พจนานุกรม บาลี-ไทย


อมฺห-->> คำแปล ->๑ ก. (มยํ อ. เรา ท.) ย่อมเป็น อส ธาตุ ใน ความมี, ความเป็น + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + ม วัตตมานาวิภัตติ ลบ ส ที่สุดธาตุ แปลง ม เป็น มฺห ลบที่สุดธาตุ สำเร็จรูปเป็น อมฺห

อมฺห-->> คำแปล ->๒ น.,ปุ.,อิต. เรา เป็นศัพท์ต้นแบบในการแจก เป็นปุงลิงค์และอิตถีลิงค์ แจกอย่างเดียวกัน เช่น ป.เอก. อหํ อ. เรา พหุ. มยํ อ. เรา ท.

อมฺหา-->> คำแปล ->ก. (มยํ อ. เรา ท.) เป็นแล้ว อส ธาตุ ใน ความมี, ความเป็น + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + มฺหา อัชชัตตนีวิภัตติ ลบ ส ที่สุดธาตุ สำเร็จรูป เป็น อมฺหา

อมฺหาสทิส-->> คำแปล ->ว. เช่นกับด้วยเรา อมฺห + สทิส ทีฆะ อ ที่ อมฺห ศัพท์ เป็น อา ได้รูปเป็น อมฺหาสทิส [เทียบกับ เอตาทิส (เอต + ทิส ทีฆะ อ ที่ เอต ศัพท์ เป็น อา) มังคลัตถทีปนี ภาค ๒ ข้อ ๖๑๒ หน้า ๔๗๐] ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ป.พหุ. อมฺหาสทิสา (ชนา) อ. ชน ท. ผู้เช่นกับด้วยเรา [ธ. ๓: วิฑูฑภวตฺถุ หน้า ๑๗] เป็นตติยาตัปปุริส สมาส วิ.ว่า อมฺเหหิ สทิสา = อมฺหาสทิสา (ชนา)

อมฺหิ-->> คำแปล ->ก. (อหํ อ. เรา) ย่อมเป็น อส ธาตุ ในความมี, ความเป็น + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + มิ วัตตมานา วิภัตติ แปลง ม เป็น มฺหิ ลบ ส ที่สุดธาตุ สำเร็จรูป เป็น อมฺหิ