินีวเน ในป่าลุมพินี อนฺตรา ในระหว่าง กปิลวตฺถุสฺส จ แห่งพระนครกบิลพัสดุ์ด้วย เทวทหสฺส จ แห่งพระนครเทวทหะด้วย ฯ

๔๔๕. “กสฺมา ปน ภนฺเต เทวี อตฺตโน นิเวสเน น วิชายิ? ตํ เม การณํ ทสฺเสถา’ ติ. “สา อาวุโส เทวี ปริปกฺกคพฺภา อตฺตโน นิวาสนฏฺฐานภูตํ เทวทหํ คนฺตุกามา, ราชานํ อาปุจฺฉิตฺวา ปริวาเรน คจฺฉนฺตี, ลุมพินิวนํ ปตฺวา , ตตฺถ กีฬิตุกามา ปาวิสิ, ตสฺสา กมฺมชวาตา จลึสุ, สา ตตฺถ วิชายี’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกฺษุชื่อวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว กสฺมา ฯเปฯ ทสฺเสถ อิติ ว่าดังนี้

(เลขใน) ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ เทวี อ. พระเทวี น วิยาชิ ไม่มีพระประสูติกาล(คลอด)แล้ว นิเวสเน ในนิเวสน์ อตฺตโน ของพระองค์ กสฺมา เพราะเหตุไร ตุมฺเห อ. ท่าน ทสฺเสถ ขอจงแสดง การณํ ซึ่งเหตุ ตํ นั้น เม แก่กระผม ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว สา อาวุโส ฯเปฯ ตตฺถ วิชายิ อิติ ว่าดังนี้

(เลขใน) อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมวี อ. พระเทวี สา นั้น ปริปกฺกคพฺภา ผู้มีครรภ์แก่รอบแล้ว อตฺตโน นิวาสนฏฺฐานํ เทวทหํ คนฺตุกามา ผู้ใคร่เพื่ออันไปสู่เมืองเทวทหะ อันเป็นสถานที่อยุ่อาศัยของพระองค์เป็นแล้ว อาปุจฉิตวา ทูลลาแล้ว ราชานํ ซึ่งพระราชา อาคจฺฉนฺตี ไปอยู่ ปริวาเรน ด้วยบริวาร ปตฺวา ถึงแล้ว ลุมฺพินิวนํ ซึ่งป่าลุมพินี ตตฺถ กีฬิตุกามา เป็นผู้ใคร่เพื่ออันเล่นในป่าลุมพินีนั้น หุตฺวา เป็น ปาวิสิ เสด็จเข้าไปแล้ว กมฺมชวาตา อ. ลมเกิดแล้วแต่กรรม ท. ตสฺสา เทวิยา แห่งพระนางเทวีนั้น จลึสุ ปั่นป่วนแล้ว สา เทวี อ. พระนางเทวีนั้น วิชายิ คลอด(มีพระประสูติกาล)แล้ว ตตฺถ ลุมพินิวเน ในป่าลุมพินีนั้น ฯ

๔๔๖. “ตสฺส ทารกกาเล กึ นามํ กรึสุ ภนฺเต’ ติ. “สิทฺธตฺโถ’ ติ นามํ อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว ตสฺส ฯเปฯ ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ญาตกา อ. พระญาต ท. กรึสุ กระทำแล้ว กึ วจนํ ซึ่งคำอะไร นามํ ให้เป็นชื่อ ตสฺส สตฺถุโน แห่งพระศาสดานั้น ทารกกาเล ในกาลแห่งพระองค์เป็นเด็ก ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว สิทฺธตฺโถ ฯเปฯ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ญาตกา อ.พระญาติทั้งหลาย กรึสุ กระทำแล้ว วจนํ ซึ่งคำ สิทฺธตฺโถ อิติ ว่า อ. สิทธัตถะ ดังนี้ นามํ ให้เป็นชื่อ ตสฺส สตฺถุโน แห่งพระศาสดานั้น ทารกกาเล ในกาลแห่งพระองค์เป็นเด็ก ฯ

๔๔๗. “กติวสฺสานิ โส คิหิภาเว ฐิโต ภนฺเต’ ติ ฯ “เอกูนตึส อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกฺษุ ชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กติวสฺสานิ ฯเปฯ ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส สิทฺธตฺโถ อ. พระสิทธัตถะกุมาร ฐิโต ดำรงอยู่แล้ว คิหิภาเว ในความเป็นคฤหัสถ์ กติวสฺสานิ สิ้นปีเท่าไร ท.ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว เอกูนตึส อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส สิทฺธตฺโถ อ. พระสิทธัตถะกุมารนั้น ฐิโต ดำรงอยู่แล้ว คิหิภาเว ในความเป็นแห่งคฤหัสถ์ วสฺสานิ สิ้นปี ท. เอกูนตึส สามมิบหย่อนหนึ่งฯ

๔๔๘. “กึ นุ โข โส ภนฺเต ฆราวาสํ อชฺฌาวสนฺโต ทารภรณํ กโรติ อุทาหุ โน’ ติ. “กโรติ อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว กึ นุ โข ฯปฯ อุทาหุ โน อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส สิทธตฺโถ อ. พระสิทธัตถะกุมารนั้น อชฺฌาวสนฺโต เมื่ออยู่ครอบครอง ฆราวาสํ ซึ่งฆราวาส กโรติ ย่อมกระทำ ทารภรณํ ซึ่งการเลี้ยวดูภรรยา กึ นุ โข หรือหนอแล อุทาหุ หรือว่า โส สิทธัตถะ อ. พระสิทธัตถะกุมารนั้น น กโรติ ย่อมไม่กระทำ ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว กโรติ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส สิทฺธตฺโถ อ. พระสิทธัตถะกุมารนั้น กโรติ ย่อมกระทำ ฯ

๔๔๙. “กา ตสฺส เทวี ภนฺเต’ ติ. “ยโสธรา นาม อาวุโส สุปฺปพุทฺธสฺส โกลิยสฺส ธีตา’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กา ฯเปฯ ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เทวี อ. พระเทวี ตสฺส สิทฺธตฺถสฺส ของพระสิทธัตถะกุมารนั้น กา ชื่ออะไรฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว ยโสธรา นาม ฯเปฯ ธีตา อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เทวี อ. พระเทวี ตสฺส สิทฺธตฺถสฺส ของพระสิตธัตถะกุมารนั้น ยโสธรา นาม ชื่อว่า พระนางยโสธรา ธีตา เป็นพระธิดา โกลิยสฺส ของพระเจ้าโกลิยะ สุปฺปพุทฺธสฺส พระนามว่า สุปปพุทธะ โหติ ย่อมเป็น ฯ

๔๕๐. “อตฺถิ ปน ภนฺเต ตสฺส ปุตฺโต’ ติ. “อามาวุโส’ ติ. “โก นาม โส ภนฺเต’ ติ. “ราหุโล นามาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว อตฺถิ ฯเปฯ ปุตฺโต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ ปุตฺโต อ. พระโอรส ตสฺส สิทฺธตฺถสฺส ของพระสิทธัตถะกุมารนั้น อตฺถิ มีอยู่หรือ ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว อามาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อาม เออ ปุตฺโต อ. พระโอรส ตสฺฺส สิทฺธตฺถสฺส ของพระสิทธัตถะกุมารนั้น อตฺถิ มีอยู่ ฯ

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว โก นาม โส ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส ปุตฺโต อ. พระโอรสนั้น โก นาม ชื่ออะไร ฯ

เถโร อง พระเถระ อาห กล่าวแล้ว ราหุโล นามาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส ปุตฺโต อ. พระโอรสนั้น ราหุโล นาม พระนามว่าราหุล ฯ
๒๕. อาลปนะในภาษามคธ ในเวลาพูดกัน มักใช้ชุกชุม

กว่าภาษาไทย ประโยคใดในภาษาไทย ไม่มีอาลปนะ ถ้าแปล

เป็นมคธ ต้องลงอาลปนะในที่ควรลง.

ข้อ ๔๕๑-ข้อ ๔๖๐

๔๕๑. พระองค์ ปรารภ ซึ่งอะไร (จึง) ละเสียแล้ว ซึ่งสมบัติ ผนวชแล้ว? ซึ่งชราพยาธิมรณะ ท.

โส กึ อารพฺภ สมฺปตฺตึ ปหาย ปพฺพชิ ภนฺเตติ ฯ ชราพฺยาธิมรณานิ อาวุโสติ ฯ

๔๕๒. ปรารภอย่างไร? ปรารภอย่างนี้ว่า “ชน ท. ทั้งปวง มีชราพยาธิมรณะเป็นธรรม(แต่) เกลียด ซึ่งมัน ท. ประมาทอยู่ ข้อนั้น ไม่สมควร แก่เรา, ควร อันเรา แสวงหา ซึ่งอุบายเครื่องพ้น จากมัน ท.

กถํ อารพฺภ ภนฺเตติ ฯ ชราพฺยาธิมรณธมฺมา สพฺเพ ชนา เต ชิคุจฺฉิตฺวา ปมชฺชนฺติ, เอตํ เม น วฏฺฏติ, เตหิ เม โมกฺขาปายํ คเวสิตุ(ตุง) วฏฺฏตีติ เอวํ อารพฺภ อาวุโสติ ฯ

๔๕๓. เพราะเหตุไร ท่าน ไม่เป็นคฤหัสถ์ แสวงหา? ท่านไม่อาจ เพราะอะไร(จึง) ไม่อาจ? เพราะความที่แห่งฆราวาส เป็นที่ตั้งแห่งความเมา.

กสฺมา โส อคิหิภูโต หุตฺวา คเวสติ ภนฺเตติ ฯ น โส สกฺโกติ อาวุโสติ ฯ กสฺมา โส น สกฺโกติ ภนฺเตติ ฯ ฆราวาสสฺส มทฏฺฐานตฺตาย อาวุโสติ ฯ

๔๕๔. จำเดิมแต่กาลแห่งพระองค์ผนวชแล้ว ครั้นเมื่อกาล เท่าไร ล่วงแล้ว พระองค์ ตรัสรู้แล้ว ซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ? ครั้นเมื่อปี ท. ๖ ล่วงแล้ว.

ปพฺพชิตกาลโต ปฏฺฐาย โส, กสฺมึ กาเล อติกฺกนฺเต อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ พุชฺฌิ ภนฺเตติฯ ฉสุ วสฺเสสุ อติกฺกนฺเตสุ อาวุโสติ ฯ

๔๕๕. ในระหว่างนี้ พระองค์ ได้ทำแล้ว ซึ่งอะไร ? ขอท่าน ท. จงสำแดง แก่ ข้า ฯ พระองค์ ตั้งแล้ว ซึ่งความเพียร.

โส ภนฺเต อิมสฺมึ กาเล กิมกาสิ มม ทสฺเสถาติ ฯ โส ปธานํ ฐเปสิ อาวุโสติ ฯ

๔๕๖. พระองค์ ตรัสรู้แล้ว ในดิถี อะไร ? ในวิสาขปุณณมี.

โส กตมิยํ ติถิยํ พุชฺฌิ ภนฺเตติ ฯ วิสาขปุณฺณมิยํ อาวุโสติ ฯ

๔๕๗. ในที่ไหน ? ที่โคนแห่งไม้อัสสัตถะ ใกล้ฝั่งแห่งแม่น้ำเนรัญชรา.

กตฺถ ภนฺเตติ ฯ เนรญฺชราย นทิยา ตีเร อสฺสตฺถรุกฺขมูเล อาวุโสติ ฯ

๕๕๘. พระองค์ ตรัสรู้แล้ว ทรงทำแล้ว ซึ่งอะไร อื่นอีก ? พระองค์ เที่ยวไป ในประเทศ ท. นั้นๆ แสดงแล้ว ซึ่งธรรม แก่ชน ท. อนุญาตแล้ว ซึ่งอุปสมบท แก่เขา ท. ผู้ขออยู่ ให้แล้ว ซึ่งโอวาท แก่คฤหัสถ์ ท. ประดิษฐานแล้ว ซึ่งพระศาสนา.

โส ภนฺเต พุชฌิตฺวา อปรํ กิมกาสีติ ฯ โส อาวุโส เตสุ ปเทสุ วิจริตฺวา ชนานํ ธมฺมํ เทเสตฺวา ยาจนฺตานํ เตสํ อุปสมฺปทํ อนุชานิตฺวา คหฏฺฐานํ โอวาทํ ทตฺวา สาสนํ ปติฏฺฐาสีติฯ

๔๕๙. พระองค์ ทรงแสดงแล้ว ซึ่งธรรม แก่ใคร ก่อน, ใคร เป็นสาวก ที่ต้น ของพระองค์? พระองค์ แสดงแล้ว ซึ่งธรรม แก่ภิกษุ ท. ๕, มีพระโกณฑัญญะเป็นต้น, ในเธอ ท. พระโกณฑัญญะ เป็นสาวก ที่ต้น ของพระองค์.

ปฐมํ โก กสฺส ธมฺมํ เทเสติ ภนฺเต, โก ตสฺส ปฐมสาวโกติ ฯ โส อาวุโส โกณฺฑญฺญาทีนํ ปญจนฺนํ ภิกฺขูนํ ธมฺมํ เทเสติ, เตสุ โกณฑญฺโญ ตสฺส ปฐมสาวโกติ ฯ

๔๖๐. พระองค์ ประดิษฐานแล้ว ซึ่งพระศาสนา ในไหน ก่อน? ในกรุงราชคฤห์.

ปฐมํ โส ภนฺเต กตฺถ สาสนํ ปคิฏฺฐาสีติ ฯ ราชคเห อาวุโสติ ฯ


๒๖. กิริยาที่ลง ตฺวา ปัจจัย ใช้หมายเหตุก็ได้ แต่ต้องมุ่ง

เอาตัวประธาน ต่างจากตัวประธานของกิริยาอาขยาต ดังนี้: สีหํ

ทิสฺวา ภยํ อุปฺปชฺชติ. ความกลัวเกิดขึ้น เหตุเห็น ซึ่งราชสีห์.

ข้อ ๔๖๑-ข้อ ๔๗๐

๔๖๑. “โพธิโต ปฏฺฐาย กติ วสฺสานิ โส อฏฺฐาสิ ภนฺเต’ ติ. ปญฺจจตฺตาฬีสํ อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว โพธิโต ฯเปฯ ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส สตฺถา อ. พระศาสดานั้น อฏฺฐาสิ ได้ตั้งอยู่แล้ว วสฺสานิ สิ้นปี ท. กติ เท่าไร ปฏฺฐาย จำเดิม โพธิโต แต่กาลเป็นที่ตรัสรู้ ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว ปญฺจจตฺตาฬีสํ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส สตฺถา อ. พระศาสดานั้น อฏฺฐาสิ ได้ตั้งอยู่แล้ว วสฺสานิ สิ้นปี ท. ปญฺจจตฺตาฬีสํ สี่สิบห้าฯ

๔๖๒. “กตฺถ โส ปรินิพฺพุโต ภนฺเต’ ติ. “กุสินารายํ สาลวเน อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กตฺถ ฯเปฯ ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โส สตฺถา อ. พระศาสดานั้น ปรินิพฺพุโต ปรินิพพานแล้ว กตฺถ ฐาเน ในที่ไหน? เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว กุสินารายํ สาลวเน อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส สตฺถา อ. พระศาสดานั้น ปรินิพฺพุโต ปรินิพพานแล้ว สาลวเน ในป่าสาลวัน กุสินารายํ ใกล้เมืองกุสินาราฯ

๔๖๓. “กมมิยํ ภนฺเต ติถิยนฺ’ ติ. “วิสาขปุณฺณมิยํ อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กตมิยํ ภนฺเต ติถิยํ อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส สตฺถา อ. พระศาสดานั้น ปรินิพฺพุโต ปรินิพพานแล้ว ติถิยํ ในดิถี กตมิยํ ไหน ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว วิสาขปุณฺณมิยํ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส สตฺถา อ. พระศาสดานั้น ปรินิพฺพุโต ปรินิพพานแล้ว วิสาขปุณฺณมิยํ ในดิถีพระจันทร์อันเต็มแล้วด้วยวิสาขฤกษ์ ฯ

๔๖๔. “กิตฺตกํ ปน ภนฺเต ตสฺส อายฺปมาณนฺ’ ติ. “นนุ อาวุโส มยา วุตฺตํ เอกูนตึส วสฺสานิ คิหิภาเว ฐตฺวา สมฺปตฺตึ ปหาย ปพฺพชิตฺวา ฉพฺพสฺสานิ ปธานํ ปทหิตฺวา อภิสมฺพุชฺฌิตฺวา ปญฺจตฺตาฬีส วสฺสานิ อฏฺฐาสิ ? ตานิ วสฺสานิ เอกชฺฌํ อภิสญฺญหิตฺวา อสีติวสฺสานี’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กิตฺตกํ ฯเปฯ อายุปฺปมาณํ อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ อายุปฺปมาณํ อ. ประมาณแห่งอายุ ตสฺส สตฺถุโน ของพระศาสดานั้น กิตฺตกํ มีประมารเท่าไร ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว นนุ ฯเปฯ อสีติวสฺสานิ อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ วจนํ อ. คำ มยา อันเรา วุตฺตํ กล่าวแล้ว เอกูนตึส ฯเปฯ วสฺสานิ อิติ ว่าดังนี้

โส สตฺถา อ. พระศาสดานั้น ฐตฺวา ทรงตำรงอยู่แล้ว คิหิภาเว ในความเป็นแห่งคฤหัสถ์ วสฺสานิ สิ้นปี ท. เอกูนตึส สามสิบหย่อนหนึ่ง(๒๙) ปหาย ทรงละแล้ว สมฺปตฺตึ ซึ่งสมบัติ ปพฺพชิตฺวา ผนวชแล้ว ปหหิตฺวา ทรงตั้งไว้แล้ว ปธานํ ซึ่งความเพียร ฉพฺพสฺสานิ สิ้นปีหก ท. อภิสมฺพุชฌิตฺวา ทรงตรัสรู้เฉพาะแล้ว อฏฺฐาสิ ได้ทรงดำรงอยู่แล้ว วสฺสานิ สิ้นปี ท. ปญฺจจตฺตาฬีส สี่สิบห้า ฯ อสีติวสฺสานิ อ. ปี ๘๐ ท. อภิสญฺญูหิตฺวา เพราะรวบรวมเฉพาะ วสฺสานิ ซึ่งปี ท. ตานิ เหล่านั้น เอกชฺฌํ สู่ที่อันเดียวกันฯ

๔๖๕. “ตโต ปฏฺฐาย ยาวชฺชนา กติวสฺสานิ อติกฺกนฺตานิ ภนฺเต’ ติ. “ปญฺจตฺตึสวสฺสุตฺตรจตุสฺสตาธิกานิ เทฺว วสฺสสหสฺสานิ อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว ตโต ฯเปฯ ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กติวสฺสานิ อ. ปีเท่าไร ท. ยาว เพียงใด อชฺชตนา แต่กาลมีในวันนี้ อติกฺกนฺตานิ ก้าวล่วงแล้ว ปฏฺฐาย จำเดิม ตโต ทิวสโต แต่วันนั้น ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว ปญฺจตฺตึส ปญฺจตฺตึสวสฺสุตฺตรจตุสฺสตาธิกานิ ฯเปฯ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ วสฺสสหสฺสานิ อ. พันแห่งปี ท. เทฺว สอง ปญฺจตฺตึสวสฺสุตฺตรจตุสฺสตาธิกานิ อันยิ่งด้วยร้อยสี่อันกว่าด้วยปีสามสิบห้า(๒๔๓๕) อติกฺกนฺตานิ ก้าวล่วงแล้ว ฯ

๔๖๖. ตสฺมึ ปรินิพฺพุเต เต ตสฺส สรีรชฺฌาปนกิจฺจํ อกํสุ ภนฺเต’ ติ. “โกสินารกา มลฺลา อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว ตสฺมึ ฯเปฯ ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตสฺมึ สตฺถริ ครั้นเมื่อพระศาสดานั้น ปรินิพฺพุเต ทรงปรินิพพานแล้ว เก อ. ใคร ท. อกํสุ ได้กระทำแล้ว ตสฺส สรีรชฺฌาปนกิจฺจํ ซึ่งกิจคืออันยังสรีระแห่งพระศาสดานั้นให้ไหม้ ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว โกสินารกา มลฺลา อาวุโส’ ติ.

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มลฺสา อ. เจ้ามัลละ ท. โกสินารกา ผู้อยู่ในเมืองกุสินารา อกํสุ ได้กระทำแล้ว สรีรชฺฌาปนกิจฺจํ ซึ่งกิจคืออันยังสรีระแห่งพระศาสดานั้นให้ไหม้ฯ

๔๖๗. “อตฺถิ ปนสฺส ตโต อวสิฏฺฐา ธาตุโย’ติ. “อามาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชือว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว อตฺถิ ปนสฺส ฯเปฯ ธาตุโย อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ ธาตุโย อ. ธาตุ ท. อสฺส สตฺถุโน ของพระศาสดานั้น อวสิฏฺฐา อันเหลือลงแล้ว ตโต สรีรโต แต่สรีระนั้น อตฺถิ มีอยู่หรือฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว อามาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อาม เออ ธาตุโย อ. ธาตุ ท. อสฺส สตฺถุโน ของพระศาสดานั้น อวสิฏฺฐา อันเหลือลงแล้ว ตโต สรีรโต แต่สรีระนั้น อตฺถิ มีอยู่ ฯ

๔๖๘. “กึ ปน ภนฺเต โกสินารกา มลฺลาเยว อคฺคเหสุ(สุง) อุทาหุ อญฺเญสํปิ วิภชึสู’ ติ. “ปุพเพ เต อาวุโส อทาตุกามา ปจฺฉา วิภชึสู’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กึ ปน ฯเปฯ วิภชึสุ อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ มลฺลา เอว อ. เจ้ามัลละ ท. นั่นเทียว โกสินารกา ผู้อยู่ในเมืองกุสินารา อคฺคเหส(สุง) ได้ถือเอาแล้ว ตา ธาตุโย ซึ่งธาตุ ท. เหล่านั้น กึ หรือ อุทาหุ หรือว่า มลฺลา อ. เจ้า มัลละ ท. เหล่านั้น แบ่งแล้ว อญเญสํ ชนานํ แก่ชน ท. แม้เหล่าอื่นฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว ปุพฺเพ ฯเปฯ วิภชึสุ อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เต มลฺลา อ.เจ้ามัลละ ท. เหล่านั้น อทาตุกามา เป็นผู้ใคร่เพื่ออันไม่ให้ หุตฺวา เป็น ปุพฺเพ ในก่อน วิภชึสุ แบ่งแล้ว ปจฺฉา ในภายหลังฯ

๔๖๙. “กสฺมา ปน ภนฺเต วิภชึสู’ ติ. “อชาตสตฺตุราชาทโย อาวุโส ราชาโน ธาตุโย ยาจึสุ เตสํ สนฺติกํ ทูเต ปาเหสุ(สุง), เตสุ อเทนฺเตสุ, สพฺเพ สงฺคามํ กตฺตุกามา อเหสุ(สุง), โทโณ นาม พฺราหฺมโณ เต สญฺญาเปตฺวา เตสํ สมกํ สมกํ ภาคํ วิภชาเปสี’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กสฺมา ฯเปฯ วิภชึสุ อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ มลฺลา อ. เจ้ามัลละ ท. วิภชึสุ แบ่งแล้ว กสฺมา เพราะเหตุไรฯ

อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว อชาตสตฺตุราชาทโย ฯเปฯ วิภชาเปสิ อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ราชาโน อ. พระราชา ท. อชาตสตฺตุราชาทโย มีพระราชา พระนามว่าอชาตศัตรูเป็นต้น ปาเหสุ(สุง) ส่งไปแล้ว ทูเต ซึ่งทูต ท. สนฺติกํ สู่สำนัก เตสํ มลฺลานํ แห่งเจ้ามัลละ ท. เหล่านั้น ยาจิตุ(ตุง) เพื่ออันขอ ธาตุโย ซึ่งธาตุ ท., ตุ มลฺเลสุ ครั้นเมื่อเจ้ามัลละ ท. เหล่านั้น อเทนฺเตสุ ไม่ให้อยู่, สพฺเพ ราชาโน อ. พระราชา ท. ทั้งปวง สงฺคามํ กตฺตุกามา เป็นผู้ใคร่เพื่ออันทำ ซึ่งสงคราม อเหสุ(สุง) ได้เป็นแล้ว, พฺราหฺมโณ อ. พราหมณ์ โทโณ ชื่อว่าโทณะ เต มลฺเล ยังเจ้ามัลละ ท. เหล่านั้น สญฺญาเปตฺวา ให้ยินยอมแล้ว วิภชาเปสิ ให้แบ่งแล้ว ภาคํ ซึ่งส่วน สมกํ สมกํ เสมอๆ เตสํ ราชูนํ แก่พระราชา ท. เหล่านั้น.

๔๗๐. “กตฺถ ปน ภนฺต ธาตุโย คเหตฺวา ฐเปสุนฺ’ ติ. เจติเยสุ อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ.ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กตฺถ ฯเปฯ ฐเปสุ(สุง) อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ ราชาโน อ. พระราชา ท. คเหตฺวา ถือเอาแล้ว ธาตุโย ซึ่งธาตุ ท. ฐเปสุ(สุง) ตั้งไว้แล้ว กตฺถ ฐาเน ในที่ไหนฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว เจติเยสุ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ราชาโน อ. พระราชา ท. คเหตฺวา ถือเอาแล้ว ธาตุโย ซึ่งธาตุ ท. ฐเปสุ(สุง) ตั้งไว้แล้ว เจติเยสุ ในเจดีย์ ท. ฯ
๒๗. นามนาม ที่เป็นเอกวจนะหลายศัพท์ ถ้ามีความรวมกัน

เช่น ชายกับหญิงเป็นต้น ต้องใช้ จ ศัพท์กำกับ ศัพท์เหล่านั้น

คุณนามก็ดี กิริยาก็ดี ของนามนามเหล่านั้น ใช้เป็นพหุวจนะ

โดยมากดังนี้ : เทสนาวสาเน กุมารโก จ กุมาริกา จ โสตาปนฺนา

อเหสุํ. ในกาลเป็นที่จบแห่งเทศนา กุมารด้วย กุมารีด้วย ได้เป็น

โสดาบันแล้ว.

ข้อ ๔๗๑-ข้อ ๔๘๐

๔๗๑. เธอถามแล้ว ซึ่งพระเถระ ยิ่งกว่านั้นว่า สังคายนา ทีแรก ทำแล้ว เมื่อไร? เมื่อพระผู้มีพระภาค นิพพานแล้ว สิ้น ๓ เดือน.

ตโต อุตฺตรึ โส เถรํ “กทา ภนฺเต ปฐมสงฺคีติ กตาติ ปุจฺฉิ ฯ “ตโย มาเส ภควโต ปรินิพฺพุตกาเล อาวุโสติ ฯ

๔๗๒. สังคายนา ทีแรกนั้น อันใครทำแล้วฯ อันพระอรหันต์ ท. ๕๐๐.

เกน สา ปฐมสังคีติ กตา ภนฺเตติ ฯ” ปญฺจสเตหิ อรหนฺเตหิ อาวุโสติ ฯ

๔๗๓. ทำแล้ว ในที่ไหน ? ที่กรุงราชคฤห์.
กตฺถ กตา ภนฺเตติ ฯ ราชคเห อาวุโสติ ฯ
๔๗๔. ใคร เป็นประธาน ในสังคายนานั้น? พระมหากัสสปเถระด้วย พระอุบาลีเถระด้วย พระอานนท์ด้วย ได้เป็นประธานในสังคายนานั้น.

ตตฺถ ภนฺเต โก ปมุโข โหตีติ ฯ ตตฺถ อาวุโส มหากสฺสปตฺเถโร จ อุปาลิตฺเถโร จ อานนฺทตฺเถโร จ ปมุขา อเหสุนฺติ ฯ

๔๗๕. ใคร ชวนแล้ว ซึ่งพระอรหันต์ ท. นั้น เพื่ออันทำ ซึ่งสังคายนานั้น ? พระมหากัสสปเถระ.

โก ภนฺเต ตํ กาตุํ เต สมาทเปสีติ ฯ มหากสฺสปตฺเถโร อาวุโสติฯ

๔๗๖. ท่านปรารภแล้ว ซึ่งอะไร (จึง) ชวนแล้ว? ท่าน ปรารภ ซึ่งคำ ของบรรพชิตแก่ ชื่อสุภัททะ.

โส กึ อารพฺภ สมาเทเปสิ ภนฺเตติ ฯ โส สุภทฺทสฺส วุฑฺฒปพฺพชิตสฺส วจนํ อาวพฺภ อาวุโสติ ฯ

๔๗๗. เธอ ว่าแล้ว อย่างไร? เมื่อพระผู้มีพระภาค นิพพานแล้ว ๗ วัน พระมหากัสสปเถระ ยังไม่ทราบ ซึ่งความนั้น (จึง) มาแล้ว จากเมืองปาวา กับ ด้วยภิกษุ ท. มาก เพื่อจะเห็น ซึ่งพระผู้มีพระภาค เห็นแล้ว ซึ่งอาชีวก คนหนึ่ง ในระหว่างทาง ถามแล้ว ว่า “ผู้มีอายุ ท่านรู้ ซึ่งข่าว ของพระศาสดาหรือ? อาชีวกนั้น บอกแล้ว ว่า “ผู้มีอายุ พระศาสดาของท่าน ท. ปรินิพพานเสียแล้ว ๘ วัน.” ภิกษุ ท. ผู้ปุถุชน ได้ฟังแล้ว ซึ่งความนั้น ร้องไห้แล้ว คร่ำครวญแล้ว. ในเธอ ท. บรรพชิตแก่ ชื่อสุภัททะ มีอยู่ องค์หนึ่ง, เธอห้ามเสียแล้ว ซึ่งภิกษุ ท. นั้น ว่า “ผู้มีอายุ อย่าเลย, ท่าน ท. อย่าร้องไห้เลย, ท่าน ท. อย่าคร่ำครวญเลย, เมื่อพระศาสดา ยังอยู่, เรา ท. มิอาจ เพื่อจะทำ ซึ่งกรรม อันพระองค์ ห้ามแล้ว, เดี๋ยวนี้ เรา ท. ครั้นเมื่อพระองค์ ปรินิพพานแล้ว ปรารถนา เพื่อจะทำ ซึ่งสิ่งใด (ก็) จงจำ ซึ่งสิ่งนั้น.” พระมหากัสสปเถระ ปรารภ ซึ่งคำ ของ บรรพชิตแก่นี้ (จึง) ชักชวนแล้ว ซึ่งพระอรหันต์ ท. เหล่านั้น เพื่อจะทำ ซึ่งสังคายนา.

กถํ โส กเถสิ ภนฺเตติ ฯ อาวุโส ภควติ สตฺตาหํ ปรินิพฺพุเต, มหากสฺสปตฺเถโร ตมตฺถํ อชานนฺโต มหนฺเตหิ ภิกฺขูหิ สทฺธึ ปาวาย ภควโต ทสฺสนาย อาคนฺตฺวา อนฺตรามคฺเค เอกํ อาชีวํ ทิสฺวา “กึ อาวุโส สตฺถุโน สาสนํ ชานาสีติ ปุจฺฉิ ฯ โส “ตุมฺหากํ สตฺถา สตาหํ ปรินิพฺพุโต อาวุโสติ กเถสิ ฯ ปุถุชฺชนา ภิกฺขู ตมตฺถํ สุตฺวา โรทิตฺวา ปริเทวึสุ ฯ เตสุ เอโก สุภทฺโท นาม วุฑฺฒปพฺพชิโต อตฺถิ, โส เต “มา อาวุโส โรทิตฺถ, มา ปริเทวิตฺถ, สตฺถริ ธรมาเน, เตน นิวาริตํ กมฺมํ กาตุํ น สกฺโกม, อิทานิ มยํ, ตสฺมึ ปรินิพฺพุเต, ยํ กาตุํ อิจฉาม, ตํ กโรมาติ นิวาเรสิ ฯ มหากสฺสปตฺเถโร อิมสฺส วุฑฺฒปพฺพชิตสฺส วจนํ อารพฺภ สงคายนํ กาตุํ เต สมาทเปสีติ ฯ

๔๗๘. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระอรหันต์ ท. นั้น ทำแล้ว ซึ่งสังคายนา อย่างไร? พระอรหันต์ ท. นั้น ประชุมพร้อม ในที่แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระ ถามแล้ว ซึ่งวินัย กะพระอุบาลีเถระ, ครั้นเมื่อวินัย อันท่าน วิสัชนาแล้ว, ถามแล้ว ซึ่งธรรม กะพระอานนทเถระ, ท่านวิสัชนาแล้ว ซึ่งธรรมนั้น, พระเถระ ท. นั้น ร้อยกรองแล้ว ซึ่งธรรมด้วย ซึ่งวินัยด้วย นั้น ตามนัยอันพระเถระ ท. ๒ กล่าวแล้ว ตั้งไว้แล้ว ให้เป็นแบบแผน.

กถํ ภนฺเต สงฺคายนํ เต อกํสูติ ฯ เอกสฺมึ ฐาเน สนฺนิปตนฺติ อาวุโส, อถ มหากสฺสปสฺสตฺเถโร อุปาลิตฺเถรํ วินยํ ปุจฺฉิ, เตน วินเย วิสชฺชิเต, อานนฺทตฺเถรํ ธมฺมํ ปุจฺฉิ, โส ตํ วิสชฺเชสิ, เต เถรา ทวีหิ เถเรหิ วุตฺตนเยน ตํ ธมฺมญฺจ วินยญฺจ สงคายิตฺวา ตนฺตึ ฐเปสุนฺติ ฯ

๔๗๙. ใคร ได้เป็นผู้อุปการะ ของพระเถระ ท. เหล่านั้น? ได้ยินว่า พระเจ้าอชาตศัตรู.

โก ภนฺเต เตสํ เถรานํ อุปการโก อโหสีติ ฯ อชาตสตฺตุ กิร ราชา อาวุโสติ ฯ

๔๘๐. สังคายนา นั้น ทำแล้ว โดยกาล เท่าใด? โดยเดือน ท. ๗.

สา กิตฺตเกน กาเลน กตา ภนฺเตติฯ สตฺเตหิ มาเสหิ อาวุโสติ ฯ
๒๘. ถ้าคุณนาม ที่เกี่ยวด้วยกิริยาว่ามี ว่าเป็น หลายบท

เรียงไว้หน้ากิริยานั้นแต่บทเดียว เหลือนั้นเรียงไว้หลังกิริยา ดังนี้:

เตน โข ปน สมเยน เวสาลี สุภิกฺขา โหติ สุสสฺสา สุลภ-

ปิณฺฑา. ก็ โดยสมัยนั้นแล เมืองไพศาลี เป็นเมืองมีภิกษาดี

มีข้าวกล้างาม มีก้อนข้าวหาได้โดยง่าย.

ข้อ ๔๘๑-ข้อ ๔๘๘

๔๘๑.”กิตฺตกา ปน ภนฺเต ภควโต สาวกา เตสุ เตสุ คุเณสุ เตน ปสฏฺฐา’ ติ. “เอกจตฺตาฬีสํ อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กิตฺตกา ปน ฯปฯ เตน ปสฏฺฐา อิติ ว่าดังนี้.

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ สาวกา อ. พระสาวก ท. ภควโต ของพระผู้มีพระภาค กิตฺตกา มีประมาณเท่าไร เตน ปสฏฺฐา เป็นผู้อันพระผู้มีพระภานั้น ทรงสรรเสริญแล้ว คุเณสุ ในคุณ ท. เตสุ เตสุ เหล่านั้นๆ โหนฺติ ย่อมเป็น ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว เอกจฺจาฬีสํ อาวุโสติ อติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สาวกา อ. สาวก ท. ภควโต ของพระผู้มีพระภาค เอกจตฺตาฬีสํ สี่สิบเอ็ด เตน ปสฏฺฐา เป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคนั้น สรรเสริญแล้ว คุเณสุ นคุณ ท. เตสุ เตสุ เหล่านั้น ๆ โหนฺติ ย่อมเป็น ฯ

๔๘๒. “เตสํ นามานิ โสตุํ อิจฺฉามิ ภนฺเต, สาธุ เม ภนฺเต กเถถา’ ติ. “เตนหิ สุโณหิ, กเถสฺสามิ, อญฺญาโกณฺฑญฺญตฺเถโร เตสํ ปาโมกฺโข อโหสี’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระ อาห กล่าวแล้ว เตสํ นามานิ ฯปฯ ภนฺเต กเถถ อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อหํ อ. กระผม อิจฺฉามิ ย่อมปรารถนา โสตุ(ตุง) เพื่ออันฟัง นามานิ ซึ่งชื่อ ท. เตสํ สาวกานํ ของพระสาวกท. เหล่านั้น, ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สาธุ อ. กรรมอันยังประโยชน์ให้สำเร็จ ตุมฺเห อ. ท่าน กเถถ ขอจงบอก เม แก่กระผม ฯ

เถโร อ.พระเถระ อาห กล่าวแล้ว เตนหิ สุเณหิ ฯเปฯ ปาโมกฺโข อโหสิ ว่าดังนี้

เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ตฺวํ อ. ท่าน สุโณหิ จงฟัง อหํ อ. เรา กเถสฺสามิ จักบอก, อญฺญาโกณฺฑญญตฺเถโร อ. พระเถระชื่ออัญญาโกณฑัญญะ เตสํ ปาโมกฺโข เป็นผู้เป็นหัวหน้าด้วยอำนาจแห่งความเป็นประธาน แห่งพระสาวก ท. เหล่านั้น อโหสิ ได้เป็นแล้วฯ

๔๘๓. “นนุ โส ภนฺเต ปุพฺเพ ตุมฺเหหิ “โกณฺฑญฺโญ’ ติ กถิโต, อถ กสฺมา “ อญฺญาโกณฺฑญฺโญ’ ติ กเถถ? กึ โส เทฺว นามานิ อลตฺถา’ ติ. “ปุพฺเพ โส อาวุโส ‘ อญฺญาโกณฺฑญฺโญ’ ติ ปญฺญายิ, ยทา โส ธมฺมํ ปฏิวิชฺฌิ, ตทา ภควา ‘ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ’ ติ อิมํ อุทานํ อุทาเนสิ, ตโต ปฏฺฐาย โส .อญฺญาโกณฑญฺโต’ ติ ปญฺญายี’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว นนุ โส ฯเปฯ นามานิ อลตฺถา อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส เถโร อ. พระเถระนั้น ตุมเหหิ อันท่าน กถิโต กล่าวแล้ว โกณฑญฺโญ อิติ ว่า อ. พระเถระชื่อโกญฑัญญะ ดังนี้ ปุพฺเพ ในก่อน นนุ มิใช่หรือ , อถ ภาเว ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น สนฺเต มีอยู่, ตุมเห อ. ท่าน กเถถ ย่อมกล่าวว่า อญฺญาโกณฺฑญฺโญ อิติ ว่า อ. พระเถระชื่อว่าอัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้ กสฺมา เพราะเหตุไร? โส เถโร อ. พระเถระนั้น อลตฺถ ได้ได้แล้ว นามานิ ซึ่งชื่อ ท. เทฺว สอง กึ หรือ ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว ปุพฺเพ โส อาวุโส ฯเปฯ ปญฺญายิ อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส เถโร อ. พระเถระนั้น ปญฺยายิ ปรากฏแล้ว โกณฺฑญฺโญ อิติ ว่า อ. พระเถระชื่อว่าโกณฑัญญะ ดังนี้ ปุพฺเพ ในก่อน, โส เถโร อ. พระเถระนั้น ปฏิวิชฺฌิ แทงตลอดแล้ว ธมฺมํ ซึ่งธรรม ยทา ในกาลใด, ภควา อ. พระผู้มีพระภาค อุทาเนสิ ทรงเปล่งแล้ว อุทานํ ซึ่งอุทาน อิมํ นี้ อญฺญาสิ ฯเปฯ โกณฺฑญฺโญ อิติ ว่าดังนี้ ตทาในกาลนั้น โส เถโร อ. พระเถระนั้น ปญฺญายิ ปรากฏแล้ว อญฺญาโกณฑญฺโญ อิติ ว่า อ. พระเถระชื่อว่าอัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้ ปฏฺฐาย จำเดิม ตโต กาลโต แต่กาลนั้น,(เลขใน) โภ ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท. โกณฺฑญฺโญ อ. พระเถระชื่อว่าโกณฑัญญะ อญฺญาสิ วต ได้รู้แล้วหนอฯ

๔๘๔. “กตรสฺมา กุลา โส ปพฺพชิโต ภนฺเต’ ติ. “พฺราหฺมณกุลา อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กตรสฺมา กุลา โส ปพฺพชิโต ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส เถโร อ. พระเถระนั้น ปพฺพชิโต บวชแล้ว กุลา จากตระกูล กตรสฺมา ไหน ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว พฺราหฺมณกุลา อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส เถโร อ. พระเถระนั้น ปพฺพชิโต บวชแล้ว พฺราหฺมณกุลา จากตระกูลแห่งพราหมณ์ ฯ

๔๘๕. “เกน ภนฺเต การเณน’ ติ. “ ปุพฺเพ โส อาวุโส พฺราหฺมโณ หุตฺวา ติณฺณํ เวทานํ ปารํ ปตฺวา, สตฺถริ มาตุ กุจฺฉิโต นิกฺขนฺเต, ตสฺส ทฺวตฺตึสมหาปุริสลกฺขณานิ ทิสฺวา ‘สจายํ อคารํ อชฺฌาวสิสฺสติ, ราชา ภวิสฺสติ จกฺกวตฺติ, สเจ ปพฺพชิสฺสติ, โลเก อรหํ ภวิสฺสติ สมฺมาสมฺพุทฺโธ’ ติ พฺราหฺมณมนฺเต อาคตนเยน สนฺนิฏฺฐานํ กตฺวา, ตสฺมึ ปพฺพชิเต, ภทฺทิเยน จ วปฺเปน จ มหานาเมน จ อสฺสชินา จา’ ติ จตูหิ พฺราหฺมเณหิ สทฺธึ อนุปพฺชิตฺวา ทุกฺกรกิริยากรณกาเล ตํ อุปฏฺฐิหิตฺวา, ตสฺมึ ทุกฺกรกิริยํ วิชหนฺเต, ตโต อปกมฺม พาราณสิยํ อิสิปตเน มิคทาเย วิหรนฺโต, ตสฺมึ สมฺโพธึ ปตฺวา ตสฺส สนฺติกํ อาคฺตฺวา ปฐมเทสนํ กเถนฺเต, โสตาปตฺติผลํ ปตฺวา อปรํปิ เทสนํ สุตฺวา อรหตฺเต ปติฏฺฐหี’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว เกน ภนฺเต การเณน อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส เถโร อ. พระเถระนั้น ปพฺพชิโต บวชแล้ว การเณน เพราะเหตุ เกน อะไร ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว ปุพฺเพ โน ฯเปฯ อรหตฺโต ปติฏฺฐหิ อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส เถโร อ. พระเถระนั้น พฺราหฺมโณ เป็นพราหมณ์ หุตฺวา เป็น ปุพฺเพ ในก่อน ปตฺวา ถึงแล้ว ปารํ ซึ่งฝั่ง เวทานํ แห่งเวท ท. ติณฺณํ สาม , กตฺถริ ครั้นเมื่อพระศาสดา นิกฺขนฺเต เสด็จออกแล้ว กุจฺฉิโต จากพระอุทร มาตุ แห่งมารดา ทิสฺวา เห็นแล้ว ทวตฺตึสมหาปุริสลกฺขณานิ ซึ่งมหาปุริสลักษณะสามสิบสอง ท. ตสฺส สตฺถุโน ของพระศาสดานั้น กตฺวา กระทำแล้ว สนฺนิฏฐานํ ซึ่งความสันนิษฐาน สจายํ อคารํ ฯเปฯ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อิติ ว่าดังนี้ พฺรหฺมณมนฺเต อาคตนเยน โดยนัยแห่งคำอันมาแล้วในมนต์แห่งพราหมณ์ ตสฺมึ สตฺถริ ครั้นเมื่อพระศาสดานั้น ปพฺพชิเต ผนวชแล้ว อนุปพฺพชิตฺวา บวชตามแล้ว สทฺธึ กับ พฺราหฺมเณหิ ด้วยพราหมณ์ ท. จตูหิ สี่ อิติ คือ ภทฺทิเยน จ ด้วยพราหมณ์ชื่อว่าภัททิยะด้วย วปฺเปน จ ด้วยพราหมณ์ชื่อวัปปะด้วย มหานาเมน จ ด้วยพราหมณ์ชื่อว่ามหานามะด้วย อสฺสชินา จ ด้วยพราหมณ์ชื่อว่าอัสสชิด้วย อุปฏฺฐหิตฺวา เข้าไปบำรุงแล้ว ตํ สตฺถารํ ซึ่งพระศาสดานั้น ทุกฺกรกิริยากรณกาเล ในการเป็นที่ทรงกระทำซึ่งทุกรกิริยา, ตสฺมึ สตฺถริ ครั้นเมื่อพระศาสดานั้น วิชหนฺเต ทรงละอยู่ ทุกฺกรกิริยํ ซึ่งทุกรกิริยา(แปลว่ากระทำซึ่งกรรมอันบุคคลกระทำได้โดยยาก) อปกมฺม หลีกไปแล้ว ตโต ฐานโต จากที่นั้น วิหนฺโต อยู่ๆ มิคทาเย ในป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ อิสิปตเน ชื่อว่าอิสิปตนะ(เป็นที่ตกแห่งฤาษี) พาราณสิยํ ใกล้เมืองพาราณสี ตสฺมึ ครั้นเมื่อพระศาสดานั้น ปตฺวา ทรงบรรลุแล้ว สมฺโพธึ ซึ่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้พร้อม(หรือซึ่งสัมโพธิญาณ) อาคนฺตฺวา มาแล้ว สนฺติกํ สู่สำนัก ตสฺส เถรสฺส แห่งพระเถระนั้น กเถนฺเต ตรัสอยู่ ปฐมเทสนํ ซึ่งปฐมเทศนา ปตฺวา บรรลุแล้ว โสตาปตฺติผลํ ซึ่งพระโสดปัตติผล สุตฺวา ฟังแล้ว เทสนํ ซึ่งพระเทศนา อปรํปิ แม้อื่นอีก ปติฏฺฐหิ ตั้งอยู่เฉพาะแล้ว อรหตฺเต ในพระอรหัตฯ(เลขใน) สเจ หากว่า อยํ สิทฺธตฺโถ อ. พระราชกุมารพระนามว่าสิทธัตถะนี้ อชฺฌาวสิสฺสติ จักอยู่ครอบครอง อคารํ ซึ่งเรือนไซร้ ราชา จกฺกวตฺติ จักเป็นพระราชาผู้จักรรรดิ ภวิสฺสติ จักเป็น สเจ ถ้าว่า อยํ สิตฺถตฺโถ อ. พระราชกุมารพระนามว่าสิทธัตถะนี้ ปพฺพชิสฺสติ จักผนวชไซร้ อรหํ เป็นพระอรหันต์ สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ โลเก ในโล ภวิสฺสติ จักเป็น ฯ

๔๘๖. “กตรสฺมึ ภนฺเต คุเณ โส สตฺถารา ปสฏฺโฐ’ ติ. “สพฺพปฐมสาวกภาเว อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กตรสฺมึ ภนฺเต คุเณ โส สตฺถารา ปสฏฺโฐ อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส เถโร อ. พระเถระนั้น สตฺถารา ปสฏฺโฐ เป็นผู้อันพระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว คุเณ ในคุณ กตรสฺมึ ไหน โหติ ย่อมเป็น ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว สพฺพปฐมสาวกภาเว อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส เถโร อ. พระเถระนั้น สตฺถารา ปสฏฺโฐ เป็นผู้อันพระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว สพฺพปฐมสาวกภาเว ในความเป็นผู้เป็นสวกองค์แรกแห่งสาวกทั้งปวง โหติ ย่อมเป็น ฯ

๔๘๗. “โก ปน ภนฺเต ธมฺโม ตสฺส สหายเกหิ เถเรหิ อธิคโต’ ติ. “อรหตฺตํ อวุโสติ’ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว โก ปน ฯเปฯ เถเรหิ อธิคโต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ ธมฺโม อ. ธรรม โก อะไร เถเรหิ อันพระเถะ ท. สหายเกหิ ผู้เป็นสหาย ตสฺส อญฺญาโกณฺฑญฺญสฺส ของพระเถระชื่อว่าอัญญาโกณฑัญญะนั้น อธิคโต ถึงทับแล้วฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว อรหตฺตํ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อรหตฺตฺตํ อ. พระอรหัต เถเรหิ อันพระเถระ ท. สหายเกหิ ผู้เป็นสหาย ตสฺส อญฺญาโกณฺฑญฺญสฺส ของพระเถระชื่ออัญญาโกณฑัญญะนั้น อธิคตํ ถึงทับแล้วฯ

๔๘๘. “กึ ปน โส ภนฺเต ภควโต ปรินิพานกาลโต ปุเร ปรินิพฺพายิ อุทาหุ ปจฺฉา’ ติ. “ปุเร อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว กึ ปน ฯเปฯ อุทาหุ ปัจฉา อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ โส อญฺญาโกณฺฑญฺญตฺเถโร อ. พระเถระชื่ออัญญาโกณฑัญญะนั้น ปรินิพฺพายิ ปรินิพพานแล้ว ปุเร ในกาลก่อน ปรินิพฺพานกาลโต แต่กาลเป็นที่เสด็จปรินิพพาน ภควโต แห่งพระผู้มีพระภาค กึ หรือ อุทาหุ หรือว่า โส อญฺญาโกณฺฑญฺญตฺเถโร อ. พระเถระชื่ออัญญาโกณฑัญญะนั้น ปรินิพฺพายิ ปรินิพพานแล้ว ปจฺฉา ในภายหลง ปรินิพฺพานกาลโต แต่กาลเป็นที่เสด็จปรินิพพาน ภควโต แห่งพระผู้มีพระภาค ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว ปุเร อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส อญฺญาโกณฺฑญฺญตฺเถโร อ. พระเถระชื่ออัญญาโกณฑัญญะนั้น ปรินิพฺพายิ ปรินิพพานแล้ว ปุเร ในกาลก่อน ปรินิพฺพานกาลโต แต่กาลเป็นที่เสด็จปรินิพพาน ภควโต แห่งพระผู้มีพระภาค ฯ
๒๙. คุณนามหรือกิริยาของนาม ที่รู้กันได้โดยง่าย จะเขียน

แต่คุณนามหรือกิริยาเท่านั้น จะไม่เขียนนามด้วยก็ได้ ดังนี้ ปุพฺเพ

โข กุมาร มนุสฺสา ทีฑายุกา ดูก่อนกุมาร มนุษย์ ท. ในก่อนแล

มีอายุยืน, อตีเต พาราณสิยํ พฺรหฺมทตฺเต รชฺชํ กาเรนฺเต ในกาล

ล่วงแล้ว ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัตต์ ให้ทำอยู่ ซึ่งราชกิจ ในเมือง

พาราณสี, สิสฺโส อาจริยํ อุปสงฺกมิตฺวา 'อิมํ ปณฺณํ วาเจหี' ติ

วุตฺเต, ตํ วิวริตฺวา วาเจสิ. ศิษย์ เข้าไปใกล้แล้ว ซึ่งอาจารย์,

ครั้นเมื่อคำว่า "เจ้าจงอ่าน ซึ่งหนังสือ นี้ อันอาจารย์ พูดแล้ว,

เปิดอ่านแล้ว ซึ่งหนังสือนั้น."

ข้อ ๔๘๙ - ข้อ ๕๐๐

๔๘๙. ขอท่านจงสำแดง ซึ่งคุณ ของพระเถระ แม้อื่นอีก แก่ข้า ฯ พระอุรุเวลกัสสปเถระได้เป็นผู้อันพระศาสดาสรรเสริญแล้ว ในเพราะความเป็นผู้มีบริวารมาก.

สาธุ เม ภนฺเต อปรสฺสาปิ เถรสฺส คุณํ เทเสถาติ ฯ อุรุเวลกสฺสปตฺถตฺเถโร อาวุโส พหุปริวารภาเว สตฺถารา ปสฏฺโฐ อโหสีติ ฯ

๔๙๐. บริวาร ของท่าน เท่าไร? ร้อย แห่งภิกษุ ท. ห้า เป็นบริวารของท่าน, ของพระนทีกัสสปเถระ ผู้เป็นน้องชายกลาง ของท่าน ร้อย แห่งภิกษุท. สาม, ของพระคยากัสสปเถระ ผู้น้องน้อยที่สุด ของท่าน ร้อยแห่งภิกษุ ท. สอง, เพราะรวม ซึ่งร้อย ท. นั้น ทั้งหมด เป็น พันแห่งภิกษุ.

กิตฺตโก ตสฺส ปริวาโร ภนฺเตติ ฯ ตสฺส ปริวาโร อาวุโส ปญฺจ ภิกฺขุสตานิ, ตสฺส มชฺฌิมภาติกสฺส นทีกสฺสปตฺเถรสฺส ตีณิ ภิกฺขุสตานิ, ตสฺส กนิฏฺฐภาติกสฺส คยากสฺสปตฺเถรสฺส เทฺว ภิกฺขุสตานิ, ตานิ สพฺพานิ อภิสญฺญูหิตฺวา ภิกฺขุสหสฺสานิ โหนฺตีติ ฯ

๔๙๑. ในก่อน แต่กาล แห่งท่าน บวชแล้ว ในธรรมวินัย อันนี้ ท่าน ได้เป็นใคร แล้ว ? เป็นชฎิล ท.

อิธ ภนฺเต ตสฺส ปพฺพชิตกาลโต ปุพฺเพ โส โก อโหสีติฯ ชฏิลา อาวุโสติฯ

๔๙๒. ท่าน อยู่แล้ว ในที่ไหน? ท่าน ทำแล้ว ซึ่งอาศรม ในอุรุเวลา(ประเทศ) สำเร็จแล้ว ซึ่งความอยู่ ในที่นั้น.

กตฺถ ภนฺเต โส วสีติฯ อุรุเวลายํ อาวุโส อสฺสมํ กตฺวา ตตฺถ วาสํ กปฺเปสีติ ฯ

๔๙๓. เพราะเหตุอะไร ท่าน บวชแล้ว ในธรรมวินัย อันนี้? เพราะความเลื่อมใส ในปาฏิหาริย์ ของพระผู้มีพระภาค.

กสฺมา ภนฺเต อิธ ปพฺพชิโตติ ฯ ภควโต ปาฏิหาริเย ปสาเทน อาวุโสติ ฯ

๔๙๔. พระผู้มีพระภาค ได้สำแดงแล้ว ซึ่งปาฏิหาริย์ อะไร แก่ท่าน? ซึ่งปาฏิหาริย์ๆ มีทรมานนาคเป็นต้น มีจงกรมในน้ำเป็นที่สุด.

กึ ปาฏิหาริยํ ภนฺเต ภควา ตสฺส ทสฺเสสีติ ฯ นาคทมนาทีนิ นานาปาฏิหาริยานิ อุทกจงฺกมนปริโยสานานิ อาวุโสติ ฯ

๔๙๕. ในกาลนั้น บริวาร ท. ของท่าน ได้มีแล้ว หรือ, หรือว่า ท่าน ได้แล้ว ซึ่งบริวาร ในกาล แห่งท่าน บวชแล้ว? บริวาร ท. ของท่าน ได้มีแล้ว (แต่) ในกาลนั้น.

กึ ปน ตทา ภนฺเต ตสฺส ปริวารา อเหสุ(สุง), อุทาหุ โส ตสฺส ปพฺพชิตกาเล ปริวารํ ลภีติ ฯ ตทา ตสฺส อาวุโส ปริวารา อเหสุนฺติ ฯ

๔๙๖. บริวาร ท. ของท่าน บวชแล้ว พร้อม กับท่านหรือ? เออ.

กึ ตสฺส ปริวารา เตน สทฺธึ ปพฺพชิตาติ ฯ อามาวุโสติ ฯ

๔๙๗. ธรรมวิเศษ อะไร อันท่าน ท. ถึงทับแล้ว ? พระอรหัต.

โก ปน ภนฺเต ธมฺมวิเสโส เตหิ อธิคโตติ ฯ อรหตฺตํ อาวุโสติ ฯ

๔๙๘. ท่าน ท. ถึงแล้ว ซึ่งพระอรหัตนั้น ในขณะเดียวกัน หรือ หรือว่า ในขณะต่างกันๆ ? ในขณะเดียวกัน.

กึ ปน เต ภนฺเต เอกกฺขเณ ตํ ปาปุณึสุ อุทาหุ นานกฺขเณติ ฯ เอกกฺขเณ อาวุโสติ ฯ

๔๙๙. ท่าน ท. ฟังแล้ว ซึ่งเทศนา ชื่อ อะไร (จึง) ถึงแล้ว ซึ่งพระอรหัต นั้น? ชื่อ อาทิตตปริยาย.

กึ นาม เต ภนฺเต เทสนํ สุตฺวา ตํ ปาปุณึสูติ ฯ อาทิตฺตปริยายํ นาม อาวุโสติ ฯ

๕๐๐. ท่าน นิพพานแล้ว ในก่อน แต่กาลเป็นที่นิพพาน ของพระผู้มีพระภาค หรือ ? เออ.

กึ ปน โส ภนฺเต ภควโต ปรินิพฺพานกาลโต ปุเร ปรินิพฺพายีติ ฯ อาม อาวุโสติ ฯ

๓๐. กิริยาอาขยาตในท้องนิทานใช้ ๒ วิภัตติคือ วตฺตมานา ๑

อชฺชตฺตนี ๑ แต่ใช้อชฺชตฺตนี มากกว่าวตฺตมานา ดังนี้ : เตน

สมเยน พุทฺโธ ภควา ราชคเห วิหรติ คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเต.
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้า เสด็จอยู่ ที่เขาคิชฌกูก

ใกล้กรุงราชคฤห์. อถโข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ. ลำดับนั้นแล

พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกแล้ว ซึ่งภิกษุ ท. อถโข สามเณรานํ

เอตทโหสิ "กติ นุโข อมฺหากํ สิกฺขาปทานิ, กตฺถ จ อมฺเหหิ

สิกฺขิตพฺพนฺติ. ครั้งนั้นแล ข้อนี้ได้มีแล้ว แก่สามเณร ท. ว่า

"สิกขาบท ท. ของเรา ท. เท่าไร หนอแล ? อนึ่ง เรา ท.

ต้องศึกษา ในข้อไหน ?"

ข้อ ๕๐๑-๕๑๓

๕๐๑. “สาธุ เม ภนฺเต อปรสฺสาปิ เถรสฺส คุณํ ทสฺเสถา’ ติ. “สารีปุตฺตตฺเถโร อาวุโส มหาปญฺญภาเว สตฺถารา ปสฏฺโฐ อโหสิ, โมคฺคลฺลานตฺเถโร มหิทฺธิกภาเว’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระ อาห กล่าวแล้ว สาธุ เม ภนฺเต อปรสฺสาปิ เถรสฺส คุณํ ทสฺเสถ อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สาธุ อ. ดีละ ตุมฺเห อ. ท่าน ทสฺเสถ ขอจงแสดง คุณํ ซึ่งคุณ เถรสฺส แห่งพระเถระ อปรสฺสาปิ แม้อื่นอีก เม แก่กระผม ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว สารีปุตฺตตฺเถโร ฯเปฯ มหิทฺธิกภาเว อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สารีปุตฺตตฺเถโร อ. พระเถระชื่อว่าสารีบุตร สตฺถารา ปสฏฺโฐ เป็นผู้อันพระศาสดา ทรงสรรเสริญแล้ว มหาปญฺญภาเว ในเพราะความเป็นผู้มีปัญญามาก อโหสิ ได้เป็นแล้ว, โมคฺคลฺลานตฺเถโร อ. พระเถระชื่อว่าโมคคัลลานะ สตฺถารา ปสฏฺโฐ เป็นผู้อันพระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว มหิทฺธิกภาเว ในเพราะความเป็นผู้มีฤทธิ์มาก อโหสิ ได้เป็นแล้ว ฯ

๕๐๒. “กึ เต อญฺญมญฺญสฺส ภาตโร โหนฺต ภนฺเต’ ติ. “นาวุโส, เต ปน อญฺญมญฺญสฺส สหายกา’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กึ ปน เต ฯเปฯ โหนฺติ อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เต เทฺว เถรา อ. พระเถระ ท. สอง เหล่านั้น อญฺญมญฺญสฺส ภาตโร เป็นพี่น้องชายของกันและกัน โหนฺติ ย่อมเป็น กึ หรือ ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว นาวุโส เต ปน อญฺญมญฺญสฺส สหายกา อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เต เทฺว เถรา อ. พระเถระ ท. สอง อญฺญมญฺญสฺส ภาตโร เป็นพี่น้องชายของกันและกัน โหนฺติ ย่อมเป็น น หามิได้, ปน แต่ว่า เต เทฺว เถรา อ. พระเถระ ท. สอง เหล่านั้น อญฺญมญฺญสฺส สหายกา เป็นผู้เป็นสหาย แห่งกันและกัน โหนฺติ ย่อมเป็น ฯ

๕๐๓. “กตรสฺมึ ภนฺเต กุเล สารีปุตฺตตฺเถโร ชาโต, โก ตสฺส ปิตา, กา จ มาตา’ติ. “ วงฺคนฺตพฺราหฺมณกุเล อาวุโส ชาโต เสฺวว ปิตา, สารี นาม พฺราหฺมณี มาตา’ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กตรสฺมึ ภนฺเต ฯเปฯ กา จ มตา อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สารีปุตฺตตฺเถโร อ. พระเถระชื่อว่าสารีบุตร ชาโต เกิดแล้ว กุเล ในตระกูล กตรสฺมึ ไหน, โก อ. ใคร ปิตา เป็นบิดา ตสฺส สารีปุตฺตตฺเถรสฺส ของพระเถระชื่อว่า สารีบุตรนั้น โหติ ย่อมเป็น จ อนึ่ง กา อ. ใคร มาตา เป็นมารดา ตสฺส สารีปุตฺตตฺเถรสฺส ของพระเถระขื่อว่าสารีบุตรนั้น โหติ ย่อมเป็นฯ

เถโร อ.พระเถระ อาห กล่าวแล้ว วงฺคนฺตพฺราหฺมณกุเล ฯเปฯ พฺราหฺมณี มาตา อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สารีปุตฺตตฺเถโร อ.พระเถระชื่อว่าสารีบุตร ชาโต เกิดแล้ว วงฺคนฺตพฺราหฺมณกุเล ในตระกูลแห่งพราหมณ์ชื่อวังคันตะ, โส เอว วงฺคนฺตพฺราหฺมโณ อ. พราหมณ์ชื่อว่า วังคันตะนั่นเทียว ปิตา เป็นบิดา โหติ ย่อมเป็น, พฺราหฺมณี อ. นางพราหมณี สารี นาม ชื่อว่าสารี มาตา เป็นมารดา โหติ ย่อมเป็น ฯ

๕๐๔. “กินฺติ โส ทารกกาเล ปญฺญายี’ ติ. อุปติสฺโส’ติ อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กินฺติ โส ทารกกาเล ปญฺญายิ อิติ ว่าดังนี้

โส สารีปุตฺตตฺเถโร อ. พระเถระชื่อว่าสารีบุตรนั้น ปญฺญายิ ปรากฏแล้ว กึ อิติ ว่าอะไร ดังนี้ ทารกกาเล ในกาลแห่งท่านยังเป็นเด็ก ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว อุปติสฺโสติ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส สารีปุตฺตตฺเถโร อ. พระเถระชื่อว่าสารีบุตรนั้น ปญฺญายิ ปรากฏแล้ว อุปติสฺโส อิติ ว่าอ. มาณพชื่อว่าอุปติสสะ ดังนี้ ฯ

๕๐๕. “โก ปน ภนฺเต มหาโมคฺคลฺลานตฺเถรสฺส ปิตา, กา จ มาตา’ ติ.

“โกลิตคาเม อาวุโส เชฏฺฐพฺราหฺมโณ ปิตา, โมคฺคลฺลี นาม พฺราหฺมณี มาตา’ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว โก ปน ฯเปฯ กา มาตา อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ โก อ. ใคร ปิตา เป็นบิดา โมคฺคลฺลานตฺเถรสฺส ของพระเถระชื่อว่าโมคคัลานะ โหติ ย่อมเป็น, จ ก็ อ. ใคร มาตา เป็นมารดา โหติ ย่อมเป็นฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว โกลิตคาเม อาวุโส ฯเปฯ พฺราหฺมณี มาตา อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เชฏฺฐพฺราหฺมโณ อ. พราหมณ์ผู้เจริญที่สุด โกลิตคาเม ในบ้านชื่อว่าโกลิตะ ปิตา เป็นบิดา โหติ ย่อมเป็น, พฺราหฺมณี อ. นางพราหมณี โมคฺคลฺลี นาม ชื่อว่าโมคคัลลี มาตา เป็นมารดา โหติ ย่อมเป็น.

๕๐๖. “โก นาม ภนฺเต เถรสฺส ปิตา’ ติ. “ตสฺส นามํ ปญฺญายติ อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว โก นาม ภนฺเต เถรสฺส ปิตา อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปิตา อ.เถรสฺส ของพระเถระ โก นาม ชื่ออะไร ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าววแล้ว ตสฺส นามํ น ปญฺญายติ อวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ นามํ อ. ชื่อ ตสฺส เถรสฺส ปิตุโน แห่งบิดาแห่งพระเถระนั้น น ปญฺญายติ ย่อมไม่ปรากฏ ฯ

๕๐๗. “กินติ ปน ภนฺเต ทารกกาเล เถรํ ชญฺชานึสู’ ติ. “ โกลิโต’ ติ อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว กินติ ปน ภนฺเต ทารกกาเล เถรํ สญฺชานึสุ อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ ชนา อ. ชน ท. สญฺชานึสุ รู้พร้อมแล้ว เถรํ ซึ่งพระเถระ กึ อิติ ว่า อ. อะไร ดังนี้ ทารกกาเล ในกาลแห่งท่านเป็นเด็ก ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว โกลิโตติ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ชนา อ. ชน ท. สญฺชานึสุ รู้พร้อมแล้ว เถรํ ซึ่งพระเถระ โกลิโต อิติ ว่า อ. มาณพชื่อว่าโกลิตะ ดังนี้ ทารกกาเล ในกาลแห่งท่านเป็นเด็ก ฯ

๕๐๘. “กินฺเต อารพฺภ นิกฺขมิตฺวา ปพฺพชึสุ ภนฺเต’ติ. “โมกฺขธมฺมํ อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุขื่อว่าวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว กินฺเต อารพฺภ เคหโต นิกฺขมิตฺวา ปพฺพชึสุ ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เต เทฺว เถรา อ. พระเถระ ท. สองเหล่านั้น อารพฺภ ปรารภ กึ การณํ ซึ่งเหตุอะไร นิกฺขมิตฺวา ออกแล้ว เคหโต จากเรือน ปพฺพชึสุ บวชแล้วฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว โมฺกขธมฺมํ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เต เทฺว เถรา อ. พระเถระ ท. สองเหล่านั้น อารพฺภ ปรารภ โมกฺขธมฺมํ ซึ่งธรรมเป็นเครื่องพ้น นิกฺขมิตฺวา ออกแล้ว เคหโต จากเรือน ปพฺพชึสุ บวชแล้ว ฯ

๕๐๙. “วิตฺถาเรน เตสํ ปวตฺตึ โสตุ(ตุง) อิจฺฉามิ ภนฺเต’ ติ.

วิธุโร อ.ภิกษุชื่อว่าวิธุระ อาห กล่าวแล้ว วิตฺถาเรน เตสํ ปวตฺตึ โสตุ อิจฺฉามิ ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อหํ อ. กระผม อิจฺฉามิ ย่อมปรารถนา โสตุ(ตุง) เพื่ออันฟัง ปวตฺตึ ซึ่งความเป็นไปทั่ว เตสํ เถรานํ แห่งพระเถระ ท. เหล่านั้น วิตฺถาเรน โดยพิสดาร.

๕๑๐. “เต กิริ อาวุโส คิหิกาเล สหายกา หุตฺวา เอกทิวสํ ราชคเห คิรคฺคสมชฺชํ ปสฺสนฺตา, ‘กินฺโน โอโลกเนน, วสฺสเต อปฺปตฺเต อิเม มริสฺสนฺตี’ ติ จินฺเตสุ(สุง). เตสํ เอวํ จินฺตยนฺตานํ สํเวโค อุปฺปชฺชิ. ตโต เต สหายกา ‘ อมฺเหหิ ปพฺพชิตฺวา โมกฺขธมฺมํ ปริเยสิตุ(ตุง) วฏฺฏตี’ ติ อญฺญมญฺญํ มนฺเตตฺวา สมานฉนฺทา หุตฺวา อตฺตโน ปริวาเรหิ สทฺธึ สญฺชยสฺส นาม ปริพฺพาชกสฺส สนฺติเก ปพฺพชึสุ. เต สพฺพํ สญฺชยสฺส สทฺธึ อุคฺคเหตฺวา นิสฺสารกภาวํ ญตฺวา “อมฺเหสุ โย ปฐมํ โมกฺขธมฺมํ อธิคจฺฉติ, โส อิตรสฺส อาโรเจตู’ ติ อญฺญมญฺญํ กติกํ กรึสุ, เอกทิวสํ อุปติสฺโส ราชคเห ปิณฺฑาย จรนฺตํ อสฺสชิตฺเถรํ ทิสฺวา อิริยาปเถสุ ปสีทิสฺวา ‘ วิปฺปสนฺนานิ โข เต อาวุโส อินฺทฺริยานิ, ปริสุทฺโธ ฉวิวณฺโณ, กํสิ อาวโส อุทฺทิสฺส ปพฺพชิโต, โก วา เต สตฺถา, กสฺส วา ตฺวํ ธมฺมํ โรเจสี’ติ ปุจฺฉิตฺวา อมฺหากํ ภควโต สาวกภาวํ ญตฺวา ธมฺมํ เทเสตุ(ตุง) เถรํ ยาจิตฺวา, ธมฺมํ เทสิยมาเน, โสตาปตฺติผลํ ปตฺวา ปริพฺพาชากรามํ อาคนฺตฺวา โกลิตสฺส ปวตฺตึ อาโรเจตฺวา ตญฺเญว ธมฺมํ เทเสติ. โสปิ ตํ สุตฺวา โสตาปตฺติผเล ปติฏฺฐหิ. เต สปิวารา สญฺชยสฺส สนฺติกํ คนฺตฺวา อาปุจฉิตฺวา เวฬุวนํ คนฺตฺวา ภควโต สนฺติเก ลทฺธูปสมฺปทา เตน ทินฺโนวาทํ สุตฺวา อรหตฺตํ ปาปุณึสู’ ติ.

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว เต กิร อาวุโส ฯเปฯ สุตฺวา อรหตฺตํ ปาปุณึสุ อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ กิร ได้ยินว่า เต เถรา อ. พระเถระ ท. เหล่านั้น สหายกา เป็นผู้เป็นสหาย หุตฺวา เป็น คิหิกาเล ในกาลแห่งตนเป็นคฤหัสถ์ ปสฺสนฺตา ดูอยู่ คิรคฺคสมชฺชํ ซึ่งมหรสพอันบุคคลพึงเล่นบนยอดแห่งภูเขา ราชคเห ในกรุงราชคฤห์ เอกทิวสํ ในวันหนึ่ง จินฺเตสุ(สุง) คิดแล้ว กินฺโนฯเปฯ มริสฺสนฺตี อิติ ว่าดังนี้(เลขใน) กึ ปโยชนํ อ. ประโยชน์อะไร โอโลกเนน ด้วยอันดู โน แก่เรา ท. วสฺสสเต ครั้นเมื่อร้อยแห่งปี อปฺปตฺเต ไม่ถึงแล้ว อิเม สตฺตา อ. สัตว์ ท. เหล่านี้ มริสฺสนฺติ จักตายฯ เตสํ สหายกานํ เมื่อสหาย ท. เหล่านั้น จินฺตยนฺตานํ คิดอยู่ เอวํ อย่างนี้ สํเวโค อ. ความสังเวช อุปฺปชฺชิ เกิดขึ้นแล้ว ฯ ตโต ในลำดับนั้น สหายกา อ.สหาย ท. เต เหล่านั้น มนฺเตตฺวา ปรึกษาแล้ว อญฺญมญฺญํ ซี่งกันและกัน อมฺเหหิ ฯเปฯ วฏฺฏติ อิติ ว่าดังนี้ สมานจฺฉนฺทา เป็นผู้มีความพอใจเสมอกัน หุตฺวา เป็น ปพฺพชึสุ บวชแล้ว สนฺติเก ในสำนัก ปริพฺพาขกสฺส แห่งปริพพาชก สญฺชยสฺส นาม ชื่อว่าสัญชัย สทฺธึ กับ ปริวาเรหิ ด้วยบริวาร ท. ของตน(เลขใน) อมฺเหหิ ปพฺพชิตฺวา ปริเยเสตุ(ตุง) อ. อันอันเรา ท. บวชแล้วจึงแสวงหา โมกฺขธมฺมํ ซึ่งธรรมเป็นเครื่องพ้น วฏฺฏติ ย่อมควร ฯ เต สหายกา อ. สหาย ท. เหล่านั้น อุคฺคเหตฺวา เรียนเอาแล้ว ลทฺธึ ซึ่งลัทธิ สญฺชยสฺส แห่งปริพพาชกชื่อว่าสัญชัย สพฺพํ ทั้งปวง ญตฺวา ทราบแล้ว นิสฺสารกภาวํ ซึ่งความที่แห่งลัทธิอันตนเรียนเอาแล้วเป็นธรรมชาติไม่มีแก่นสาร กรึสุ กระทำแล้ว กติกํ ซึ่งความนัดหมาย อญฺญมญฺญํ กะกันและกัน อมฺเหสุ ฯเปฯ อาโรเจตุ อิติ ว่าดังนี้ (เลขใน) อมฺเหสุ ในเรา ท. หนา โย ปุคฺคโล อ. บุคคลใด อธิคจฺฉติ ย่อมถึงทับ (บรรลุ) โมกฺขธมฺมํ ซึ่งธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้น ปฐมํ ก่อน, โส ปุคฺคโล อ. บุคคลนั้น อาโรเจตุ จงบอก อิสรสฺส ปุคฺคลสฺส แก่บุคคลนอกนี้ ฯ เอกทิวสํ ในวันหนึ่ง อุปติสฺโส อ. ปริพพาชกชื่อว่าอุปติสสะ ทิสฺวา เห็นแล้ว อสฺสชิตฺเถรํ ซึ่งพระเถระชื่อว่าอัสสชิ จรนฺตํ ผู้เที่ยวไปอยู่ ปิณฺฑาย เพื่อบิณฑบาต ราชคเห ในกรุงราชคฤห์ ปสีทิตฺวา เลื่อมใสแล้ว อิริยาปเถสุ ในอิริยาบถ ท. ปุจฺฉิตฺวา ถามแล้ว วิปฺปสนฺนานิ โข ฯเปฯ โรเจสิ อิติ ว่าดังนี้ ญตฺวา ทราบแล้ว อมฺหากํ ภควโต สาวกภาวํ ซึ่งความที่แห่งพระเถระเป็นพระสาวกของพระผู้มีพระภาคของเรา ยาจิตฺวา วิงวอนแล้ว เถรํ ซึ่งพระเถระ เทเสต(ตุง) เพื่ออันแสดง ธมฺมํ ซึ่งธรรม ธมฺเม ครั้นเมื่อธรรม เถเรน อันพระเถระ เทสิยมาเน แสดงอยู่ ปตฺวา บรรลุแล้ว โสตาปตฺติผลํ ซึ่งพระโสดาปัตติผล อาคนฺตฺวา มาแล้ว ปริพฺพาชการามํ สู่อารามแห่งปริพพาชก อาโรเจตฺวา บอกแล้ว ปวตฺตึ ซึ่งเรื่องอันเป็นไปทั่ว โกลิตสฺส แก่ปริพพาชากชื่อว่าโกลิตะ เทเสสิ แสดงแล้ว ธมฺมํ ซึ่ งธรรม ตํ เอว นั้นนั่นเทียว (เลขใน) อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อินฺทฺริยานิ อ. อินทรีย์ ท. เต ของท่าน วิปฺปสนฺนานิ โข ผ่องใสแล้วแล ฉวิวณฺโณ อ. สีแห่งผิว ปริสุทฺโธ หมดจดรอบแล้ว อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ตฺวํ อ. ท่าน ปพฺพชิโต เป็นผู้บวชแล้ว อุทฺทิสฺส เจาะจง กํ ซึ่งใคร อสิ ย่อมเป็น โก วา อ. ใครหรือ สตฺถา เป็นครู เต ของท่าน โหติ ย่อมเป็น วา หรือว่า ตฺวํ อ. ท่าน โรเจสิ ย่อมชอบใจ ธมฺมํ ซึ่งธรรม กสฺส ของใคร ฯ โสปิ โกลิโต อ. ปริพพาชกชื่อว่าโกลิตะแม้นั้น สุตฺวา ฟังแล้ว ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น ปติฏฺฐหิ ตั้งอยู่เฉพาะแล้ว โสตาปตฺติผเล ในโสดาปัตติผล ฯ เต ปริพฺพาชกา อ. ปริพพาชก ท. เหล่านั้น สปิวารา ผู้เป็นไปกับด้วยบริวาร คนฺตวา ไปแล้ว สนฺติกํ สู่สำนัก สญฺชยสฺส แห่งปริพพาชกชื่อว่าสัญชัย อาปุจฺฉิตฺวา อำลาแล้ว คนฺตฺวา ไปแล้ว เวฬุวนํ สู่พระวิหารชื่อว่าเวฬุวัน ภควโต สนฺติเก ลทฺธูปสมปทา เป็นผู้มีอุปสมบทได้แล้ว ในสำนักแห่งพระผู้มีพระภาค หุตฺวา เป็น สุตฺวา ฟังแล้ว เตน ทินฺโนวาทํ ซึ่ งโอวาทอันอันพระผู้มีพระภาคนั้นประทานแล้ว ปาปุณึสุ บรรลุแล้ว อรหตฺตํ ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ ฯ

๕๑๑. “กึ ปน ภนฺเต เอกกฺขเณเยว อรหตฺตํ ปาปุณึสุ อุทาหุ นานาขเณ’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว กึ ปน ฯเปฯ อุทาหุ นานาขเณ อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ เต เถรา อ. พระเถระ ท. เหล่านั้น ปาปุณึสุ บรรลุแล้ว อรหตฺตํ ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ เอกกฺขเณ เอว ในขณะเดียวกันนั้นเทียว กึ หรือ อุทาหุ หรือว่า เต เถรา อ. พระเถระ ท.เหล่านั้น ปาปุณึสุ บรรลุแล้ว อรหตฺตํ ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ นานาขเณ ในขณะต่างๆกัน ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว นานาขเณ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เต เถรา อ. พระเถระ ท. เหล่านั้น ปาปุณึสุ บรรลุแล้ว อรหตฺตํ ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ นานาขเณ ในขณะต่างๆกัน ฯ

๕๑๒. “เก ปน ภนฺเต ปฐมํ อรหตฺตํ ปาปุณึสู’ ติ. “เตสํ ปริวารา, ตโต มหาโมคฺคลฺลานตฺเถโร, ตโต สารีปุตฺตฺเถโร’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุ ชื่อว่าวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว เก ปน ภนฺเต ปฐมํ อรหตฺตํ ปาปุณึสุ อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ เก เถรา อ. พระเถระ ท. เหล่าไหน ปาปุณึสุ บรรลุแล้ว อรหตฺตํ ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ ปฐมํ ก่อน ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว เตสํ ปริวารา ฯเปฯ สารีปุตฺตตฺเถโร อิติ ว่าดังนี้

ปริวารา อ. บริวาร ท. เตสํ เถรานํ แห่งพระเถระ ท. เหล่านั้น ปาปุณึสุ บรรลุแล้ว อรหตฺตํ ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ ปฐมํ ก่อน ตโต แต่นั้น มหาโมคฺคลฺลานตฺเถโร อ. พระเถระชื่อว่ามหาโมคคัลลานะ ปาปุณิ บรรลุแล้ว อรหตฺตํ ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ ตโต แต่นั้น สารีปุตฺตตฺเถโร อ. พระเถระชื่อว่าสารบุตร ปาปุณิ บรรลุแล้ว อรหตฺตํ ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ ฯ

๕๑๓. “เก ปน ภนฺเต สารีปุตฺตตฺเถโร จ โมคฺคลฺลานตฺเถโร จ ภควโต ปรินิพฺพานกาลโต ปุพฺเพ ปรินิพฺพายึสุ อุทาหุ ปจฺฉา’ติ. ปุพฺเพ อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กึ ปน ภนฺเต ฯเปฯ อุทาหุ ปจฺฉา อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สารีปุตฺตตฺเถโร จ อ. พระเถระชื่อว่าสารีบุตรด้วย มหาโมคฺคลฺลานตฺเถโร จ อ. พระเถระชื่อว่าโมคคัลลานะด้วย ปรินิพฺพายึสุ ปรินิพพานแล้ว ปุพฺเพ ในก่อน ปรินิพฺพานกาลโต แต่กาลเป็นที่เสด็จปรินิพพาน ภควโต แห่งพระผู้มีพระภาค กึ หรือ อุทาหุ หรือว่า สารีปุตฺตตฺเถโร จ อ. พระเถระชื่อว่าสารีบุตรด้วย โมคฺคลฺลานตฺเถโร จ อ. พระเถระชื่อว่าโมคคัลลานะด้วย ปรินิพฺพายึสุ ปรินิพพานแล้ว ปจฺฉา ในภายหลัง ปรินิพฺพานกาลโต แต่กาลเป็นที่เสด็จปรินิพพาน ภควโต แห่งพระผู้มีพระภาคฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว ปฺพฺเพ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สารีปุตฺตตฺเถโร จ อ. พระเถระชื่อว่าสารีบุตรด้วย มหาโมคฺคลฺลานตฺเถโร จ อ. พระเถระชื่อว่าโมคคัลลานะด้วย ปรินิพฺพายึสุ ปรินิพพานแล้ว ปุพฺเพ ในก่อน ปรินิพฺพานกาลโต แต่กาลเป็นที่เสด็จปรินิพพาน ภควโต แห่งพระผู้มีพระภาคฯ
๓๑. คุณนามก็ดี นามนามที่ใช้เป็นคุณนามก็ดี ที่เข้ากับ

กิริยาว่ามี ว่าเป็น ซึ่งประกอบ ตุํ ปัจจัย ใช้ ปฐมาวิภัตติบ้าง

ใช้ ตติยาวิภัตติ บ้าง ดังนี้: นายํ ปาโป โหตุํ อรหติ ผู้นี้

ไม่ควร เป็นคนชั่ว, ปมตฺเตน ภวิตุํ น วฏฺฏติ ไม่ควร เป็นคน

ประมาท.

๓๒. ภาวตัทธิต เข้าสมาสกับศัพท์อื่น เอาภาวะออกเสีย
ก็ได้ ดังนี้: สตฺถุ นิสินฺนตฺถาย มชฺเฌ อาสนํ ปญฺญาเปสิ

เขาปูแล้ว ซึ่งอาสนะ ในท่ามกลาง เพื่อความเป็นที่นั่งแห่ง

พระศาสดา.

ข้อ ๕๑๔- ข้อ ๕๒๐

๕๑๔.ขอท่าน ท. จงแสดง ซึ่งคุณ แห่งพระเถระ แม้อื่น แก่ข้าพเจ้า อีก. พระมหากัสสปเถระ ได้เป็นผู้ อันพระศาสดา สรรเสริญแล้ว ในเพราะคุณคือธุดงค์.

สาธุ เม ภนฺเต อปรสฺสาปิ เถรสฺส คุณํ ทสฺเสถาติ ฯ มหากสฺสปตฺเถโร อาวุโส ธุตงฺคุเณ สตฺถารา ปสฏฺโฐ อโหสีติ ฯ

๕๑๕. ท่านเป็นบุตรของใคร? ของกบิลพราหมณ์ ในบ้าน ชื่อมหาติตถะ ในแคว้น มคธ.

โส กสฺส ปุตฺโต อโหสิ ภนฺเตติ ฯ มคธรฏฺเฐ มหาติตฺถคาเม กปิลพฺราหฺมณสฺส อาวุโสติ ฯ

๕๑๖. มารดา ของท่าน ชื่ออะไร? ชื่อ ของมารดา ของท่าน ไม่ปรากฏ.

กา นาม ภนฺเต ตสฺส มาตาติ ฯ ตสฺส มาตุ นามํ น ปญฺญายติ อาวุโสติ ฯ

๕๑๗. ในกาลเป็นคฤหัสถ์ ท่านชื่อไร? ชื่อ ปิปผลิมาณพ.

โก นาม ภนฺเต คิหิกาเล โส โหตีติ ฯ ปิปฺผลิมาณโว นามาวุโสติ

๕๑๘. ท่าน ปรารภ ซึ่งเหตุอะไร? บวชแล้ว. ซึ่งการงาน ของท่าน อันยังทุกข์ ให้เกิดแก่ผู้อื่น.

กึ การณํ อารพฺภ ปพฺพชิโต ภนฺเตติ ฯ ปรสฺส ทุกฺขูปชฺชนกํ ตสฺส กมฺมํ อาวุโสติ ฯ

๕๑๙. ข้าฯ อยากเพื่อจะฟัง ซึ่งเรื่อง ของท่าน โดยพิสดาร.

อหํ ภนฺเต วิตฺถาเรน ตสฺส ปวตฺตึ โสตุ(ตุง) อิจฺฉามีติ ฯ

๕๒๐. ได้ยินว่า ครั้นเมื่อท่าน ถึงวัยแล้ว มารดาบิดา ท. นำมาแล้ว ซึ่งธิดา แห่งพราหมณ์ โกฬิยโคตร ในสาครนคร ในแว่นแคว้นมคธ ชื่อว่าภัททกาปิลานี เพื่อความเป็นภริยาของท่าน โยความไม่ปรารถนา ของท่าน, แม้นาง(ก็) ไม่ปรารถนา เพื่อจะเป็นภริยา ของท่าน, ก็แต่ว่า มารดาบิด ท. ของนาง ให้แล้ว ซึ่งนาง แก่มารดาบิดา ท. ของท่าน. ท่าน ท. ๒ แม้อยู่ ในเรือนเดียวกัน ไม่ได้สำเร็จแล้ว ซึ่งความอยู่ร่วมกัน. เมื่อมารดาบิดา ท. ตายแล้ว, ท่าน ปกครอง ซึ่งสมลัติ ทั้งสิ้น ในเรือน. วันหนึ่ง ท่าน ดูอยู่ ซึ่งการงาน ในนา, เห็นแล้ว ซึ่งนก ท. มีกาเป็นต้น จอกขึ้น(ยกขึ้น) ซึ่งสัตว์น้อย ท. มีไส้เดือนเป็นต้น ในรอยแห่งไถ กินอยู่, สำคัญอยู่ว่า “สัตว์ ท. เหล่านี้ ถึง ซึ่งความพินาศ เพราะการงาน ของเรา, เมื่อเป็นอย่างนี้ บาป จักมี แก่เรา” (จึง) เบื่อหน่ายแล้ว ละแล้ว ซึงสมบัติ ทั้งสิ้น บวชแล้ว จำเพาะ ซึ่งพระอรหันต์ ท. ในโลก. ท่าน เที่ยวมา โยลำดับ เห็นแล้ว ซึ่งพระผู้มีพระภาค ประทับแล้ว ที่โคน แห่งต้นพหุปุตตนิโครธ (จึง) เข้าไปใกล้แล้ว ซึ่งพระองค์ พระผู้มีพระภาค ประทานแล้ว ซึงโอวาท, อนุญาตแล้ว ซึ่งอุปสัมปทา ในศาสนา นี้ แก่ท่าน. ท่าน ตั้งอยู่แล้ว ในโอวาท อันพระศาสดา ประทานแล้ว ถึงแล้ว ซึ่งพระอรหัต.คำต่อไปนี้ อันเรา เล่าแล้ว แก่ท่าน ในหนหลังฯ

ตสฺมึ กิร อาวุโส วยปฺปตฺเต มาตาปิตโร ตสฺส อนิจฺฉาย ภัททกาปิลานี นาม มคธรฏฺเฐ สาคลนคเร โกฬิยพฺราหฺมณสฺส ธีตรํ ตสฺส ภริยาภาวตฺถํท อาเนสุ(สุง), สาปิ ตสฺส ภริยาภาวตฺถํ น อิจฺฉติ, ตสฺสา ปน มาตาปิตโร ตสฺส มาตาปิตูนํ ตํ อทํสุฯ เต อุโภ เอกเคเห วสมานาปิ สํวาสํ น กปฺเปสุ(สุง)ฯ มาตาปิตูนํ มตานํ, โส เคเห สกลํ สมฺปตฺตึ อชฺฌาวสติฯ เอกทิวสํ โส เขตฺเต กมฺมนฺตํ โอโลเกนฺโต นงฺคลสฺส สิตาสุ คณฺฑุปฺปาทาทโย ขุทฺทกสตฺเต อุกฺขิปิตฺวา ขาทนฺเต กากาทโย สกุเณ ทิสฺวา อิเม สตฺตา มม กมฺมนฺเตน วินาสํ ปตฺตา, เอวํ สนฺเต ปาปํ เม ภวิสฺสตีติ มญฺญมาโน, นิพฺพิตฺวา สกลสมฺปตฺตึ ปหาย โลกสฺมึ อรหนฺเต อุทฺทิสฺส ปพฺพชิ ฯ โส อนุกฺกเมน วิจรนฺโต พหุปุตฺตนิโคฺรธมูเล นิสินฺนํ ภควนฺตํ ทิสฺวา, ตํ อุปสงฺกมิ ฯ ภควา โอวาทํ ทตฺวา ตสฺส อิมสฺมึ สาสเน อุปสมฺปนฺนํ อนุญฺญาสิ ฯ โส ภควตา ทินฺโทวาเท ฐิโต อรหตฺตํ ปาปุณิ ฯ อิโต ปรํ มยา เหฏฺฐา เต กถิตนฺติ ฯ
๓๓. คำพูดที่ใช้มัธยมบุรุษ ในความเคารพ จะใช้ประถม-

บุรุษ เอกวจนะก็ได้ ดังนี้: สาธุ เม ภนฺเต ภควา สงฺขิตเตน

ธมฺมํ เทเสตุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค จง

ทรงแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์โดยย่อ.

ข้อ๕๒๑- ข้อ ๕๒๕

๕๒๑. “สาธุ เม ภนฺเต อปรสฺสาปิ เถรสฺส คุณํ ปกาเสถา’ ติ. “มหากจฺจายนตฺเถโร อาวุโส สตฺถารา ‘ สงฺขิตฺเตน ภาสิตสฺส วิตฺถาเรน อตฺถํ วิภชนฺตานํ สาวกานํ อคฺโค’ ติ ปสฏฺโฐ’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ อาห กล่าวแล้ว สาธุ เม ภนฺเต อปรสฺสาปิ เถรสฺส คุณํ ปกาเสถ อิติ ว่าดังนี้

สาธุ อ. ดีละ ตุมเห อ. ท่าน ท. ปกาเสถ ขอจงประกาศ คุณํ ซึ่งคุณ เถรสฺส แห่งพระเถระ อปรสฺสาปิ แม้อื่นอีก เม แก่กระผม ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว มหากจฺจายนตฺเถโร ฯเปฯ ปสฏฺโฐ อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มหากจฺจายนตฺเถโร อ. พระเถระชื่อว่ามหากัจจายนะ สตฺถารา อันพระศาสดา ปสฏฺโฐ ทรงสรรเสริญแล้ว สงฺขิตฺเตน ฯเปฯ อคฺโค อิติ ว่า เป็นผู้เลิศแห่งพระสาวก ท. ผู้จำแนกอยู่ซึ่งเนื้อความแห่งพระดำรัสอันอันพระศาสดาตรัสแล้วโดยย่อ โดยพิสดาร ดังนี้ฯ

๕๒๒."กสฺส ปุตฺโต ภนฺเตติ. อุชฺเชนิยํ ปุโรหิตสฺส อาวุโสติ.

วิธุโร อ.ภิกษุชื่อวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กสฺส ปุตฺโต ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส มหากจฺจายนตฺมหาเถโร อ. พระเถระชื่อว่ามหากัจจายนะนั้น ปุตฺโต เป็นบุตร กสฺส ของใคร โหติ ย่อมเป็น

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว อุชฺเชนิยํ ปุโรหิตสฺส อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โส มหากจฺจายนตฺเถโร อ. พระเถระชื่อว่ามหากัจจายนะนั้น ปุตฺโต เป็นบุตร ปุโรหิตสฺส ของปุโรหิต อุชฺเชนิยํ ในพระนครอุชเขนี โหติ ย่อมเป็น ฯ

๕๒๓. “คิหิกาเล กินติ สญฺชานึสุ ภนฺเต’ ติ.” นามวเสน ‘กาญฺจโน’ ติ จ โคตฺตวเสน ‘ กจฺจายโน’ติ จ อาวุโส’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว คิหืกาเล กินติ นํ สญฺชานึสุ ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านู้เจริญ ชนา อ. ชน ท. สญฺชานึสุ รู้พร้อมแล้ว นํ เถรํ ซึ่งพระเถระนั้น กึ อิติ ว่า อ. อะไร ดังนี้ คิหิกาเล ในกาลแห่งพระเถระนั้นเป็นคฤหัสถ์ ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว นามวเสน ฯเปฯ จ อาวุโส อิติ ว่าดังนี้

อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ชนา อ. ชน ท. สญฺชานึสุ รู้พร้อมแล้ว นํ เถรํ ซึ่งพระเถระนั้น นามวเสน กาญฺจโน อิติ จ ว่า อ.กุมารชื่อว่ากาญจนะ ดังนี้ ด้วยอำนาจแห่งชื่อด้วย โคตฺเตน กจฺจายโน อิติ จ ว่า อ.กุมารชื่อว่ากัจจายนะ ดังนี้ ด้วยอำนาจแห่งโคตรด้วย คิหิกาเล ในกาลแห่งพระเถระเป็นคฤหัสถ์

๕๒๔. “กถํ ตสฺส ปพฺพชฺชา ภนฺเต’ ติ. “จณฺฑปฺปชฺโชโต อาวุโส ราชา ตสฺส ปิตุ อจฺจเยน ปุโรหิตฐานํ อทาสิ. ราชา พุทฺธสฺส อุปฺปนฺนภาวํ สุตฺวา อมจฺเจ สนฺนิปาเตตฺวา ปุจฉิ ‘ พุทฺโธ ภเณ โลเก อุปฺปนฺโน, โก ตํ อาเนตุ(ตุง) สกฺขิสฺสตี’ ติ. เต เอวมาหํสุ ‘เทว อญฺโญ ทสพลํ อาเนตุ(ตุง) สมตฺโถ นาม นตฺถิ, กจฺจายโน อาจริโย ว สมฏฺโฐ, ตํ เทโว ปหิณตู’ ติ โส ตํ ปกฺโกเสาเปตฺวา ‘ พฺราหฺมณ ทสพลสฺส สนฺติกํ คนฺตฺวา ตํ อาเนหี’ ติ อาห . ‘ สเจ ปพฺพชิต(ตุง) ลภิสฺสามิ คสิสฺสามิ เทวา’ ติ. ราชา ‘ สาธู’ ติ สมปฏิจฺฉิ. โส สตฺตหิ ชเนหิ สทฺธึ สตฺถุ สนฺติกํ อคมาสิ. อถสฺส สตฺถา ธมฺมํ เทเสติ. เทสนาปริโยสาเน สตฺตหิ ชเนหิ สทฺธึ อรหตฺตํ ปาปุณิ. สตฺถา ‘เอถ ภิกฺขโว’ติ เนสํ อุปสมฺปทํ อนุญฺญาสิ. เอวํ ตสฺส ปพฺพชฺชา’ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฺฉิ ถามแล้ว กถํ ตสฺส ปพฺพชฺชา ภนฺเต อิติ ว่าดังนี้

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปพฺพชฺชา อ. การบวช ตสฺส มหากจฺจายนตฺเถรสฺส ของพระเถระชื่อว่ามหากัจจายนะนั้น กถํ อย่างไรฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว จณฺฑปฺปชฺโชโต อาวุโส ฯเปฯ เอวํ ตสฺส ปพฺพชฺชา อิติ ว่าดังนี้ อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ราชา อ. พระชา จณฺฑปฺปชฺโชโต พระนามว่าจัณฑปัชโชติ อทาสิ ได้พระราชทานแล้ว ปุโรหิตฏฺฐานํ ซึ่งตำแหน่งแห่งปุโรหิต อจฺจเยน โดยกาลที่ล่วงไป ปิตุโน แห่งบิดา ตสฺส มหากจฺจายนตฺเถรสฺส ของพระเถระชื่อว่ามหากัจจายนะนั้น ฯ ราชา อ. พระราชา สุตฺวา ทรงสดับแล้ว พุทฺธสฺส อุปฺปนฺนภาวํ ซึ่ งความที่แห่งพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้ว อมจฺเจ ยังอำมาตย์ ท. สนฺนิปาเตตฺวา ให้ประชุมกันพร้อมแล้ว ปุจฺฉิ ตรัสถามแล้ว พุทฺโธ ฯเปฯ สกฺขิสฺสตี อิติ ว่าดังนี้ ภเณ แน่ะพนาย พุทฺโธ อ. พระพุทธเจ้า อุปฺปนฺโน เสด็จอุบัติแล้ว โลเก ในโลก โก อ. ใคร สกฺขิสฺสติ จักอาจ อาเนตุ(ตุง) เพื่ออันนำมา ตํ พุทฺธํ ซึ่งพระพุทธเจ้านั้น ฯ เต อมจฺจา อ. อำมาตย์ ท. เหล่านั้น อาหํสุ กราบทูลแล้ว เอวํ อย่างนี้ เทว อญฺโญ ฯเปฯ เทโว ปหิณตุ อิติ ว่าดังนี้ เทว ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อญฺโญ ปุคฺคโล อ. บุคคลอื่น สมตฺโถ นาม ชื่อว่าผู้สามารถ อาเนต(ตุง) เพื่ออันนำมา ทสพลํ ซึ่งพระทศพล นตฺถิ ย่อมไม่มี อาจริโย อ. อาจารย์เทียว กจฺจายโน ชื่อว่า กัขจายนะ สมตฺโถ เป็นผู้สามารถ โหติ ย่อมเป็น เทโว อ. พระผู้สมมติเทพ ปหิณตุ ขอจงส่งไป ตํ กจฺจายนํ ซึ่งอาจารย์ชื่อว่ากัจจายนะนั้น ฯ โส ราชา อ. พระราชานั้น ปกฺโกสาเปตฺวา รับสั่งให้เรียกแล้ว ตํ กจฺจายนํ ซึ่งปุโรหิตชื่อว่ากัจจายนะนั้น อาห ตรัสแล้ว พฺราหฺมณ ฯเปฯ อาเนหิ อิติ ว่าดังนี้ พฺ ราหฺมณ ดูก่อนพราหมณ์ ตฺวํ อ. ท่าน คนฺตฺวา ไปแล้ว สนฺติกํ สู่สำนัก ทสพลสฺส แห่งพระทศพล อาเหิ จงนำมา ตํ ทสพลํ ซึ่งพระทศพลนั้น ฯ โส กจฺจายโน อ. ปุโรหิตชชิ่อว่ากัจจายนะนั้น อาห กราบทูลแล้ว สเจ ฯเปฯ เทว อิติ ว่าดังนี้ เทว ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ สเจ ถ้าว่า อหํ อ.ข้าพระองค์ ลภิสฺสามิ จักได้ ปพฺพชิตุ(ตุง) เพื่ออันบวชไซร้ อ. ข้าพระองค์ คมิสฺสามิ จักไป ฯ ราชา อ. พระราชา สมฺปฏิจฺฉิ ทรงรับพร้อมแล้ว สาธุ อิติ ว่า อ.ดีละ ดังนี้ ฯ

โส กจฺจายโน อ. ปุโรหิตชื่อว่ากัจจายนะนั้น อคมาสิ ได้ไปแล้ว สู่สำนัก สตฺถุ แห่งพระศาสดา สทฺธึ กับ ชเนหิ ด้วยชน ท. เจ็ดฯ อถ ครั้งนั้น สตฺถา อ. พระศาสดา เทเสสิ ทรงแสดงแล้ว ธมฺมํ ซึ่งธรรม ตสฺส กจฺจายนสฺส แก่ปุโรหิตชือว่ากัจจายนะนั้น ฯ โส กจฺจายโน อ. ปุโรหิตชื่อว่ากัจจายนะนั้น ปาปุณิ บรรลุแล้ว อรหตฺตํ ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ สทฺธึ กับ ชเนหิ ด้วยชน ท. สตฺตหิ เจ็ด เทสนาปริโยสเน ในกาลเป็นที่สุดลงรอบแห่งเทศนา ฯ สตฺถา อ. พระศาสดา อนุญฺญาสิ ทรงอนุญาตแล้ว อุปสมฺปทํ ซึ่งการอุปสมบท เนสํ ชนานํ แก่ชน ท. เหล่านั้น วจเนน ด้วยพระดำรัส เอถ ภิกฺขโว อิติ ว่าดังนี้ ตมฺเห อ. เธอ ท. ภิกฺขเว เป็นภิกษุ หุตฺวา เอถ จงมา(ภิกฺขโว ดูก่อนภิกษุ ท. ตุมฺเห อ. เธอ ท. เอถ จงมา แปลอย่างนี้ก็ได้) ฯ ปพฺพชฺชา อ.การบวช ตสฺส มหากจฺจายนตฺเถรสฺส แห่งพระเถระชื่อมหากัจจายนะนั้น โหติ ย่อมมี เอวํ อย่างนี้ ฯ

๕๒๕. “กึ โส ปพฺชิตฺวา สตฺถารํ อุชฺเชนึ อาเนสี’ ติ. “โส สตฺถารํ อุชฺเชนึ คนฺตุ(ตุง) ยาจิฯ สตฺถา ปน สยํ อคนฺตฺวา ตเยว ปหิณิ. โส สตฺถารํ อาปุจฺฉิตฺวา อตฺตนา สห อาคเตเหว สตฺตหิ ภิกฺขูหิ สทฺธึ อุชฺเชนึ คนฺตฺวา ราชานํ ปสาเทสี’ ติ.

วิธุโร อ. ภิกษุชื่อว่าวิธุระ ปุจฉิ ถามแล้ว กึ โส ปพฺพชิตฺวา สตฺถารํ อุชฺเชนึ อาเนสิ อิติ ว่าดังนี้

โส มหากจฺจายนตฺเถโร อ. พระเถระชท่อว่ามหากัจจายนะนั้น ปพฺพชิตฺวา ครั้นบวชแล้ว อาเนสิ นำมาแล้ว สตฺถารํ ซึ่งพระศาสดา อุชฺเชนึ สู่พระนครชื่อว่าอุชเชนี กึ หรือ ฯ

เถโร อ. พระเถระ อาห กล่าวแล้ว โส สตฺถารํ ฯเปฯ ราชานํ ปสาเทสิ อิติ ว่าดังนี้

โส มหากจฺจายนตฺเถโร อ. พระเถระชื่อว่ามหากัจจายนะนั้น ยาจิ ทูลวิงวอนแล้ว สตฺถารํ ซึ่งพระศาสดา คนฺตุ(ตุง) เพื่ออันเสด็จไป อุชฺเชนึ สู่พระนครชื่อว่าอุชเชนี ฯ ปน แต่ว่า สตฺถา อ. พระศาสดา อคนฺตฺวา ไม่เสด็จไปแล้ว สยํ เอง ปหิณิ ทรงส่งไปแล้ว ตํ เถรํ เอว ซึ่งพระเถระนั้นนั่นเทียว ฯ

โส เถโร อ. พระเถระนั้น อาปุจฉิตฺวา ทูลลาแล้ว สตฺถารํ ซึ่งพระศาสดา คนฺตฺวา ไปแล้ว อุชฺเชนึ สู่พระนครชื่อว่าอุชเชนี สทฺธึ กับ ภิกฺขูหิ ด้วยภิกษุ ท. สตฺตหิ เจ็ด อตฺตนา สห อาคเตหิ เอว ผู้มาแล้วกับด้วยตนนั่นเทียว ราชายํ ยังพระราชา ปสาเทสิ ให้เลื่อมใสแล้ว ฯ

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๕๒๖-ข้อ ๕๓๐

๕๒๖. ขอพระเถระ จงประกาศ ซึ่งคุณ ของพระเถระ แม้อื่น แก่ข้าฯ พระปุณณเถระ ผู้เป็นบุตรแห่งนางมันตานี อันพระศาสดา สรรเสริญแล้วว่า เป็นยอด ของสาวก ท. ผู้ธรรมกถึก.

เถโร เม อปรสฺสาปิ เถรสฺส คุณํ ปกาเสตุ ภนฺเตติ ฯ มนฺตานีปุตฺโต ปุณฺณตฺเถโร สตฺถารา ธมฺมกถิกานํ สาวกานํ อคฺโคติ ปสฏฺโฐ อาวุโสติ ฯ

๕๒๗. ความเป็นไป ของท่าน อย่างไร? ท่าน เกิดแล้ว ในตระกูล แห่งพราหมณมหาศาล ในบ้านพราหมณ์ แห่งหนึ่ง อันไม่ไกล แต่กรุงกบิลพัสดุ์, ท่าน เป็น ภาคิเนยยะ ของพระอัญญาโกณฑัญญะ. ครั้นเมื่อพระศาสดา เสด็จอยู่ ในกรุงราชคฤห์, พระเถระ ผู้ลุง มาแล้ว สู่กรุงกบิลพัสดุ์, ยังท่าน ให้บวชแล้ว, กลับไป สู่สำนัก ของพระศาสดา. ท่านไม่ไปแล้ว กับลุง ของท่าน คิดแล้วว่า ‘ เรา จักยังกิจแห่งบรรพชิต ของเรา ให้ถึงที่สุดแล้ว (จึง) ไป สู่สำนัก แห่งพระศาสดา; อยู่แล้ว ในกรุงกบิลพัสดุ์ นั้นนั่นเทียว, ยังวิปัสสนา ให้เจริญแล้ว, ถึงแล้ว ซึ่งพระอรหัต, ไปแล้ว สู่สำนัก แห่งพระศาสดา ในภายหลัง.

กถํ ตสฺส ปวตฺติ ภนฺเตติฯ โส อาวุโส กปิลวตฺถุโต อวิทูเร เอกสฺมึ พฺราหฺมณคาเม พฺราหฺมณมหาสาลสฺส กุเล ชาโต, โส อญฺญาโกณฺฑญฺญตฺเถรสฺส ภาคิเนยฺโย โหติ ฯ สตฺถริ ราชคเห วิหรนฺเต, มาตุลตฺเถโร กปิลวตฺถุสมึ อาคนฺตฺวา, ตํ ปพฺพาเชตฺวา, สตฺถุ สนฺติกํ นิวตฺติ ฯ โส อตฺตโน มาตุเลน สทฺธึ อคนฺตฺวา ปุพฺพกิจฺจํ เม มตฺถกํ ปาเปตวา สตฺถุ สนฺติกํ คมิสฺสามีติ; ตสฺมึเยว วิหริตฺวา, วิปสฺสนํ วฑฺเฒตฺวา อรหตฺตํ ปตฺวา, ปจฉา สตฺถุ สนฺติกํ อคมาสิ ฯ

๕๒๘. ข้าฯ เป็นผู้ใคร่ เพื่อจะฟัง ซึ่งเกียรติ ของพระเถระ แม้อื่นอีก. ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง.

อหํ ภนฺเต อปรสฺสาปิ เถรสฺส กิตฺตึ โสตุกาโมมฺหีติ ฯ เตนหิ สุณาหิ อาวุโสติฯ

๕๒๙. พระกาฬุทายี อันพระศาสดา สรรเสริญแล้ว ว่าเป็นยอดของสววก ท. ผู้ยังตระกูล ให้เลื่อมใส.

กาฬุทายี อาวุโส สตฺถารา กุลปฺปสาทกานํ สาวกานํ อคฺโคติ ปสฏฺโฐติฯ

๕๓๐. ความเป็นไป ของท่าน อย่างไร? ท่านเกิดแล้ว ในตระกูล แห่งอำมาตย์ ในกรุงกบิลพัสดุ์ ในวัน แห่งพระศาสดา ประสูติแล้ว บิดา ของท่าน ถวายแล้ว ซึ่งท่าน แก่พระศาสดา เพื่อประโยชน์ แก่ความเป็นบริวาร ในกาลแห่งท่านเป็นทารก ท่าน ได้(เคย) เล่นแล้ว กับพระศาสดา เหตุนั้น ท่าน ได้เป็น ผู้มีความคุ้นเคยแล้ว ในพระองค์, ครั้นเมื่อพระศาสดา เสด็จออก ทรงผนวชแล้ว ถึงแล้ว ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ, มีธรรมจักรอันให้เป็นไปแล้ว เสด็จมาแล้ว โดยลำดับ ประทับอยู่แล้ว ในกรุงราชคฤห์ ; พระราชา สุทโธทนะ ทรงทราบแล้ว ชึ่งข่าวนั้น ทรงส่งไปแล้ว ซึ่งท่าน เพื่ออันนำมา ซึ่งพระศาสดา สู่กรุงกบิลพัสดุ์ ท่านไปแล้ว สู่กรุงราชคฤห์, ฟังแล้ว ซึ่งธรรม อันพระศาสดา แสดงแล้ว, ถึงแล้ว ซึ่งพระอรหัต ได้แล้ว ซึ่งเอหิภิกขุอุปสัมปทา ในสำนัก แห่งพระศาสดา เป็นผู้นำในทาง นำมาแล้ว ซึ่งพระศาสดา สู่กรุงกบิลพัสดุ์.

กถํ ตสฺส ปวตฺติ ภนฺเตติ ฯ โส อาวุโส สตฺถุ ชาตทิวเส กปิลวตฺถุสฺมึ อมจฺจสฺส กุเล ชาโต, ตสฺส ปิตา ปริวารตฺถาย สตฺถุ ตํ นิยฺยาเทสิ, ทารกกาเล โส สตฺถารา สทฺธึ อกีฬิ, ตสฺมา โส ตสฺมึ วิสฺสาโส อโหสิ, สตฺถริ อภินิกฺขมิตฺวา สมฺมาสมฺโพธึ ปตฺวา ปวตฺติตธมฺมจกฺเก อนุปุพฺเพน อาคนฺตฺวา ราชคเห วุฏฺเฐ; สุทฺโธทนราชา ตํ สาสนํ ญตฺวา สตฺถารํ กปิลวตฺถุ(ถุง) อาเนตุ(ตุง) ตํ อุยฺโยเชสิ, โส ราชคหํ คนฺตฺวา, สตฺถารา เทสิตํ ธมฺมํ สุตฺวา, อรหตฺตํ ปตฺวา สตฺถุ สนฺติเก เอหิภิกขูปสมฺปทํ ลภิตฺวา มคฺคนายโก หุตฺวา สตฺถารํ กปิลวตฺถุ(ถุง) อาเนสีติฯ

อุภัยพากยปริวัตน์ ภาคที่ ๒ จบ

ขอกราบขอบพระคุณพระคุณเจ้า พระขันติ จิตโต (ไม่ทราบว่าพระคุณเจ้าอยู่ที่สำนักใด) ที่ได้เมตตาเร่งเร้าให้โพสต์คู่มืออุภัยพากยปริวัตน์ จนสามารถโพสต์จนจบเล่มได้ทันก่อนเข้าพรรษาของปี พ.ศ. 2558 มิฉะนั้นแล้วงานบุญในครั้งนี้คงจะอืดอาดยืดเยื้อทอดเวลาออกไปอีกนาน ขออานิสงส์จากบุญในครั้งนี้จงพลันบังเกิดและจงพลันสำเร็จแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายในแสนโกฏิสากลจักรวาลด้วยเทอญ.

อนึ่ง ต้องขอประทานอภัยทุกท่าน ที่ผู้โพสต์ไม่สามารถใช้โปรแกรมที่ทันสมัยแก้ไขการเขียนภาษาบาลีบางคำให้ถูกต้องได้ คือ ที่เขียน อุง เช่น โสตุง จักขุง เป็นต้น กำลังศึกษาในเรื่องนี้อยู่อย่างขมีขมัน

หมายเหตุ ตอนนี้รู้จักวิธีแล้ว จากการแนะนำของท่านนาวาเอก (พิเศษ)ทองย้อย แสงสินชัย ท่านบอกว่าคำบาลีที่พิมพ์ใน Microsoft Word ไม่ได้ ให้มาพิมพ์ลงในหน้า Facebook นี้เลย เช่น โสตุํ พาหุํ จกฺขุํ เห็นไหมว่าพิมพ์ตัวบาลีประเภทตุง หุง เป็นต้น ได้จริงๆ เราก็สามารถเข้ามาใช้หน้า Facebook นี้อีกเช่นกัน เวลาจะพิมพ์ภาษาบาลีตัวพิเศษแบบนี้ แล้วกอปปี้ออกไปใช้ข้างนอกได้.